ไข้หวัดใหญ่ ภัยร้ายที่ไม่เงียบ 2


ครั้งที่แล้ว เราพูดถึงเรื่องแนวทางการวินิจฉัย และการตัดสินใจให้การรักษาไข้หวัดใหญ่ และผมได้ทิ้งท้ายในเรื่องของ Post-exposure prophylaxis คือ การป้องกันการติดเชื้อของผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

ปกติผู้ป่วยจะเริ่มแพร่เชื้อตั้งแต่ก่อนมีอาการ 1 วัน ไปจนหลังไข้ลงดี 24 ชั่วโมง ดังนั้นการที่บุคคลอื่นใกล้ชิดกับผู้ป่วยในช่วงเวลานี้ มีโอกาสได้รับเชื้อ influenza นี้ได้

และอย่างที่ทราบกัน ถ้าเราสามารถเริ่มยา Oseltamivir ได้ทันภายใน 48 ชั่วโมงหลังสัมผัสเชื้อ จะสามารถป้องกันการเกิดโรคได้

แต่............. อย่างที่เราทราบกัน ถ้าเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไข้หวัดใหญ่รุนแรง บางครั้งต่อให้ติดเชื้อ ก็สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องใช้ยาในการรักษา ดังนั้น การให้ Post-exposure prophylaxis นั้น เราก็ไม่ได้ให้ในผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยทุกราย แต่เราจะแนะนำให้ในกลุ่มเสี่ยงที่กล่าวไปในบทความที่แล้วครับ

สำหรับ Dose Oseltamivir สำหรับ Post-exposure prophylaxis นั้น doseเท่ากับ doseที่ใช้ในการรักษา เพียงแต่ให้วันละ ครั้ง นาน 7 วัน

แต่เรามี Option ที่ดีกว่า คือ การป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น หรือ Pre-exposure prophylaxis ซึ่งก็จะกล่าวต่อในโอกาสถัดไปนะครับ




Create Date : 22 เมษายน 2561
Last Update : 22 เมษายน 2561 9:05:16 น.
Counter : 446 Pageviews.

0 comment
ไข้หวัดใหญ่ ภัยร้ายที่ไม่เงียบ


ไข้หวัดใหญ่ ......

เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza ซึ่งสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคในคนมี 2 สายพันธุ์ คือ A และ B

ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงอาการปอดบวมรุนแรง

อาการที่สำคัญ คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลัย ไอ น้ำมูก เจ็บคอ

โดยทั่วไปแล้วเรามียาต้านไวรัสที่ใช้สำหรับการรักษาไข้หวัดใหญ่ นั่นคือ Oseltamivir แต่บ่อยครั้งเราพบว่าแม้ไม่ได้รักษา อาจหายเองได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องทราบว่าเมื่อไหร่ผู้ป่วยต้องได้รับยา Oseltamivir เมื่อติดเชื้อ

1.ผู้ป่วยที่ถ้าเป็นโรคแล้ว จะมีโอกาสพัฒนาเป็นโรคที่รุนแรงได้ เช่น

- เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี หรือ อายุมากกว่า 65 ปี

- ผู้ป่วยที่เป็น Asthma หรือ COPD

- ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ โรคระบบประสาท โรคเลือด

- ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน หรือ metabolic disease

- ผู้ป่วยกลุ่ม immunocompromised host

- ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ หรือ ภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด

- ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 19 ปี ที่ทานยา Aspirin (มีโอกาสที่จะเกิด Reye syndrome ได้)

- ผู้ป่วยที่มี BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 40

- ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในสถานรับเลี้ยงต่าง ๆ

2. ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

3. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเร็ว ภายใน 2 วันหลังจากเริ่มมีอาการ เพราะถ้าเราสามารถเริ่มยาได้เร็วภายใน 48 ชั่วโมง จะสามารถลดระยะเวลาของโรค รวมถึงสามารถกลับไปทำงานได้เร็วขึ้นได้

เมื่อเราสงสัยผู้ป่วย ว่าจะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ เราสามารถส่ง investigation เพื่อช่วยในการวินิจฉัย นั่นคือ การตรวจ Rapid Antigen test ที่ได้จาก Nasal swab หรือ Nasopharyngeal swab

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าผลตรวจออกมาเป็นบวก ช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้ แต่ถ้าผลเป็นลบ เราอาจจะยังบอกได้ว่าผู้ป่วยไม่เป็น เนื่องจาก sensitivity ของ test 50-70% แต่ Specificity 90-95% โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บสิ่งส่งตรวจ คือช่วง 48-72 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ เพราะมีโอกาสที่จะตรวจพบเชื้อไว้รัสมากที่สุด

ดังนั้นพวกเราไม่ต้องตกใจว่า ทำไมเมื่อตรวจพบ Influenza ถึงไม่ได้ให้ Oseltamivir หรือ ตรวจไม่พบเชื้อ แต่ให้ Oseltamivir อันนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นผู้พิจารณาให้การรักษาตามข้อบ่งชี้ที่กล่าวข้างต้น

ยังมีอีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ Post-exposure prophylaxis ของ Influenza ที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้จัก ไว้โอกาสต่อไป ผมจะหยิบเรื่องนี้มาเขียนต่อนะครับ

 




Create Date : 18 เมษายน 2561
Last Update : 18 เมษายน 2561 18:59:47 น.
Counter : 385 Pageviews.

0 comment

Dreamday
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]