ป้องกันโรคไตกันเถอะ



หน้าที่ของ -ไต- 

     ก่อนที่จะรู้จักโรคไตเราควรที่จะทำความรู้จักกับอวัยวะที่มีชื่อว่า “ไต หรือ kidney” กันก่อนครับ

ไตเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายมนุษย์ที่มีความมหัศจรรย์และมีจำเป็นอย่างมากใน
การดำรงชีวิต คนปกติมีไต 2 ข้างวางอยู่บริเวณกลางหลังข้างละ 1 อัน
ไตทำหน้าที่กลั่นกรองน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการ
พร้อมกับทำการคัดหลั่งของเสียออกจากร่างกาย

ในรูปของน้ำปัสสาวะผ่านกรวยไตลงไปเก็บกักในกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้พร้อมในการกำจัดทิ้งออกทางท่อปัสสาวะ





      นอกจากนี้ไตยังทำหน้าที่ปรับสมดุลของสารน้ำ
เกลือแร่ในร่างกายและทำการสร้างสารและฮอร์โมนอีกหลากหลายชนิด ได้แก่
วิตามินดี ฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด และฮอร์โมนควบคุมความดันโลหิต
เมื่อความบกพร่องเกิดขึ้นกับไตจนไตไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์
ในระยะแรกอาจพบความผิดปกติเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง
เช่นตรวจพบเพียงโปรตีนไข่ขาวรั่วในปัสสาวะจากการตรวจสุขภาพประจำปีโดยไม่มี
อาการผิดปกติใดๆ แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษาจนไตเสื่อมหน้าที่มากขึ้น
จะเกิดภาวะที่เรียกว่า “ภาวะไตวายเรื้อรัง”

เมื่อไตเสียหน้าที่

     ภาวะไตวายเรื้อรังในระยะนี้ยังสามารถแก้ไขให้ไตกลับคืนหน้าที่ได้หาก
ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่องและเหมาะสม
แต่หากปล่อยปละละเลยจนไตเสื่อมทุกหน้าที่อย่างสมบูรณ์ และถาวร
จนเกิดภาวะที่เรียกว่า “ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย”

หนทางเดียวที่แพทย์จะสามารถรักษาชีวิตให้ได้ก็คือการบำบัด

ทดแทนไต เช่น การฟอกเลือด การฟอกไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไตใหม่ให้
แม้ว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไตใหม่
ก็ใช่ว่าไตนั้นจะใช้งานได้เหมือนอย่างไตของคนปกติ
เพราะไม่ใช่ไตที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิด ร่างกายต้องปรับตัวเข้ากับไตใหม่
ไตใหม่ที่ปลูกถ่ายมานี้ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานเฉลี่ยไม่เกินสิบปี
และเมื่อการเปลี่ยนไตสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจะต้อง

หลีกเหลี่ยงและระวังกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
เนื่องจากไตใหม่ที่ปลูก
ถ่ายใหม่นั้นถือเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกายที่
กระตุ้นให้ภูมิต้านทานของร่างกายออกมาทำหน้าที่ต่อต้าน
จึงจำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจึงเสี่ยงต่อการเชื้อต่างๆ
จากภายนอกได้ง่าย เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าวเข้ามาเยือนตัวคุณ
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสนใจป้องกันตนเอง
หมั่นตรวจสอบตัวคุณอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความสะอาดของทั้งเครื่องใช้ อาหาร
และการสัมผัสกับแหล่งเชื้อโรคในที่ต่างๆ เช่น
ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด เป็นต้น




สัญญาณเตือนภัย “ไตผิดปกติ”

     ทางการแพทย์สามารถแบ่งความผิดปกติของไตได้เป็น 8 ประเภท ได้แก่
โรคเส้นเลือดฝอยที่ไตอักเสบ โรคเนื้อเยื่อไตอักเสบ โรคไตวายเฉียบพลัน
โรคไตวายเรื้อรัง โรคติดเชื้อของไตและท่อทางเดินปัสสาวะ
โรคความผิดปกติของท่อไตและถุงน้ำ โรคนิ่ว และโรคมะเร็ง

ในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งแต่ละประเภทมีต้นเหตุก่อโรคมากมาย
และมีอาการทางคลินิกแตกต่างกันหลากหลายครับ เช่น
ในระยะแรกของผู้ที่มีไตวายเรื้อรัง อาจมีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
คันตามตัว ต่อมาอาจพบอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
ตุ่มรับรสของลิ้นทำงานเปลี่ยนไป น้ำหนักตัวลด ชาปลายมือปลายเท้า ขี้หนาว
ปวดแสบปวดร้อนบริเวณเท้า ปวดศีรษะ เป็นต้น
อาการเหล่านี้ไม่ใช่อาการเฉพาะของโรคไตอย่างเดียวแต่พบได้ในอีกหลายโรค


ดังนั้นเราสามารถสังเกตความผิดปกติของไตตนเองได้โดยสังเกตสัญญาณเตือนภัย 6 ประการดังนี้คือ

     1. การเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะออกน้อยลง เป็นต้น

     2. มีอาการแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะขัด สะดุดหรือมีเศษนิ่วปนออกมา

     3. ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อหรือปัสสาวะเป็นฟอง

     4. การบวมของใบหน้า ลำตัว ขา และเท้า

     5. อาการปวดบั้นเอวหรือบริเวณสีข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอวหรือไม่อยู่กลางหลัง)

     6. ตรวจพบความดันโลหิตสูง


  หากพบสัญญาณเตือนภัยข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ
ขอแนะนำให้คุณรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ
ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนานจนสายเกินแก้ คุณที่รู้สึกว่าตนเองสุขภาพดีมาก
ไม่เคยเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล บางคนเคยเป็นนักกีฬา
ความแข็งแรงเหล่านี้ไม่ได้รับประกันว่าคุณจะไม่มีโอกาสเป็นโรคไต
แม้จะไม่มีสัญญาณเตือนภัย ก็อาจจะมีโรคไตซ่อนเร้นในตัวแล้วก็เป็นได้
ทางที่ดีควรพิจารณา “เคล็ดลับ 10 ประการป้องกันการเกิดโรคไต”
โดยเฉพาะคุณมีโรคประจำตัวบางอย่างที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไต เช่น โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเก๊าต์ (gout)
โรคปวดเส้นหรือปวดกล้ามเนื้อที่ต้องรับประทานยาแก้ปวดเป็นประจำ เป็นต้น



โรคไต หมายถึง โรคอะไรก็ได้ที่มีความผิดปกติหรือที่เรียกว่า พยาธิสภาพ เกิดที่บริเวณไต ที่พบมาก ได้แก่ 



  • โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ



  • โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง

  • โรคไตอักเสบเนโฟรติก

  • โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)

  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

  • โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)



อาการ






































































ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ โดยจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ





ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ก็ได้





ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆ เหมือนฟองสบู่





การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆ กัน เป็นข้อสันนิฐาน ที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต





ปัสสาวะขุ่น
อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว
(มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ)
หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่น
พวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น





การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่น
การถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้
ล้วนเป็นอาการผิดปกติ ของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ
ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ





การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ





การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต



การปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย



อาการบวม
โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณ หนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมาก
จะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย
โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)



ความดันโลหิตสูง เนื่อง
จากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ
และเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง
หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้



ซีดหรือโลหิตจาง
เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้ หลายชนิด
แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure)
เนื่องจากปกติ ไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin)
เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรัง
ไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก
ทำให้ซีด หรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ

อย่างไรก็ตาม ควรต้องไปพบแพทย์ ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย
และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์
จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้น ว่าเป็นโรคไตหรือไม่

สาเหตุ

































เป็นมาแต่
กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน
โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย
เป็นต้น



เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)



เกิดจากการ
ติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่
เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค)
เป็นต้น



เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น



เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด

คำแนะนำ










































1.

กินอาหารโปรตีนต่ำ หรืออาหารโปรตีนต่ำมาก ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น

โดยกินอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งหมายถึงโปรตีน
ที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด จำนวน 0.6 กรัม ของโปรตีน / น้ำหนักตัว 1
กิโลกรัม / วัน โดยไม่ต้องให้กรดอะมิโนจำเป็น หรือกรดคีโต (Keto Acid)
เสริม เพราะอาหารโปรตีนในขนาดดังกล่าวข้างต้น
ให้กรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณที่พอเพียง กับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว


ตัวอย่างเช่น
ผู้ป่วยซึ่งมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย ประมาณ 50-60 กิโลกรัม ควรกินอาหาร
ที่มีปริมาณโปรตีนสูงประมาณ 30-60 กรัม / วัน อาจจำกัดอาหารโปรตีน
เพื่อชะลอการเสื่อมหน้าที่ ของไตได้อีกวิธีหนึ่ง
โดยให้ผู้ป่วยกินอาหารโปรตีนต่ำมาก (0.4 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม /
วัน) ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์คีโต (Keto Analog)
ของกรดอะมิโนจำเป็น ในกรณีผู้ป่วยมีน้ำหนักเฉลี่ย 50-60 กิโลกรัม
ควรกินโปรตีนประมาณ 20-25 กรัม / วัน เสริมด้วยกรดอะมิโนจำเป็น
หรืออนุพันธ์ครีโตของกรดอะมิโนจำเป็น 10-12 กรัม / วัน






2.


กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ โดย
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอล
ในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม / วัน ด้วยการจำกัดอาหาร
ที่มีโคเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และนม เป็นต้น





3.

งดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง
ฟอสเฟตมักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม
และเมล็ดพืชต่างๆ เช่น ถั่วลิสง เม็ดทานตะวัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์
เมล็ดอัลมอนด์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว พบว่าอาหารที่มีฟอสเฟตสูง
จะเร่งการเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรัง ให้รุนแรงมากขึ้น และมีความรุนแรงของ
การมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากขึ้น นอกเหนือจากผลเสีย
ต่อระบบกระดูกดังกล่าว





4.


ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ไม่มีอาการบวม การกินเกลือในปริมาณไม่มากนัก
โดยไม่ต้องถึงกับงดเกลือโดยสิ้นเชิง
แต่ไม่ควรกินเกลือเพื่อการปรุงรสเพิ่ม ผู้ป่วยที่มีอาการบวมร่วมด้วย
ควรจำกัดปริมาณเกลือที่กินต่อวันให้น้อยกว่า 3 กรัมของน้ำหนักเกลือแกง
(เกลือโซเดียมคลอไรด์) ต่อวัน ซึ่งทำได้โดยกินอาหารที่มีรสชาติจืด
งดอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ทำเค็ม หรือหวานเค็ม เช่น
เนื้อเค็ม ปลาแห้ง กุ้งแห้ง รวมถึงหมูแฮม หมูเบคอน ไส้กรอก ปลาริวกิว
หมูสวรรค์ หมูหยอง หมูแผ่น ปลาส้ม ปลาเจ่า เต้าเจี้ยว
งดอาหารบรรจุกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง เนื้อกระป๋องข้างต้น

5. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีน้ำหนักเกิน น้ำหนักจริงที่ควรเป็น
(Ideal Weight for Height) ในคนปกติ ควรจำกัดปริมาณแคลอรี
ให้พอเพียงในแต่ละวันเท่านั้น คือ ประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี / น้ำหนักตัว 1
กิโลกรัม / วัน












  โดยสรุปที่กล่าวมาทั้งหมด
เป็นเคล็ดลับสำหรับคนที่ไม่อยากเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
หรืออย่างน้อยถ้าทำได้ก็จะช่วยยืดอายุไตของคุณออกไปอีกยาวนาน
การดูแลตนเองเป็นหลักสำคัญสำหรับทุกคนครับที่ยังไม่เป็นหรือเป็นโรคไตระยะ
แรกๆ ซึ่งหมอยังมีบทบาทไม่มากนักในการสั่งจ่ายยา แต่ในระยะแรกๆ นี้
คนทั่วไปมักจะละเลยคิดว่าตนเองยังสบายดีอยู่
แต่เมื่อใดที่โรคไตเป็นมากขึ้นก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมาพบกับแพทย์อย่างสม่ำ
เสมอ ซึ่งในกรณีหลังนี้ หมออยากบอกท่านว่า “ช้าไปแล้ว”
อย่างไรก็ตามในทุกระยะของโรคไตเรื้อรัง พบว่าการปฏิบัติตามที่หมอบอก อาการจะดีขึ้นไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตามก็จะช่วยยืดอายุการทำงานไตของคุณให้ยาวนานขึ้น


แหล่งข้อมูล : //www.dmsc.moph.go.th - ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม




 

Create Date : 12 ตุลาคม 2553   
Last Update : 12 ตุลาคม 2553 10:49:10 น.   
Counter : 397 Pageviews.  


อันตรายจากสารระเหย

สารระเหยเป็นสิ่งเสพติดที่ก่อให้เกิดพิษภัยในสังคมไทยปัจจุบันมากขึ้น
เรื่อยๆ เนื่องจากเป็นสิ่งเสพติดที่หาได้ง่ายกว่าสิ่งเสพติดชนิดอื่น
สารระเหยเป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอนได้จากน้ำมันปิโตรเลียมและก็าซ
ธรรมชาติ
ใช้เเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประจำในสำนักงาน
ได้แก่ ทินเนอร์ แลคเกอร์ กาว น้ำยาล้างเล็บ น้ำมันไฟแช็ก สีพ่น ฯลฯ
สาเหตุการติดสารระเหย


ถูกเพื่อนชักชวน อยากทดลอง ถูกล่อลวงให้เสพ ต้องการผ่อนคลายความเครียด
ความทุกข์ เพราะขณะสูดดมสารระเหยจะรู้สึกสบายใจ ลืมทุกข์ ราคาถูก พกสะดวก
บางรายติดสารระเหยจากอาชีพ เช่น ช่างทาสี พ่นสี
ลักษณะของผู้ติดสารระเหย
ใน
ระยะแรกจะมีสภาพปกติแต่เมื่อเสพนานๆสุขภาพจะทรุดโทรม มีอาการมึนเมา
ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ น้ำมูกไหล ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เหม่อลอย
ควบคุมตัวเองไม่ได้


Smileyพิษของสารระเหยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ



1.
พิษเฉียบพลัน หลังจากเสพสารระเหย ผู้เสพจะรู้สึกเป็นสุข ร่าเริง ศีรษะเบา
ต่อมาจะมีอาการเหมือนเมาสุรา พูดจาอ้อแอ้ ไม่ชัด ควบคุม ตัวเองไม่ได้
ระคายเคืองเยื่อบุภายในปากและจมูก น้ำลายไหลมา
ต่อมามีฤทธิ์กดประสาททำให้ง่วงซึม หมดสติ
ถ้าเสพในปริมาณมากอาจจะไปกดศูนย์หายใจ ทำให้ตายได้


2. พิษเรื้อรัง เป็นผลจากการสูดดมสารระเหยติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้อวัยวะต่างๆเสื่อม


Smiley ระบบทางเดินหายใจ ระคายเคือง มีเลือดออก หลอดลมและปอดอักเสพ
Smiley ระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
Smileyระบบประสาท วิงเวียน สับสน มือสั่น ตัวสั่น หลงลืม เซื่องซึม ความคิด อ่อนช้า นิสัยและอารมณ์เปลื่ยนแปลง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด มีผลทำให้จังหวะการเต้นของหัวจผิดปกติ
ระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบ จนถึงอัมพาต


พิษ
ภัยของสารระเหยต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดความพิการ
นอกจากนี้ผู้ติดสารระเหยยังก่อให้เกิดปัญหาสังคม
และทำให้ประเทศชาติสูญเสียเยาวชนที่จะเป็นกำลังของชาติ
จึงควรช่วยกันสอดส่องดูแลป้องกันและแก้ไขไม่ให้เยาวชนและประชาชนเสพสารระเหย
  การควบคุมและป้องกันการใช้สารระเหย ตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 กำหนดการควบคุมและป้องกันการใช้สารระเหยดังนี้



1. ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสารระเหยต้องจัดให้มีภาพเครื่องหมาย หรือ ข้อความ ผู้ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 2 ปีปรับไม่เกินสองหมื่นบาท


2.
ห้ามมิให้ผู้ใดขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี
เว้นแต่เป็นการขายโดยสถานศึกษา เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
ผู้ฝ่าฝืนจำคุกไม่กินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท


3. ห้ามมิให้ผู้ใดขาย จัดหา หรือให้สารระเหยแก่ผู้อื่น ผู้ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท


4. ห้ามมิให้ผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริมหรือใช้อุบายหลอกลวง ผู้ใดฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท


5. ห้ามมิผู้ใดใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ผู้ใดฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 2ปี ปรับไม่เกินสองหมื่อนบาท






Free TextEditor




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2553   
Last Update : 11 ตุลาคม 2553 11:11:39 น.   
Counter : 409 Pageviews.  


เรื่องของขี้หู


ทุกท่านคงเคยมีประสบการณ์เรื่องขี้หูมาบ้าง บางคนมีขี้หูแฉะ บางคนก็ขี้หูแห้งบางคนก็มีขี้หูแข็ง บางคนก็มีขี้หูก้อนโตบ้าง บางคนก็มีขี้หูเหม็น



   อันที่จริงแล้วขี้หูมีลักษณะเป็นขี้ผึ้งของ รูหูซะมากกว่าจะเป็นของสกปรกในรูหู ฝรั่งเขาเรียกว่า  earwax ซึ่งคนปกติก็จะมีกันเป็นเรื่องธรรมดาเวลาคนไทยเราใช้คำนำหน้าสิ่งขับถ่ายออกจากร่างกาย ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่าขี้ แล้วเรามักรู้สึกว่าเป็นสิ่งสกปรก   เช่นขี้ไคล   ขี้มูก  ขี้ตา แต่สำหรับขี้หูแล้วไม่ใช่สิ่งสกปรกของรูหู



ในรูหูของคนปกตินั้นจะมีต่อม ซึ่งสร้างสารที่คล้ายกับขี้ผึ้งออกมาเคลือบผนังรูหูของเราเป็นประจสารที่ว่าทำหน้าที่ ปกป้องผนังรูหู รักษาสมดุลย์   ของความเป็นกรดเป็นด่างในรูหู ป้องกันเชื้อโรคในคนปกติโดยทั่วไป   ขี้หูจะถูกลำเลียงโดย การเคลื่อนตัวของตัวเยื่อบุรูหูจากภายในสุด มายังภายนอกรูหูได้ ทั้งนี้จะเริ่มจาก บนผิวหน้าของตัวเยื่อแก้วหูเอง   แล้วค่อยๆเดินทางออกมายัง นอกรูหูภายนอกอย่างช้าๆ     และต่อเนื่อง


ยกเว้นมีการอักเสบของรูหูก็ อาจจะทำให้การเคลื่อนตัวของเซลที่ว่าช้าลงมากขึ้น   หรือเมื่อแก้วหูทะลุเกิดขึ้นก็อาจจะมีการลำเลียงผิดเส้นทางคือแทนที่จะออกมาภายนอก กลับเคลื่อนตัวผ่านรูทะลุของแก้วหูลึกเข้าไปในหูชั้นกลางได้


บ่อยครั้งทีเดียวที่เราพบว่า มีขี้หูคั่งค้างในรูหู อาจจะพบเห็นในเด็กเล็กๆ ลูกหลานเราเอง หรือเวลาเราอาบน้ำเสร็จแล้วเช็ดหูก็จะพบเห็นเป็นสีเหลืองๆ ในบางคนจะเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือกระทั่งเป็นสีดำก็มี ทำให้คิดว่ามีเลือดออกในรูหูขี้หูของคนเรานั้นมีหลายสีจริงๆ ดังที่กล่าวมาแล้วพอจะเห็นหรือรู้สึกว่ามีขี้หูคน   คนส่วนหนึ่งก็พยายามจะเอามันออกไม่ว่าจะใช้วัสดุหรือวิธีใดก็ตาม บางคนเพียงแค่ใช้นิ้วเขี่ยหรือแคะออก  


คนส่วนมากก็จะใช้ก้านพันสำลี  เช่น cottonbud แหย่เข้าไปในรูหูจากนั้นก็มีกรรมวิธีต่างๆสารพัดที่จะเอาขี้หูออกมา ได้แก่แคะ เขี่ย หรือ ปั่นบางคนก็จะกระทำจนเป็นกิจวัตรหลังอาบน้ำทุกครั้ง ด้วยความคิดว่าเจ้าก้านสำลีบริสุทธิ์ผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้วมันดูขาวๆสะอาดดีน่า  จะทำความสะอาดหูภายในได้ดี อันที่จริงแล้ว เวลาเราแหย่เข้าไปในรูหูแล้วใช้ความรู้สึกสัมผัสว่าปลายหรือรอบๆ ก้านสำลีได้นำพาเอาขี้หูออกมาด้วยนั้น   เราไม่มีทางจะรู้หรือจะเห็นด้วยตาของเราเองหรอกว่าปลายก้านที่เป็นพลาสติก(ซึ่งแข็งพอสมควร) นั้นเข้าไปลึกถึงบริเวณใด ในรูหูแล้วไปจ่อๆแถวๆเยื่อแก้วหูหรือเปล่า


   มีคนตั้งมากมายพลาดพลั้งเสียทีทิ่มถูกเยื่อแก้วหูขาดทะลุเป็นรูมีเลือดออกทำให้ หูตึง ปวดหู มึนงง ซึ่งกว่าจะรักษาได้ก็ใช้เวลา หลายอาทิตย์รักษาทางยาไม่หาย ก็ต้องไปทำการผ่าตัดปะแก้วหูแทน ซึ่งเสียเวลาค่าใช้จ่ายแพงกว่าราคาเจ้าก้านสำลีนักบางคนก็มีเครื่องมือพิเศษไปกว่าปกติในการแคะหู บางคนใช้ขนไก่ บางคนเอาทุกอย่างที่อยู่ใกล้มือ ได้แกกุญแจรถ ไม้จิ้มฟัน ก้านไม้กวาด บางคนลงทุนซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศกันเลย


มีขี้หูทำอย่างไรดีในเมื่อเมื่อห้ามไม่ให้แคะหูแล้วเวลามีขี้หู จะทำอย่างไรดีก็คือปล่อยให้มันเคลื่อนตัวลงมาเองตามธรรมชาติของมันเอง ไม่จำเป็นต้องเขี่ยจนไม่เหลือ เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าทางหูครับ




-------------------------------------------------------------------------------------------



ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน สาขาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
อธิบาย ว่า ขี้หูถูกสร้างออกมาจากต่อมสร้างขี้หู ซึ่งอยู่ในช่องหูชั้นนอก
มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ ประโยชน์ของขี้หู คือ
ช่วยปกป้องผิวหนังของช่องหูชั้นนอก ให้ความชุ่มชื้น ช่วยต่อต้านเชื้อโรค
ป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
และช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องหู

          
ปกติร่างกายมีกลไกกำจัดขี้หูออกมาได้อยู่แล้ว คือมันจะออกของมันมาเอง
ถ้าเราไปแคะจะกระตุ้นให้ต่อมสร้างขี้หูทำงานมากขึ้น
ทำให้ปริมาณขี้หูมากขึ้น ถ้าเรามีขี้หูอยู่ข้างใน
มันจะยิ่งดันขี้หูในช่องหูให้อัดแน่นมากขึ้น
อาจทำให้ขี้หูอุดตันในช่องหูชั้นนอกได้ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา คือ
คนไข้หูอื้อ ปวดหู หูตึง
โดยเฉพาะถ้าเราแคะแรงเกินไปอาจจะทำให้เกิดรอยถลอกของช่องหูชั้นนอก
มีเลือดออก เกิดการอักเสบ มีอาการปวดหู หูอื้อ
หรือถ้าแคะลึกไปอาจทำให้แก้วหูทะลุได้ ดังนั้นไม่ควรแคะหูอย่างเด็ดขาด
ถ้าจะแคะหูจริง ๆ แนะนำให้ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำอุ่น
เช็ดเฉพาะบริเวณรอบนอกของช่องหู อย่าแยงเข้าไปข้างใน ต้องเช็ดตื้น ๆ

อาการของขี้หูอุดตัน คือ
หูอื้อ หูตึง ไม่ได้ยินเสียง เวลาคนไข้มาพบแพทย์ อาจซักประวัติได้ว่า
ปกติคนไข้สบายดี แต่วันดีคืนดีไปว่ายน้ำ แล้วน้ำเข้าหู ขี้หูจะอุ้มน้ำ
ทำให้บวมปิด เกิดอาการหูอื้อ บางคนอาจจะมีอาการปวดหรือแน่น ๆ ในช่องหูได้

          
ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการศึกษาอุบัติการณ์คนที่มีภาวะขี้หูอุดตันมาก่อน
แต่จากประสบการณ์ พบได้เรื่อย ๆ ถ้าออกตรวจผู้ป่วยนอกประมาณ 30 ราย
จะพบประมาณ 1-2 รายที่มีปัญหาขี้หูอุดตัน
โดยพบได้ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงผู้สูงอายุ คือจะพบในผู้ใหญ่ ที่ชอบปั่นหูบ่อย ๆ
มักจะไม่ค่อยพบในเด็ก ยกเว้นผู้ปกครองเห็นขี้หูเด็ก แล้วแคะให้
พอแคะไม่ออก ก็ยิ่งดันขี้หูเข้าไปข้างใน จนทำให้เกิดอาการอุดตัน
แต่ในเด็กพบขี้หูอุดตันน้อยกว่า

การรักษา
อันดับแรกจะต้องตรวจก่อนว่าสาเหตุของหูอื้อเกิดจากอะไร
ถ้าเกิดจากขี้หูอุดตัน แพทย์จะพยายามนำขี้หูออกให้
โดยใช้เครื่องมือแคะขี้หู มีลักษณะคล้าย ๆ ลวดกลม ๆ
ใส่เข้าไปในหูและแคะออกมา ส่วนใหญ่จะออกหรืออาจจะใช้ที่ดูดขี้หูดูดออกมา
แต่ถ้าเอาออกไม่ได้  ก็ ไม่อยากแคะเพราะจะทำให้เจ็บหู
หรือหูชั้นนอกอักเสบถลอก กรณีเช่นนี้จะให้ยาละลายขี้หูไปหยอดที่บ้านบางที
ก็ 5 วัน หรือ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็นัดให้คนไข้มาเอาขี้หูออก
จะทำให้เอาออกได้ง่ายขึ้น

การป้องกันไม่ให้ขี้หูอุดตัน
มีดังนี้


1.อย่าใช้นิ้วแหย่ช่องหูเด็ดขาดเพราะขอบเล็บที่ปลายนิ้วจะทำให้ช่องหูชั้น
นอกถลอก ติดเชื้อและอักเสบได้ง่าย


2.อย่าใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดหู
หรือปั่นหูเมื่อน้ำเข้าหูควรป้องกันไม่ให้น้ำเข้าขณะอาบน้ำ
โดยหาสำลีชุบวาสลินหรือสวมหมวกอาบน้ำดึงลงมาคลุมถึงใบหู
ในรายที่เล่นกีฬาทางน้ำอาจใช้ที่อุดหูสำหรับนักดำน้ำซึ่งมีขายตามร้านกีฬามา
ช่วย


3.หลายคนมักคิดว่า การทำความสะอาดข้างในช่องหูหรือเช็ดรูหูนั้น
ก็เหมือนกับการทำความสะอาดร่างกายทั่วไป แต่จริง ๆ แล้ว การปล่อยให้มี
ขี้หูเคลือบช่องหูบ้างจะดีกว่าเพราะยิ่งเช็ดหรือแคะหูมาก ช่องหูจะยิ่งแห้ง
คันและระคายเคืองได้มากกว่า แต่ถ้าน้ำเข้าหูอาจใช้ไม้พัน
สำลีชนิดเนื้อแน่นขนาดเล็กซับน้ำที่ปากช่องหูเล็กน้อยก็พอ แต่ถ้าน้ำเข้าหู
เป็นชั่วโมงแล้ว ยังไม่ออกมา
หูยังอื้ออยู่ส่วนใหญ่เป็นเพราะมีขี้หูซึ่งอยู่ในส่วนลึกของช่องหูอมน้ำไว้
ถ้ามีอาการเช่นนี้ควรให้แพทย์หู คอ จมูก ตรวจทำความสะอาดช่องหูจะดีที่สุด


4.ในรายที่ขี้หูแห้ง
อาจใช้ยาละลายขี้หูหยอดรูหูเป็นประจำเพื่อทำการล้างขี้หู
อาจใช้เพียงอาทิตย์ละครั้ง ถ้าไม่มีปัญหา อาจห่างออกไปเป็น 2 หรือ 3 หรือ 4
อาทิตย์ หยอด 1 ครั้ง ก็จะช่วยลดการอุดตันของขี้หูในช่องหูชั้นนอกได้



ท้ายนี้
ขอย้ำว่า อย่าปั่น อย่าแคะขี้หู ไม่ต้องทำความสะอาดอะไรทั้งนั้น
เพราะร่างกายมีกลไกกำจัดออกได้อยู่แล้ว ถ้าไม่มีปัญหาอะไรอย่าไปยุ่งกับมัน
ยกเว้นมีขี้หูไหลออกมาแล้วทำให้เราเข้าสังคมลำบาก ก็เช็ดเท่าที่มันไหลออกมา
อย่าปั่นลงไปลึก ๆ ถ้าขี้หูไม่ไหล ก็ไม่ต้องไปทำอะไร
เพราะอย่างที่บอกว่าขี้หูมันมีประโยชน์



ขอบขอบคุณ ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน สาขาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กับข้อมูลดี ๆ






 

Create Date : 08 ตุลาคม 2553   
Last Update : 8 ตุลาคม 2553 16:49:47 น.   
Counter : 499 Pageviews.  


วิธีแก้โรคเครียดในที่ทำงาน


วิธีแก้โรคเครียดในที่ทำงาน




         
หากคุณรู้สึกว่างานที่ทำกำลังปลุกต่อมเครียดให้มีชีวิต
ไหนจะมีประชุมแต่เช้าตรู่ นั่งทำงานที่โต๊ะไม่ถึง 10 นาที
ก็มีโทรศัพท์เข้ามาไม่ขาดสาย บ่ายก็ต้องวิ่งออกไปหาลูกค้า
ตอนเย็นยังต้องกลับมาทำ Report ส่งเจ้านาย เวลากลับบ้านไม่วายรถก็ติดแสน
ฯลฯ เรามีวิธีช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายได้ง่ายๆ ด้วยมุมมอง 13 ข้อ 


1. สูดกลิ่นหอม
รู้หรือเปล่าว่า
กลิ่นหอมของดอกไม้นานาพันธุ์จะช่วยปลุกประสาทสัมผัสให้สดชื่นตื่นตัว
แถมยังกระตุ้นพลังงานในจิตใจได้เป็นอย่างดี เวลาเครียดๆ
ลองสูดกลิ่นหอมของดอกไม้ อย่างกุหลาบ มะลิ ลาเวนเดอร์
หรือจะหยดน้ำมันหอมระเหยตรงโต๊ะทำงานก็ไม่เลวนะ
เชื่อสิว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้นได้อย่างบอกไม่ถูกเลยเชียว


2. ตากอากาศระยะสั้น
เมื่อความเครียดรุมเร้า ก็ไม่ควรอุดอู้อยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยม
ทางที่ดีคุณควรหาเวลาหลบไปสูดอากาศบริสุทธิ์ใกล้ๆ ธรรมชาติสักพัก
อาจเป็นสวนหย่อมในที่ทำงาน หรือคาเฟทาเรียใกล้ๆ
จากนั้นเดินผ่อนคลายและหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ ปล่อยสมองให้ว่างที่สุด
เพราะบางทีความรู้สึกเหนื่อยล้าและหดหู่มันมาจากชีวิตที่ยุ่งเหยิงจนเกินไป


Smileyเพียงแค่ 10 นาทีวิธีนี้ก็จะชาร์จพลังให้หัวใจของคุณให้ดีขึ้นได้


3. จินตนาการแสนสุข
อีกทางเลือกในการบรรเทาความเครียด คือ ดึงตัวเองออกจากโลกปัจจุบัน
โดยหลับตาแล้วหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ แล้วหยุดไว้สองวินาทีก่อนหายใจออก
การหยุดช่วงสั้นๆ จะมีผลทำให้ระบบประสาทสงบลง ทำแบบนี้ในที่เงียบๆ สัก 5
นาที รับรองว่าจะรู้สึกดีแบบทันตาเห็น จากนั้นก็นึกถึงช่วงเวลาดีๆ
ในการทำงาน เช่น วันที่ได้รับคำชมจากเจ้านาย
หรืองานชิ้นโบว์แดงที่คุณทำแล้วรู้สึกภาคภูมิใจ เป็นต้น


4. หนังสือบำบัด หาหนังสือที่อ่านแล้วสบายใจ เล่มบางๆ มาไว้ใกล้มือ เครียดเมื่อไหร่หยิบมาพลิกอ่านสักหน้าสองหน้าแก้เครียด


5. สร้างอารมณ์ขัน
หลังจากทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ลองชวนเพื่อนที่มีอารมณ์ขันคุยเบาๆ
จะช่วยกระตุ้นจิตใจที่แสนห่อเหี่ยวให้หัวเราะได้อีกครั้ง
คนที่หัวเราะง่ายมักมีสุขภาพกายและจิตที่ดี
เนื่องจากการหัวเราะจะช่วยลดความดันโลหิตและระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล
ซึ่งเป็นการรักษาสมดุลของระบบประสาททางหนึ่งด้วย (ฮอร์โมนคอร์ติซอล =
ฮอร์โมนแสดงความเหนื่อยล้าในกระแสเลือด)


Smileyสำหรับบางคนการหัวเราะเพียงครั้งเดียวมีค่าเท่ากับการผ่อนคลายสี่สิบห้านาทีเต็มทีเดียว


6. พลังแห่งการสัมผัส
ถ้ามีเพื่อนสนิทในที่ทำงานอาจสลับสับเปลี่ยนกันนวดบรรเทาอาการเครียด
เพราะการโอบกอดหรือสัมผัสเบาๆ
เวลารู้สึกเหนื่อยล้าจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่ชื่อ ออกซิโทชิน
ช่วยลดระดับความเหนื่อยและความเครียด
ทำให้ร่างกายที่กำลังอ่อนล้ารู้สึกผ่อนคลายได้อย่างไม่น่าเชื่อ


Smileyนวดศีรษะ
โดยกางนิ้วออกแล้วใช้ปลายนิ้วนวดเบาๆ ไล้จากคางขึ้นไปถึงหน้าผาก
แล้วย้อนกลับมาที่ท้ายทอย หรือจะนวดบริเวณหางตาได้ด้วยก็ได้


7. โทรหาเพื่อนรู้ใจ
อย่าคิดว่าตัวเองจะแก้ทุกปัญหาได้ไปซะหมด
หัวใจสาวมั่นแม้จะแกร่งแค่ไหนก็ยังต้องการที่พึ่งพิงบ้าง
ยกหูโทรศัพท์หาเพื่อนรู้ใจสักคนแล้วระบายความรู้สึกให้เพื่อนได้รับรู้
การมีคนรับฟังและให้คำปรึกษาจะทำให้ชีวิตที่ยุ่งเหยิงเริ่มเข้าที่เข้าทาง
มากขึ้น อย่างน้อยก็ยังรู้สึกว่า คุณไม่ได้แบกปัญหาอยู่คนเดียวในโลก
แต่ขอเตือนว่าอย่าเมาท์เพลินจนเสียงานก็แล้วกัน


8. หามุมสงบ - ฟังเพลง
ฟังเพลงเบาๆ โดยเฉพาะเพลงแนว Meditation
ทั้งเสียงบรรเลงดนตรีและเสียงธรรมชาติ อย่างเสียงคลื่น น้ำตก นกร้อง
รับรองว่าจะช่วยสร้างสมาธิให้กลับคืนสู่สมองและจิตใจได้อย่างน่ามหัศจรรย์


9. ทดลองหลับ
บางตำรากล่าวไว้ว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการรักษาสมดุลแห่งความเครียด คือ
การฝึกจิตง่ายๆ ครั้งละ 10 - 15 นาที เช้าและเย็น ด้วยการนั่งท่าสบายๆ
อยู่ที่โต๊ะทำงานของคุณ หนุนศีรษะบนแขนที่วางไขว้กัน
หรือหาที่เหมาะนอนท่าเหยียดยาว หลับตาและปล่อยตัวตามสบาย
เพื่อผ่อนคลายง่ายๆ


Smileyในทางทฤษฎีว่าไว้เมื่อคุณหลับตาสามารถตัดข้อมูลต่างๆ ไม่ให้เข้าสู่สมองได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์


10. อย่าคาดหมายล่วงหน้า
การมัวแต่คิดถึงการนัดหมายสำคัญๆ ในวันรุ่งขึ้น
จะทำให้เข้านอนดึกด้วยความกังวลและเครียดเพิ่มขึ้นไปอีก
ทางที่ดีทำใจให้สบายผ่อนคลายให้มากที่สุด บอกตัวเองว่าพักให้เต็มที่
แล้วพรุ่งนี้จะดีเอง จากนั้นตั้งนาฬิกาปลุกแต่เช้า
เพื่อจะได้เตรียมตัวจนมั่นใจ โดยไม่อ่อนเพลีย


  11. รู้จัก “เลี่ยง” เมื่อถึงเวลา
ในชีวิตการทำงานมักมีหลายเรื่องที่เข้ามากระทบความรู้สึกจนเกิดอารมณ์
แต่แทนที่จะตอบโต้กลับทันทีอย่างขาดสติ จนอาจทำให้ปัญหาลุกลามใหญ่โต
การเดินหนีไปก่อน รอให้อารมณ์เย็นลงหรืออยู่กับโต๊ะทำงานตัวเองเงียบๆ
จัดข้าวของหรือหาอะไรที่ไม่ต้องใช้สมาธิสูงมากทำ
ลดความเครียดลงได้จนกว่าคุณพร้อมที่จะกลับมาลุยงานอีกครั้ง


   12. สร้างกำลังใจให้ตัวเอง

ความผิดพลาดบางอย่างที่แก้ไขไม่ได้แล้วก็จำเป็นต้องยอมรับแล้วใช้เป็นบท
เรียน
แต่จงอย่างให้ความผิดพลาดนั้นกลายเป็นสิ่งที่มากดดันให้คุณเครียดจนเกินไป


Smileyอย่ามัวคิดถึงสิ่งที่ผิดพลาดไปแล้ว ควรเปิดใจให้กว้าง และกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลาในการ หาทางแก้ไขให้ดีขึ้น


   13. คิดในทางบวก
จำไว้ว่าการมองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน คิดถึงประสบการณ์ดีๆ
ที่ผ่านมาในชีวิตให้บ่อยขึ้น
รวมถึงคิดถึงความปรารถนาดีของคนอื่นที่มีต่อคุณก็จะช่วยให้เป็นคนที่เครียด
น้อยลงและมีความสุขมากขึ้นได้



ทางเลือกง่าย ๆ ที่จะทำให้คุณผ่อนคลายและหายเครียดได้บ้าง และหลังจากทไงานหนักมาทั้งวัน ควรมีเวลาออกกำลังกายบ้างนะครับ


สู้งานกันต่อไป สู้ ๆ






Free TextEditor




 

Create Date : 08 ตุลาคม 2553   
Last Update : 8 ตุลาคม 2553 11:46:15 น.   
Counter : 329 Pageviews.  


เกล็ดเลือด (Platelet)








ส่วนประกอบของเลือดและประโยชน์ของเลือดต่อชีวิตมนุษย์ โดย แพทย์หญิงทัศน์ยานี จันทนยิ่งยง
          
เลือดที่ไหลเวียนในกระแสโลหิตของร่างกายอาจเปรียบเสมือนขบวนรถไฟสินค้า
ขนส่งสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิตไปสู่สถานีต่างๆ
ภายในกระแสโลหิตมีทั้งเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด มีก๊าซ เช่น
ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต
นอกจากนี้แล้ว ยังมีสารจำพวกฮอร์โมน วิตามิน เอนไซม์และแอนติบอดี
ซึ่งทั้งหมดนี้รวมตัวกันอยู่ในน้ำ
ผู้โดยสารรถไฟขบวนพิเศษนี้ได้อาศัยการไหลเวียนของเลือดภายในร่างกายเดินทาง
ไปสู่จุดหมายที่ต้องการ

เช่น มีการลำเลียงน้ำตาลกลูโคสจากที่เก็บไว้ในตับไปยังกล้ามเนื้อ
เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดการเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงานส่วนอื่นๆ
เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ต่างก็มีหน้าที่พิเศษเฉพาะตัว
ซึ่งจะได้บรรยายอย่างละเอียดต่อไป







หัวข้อ










เม็ดเลือดแดง (Red blood cells)

         
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๗-๘ ไมโครเมตร
รูปร่างเหมือนจานแต่บุ๋มตรงกลางทั้งสองข้าง มีอยู่ทั้งหมดประมาณร้อยละ
๔๐-๕๐ ของปริมาตรเลือดทั้งหมดของร่างกาย หรือปริมาณ ๔ - ๕ ล้านเซลล์
ต่อเลือดหนึ่งมิลลิลิตรมีอายุในกระแสโลหิตได้นานประมาณ ๑๒๐ วัน
โดยทั่วไปในวันหนึ่งๆ มีการสร้างเม็ดเลือดออกมาใหม่ประมาณร้อยละ ๙
ของจำนวนทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกาย


         
โครงสร้างของเม็ดเลือดแดงประกอบด้วยสารไลโปโปรตีน(โปรตีนและไขมัน)
และมีสารโปรตีนที่จับกับเหล็กที่เรียกว่าเฮโมโกลบิน
ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการจับนำเอาออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะ
ต่างๆ ของร่างกายทางเส้นเลือดแดงและนำคาร์บอนไดออกไซด์ 
ซึ่งเป็นของเสียจากเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ
กลับไปยังปอดเพื่อถ่ายทอดออกทิ้งไปทางเส้นเลือดดำในคนปกติ
ผู้ชายจะมีเฮโมโกลบินประมาณ ๑๔-๑๘ กรัมในเลือด ๑๐๐ มิลลิลิตร
ผู้หญิงจะมีเฮโมโกลบินประมาณ ๑๒-๑๖ กรัมในเลือด ๑๐๐ มิลลิลิตร
หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของเฮโมโกลบิน คือ
รักษาดุลความเป็นกรดด่างของเลือดให้อยู่ในเกณฑ์พอดี





















หยดเลือด แสดงให้เห็นการอยู่ร่วมกันของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด (ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน











เม็ดเลือดขาว (White blood cells)

         
มีอยู่ประมาณ ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ เซลล์ในเลือด ๑ มิลลิลิตร
ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว ๕ ชนิดต่างๆ กัน
โดยอาศัยคุณลักษณะในการติดสีที่ใช้ย้อม
และลักษณะของนิวเคลียสเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ นิวโตรฟิล
(neutrophil) ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) โมโนไซต์ (monocyte)เบโซฟิล
(basophil) และอีโอซิโนฟิล (eosinophil)


นิวโตรฟิล
มีหน้าที่กำจัดบัคเตรีหรือสิ่งแปลกปลอมที่เป็นเม็ดเล็กๆ
เมื่อมีเชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายจะถูกนิวโตรฟิลจับ(phagocytosis)
เข้าไปในไซโตพลาสม์ (cytoplasm) ซึ่งมีแกรนนูลของนิวโตรฟิล คือ ไลโซโซมส์
(lysosomes) อยู่ ไลโซโซมส์เป็นถุง ซึ่งภายใน
บรรจุน้ำย่อยจำพวกไฮโดรลิกหลายชนิด
ดังนั้นไลโซโซมส์จะปล่อยน้ำย่อยเหล่านี้ออกมาย่อยเชื้อจุลินทรีย์และสิ่ง
แปลกปลอมที่มีขนาดเล็กๆ เหล่านี้

ลิมโฟไซต์
แต่เดิมนั้นมีผู้คิดว่าลิมโฟไซต์ไม่มีหน้าที่ใดๆ เลยแต่ในปัจจุบันทราบดีว่า
ลิมโฟไซต์มีหน้าที่สำคัญๆ
หลายอย่างทั้งที่ทราบดีแล้วและที่ยังไม่ทราบแน่นอนก็มีอยู่มาก 
เชื่อว่าลิมโฟไซต์อยู่ ๒ จำพวก
          ๑. พวกที่กำเนิดมาจากต่อมไทมัส
ซึ่งเป็นแหล่งกลางของปฏิกิริยาทางอิมมูน
เป็นตัวส่งลิมโฟไซต์ออกไปให้กำเนิดแก่ลิมโฟไซต์ในอวัยวะน้ำเหลืองอื่นๆ
ลิมโฟไซต์ชนิดนี้มีความจำและจะทำลายสิ่งที่ไม่เหมือนตัวเอง 
          ๒. พวกที่กำเนิดมาจากต่อมน้ำเหลือง
(lymph nodesและ lymphoid tissue) ของระบบทางเดินอาหาร
ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี และควบคุมภาวะไวเกินจากภูมิคุ้มกันส่วนเซลล์(cell
mediated hypersensitivity responses.)

โมโนไซต์
มีหน้าที่ป้องกันร่างกายเช่นเดียวกับนิวโตรฟิลสามารถกินเชื้อจุลินทรีย์
เช่น บัคเตรี เชื้อรา ยีสต์ หรือแม้แต่เม็ดเลือดแดง
โดยที่โมโนไซต์สามารถกินของใหญ่ๆ ได้ บางทีจึงเรียกกันว่า แมโครเฟจ
(macrophage) เทียบกับนิวโตรฟิล ซึ่งเรียกว่า ไมโครเฟจ (microphage)
โมโนไซต์มีชีวิตในกระแสโลหิตที่หมุนเวียนเพียงระยะสั้น เท่านั้น
ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายเข้าสู่เนื้อเยื่อ แล้วเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็น
ฮิสติโอไซต์ (Histiocyte)

เบโซฟิล หรือ มาสท์เซลล์ (mast cell)
ปัจจุบันเชื่อว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งในปฏิกิริยาภูมิแพ้ (hypersensitivity)
จากปฏิกิริยาของแอนติเจนกับแอนติบอดี
โดยไปทำให้เม็ดแกรนนูลของเบโซฟิลสลายตัวปล่อยสารฮิสทามีน
ซึ่งเป็นสารที่ทำให้มีอาการแพ้ออกมาอาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปตาม
ลักษณะอวัยวะที่เกิด เช่น ถ้าเป็นที่ผิวหนัง ทำให้มีอาการคัน
ถ้าเป็นที่หลอดลม ทำให้หลอดลมตีบ ทำให้มีอาการเป็นหืด
หรือถ้าหากมีสารฮิสทามีนจำนวนมากเข้าไปในกระแสโลหิต อาจทำให้เกิดอาการช็อก
(anaphylactic shock) ได้ เช่น ในกรณีของการแพ้เพนิซิลลิน เป็นต้น

อีโอซิโนฟิล เชื่อว่ามีหน้าที่เกี่ยวกับการขจัดฤทธิ์ของฮิสทามีน ในปัจจุบันยังไม่ทราบถึงธรรมชาติทางเคมี และกลไก ในการออกฤทธิ์ที่แน่นอน





















นิวโตรฟิล


















ลิมโฟไซต์


















โมโนไซต์











เกล็ดเลือด (Platelet)

         
เชื่อว่ามีกำเนิดมาจากไซโตพสาสม์ของเมกาคาริโอไซต์ (megakaryocyte)
ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ในไขกระดูก คือมีขนาดประมาณ ๓๕-๑๖๐
ไมโครเมตร ภายในไซโตพลาสม์มีเม็ดแกรนนูล นอกจากนั้นแล้ว
ไซโตพลาสม์ยังมีขาเทียม (pseudopods) เล็กๆ ยื่นออกมาเป็นจำนวนมาก
และต่อมาจะหลุดออกมาเป็นเกล็ดเลือด มีจำนวนประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ - ๔๕๐,๐๐๐ เซลล์ 
ในจำนวนเลือดหนึ่งมิลลิลิตร มีชีวิตอยู่ในกระแสโลหิตได้นานประมาณ ๘-๑๑ วัน
มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับ การห้ามเลือดโดยตรง โดยจะรวมตัวเป็นกระจุก
(Platelet plug)อุดตรงบริเวณที่มีหลอดเลือดฉีกขาด 
นอกจากนี้แล้วยังมีบทบาทสำคัญในกลไกการแข็งตัวของเลือด
โดยให้ปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด (platelet factors I, II, III และ IV)
อีกด้วย หน้าที่อื่นที่นอกเหนือจากนี้คือการนำสารต่างๆ
ไปกับตัวเกล็ดเลือดด้วย คือ สารซีโรโทนิน (serotonin) สารแอดรีนาลิน
(adrenalin) และนอร์แอดรีนาลิน (noradrenalin) และยังพบอีกว่า
เกล็ดเลือดสามารถจับมวลสารขนาดเล็ก เช่น ไวรัส ได้ด้วย ดังนั้น
เกล็ดเลือดจึงมีความสำคัญในการต่อต้านเชื้อโรคด้วย





















เกล็ดเลือด (ส่วนที่กระจายอยู่รอบนอก) เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน











พลาสมา (Plasma)

         
เป็นส่วนน้ำของเลือดที่ไม่แข็งตัว หมายถึงเลือดที่ไม่มีสารที่เป็นมวลสาร
(formed elements) มวลสารหมายถึงเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด
ในพลาสมาจำนวน ๑๐๐ มิลลิลิตรมีโปรตีนอยู่ประมาณ ๖.๔ - ๘.๒ กรัม
          คุณสมบัติเฉพาะของพลาสมาโปรตีน
ประกอบด้วยส่วนที่เป็นคาร์โบไฮเดรต เรียกว่า ไกลโคโปรตีน (glycoprotein)
ส่วนที่เป็นไขมันเรียกว่า ไลโปโปรตีน (lipoprotein)
หรืออาจเรียกตามลักษณะการเคลื่อนตัวในสนามไฟฟ้า (electrophoretic mobility)
ว่า แอลบูมินแอลฟา -๑ แอลฟา -๒ บีตา และแกมมาโกลบูลิน เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้ว พลาสมายังมีความสำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดโดยตรง
โดยมีปัจจัยสำหรับการแข็งตัวของเลือดอยู่ถึง ๑๒ ชนิด ได้แก่ แฟกเตอร์ - I
หรือ ไฟบริโนเจน (fibrinogen) แฟกเตอร์ -II หรือ โพร-ทรอมบิน (prothrombin)
แฟกเตอร์ - III หรือ ทรอมโบพลาสติน (thromboplastin) แฟกเตอร์ -IV หรือ
แคลเซียม (calcium)แฟกเตอร์ -V หรือ เลไบล์แฟกเตอร์ (labile  factor) 
แฟกเตอร์  -VII หรือ โพรคอนเวอร์ติน (proconvertin) แฟกเตอร์
-VIIIหรือแอนติฮีโมฟิลิกโกลบูลิน (antihemophilic globulin) แฟกเตอร์ -IX
หรือคริสต์มัสแฟกเตอร์ (christmas factor) แฟกเตอร์ -
Xหรือสจวร์ตโพรเวอร์แฟกเตอร์ (stuart - prower factor) แฟกเตอร์ -XI หรือ
พลาสมาทรอมโบพลาสตินแอนติซิเดนท์ (plasma thromboplastin anticedent)
แฟกเตอร์ - XII หรือ เฮจแมนแฟกเตอร์ (hageman factor) และแฟกเตอร์ - XIII
หรือ ไฟบรินสเตบิไลชิง แฟกเตอร์ (fibrin stabilising factor)



















พลาสมาแห้ง











สรุปประโยชน์ของเลือดต่อชีวิตมนุษย์

         
๑. ทำหน้าที่ในการหายใจ โดยนำออกซิเจนจากปอดไปสู่เนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ
ของร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์จากเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ
ทั่วร่างกายมาฟอกที่ปอด 
๒. ทำหน้าที่ลำเลี้ยง  เช่น
นำอาหารที่ดูดซึมจากลำไส้ฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ และของเสีย
(จากการเผาไหม้) ไปสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย 
๓. รักษาดุลน้ำ และดุลความเป็นกรดด่างของร่างกาย 
๔. รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย โดยการกระจายความร้อน 
๕. เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดทำหน้าที่ต่อต้านการติดเชื้อ 
๖. ปัจจัยต่างๆ ของการแข็งตัวของเลือดและเกล็ดเลือด มีหน้าที่เกี่ยวกับการห้ามเลือดโดยตรง


          เนื่องจากเลือดและส่วนประกอบต่างๆ ของเลือดมีหน้าที่เฉพาะตัว
เมื่อผู้ป่วยเสียเลือด
หรือเมื่อร่างกายขาดส่วนใดส่วนหนึ่งของเลือดจนทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น 
จึงมีความจำเป็นต้องให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือดส่วนที่ขาดนั้นทดแทนให้
เพียงพอ ปัจจุบัน ยังไม่มีโรงงานผลิตเลือดหรือส่วนประกอบของเลือด
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคเลือดภายใน
ร่างกายซึ่งเป็นส่วนเกินสำหรับให้ทดแทน มิฉะนั้น
ผู้ป่วยที่ขาดเลือดหรือส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของเลือดอาจเสียชีวิตได้





















ผู้ป่วยกำลังรับการให้เลือด








Free TextEditor




 

Create Date : 07 ตุลาคม 2553   
Last Update : 7 ตุลาคม 2553 17:18:02 น.   
Counter : 881 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  

dinshay
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ออกกำลัยกันเถอะ
[Add dinshay's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com