ริมทะเลแดง กับประเทศ djibouti
หวัดดีครับ
วันที่ 10/7/50 ขอย้ายบล็อคประเทศ djibouti เอามาไว้รวมกับทวีปอาฟริกา
ขอนำเสนอบทความการขี่มอเตอร์ไซด์ของชาวออสเตรเลียเป็นช่วงเส้นทางที่ลุยเข้าไปยังประเทศ djibouti เป็นส่วนหนึ่งของการขี่มอเตอร์ไซด์เที่ยวรอบโลกของพวกเขาในปี 2006 ประเทศนี้วิวทิวทัศน์มันจะออกสไตล์แบบลุย ๆ หน่อย รายการสารคดีโทรทัศน์เมืองไทยน่าจะลองมาถ่ายทำดู รูปประกอบเป็นเส้นทางช่วงจากเมือง obock ไปยังเมืองชายแดน moulhoule วิวจ๊าบดี
ขอเชิญอ่านได้เลยครับ

ลุยประเทศ Djibouti กับมอเตอร์ไซด์ harley ( ช่วงวันที่ 9 มีนาคม – 13 มีนาคม 2006 )
ระยะทาง 408 ก.ม. ( ก.ม. ที่ 451928 ถึง ก.ม. ที่ 452336 )
นี้คือรายงานการเดินทางในช่วงที่ 12 ของการเดินทางรอบโลกของพวกเรา
การเดินทางในช่วงนี้เป็นการเดินทางที่มาจากประเทศ somolia ( หรือเรียกอีกอย่างว่า Somaliland )
วันที่ 9 มีนาคม 2006 การเดินทางของเราเข้าไปยังประเทศ Djibouti มีความไม่สมหวังเกิดขึ้นมาอีกเล็กน้อย ถึงแม้ว่าตรงบริเวณแนวชายแดนจะยังคงเปิดผ่านแดนในเวลา 8 โมงเช้าอยู่ก็ตาม เจ้าหน้าที่คนอ้วน ๆ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่คนสำคัญที่จะทำการปั๊มพาสปอรต์ของทุก ๆ คน ก็ยังไม่เดินทางมาไม่ถึงจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 10 โมงเช้าเขาถึงเดินทางมาถึง และหลังจากที่เดินทางมาถึงก็ยังคงมีเรื่องที่จะต้องทำต่อไปนั้นก็คือโชว์รูปถ่ายครอบครัวของเขาให้เพื่อนร่วมงานของเขาทุก ๆ คนดู เราใช้เวลาช่วงที่รอเขาทำการไขสลักเกลียวที่อยู่บนมอเตอร์ไซด์ให้แน่นขึ้นและพวกเราก็ได้รับการดูแลอย่างสุภาพจากลูกน้องของเขา พวกเราได้รับการอนุญาตให้ทำการซื้อวีซ่าที่บริเวณแนวชายแดนในราคา 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 วีซ่า เป็นเพราะว่าไม่มีสถานฑูตของประเทศ Djibouti อยู่ในประเทศโซมาเลียแต่ว่าการทำเรื่องขอผ่านแดนก็ยังไม่เสร็จสิ้น จนกระทั่งถึงเวลา 10.45 น. ในที่สุดพวกเราถึงจะได้ออกเดินทางกัน ในการผูกรถมอเตอร์ไซด์เข้ากับกระบะท้ายรถขับเคลื่อน 4 x 4 เราได้ทำอย่างปลอดภัยโดยที่ล้อหลังได้ผูกมัดติดแน่นเข้ากับพื้นกระบะท้ายรถ เมื่อมองไปดูข้างหลังการทำอย่างนี้เป็นข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งในขณะที่ตัวรถมอเตอร์ไซด์มีการเคลื่อนที่ไปมาและตัวรถมอเตอร์ไซด์มีการลอยตัวขึ้นไปข้างบนโดยมีการกระแทกลงมาบนระบบกันสะเทือนล้อหลังของตัวรถ ซึ่งทำให้เครื่องระงับความกระเทือนที่ใช้ในรถมอเตอร์ไซด์ที่อยู่ทางด้านหลังเกิดการแตกหักเสียหายภายในทั้ง 2 เครื่อง ซึ่งมันไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการกระแทกในรูปแบบนั้น ในขณะที่ล้อหลังโดยปกติแล้วนั้นจะยกตัวลอยห่างจากพื้นเมื่อเกิดการกระแทก , มันไม่ควรที่จะมีการผูกมัดล้อหลังให้ติดแน่นอย่างนี้ ดังนั้นการที่เราบรรทุกมันโดยที่ไม่มีการรองรับ , ใส่พื้นให้แก่ตัวรถ , เหล็กกระแทกกับเหล็ก เราได้ขับรถกระบะไปอย่างช้า ๆ ในระยะทาง 20 ก.ม. สุดท้ายของถนนลูกรังมุ่งไปยังเมือง Djibouti , แล้วก็ออกค้นหาโรงแรมที่พัก , ชำระล้างสิ่งสกปรกที่หมักหมมมานานถึง 5 วันออกจากร่างกายของเราและส่งอีเมล์ไปยังลูกชายของเราให้ส่งเครื่องระงับความกระเทือนที่ใช้ในรถมอเตอร์ไซด์ที่ติดตั้งอยู่ทางล้อหลังตัวใหม่มา 2 ตัว โดยส่งผ่านทาง DHL มาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เพราะว่าที่เมือง Djibouti เป็นอีกที่ ๆ ข้าวของแพงวิปริตอีกแห่งหนึ่งของทวีปอาฟริกา
วันที่ 10 มีนาคม 2006 ประเทศเล็ก ๆ แห่งนี้ , ได้รับเอกราชในช่วงตอนปลายของยุคทศวรรษที่ 1970 แต่ว่าประเทศฝรั่งเศลก็ยังคงมีอิทธิพลต่อประเทศนี้และด้วยกองทัพฝรั่งเศลจำนวนหลายพันนายที่ประจำการอยู่ที่นี่ซึ่งมีผลเป็นอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศนี้ ซูปเปอร์มาร์เก็ตที่มีอยู่แห่งเดียวในเมือง Djibouti นั้นไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่ไปกว่าซูปเปอร์มาร์เก็ตที่อยู่ตามชานเมืองในโลกตะวันตกมากมายนัก สินค้าส่วนใหญ่ที่วางขายในซูปเปอร์มาร์เก็ตนั้นเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศฝรั่งเศลในราคาที่สูง , โดยมีราคาเทียบเท่ากับราคามาตรฐานสินค้าของยุโรป อีกด้านหนึ่งของเมืองมีตลาดท้องถิ่นอยู่หลายแห่ง เมืองถูกแบ่งออกมาอย่างแน่นอนซึ่งให้ความรู้สึกถึงระหว่างพื้นที่ของเมืองที่มีลักษณะเป็นแบบฝรั่งเศลและก็เป็นแบบอัฟริกัน เวลาทำงานของที่นี่ดูเหมือนว่าจะถูกใช้บังคับอย่างเคร่งครัด และเราก็ไม่สามารถหาสำนักงานบริการอินเทอร็เน็ตที่เปิดในวันนี้ได้ , วันศุกร์เป็นวันหยุดของชาวมุสลิม การโทรศัพท์ทางไกลไปยังลูกชายของเราได้เปิดเผยให้ทราบว่าชิ้นส่วนมอเตอร์ไซด์ต่าง ๆ ที่เราต้องการใช้นั้นไม่สามารถหาซื้อได้ในประเทศออสเตรเลียและมันจะต้องถูกเลือกส่งมาจากประเทศสหรัฐก่อนเป็นอันดับแรก พวกเราไม่ต้องการให้อะไหล่ถูกส่งโดยตรงมาถึงเราตามราคาที่แท้จริงที่ได้ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ซึ่งมันจะแจ้งให้เราทราบถึงสาเหตุที่มีการเรียกเก็บภาษีนำเข้าเป็นจำนวนเงินที่สูง โดยปกติแล้วลูกชายของเราเขาจะทำการบรรจุหีบห่อใหม่และก็จะระบุให้ทราบว่าชิ้นส่วนอะไหล่ต่าง ๆ ที่ต้องการที่จะส่งนั้นเป็นการใช้ส่วนตัว เราได้โทรศัพท์กลับไปขอให้ส่งเครื่องระงับความกระเทือนที่ใช้ในรถมอเตอร์ไซด์ที่ติดตั้งอยู่ทางล้อหลังมา 1 คู่ ซึ่งเป็นตัวเก่าที่เก็บสำรองเอาไว้ใช้ที่บ้าน อะไหล่ชุดเก่าจะถูกส่งมาถึงที่นี่ก่อนอะไหล่ชุดใหม่ที่กล่าวถึงข้างต้นประมาณ 4-5 วัน ราคาของอะไหล่จะถูกบวกชดเชยเข้าไปโดยที่เราไม่ต้องเสียเวลามานั่งคอย , และด้วยเหตุที่ว่าวีซ่าของเราทั้ง 2 ฉบับอาจจะหมดอายุได้ถ้าเราคอยอะไหล่ชุดใหม่ วันนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่นิดหน่อยในเมืองในขณะที่พวกเราก็ยังคงอยู่ระหว่างฟื้นคืนพลังจากการเดินทางในประเทศโซมาเลียและการทำภารกิจที่จำเป็นต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้ทัน
วันที่ 11 มีนาคม 2006 เราได้ทราบว่าสำนักงาน DHL ไม่เปิดดำเนินงานจัดส่งของจากเมืองที่เราพักอยู่ในออสเตรเลียในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ดังนั้นโช๊คคู่เก่าของเราก็จะไม่ถูกจัดส่งมาในช่วง 2 วันนี้ มันอาจจะเป็นการดีถ้าเราคอยและก็เอาอะไหล่ชุดใหม่ไปใช้ ในระหว่างนั้นพวกเราพยายามทำให้โช๊คที่ติดตั้งอยู่ที่มอเตอร์ไซด์กลับมาใช้งานได้เพื่อที่จะได้พาเราเดินทางไปยังประเทศ Eritrea และก็เดินทางกลับมายังเมือง Djibouti ในการตรวจสอบโช๊คอย่างใกล้ชิดดูเหมือนว่าโช๊คที่อยู่ทางด้านขวายังใช้งานได้อยู่ ส่วนโช๊คที่อยู่ทางด้านซ้าย , เพลาได้เลื่อนเข้าไปในสปริง , ทำให้สปริงเกิดการแตกหักเสียหาย เราได้นำเอาผนังข้างของยางรถเก่า ๆ , และก็ตัดยางรถให้เป็นรูหกเหลี่ยมเราได้ตั้งความหวังเอาไว้ว่ายางรถที่พับไปพับมาจะช่วยทำให้เกิดการพยุงและทำหน้าที่เป็นตัวสปริงได้อย่างอะลุ้มอล่วย การแก้ไขปัญหานี้ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในวันนี้อย่างไรก็ตามมีการโต้เถียงกันเป็นอย่างมากตลอดช่วงพักเที่ยงหรือตอนช่วงดื่มน้ำชาก่อนที่จะมาลงเอยโดยการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ก็ตอนที่เราได้มีโอกาสได้สังเกตและพูดคุยกับชาวบ้าน ส่วนใหญ่ของผู้อพยพลี้ภัยที่อยู่ที่เมืองนี้มาจากประเทศเพื่อนบ้านของประเทศ Djibouti ทั้ง 3 ประเทศ , ประเทศเหล่านี้ทั้งหมดมีสงครามเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้, ผู้อพยพลี้ภัยเหล่านี้ถูกส่งตัวกลับบ้านเมื่อสองปีที่แล้วเมื่อการสู้รบได้ยุติลง ผู้อพยพเหล่านี้เป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศโซมาเลียมีผู้อพยพเป็นจำนวนมากที่มีความเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์กับทางประเทศ Djibouti อยู่บ่อย ๆ , แต่ทางประเทศ Djibouti นั้นเป็นประเทศที่ค่อนข้างที่จะมั่งคั่งและเป็นประเทศเล็ก ๆ ซึ่งไม่สามารถที่จะจัดการกับเรื่องทางการเงินให้กับผู้อพยพได้ในระยะยาว

วันที่ 12 มีนาคม 2006 พวกเราได้ตั้งความหวังเอาไว้ว่าจะเดินทางโดยสารเรือเฟอร์รี่ข้ามอ่าวไปยังเมือง obock เพื่อที่จะคลายความกดดันที่มีต่อเครื่องระงับความกระเทือนที่ใช้ในรถมอเตอร์ไซด์ที่พวกเราได้ทำการดัดแปลงเอาไว้แต่ว่าแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ดีที่สุดที่พวกเราทราบมานั้นก็คือในตอนนี้เรือโดยสารข้ามอ่าวไม่ได้เปิดให้บริการ สำนักงานบริการนักท่องเที่ยวไม่มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้และพวกเขาก็ไม่พูดภาษาอังกฤษด้วย บริษัทตัวแทนการเดินทางก็ดูเหมือนว่าจะรับจองแต่ตั๋วเครื่องบินระหว่างประเทศเพียงเท่านั้น ในการที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารเล็กๆน้อย ๆในแต่ละครั้งนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก พวกเราก็เลยตัดสินใจที่จะออกเดินทางกันโดยใช้ทางรถยนต์

วันที่ 13 มีนาคม 2006 ระยะทางประมาณ 170 ก.ม. ไปยังเมือง tadjoura นั้นเป็นถนนที่มีการราดยางเป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดพายุขึ้นมาในบริเวณนี้ ซึ่งได้พัดเอาบางช่วงของเส้นทางที่เป็นทางข้ามและชั้นของถนนด้านล่างที่มีระดับความสูงไม่มากนักถล่มลงมา พวกเราได้เดินทางผ่านมาตามแนวชายฝั่งผ่านทะลุบริเวณพื้นที่ทุ่งลาวาเก่าแก่และก็ได้เดินทางผ่านทะเลสาปเกลือด้วย จากเมือง tadjoura ไปยังเมือง obock นั้นเส้นทางอยู่ในลักษณะถนนลูกรังเส้นทางถนนตัดผ่านบริเวณพื้นที่ภูเขาซึ่งบริเวณพื้นที่ภูเขานี้ก็ยังคงมีความเสียหายจากการเกิดน้ำท่วมกินบริเวณพื้นที่กว้างโดยบริเวณที่ๆถูกน้ำพัดพังนั้นน้ำได้เซาะลึกลงไปจนกลายเป็นร่องบนบริเวณพื้นที่ๆเป็นเนินเขา พวกเราได้รับการต้อนรับโดยชาวบ้านท้องถิ่นในเมือง obock ตอนเวลาประมาณมื้อเที่ยง , พวกเขาได้เสนอขายน้ำมันเบนซิน Yemeni , ซึ่งเป็นน้ำมันที่ถูกนำข้ามทะเลแดงมาและก็นำมาขายในราคาลิตรละ 1 ดอลลาร์สหรัฐ , ถูกกว่าราคาน้ำมันเบนซินที่ขายอยู่ในประเทศ Djibouti อย่างเป็นทางการซึ่งขายราคาลิตรละ 1.30 ดอลลาร์สหรัฐ โชคดีที่พวกเขาก็ยังคงแนะนำเราให้ไปขอรับการประทับตราสำหรับการเดินทางออกจากประเทศ Djibouti ได้ที่สถานีตำรวจก่อนที่จะดำเนินการทำเรื่องเดินทางออกนอกประเทศ , ไม่เช่นนั้นแล้วพวกเราก็อาจที่จะต้องเดินทางกลับมาจากเมืองชายแดน moulhoule ที่มีระยะทางประมาณ 90 ก.ม. ไปตามถนนลูกรังมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปจากเมือง obock ไม่มีถนนที่มีสภาพเป็นถนนจริง ๆ จากเมือง obock ไปยังเมือง moulhoule , มันเป็นเพียงแค่แนวเส้นทางที่มีการใช้งานกันมาเป็นอย่างดีซึ่งเป็นแนวเส้นทางที่วางตัวขนานกันหลายเส้นทางโดยที่ทุกๆ เส้นทางต่างก็มุ่งไปในทิศทางพื้นฐานที่เหมือนกัน , เส้นทางได้ข้ามผ่านบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกันหลายแบบ ได้แก่บริเวณพื้นที่ ๆ มีลักษณะเป็นดินเหนียวที่มีการบีบอัดแข็งตัว , หินปูน , และก็ทราย เราออกเดินทางไปในสภาพเส้นทางที่แห้งมันเป็นการขี่ที่รู้สึกสบาย ( สภาพของเส้นทางจะแตกต่างกันเป็นอย่างมากหลังจากที่ฝนตกลงมา ), ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการเดินทางที่ช้า , โดยใช้เวลาถึง 3 ชั่วโมง พวกเราได้หลงทางในช่วงเส้นทางหนึ่ง , โดยที่กำลังมุ่งหน้าไปยังหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง , มีสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจอยู่เพียงอย่างเดียวนั้นก็คือเมื่อมีพวกต้นโกงกางปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายมือของเรา , ก็จะมีมหาสมุทรปรากฏอยู่ทางด้านขวามือ , เมื่อเดินทางอยู่ในช่วงเส้นทางนั้นดูท่าทางว่ามันจะไม่มีถนนที่ทะลุออกจากบริเวณพื้นที่นั้น วิวทิวทัศน์ตามแนวชายฝั่งในช่วงเส้นทางจากเมือง obock ไปยังเมือง moulhoule นั้นมีทิวทัศน์ที่งดงาม , มหาสมุทรเขตร้อนสีเขียวแบบพลอย turquoise , เกาะต่าง ๆ , แนวชายหาดที่เป็นพื้นทราย , เกือบจะไม่มีคนอยู่อาศัยเลย เครื่องระงับความกระเทือนที่ใช้อยู่ในรถมอเตอร์ไซด์ที่ติดตั้งอยู่ทางด้านหลังที่เราได้ทำการปรับแต่ง , ซ่อมแซม ทำงานได้ดีทีเดียว อย่างไรก็ตามการขี่ในช่วงเส้นทางนี้เราได้เจอหลุมบ่อมากกว่าเส้นทางช่วงอื่นมากและเป็นการเดินทางที่ทรหด kay ได้บ่นให้ฟังถึงอาการหน้าอกระบมจากการที่ได้เผชิญกับหลุมบ่อพวกนั้นซึ่งเขาต้องเจอกับการกระแทกอย่างต่อเนื่องและพวกเราต้องการที่จะทำการหยุดพักการเดินทางให้มากกว่าปกติด้วย มีการตรวจสอบพาสปอร์ตอย่างไม่ค่อยเอาใจใส่ที่เมือง moulhoule และพวกเราก็ได้ออกเดินทางกันต่อไปตามเส้นทางในช่วง 20 ก.ม. สุดท้ายไปยังแนวชายแดนประเทศ Eritrea
พบกันใหม่โอกาสหน้าครับ


//www.horizonsunlimited.com/forwood/djibout2.shtml

หวัดดีครับ
วันนี้ขอส่งความสุข 2550 ด้วยข้อมูลจากประเทศ djibouti เป็นประเทศเล็ก ๆ น่าสนใจริมทะเลแดง วิวทิศทัศน์จ๊าบดี ตัวอย่างภาพประกอบจาก //www.desertdiscoveries.co.uk ในเว็บไม่ได้บอกว่าเป็นที่ไหนสงสัยคงจะเป็นทะเลสาป abbe แน่ ๆ เลย ขอเชิญอ่านได้เลยครับ happy new year 2007 ครับ
จุดหมายปลายทาง : ประเทศ Djibouti
ประเทศ Djibouti ตั้งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก ทิศตะวันออกอยู่ติดกับอ่าว aden และ ทะเลแดง ทางด้านเหนืออยู่ติดกับประเทศ Eritrea ทางด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ติดกับประเทศ Ethiopia ส่วนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้อยู่ติดกับประเทศ Somalia พื้นที่ประเทศสามารถแบ่งออกได้ 3 ภูมิภาค ได้แก่ ที่ราบชายฝั่งและที่ราบสูงภูเขาไฟอยู่ในบริเวณพื้นที่ทางตอนกลาง ( 1 ) และทางตอนใต้ของประเทศ ( 2 ) และพื้นที่เทือกเขาต่าง ๆ อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ( 3 ) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่มีพื้นที่ ๆ เหมาะแก่การเพาะปลูกเกือบทั้งหมด
ประมาณเศษ 2/3 ของประชากรของประเทศ Djibouti ที่มีอยู่ทั้งหมด 652,200 คน อาศัยอยู่ในเมืองหลวง เมือง Djibouti ประชากรที่เป็นคนพื้นเมืองถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่มชาว Somalis ( ประกอบด้วยคนพื้นเมืองเผ่า Issa เป็นจำนวนมากที่สุด , โดยมีตัวแทนของชนกลุ่มน้อยได้แก่ ชาวเผ่า Issak และก็ชาวเผ่า Gadaboursi ) และกลุ่มชาว Afars ( ชาว Danakils ) ประชากรทั้งหมดพูดภาษา Cushitic และประชากรเกือบทั้งหมดนั้นเป็นชาวมุสลิม ในจำนวนประชากรที่เป็นชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศ djibouti ประมาณ 15,000 คนนั้น , ชาวฝรั่งเศลมีจำนวนมากที่สุด ในจำนวนชาวฝรั่งเศลที่อาศัยอยู่เหล่านั้นมีที่เป็นทหารถึง 3,000 นาย
บริเวณพื้นที่ ๆ เรียกกันว่า The French Territory of the Afars and the Issas ได้กลายมาเป็นประเทศ Djibouti ในปี ค.ศ. 1977 สันติภาพได้เกิดขึ้นมาอย่างเหมาะสมในปี ค.ศ. 1994 ภายหลังการสิ้นสุดการก่อจราจลโดยกลุ่มกบฏชาว Afars ประเทศ Djibouti ได้รับเอกราชในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1977 มันเป็นดินแดนที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากบริเวณพื้นที่ ๆ เรียกกันว่า French Somaliland ( ในเวลาต่อมาได้ถูกเรียกกันว่า the French Territory of the Afars and Issas ) , ซึ่งเป็นดินแดนที่รวมตัวกำเนิดขึ้นมาในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 มันเป็นผลที่เกิดขึ้นมาจากผลประโยชน์ต่าง ๆ ของชาวฝรั่งเศลในบริเวณพื้นที่ทวีปอาฟริกา อย่างไรก็ตาม , ประวัติศาสตร์ของประเทศ Djibouti ได้ถูกบันทึกไว้ในบทกวีและเนื้อเพลงต่าง ๆ ของชาวบ้านที่เป็นกลุ่มชนเร่ร่อนต่าง ๆ , ประวัติศาสตร์ของประเทศ Djibouti ย้อนหลังกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีไปจนถึงช่วงสมัยที่ชาว Djiboutians ค้าขายหนังสัตว์และก็ภาชนะที่ทำจากหนังสัตว์เพื่อแลกกับน้ำหอมและก็เครื่องเทศกับกลุ่มคนโบราณที่เป็นชาวอียิปต์ , อินเดีย , จีน ตลอดจนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับคาบสมุทร Arabian เป็นเวลามากกว่าหนึ่งพันปี กลุ่มชนเผ่า Somali และก็ Afar ในบริเวณพื้นที่นี้เป็นคนกลุ่มแรกที่อาศัยอยู่ในทวีปอาฟริกาที่รับเอาศาสนาอิสลามเข้ามา









Create Date : 10 กรกฎาคม 2550
Last Update : 10 กรกฎาคม 2550 18:26:34 น.
Counter : 1106 Pageviews.

2 comments
  
โห อึ้งค่ะ คุณเดินทางรอบโลกจริงๆเหรอเนี่ย ทึ่งมากๆๆๆ ประเทศอะไรแทบไม่เคยได้ยิน โห ทึ่งค่ะ ไว้มาอ่านใหม่ ค่อยๆทะยอยอ่านค่ะ ดีจังได้ประสบการณ์ชีวิตเยอะมาก

ความฝันที่สุดๆของเราคือได้ไปกับรถไฟสายทรานไซบีเรีย แต่ตอนนี้ชักจะลางเต็มที่ เมื่อ 2-3 ปีก่อนยังพอมีหวัง แต่ตอนนี้คงหมดหวังมาเที่ยวกับเจ้าของบล็อกแทนดีกว่า
โดย: KOok_k วันที่: 11 กรกฎาคม 2550 เวลา:3:04:54 น.
  
สวยดีคะ อยากไปมากคะ คนพาเที่ยวเก่งจังนะคะ
โดย: mintny_n วันที่: 11 กรกฎาคม 2550 เวลา:16:22:30 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kangchenjunga
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]