พบปูแสมชนิดใหม่ที่หมู่เกาะในจ.สุราษฯ




Lithoselatium tantichodoki Promdam & Ng, 2009 เป็นปูแสมหินชนิดใหม่ของโลก ได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเกียรติให้กับ ผศ.ดร. ปิติวงษ์ ตันติโชดก อาจารย์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้อุทิศตนให้กับการสอนวิชาชีววิทยา และนิเวศวิทยาทางทะเลให้กับนักศึกษาจากหลากหลายสถาบันทั่วประเทศ ผ่านโครงการสอนนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อน ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน (สวพ.) จังหวัดภูเก็ต โดยดำเนินการผ่านมาแล้วเป็นเวลา 18 ปี และนอกจากนั้นยังเป็นหัวหน้าโครงการ ความหลากชนิดของปูน้ำเค็มในอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ ที่ได้ทำการรวบรวมตัวอย่างปูชนิดใหม่นี้ได้ ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การสนับสนุนของโครงการ BRT โดยมีนายเรืองฤทธิ์ พรหมดำ นักวิชาการประมง สวพ. ที่เป็นนักวิจัยร่วมในโครงการนี้เป็นผู้ค้นพบร่วมกับศาสตราจารย์ปีเตอร์ อึง (Peter Ng) มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์








ปูแสมชนิดใหม่นี้ พบอาศัยอยู่บนหาดหินบนเกาะที่ห่างไกลจากแหล่งชุมชน ภายในเขตอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ จัดเป็นปูหายาก ซึ่งเป็น endemic species

สำหรับปูในสกุลนี้ที่ได้รับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้ พร้อมกับการตั้งเป็นสกุลใหม่มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ Lithoselatium pulchrum Schubart, Liu & Ng, 2009 จากไต้หวัน และ Lithoselatium kusu Schubart, Liu & Ng, 2009 จากสิงคโปร์ และมาเลเซีย ในวารสาร Zootaxa ฉบับที่ 2154 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดย L. tantichodoki มีลักษณะคล้ายคลึงกับ L. kusu แต่ก็มีความแตกต่างกันเพียงพอที่จะตั้งเป็นชนิดใหม่ ได้แก่ สัดส่วนความกว้างยาวของขาเดิน (ในปูขนาดใกล้เคียงกัน) ลักษณะของอวัยวะเพศผู้คู่แรก การจัดเรียงปุ่มบนนิ้วบนของก้าม (dactylus) และลวดลาย และสีสัน เป็นต้น

เอกสารที่ตีพิมพ์
Promdam, R. & P. K. L. Ng. 2009. Lithoselatium tantichodoki, a new species of intertidal crab  (Crustacea:  Brachyura: Sesarmidae)  from southern Thailand. Zootaxa. 2291: 24-34.




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2552   
Last Update : 16 ธันวาคม 2552 15:19:13 น.   
Counter : 1041 Pageviews.  

ทากเปลือยป่าชายเลนชนิดใหม่ ชื่อไอ้เท่ง




ภาพด้านข้าง


จากการทำงานร่วมกันของดร.สเวนเนน ชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้เชี่ยวชาญสัตว์กลุ่มหอย กับนายสมศักดิ์ บัวทิพย์ และทีมงานม.สงขลานครินทร์ ว.ปัตตานี ได้ค้นพบทากเปลือยแสนประหลาดจากป่าชายเลนในบริเวณอ่าวปากพนัง จ. นครศรีธรรมราช โดยมีขนาดเล็กเพียง 8-12 ม.ม. มีดวงตาขนาดใหญ่แนบติดอยู่กับส่วนหัว ไม่ยื่นออกเป็นก้านตา อาศัยอยู่ในบริเวณริมปลัก หรือแอ่งน้ำขนาดเล็กจากรอยเท้าและรูปูที่มีน้ำปริ่ม ภายในเขตน้ำขึ้นน้ำลงที่น้ำท่วมถึงเฉพาะช่วงน้ำเกิด (spring high tides)ของป่าชายเลน (ซึ่งมียุงชุม) กินตัวอ่อนของแมลง เช่นลูกน้ำเป็นอาหาร 

ด้วยความแปลกประหลาดดังกล่าว จึงทำให้ทากชนิดนี้กลายเป็นทากเปลือยชนิด สกุล และวงศ์ใหม่ของโลก โดยมีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ว่า Aiteng ater (ไอ้เท่ง เอเตอร์) โดยคำว่า Aiteng ผู้ตั้งชื่อได้ให้เหตุผลว่าในพื้นที่ละแวกที่พบตัวอย่างของจ.นครศรีธรรมราช จะพบมีรูปปั้นของตัวหนังตะลุงที่ชื่อเท่ง หรือไอ้เท่ง อยู่ทั่วไปตลอดทาง (รวมทั้งรูปปั้นหนังตะลุงตัวอื่นๆ) โดยรูปปั้นมีลักษณะดวงตาขนาดใหญ่อยู่ด้านข้างของศีรษะ ทำให้นึกถึงลักษณะของทากเปลือยดังกล่าว ส่วนคำว่า ater เป็นคำละตินหมายถึงสีดำ ตามสีของทากเปลือยชนิดนี้ตอนยังมีชีวิต ส่วนชื่อวงศ์ได้ตั้งขึ้นตามชื่อสกุล เป็น Atengidae จัดอยู่ในอันดับ Sacoglossa ชั้นย่อย Opisthobrachia




ข้อมูลจาก
Aiteng ater, new genus, new species, an amphibious and insectivorous sea slug that is difficult to classify [Mollusca: Gastropoda: Opisthobranchia: Sacoglossa(?): Aitengidae, new family]". Cornelis (Kees) Swennen and Somsak Buatip. Pp. 495–500.


//rmbr.nus.edu.sg/rbz/biblio/57/57rbz495-500.pdf



นกกินเปี้ยวข่าว รายงาน
9 ก.ย. 2552




 

Create Date : 09 กันยายน 2552   
Last Update : 10 กันยายน 2552 0:01:15 น.   
Counter : 763 Pageviews.  

ชีวิตที่เกื้อหนุนกันของ...ปูน้ำเค็มกับป่าชายเลน

ชีวิตที่เกื้อหนุนกันของ...ปูน้ำเค็มกับป่าชายเลน







ความรัก อีกรูปแบบหนึ่งที่มีอยู่บนโลกนี้
คือความรักแบบพึ่งพาอาศัยกันของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน ระหว่างสัตว์กับพืช
ที่จะกล่าวถึงในวันนี้ คือการอยู่ร่วมกันของปูน้ำเค็ม กับ ป่าชายเลน...


ปูน้ำเค็ม กับ ป่าชายเลน เป็นการสะท้อนภาพการอยู่อย่างเกื้อหนุนกัน
ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้และไม่เคยสังเกต
ป่าชายเลนซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีพันธุ์ไม้ป่าชายเลนรวมกันอยู่มากมายหลายชนิด
เปรียบเสมือนปราการที่ยิ่งใหญ่
ที่ปกป้องแนวชายฝั่งทะเลไม่ให้ถูกกัดเซาะจากแรงของคลื่น
แหล่งที่อยู่อาศัยและอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน
และยังเป็นแหล่งหากินของชุมชนริมฝั่ง ทะเล ขณะเดียวกันหากสังเกตดี ๆ
จะเห็นว่าป่าชายเลนทุกแห่งต้องมีปูน้อยใหญ่ ที่วิ่งกันขวักไขว่ไปมา
นั่นอาจเป็นเพราะปูกับต้นไม้ในป่าชายเลนมีสัมพันธภาพที่ลึกซึ้ง
เกื้อกูลกันเป็นอย่างดี จนเรียกได้ว่า “มีเธอจึงมีฉัน”


เรืองฤทธิ์ พรหมดำ หนึ่งในทีมนักวิจัยในชุดโครงการขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้
โดยการสนับสนุนของโครงการพัฒนาองค์ความรู้  
และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย และบริษัทโททาล
อีแอนด์พี  ไทยแลนด์
เล่าว่าจากการศึกษาวิจัยเรื่องปูน้ำเค็มในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดขนอม
-หมู่เกาะทะเลใต้
ทำให้ได้เห็นความสัมพันธ์อันน่าประทับใจของปูน้ำเค็มที่อาศัยอยู่ในป่าชาย
เลน


“ต้นไม้ทุกชนิดจำเป็นต้องมีธาตุอาหารสำหรับการเจริญเติบโต
แต่คำถามคือต้นไม้ในป่าชายเลนได้ธาตุอาหารมาจากที่ไหน
คำตอบก็คือจากเจ้าปูตัวน้อย ๆ ที่เดินกันไปมาในป่าชายเลน
ปูจะทำหน้าที่เป็นผู้หมุนเวียนสารอาหาร และ  
เร่งอัตราการย่อยสลายของอินทรียสารให้กับป่า   ชายเลน โดยหลัก ๆ
จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ปูกลุ่มที่กินอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ปูแสม
(หรือปูเค็ม) ปูกลุ่มนี้จะกินใบไม้ในป่าชายเลนที่ร่วงหล่นลงบนพื้นป่า
โดยการนำมาฉีกตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำกลับไปเก็บไว้ในรู
เพื่อให้จุลินทรีย์ได้ช่วยย่อยสลายเศษใบไม้ก่อน
จากนั้นปูจึงค่อยกินเศษซากใบไม้
อาหารเหล่านี้จะผ่านกระเพาะและทางเดินอาหารอย่างรวดเร็ว
แต่จะสามารถดูดซึมสารอาหารได้น้อย ปูจึงต้องกินในปริมาณมาก
เพื่อให้ได้สารอาหารที่เพียงพอ
ซึ่งอินทรียสารที่ได้รับการย่อยสลายจากปูกลุ่มนี้จะถูกส่งต่อไปเป็นอาหาร
ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับสัตว์ชนิดอื่นที่เป็นสัตว์ที่มีคุณค่าทาง
เศรษฐกิจ เช่น ปลากระบอก กุ้งทะเล หอยแมลงภู่ และหอยอีกหลายชนิด


ปูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ปูที่กินดินกินทราย
ซึ่งได้สารอาหารส่วนหนึ่งจากมูลของปูกลุ่มแรก
เมื่อปูกินอินทรียสารแล้วขับถ่ายออกมา มูลของปูจะกลายเป็นปุ๋ย
ที่เป็นแร่ธาตุกลับคืนสู่ดิน และสู่ต้นไม้อย่างเป็นวัฏจักร
หรือแม้แต่พฤติกรรมการขุดรูของปูที่ขุดชอนไชลงไปในดินเพื่ออาศัย
ยังเป็นเส้นทางนำพาออกซิเจนเข้าสู่ชั้นดินเบื้องล่าง
เพิ่มความสามารถในการย่อยสลายอินทรียสารให้กับจุลชีพ
ซึ่งสร้างแร่ธาตุให้กับดินอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นคำตอบของคำกล่าวที่ว่า
มีเธอถึงมีฉัน นั่นก็เพราะมีปูจึงมีป่าชายเลนนั่นเอง


นอกจากนี้
จากการศึกษาชนิดความหลากหลายของปูน้ำเค็มในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณอุทยาน
แห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้
ทำให้พบว่าพื้นที่บริเวณนี้มีความหลากหลายของปูน้ำเค็มหลายชนิด
โดยขณะนี้สามารถรวบรวมได้แล้วถึง 21 ชนิด จาก 14 สกุล ใน 7 วงศ์
ซึ่งแต่ละชนิดมีสีสันที่สวยงาม จนเปรียบได้ว่าเป็น
อัญมณีสีสดใสในผืนป่าชายเลน อาทิ ปูก้ามดาบ หรือเปี้ยวโนรา
ปูที่พบมากที่สุดในบริเวณนี้
ด้วยลักษณะพฤติกรรมที่ชอบโบกก้ามข้างใหญ่ไปมาคล้ายกับท่ารำของการรำโนรา
และสีสันที่หลากหลาย ทั้งสีส้ม เหลือง ชมพู
ปูแสมหลายชนิดที่มีสีสันฉูดฉาดสดใสไม่แพ้กัน 


เห็นได้ว่าพื้นที่ชายฝั่งและในทะเลของประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ
มีสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่ถูกค้นพบ
และสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดล้วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
หากขาดสิ่งมีชีวิตตัวใดตัวหนึ่งไป ก็อาจจะส่งผลกับระบบนิเวศทั้งหมดได้
เป็นเหตุผลที่ว่าเหตุใดมนุษย์อย่างเราจึงควรหันมาให้ความรักกับธรรมชาติ
ก็เพราะมนุษย์เองก็ไม่อาจจะอยู่รอดได้ หากขาดทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้
และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ.



ที่มา: 





18 กุมภาพันธ์ 2552


//www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=70048&Newstype=2&template=2







 

Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2552   
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2552 13:44:23 น.   
Counter : 445 Pageviews.  

ชนิดปูน้ำเค็มของจังหวัดปัตตานี



ชนิดปูน้ำเค็มที่รวบรวมจากพื้นที่จังหวัดปัตตานี







CHECKLIST OF PATTANI MARINE BRACHYURAN CRABS
(in my studies specimens)





Family Dromiidae
Lauridromia indica
Conchoecetes artificiosus

Conchoecetes intermedius



Family Dorippidae
Doripppoides facchino
Neodorippe callida
Dorippe quadridens


Family Calappidae
Calappa philargius
Calappa clypeata
Calappa capellonis


Family Iphiculidae
Iphiculus spongiosus


Family Leucosiidae
Soceulia brunnea
Soceulia sp.
Suelocia rhomboidalis
Seulocia sp.
Urnalana haematosticta
Leucosiidae sp. I
Leucosiidae sp. II
Paranursia abbreviata
Arcania undecimspinosa
Arcania erinaceus
Arcania heptacantha
Philyra globulosa
Philyra olivacea
Pseudophilyra cf. melita
Myra fugax
Myra coalita
Ixa cylindrus


Family Matutidae
Ashtoret lunaris
Matuta planipes
Matuta victor


Family Inachidae
Camposcia retusa


Family Majidae
Prismatopus sp.


Family Mithracidae
Micippa thalia


Familly Epialtidae
Doclea armata
Doclea ovis
Doclea canalifera
Doclea rissonii
Hyastenus diacanthus
Hyastenus aries
Phalangipus longipes


Family Parthenopidae
Parthenope longimanus
Enoplolambrus echinatus
Rhinolambrus pelagicus
Rhinolambrus longispinis
Pseudolambrus harpax
Cryptopodia fornicata


Family Corystidae
Gomeza bicornis


Familly Portunidae
Lupocyclus rotundatus
Portunus pelagicus
Portunus sanguinolentus
Portunus hastatoides
Portunus tenuipes
Portunus tuberculosus
Portunus haanii
Portunus pseudoargentatus
Portunus gracilimanus
Scylla serrata
Scylla tranquebarica
Scylla olivacea
Charybdis feriatus
Charybdis affinis
Charybdis anisodon
Charybdis natator
Charybdis hellerii
Charybdis variegata
Charybdis vadorum
Charybdis truncata
Thalamita sima
Podophthalmus vigil


Family Euryplacidae
Eucrate alcocki
Eucrate sp. I
Eucrate sp. II


Family Scalopidiidae
Scalopidia spinosipes



Family Chasmocarcinidae
Chasmocarcinops gelasimoides


Family Menippidae
Myomenippe hardwickii


Family Pilumnidae
Pilumnus longicornis
Pilumnus minutus
Pilumnopeus makiana
Pilumnopeus eucratoides
Heteropanope glabra
Rhizopa gracilipes


Family Galeneidae
Parapanope euagora
Galene bispinosa
Halimede ochtodes



Family Xanthidae
Demania scaberrima
Actaea polyacantha
Lophozozymus pictor
Zalasius sakii



Family Pinnotheridae
Arcotheres guinotae?


Family Camptandriidae
Camptandrium sexdentatum


Family Ocypodidae
Ocypode ceratophthalmus
Uca annulipes
Uca perplexa
Uca forcipata
Uca paradussumieri
Uca urvillei


Family Macropthalmidae
Macrophthalmus latreillei
Macrophthalmus teschi


Family Dotillidae
Ilyoplax orientalis
Dotilla wichmani


Family Grapsidae
Metopograpsus frontalis


Family Sesarmidae
Nanosesarma pontianacensis
Parasesarma plicatum
Perisesarma eumolpe
Episesarma mederi


Family Varunidae
Varuna yui
Metaplax elegans




ดูภาพของแต่ละชนิดได้ที่

//www.flickr.com/photos/crabhunter/sets/72157609182557338




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2551   
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2552 13:48:49 น.   
Counter : 1993 Pageviews.  

แนะนำเว็บสำหรับการค้นหาสถานที่ในประเทศไทย

รู้จักเว็บที่ว่านี้นานแล้ว เป็นเว็บที่ใช้งานได้ดี เหมาะสำหรับผู้ที่จะออกไปสำรวจหรือไปเที่ยวที่ๆ ยังไม่เคยไป ไม่รู้จักเส้นทาง

เว็บนี้ทำงานร่วมกับเว็บ Google Map และโปรแกรม Google Earth ได้ด้วย ใครยังไม่เคยใช้ ก็ลองเข้าไปมั่วดูครับ อิอิ ไม่น่าจะยากนะครับ

ในช่องที่ให้กรอกในหน้าแรกของลิงค์ที่ให้ไป สามารถกรอกชื่อสถานที่ได้ตั้งแต่ อำเภอ ตำบล หมูบ้าน ถนน เลยทีเดียว พวกชื่อสถานที่ท่องเที่ยวอย่างน้ำตก ชายหาด หรือเกาะ ก็ค้นหาได้เช่นกัน ผลลัพท์จากการค้นจะมีลิงค์มาให้เลือก (ในกรณีที่ชื่อสถานที่มีมากกว่า 1 แห่ง) จากนั้นพอคลิ๊กลิงค์เข้าไป จะปรากฏแผนที่ และจุดที่เราค้นหา ก็จะสามารถซูมเข้าซูมออก หรือเลื่อนได้ เช่นเดียวกับโปรแกรม GIS ในเว็บอื่นๆ

ลองเล่นกันดูครับ ที่ //www.zoomhit.com




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2551   
Last Update : 3 มิถุนายน 2551 22:21:12 น.   
Counter : 361 Pageviews.  

1  2  

นกกินเปี้ยว
Location :
ภูเก็ต Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




www.flickr.com
This is a Flickr badge showing items in a set called Marine Brachyuran Crabs of Pattani. Make your own badge here.



www.flickr.com
This is a Flickr badge showing public photos and videos from CrabHunter. Make your own badge here.
[Add นกกินเปี้ยว's blog to your web]