Group Blog
 
All blogs
 

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ควบคุมอาคาร

ผู้ตรวจสอบอาคาร | คู่มือแนะนำเจ้าของอาคาร | กฏหมายที่เกี่ยวข้อง | ข่าวสาร ตรวจสอบอาคาร



กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านโยธาธิการและผังเมือง
Link: //www.dpt.go.th/law/#Top

กฎหมายควบคุมอาคาร
Link : //www.dpt.go.th/law/#Cate2

****************************************************
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง : ตรวจสอบอาคาร
กฎหมายควบคุมอาคาร

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พรบ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543

กฎกระทรวง
กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ
พ.ศ. 2548

ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่องให้ผู้ประกอบกิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายมีใว้ซึ่ง
อุปกรณ์เครื่องช่วยในการหนีไฟจากอาคารที่ประกอบกิจการ

ข้อบัญญัติท้องถิ่น
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544

กฎหมายโรงงาน

พระราชบัญญัติโรงงาน
พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535

กฎกระทรวง
กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535)

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2513)




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2552    
Last Update : 19 กันยายน 2552 20:48:00 น.
Counter : 633 Pageviews.  

คู่มือแนะนำการปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องการตรวจสอบสภาพอาคารสำหรับเจ้าของอาคาร

ผู้ตรวจสอบอาคาร | คู่มือแนะนำเจ้าของอาคาร | กฏหมายที่เกี่ยวข้อง | ข่าวสาร ตรวจสอบอาคาร


 - ผู้ตรวจสอบอาคาร -
1. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบสภาพอาคาร
คำถามที่เจ้าของอาคารมักสงสัยว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากการตรวจสอบสภาพอาคาร กฎหมายบังคับเกินความจำเป็นหรือไม่ คงต้องพิจารณาถึงที่มาของการออกกฎหมาย แนวความคิดและวัตถุประสงค์ของกฎหมายก่อน
เนื่องจากอาคารจะมีโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ภายในอาคารที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชน เช่น ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ระบบไฟฟ้า ระบบลิฟต์ ฯลฯ ซึ่งระบบต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อมีการใช้งานไประยะหนึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจสอบดูแลและบำรุงรักษา เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา ซึ่งในการใช้อาคารอย่างถูกต้องและปลอดภัยแล้ว แม้กฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องทำการตรวจสอบสภาพอาคารและบำรุงรักษา แต่ก็เป็นเรื่องที่เจ้าของอาคารควรจะดำเนินการอยู่แล้ว
มีหลายกรณีที่เกิดเหตุการณ์อาคารถล่มหรือไฟไหม้ โดยเฉพาะอาคารสาธารณะที่มีคนเข้าไปใช้สอยเป็นจำนวนมาก แม้จะมีเหตุที่บ่งชี้ว่าโครงสร้างของอาคารเกิดการวิบัติขึ้นแล้ว และจะอันตรายอย่างร้ายแรงถึงขั้นอาคารถล่มหากไม่ได้รับการแก้ไข แต่เจ้าของอาคารก็ไม่ทราบและไม่คาดคิดว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นร้ายแรงเพียงใด หรือกรณีเพลิงไหม้โรงแรมบางแห่งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะมีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ แต่เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ระบบกลับไม่ทำงาน ทำให้ผู้ใช้อาคารไม่ทันได้ระวังตัวและหนีไม่ทัน ได้ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจสอบสภาพระบบต่างๆ ของอาคารได้เป็นอย่างดี
ในปัจจุบันนี้มีหลายอาคารที่คำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่ใช้อาคาร โดยจัดให้มีการบำรุงรักษาโครงสร้างและระบบต่างๆ ของอาคารให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมออยู่แล้ว ถึงกระนั้นการตรวจสอบสภาพอาคารก็ยังมีความจำเป็น เนื่องจากเป็นระบบการตรวจทานมิให้เกิดข้อผิดพลาดจากการดูแลบำรุงรักษาอาคารโดยผู้ตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นบุคคลที่สามหรือ Third party

2. บทบาทของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
กฎหมายได้กำหนดให้เจ้าของอาคารต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ต้องทำการตรวจสอบสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) ความมั่นคงแข็งแรงอาคาร ได้แก่
(ก) การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
(ข) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นที่อาคาร
(ค) การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
(ง) การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
(จ) การชำรุดสึกหรอของอาคาร
(ฉ) การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
(ช) การทรุดตัวของฐานรากอาคาร
(2) ระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร ได้แก่
(ก) ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
(1) ระบบลิฟต์
(2) ระบบบันไดเลื่อน
(3) ระบบไฟฟ้า
(4) ระบบปรับอากาศ
(ข) ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
(1) ระบบประปา
(2) ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
(3) ระบบระบายน้ำฝน
(4) ระบบจัดการมูลฝอย
(5) ระบบระบายอากาศ
(6) ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง
(ค) ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
(1) บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
(2) เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
(3) ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
(4) ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
(5) ระบบลิฟต์ดับเพลิง
(6) ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
(7) ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
(8) ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง
(9) ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
(10) ระบบป้องกันฟ้าผ่า
(3) สมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร ได้แก่
(ก) สมรรถนะบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
(ข) สมรรถนะเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
(ค) สมรรถนะระบบแจ้งสัญญาณเหตุเพลิงไหม้
(4) ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร ได้แก่
(ก) แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร
(ข) แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร
(ค) แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร
(ง) แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร

3. ประเภทอาคารที่ต้องตรวจสอบและกำหนดวันที่ต้องส่งรายงานการตรวจสอบ
อาคารที่ต้องตรวจสอบมี 9 ประเภท ได้แก่
3.1 อาคารสูง (อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ยี่สิบสามเมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด)
3.2 อาคารขนาดใหญพิเศษ (อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่หนึ่งหมื่นตารางเมตรขึ้นไป)
3.3 อาคารชุมนุมคน (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป)
3.4 โรงมหรสพ (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม)
3.5 โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตังแต่แปดสิบห้องขึ้นไป
3.6 อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม (อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ ละครอบครัว) ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
สำหรับอาคารชุดและอาคารอยู่อาศัยรวมที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษจะได้รับการผ่อนผันเรื่องกำหนดเวลาการตรวจสอบคือ
- กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2555
- กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันเกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2553
3.7 อาคารโรงงานที่สูงกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
3.8 ป้ายสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปหรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป
3.9 สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
ทั้งนี้ อาคารทั้ง 9 ประเภท (เว้นแต่อาคารตามข้อ 3.6 ที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ) ต้องถูกตรวจสอบและส่งรายงานการตรวจสอบก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2550
สำหรับกรณีพื้นที่นอกเขตควบคุมอาคาร (พื้นที่ที่ยังไม่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือพื้นที่นอกเขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง) อาคารที่ต้องทำการตรวจสอบมี 4 ประเภท ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ

4. คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบ
ผู้ตรวจสอบจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ โดยต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา
(ก) มีสัญชาติไทย
(ข) ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก แล้วแต่กรณี
(ค) ผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบ
ของอาคารตามที่คณะกรรมการควบคุมอาคารรับรอง
(ง) ไม่เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบในระยะเวลาสองปีก่อนวันขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ
(2) ถ้าเป็นนิติบุคคล
(ก) ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย โดยทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องเป็นของ
ผู้มีสัญชาติไทย และมีผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือกรรมการเป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือกรรมการทั้งหมด
(ข) ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก แล้วแต่กรณี
(ค) สมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคลจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องผ่านการอบรม
หลักสูตรเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารที่คณะกรรมการควบคุม
อาคารรับรอง
(ง) สมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคลตาม (ค) ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียน
เป็นผู้ตรวจสอบในระยะเวลาสองปีก่อนวันขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ
สมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคล ได้แก่ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการหรือผู้บริหารตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลในการตรวจสอบอาคาร
ผู้ตรวจสอบดังกล่าวต้องขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการควบคุมอาคาร โดยจะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ ตามแบบ รต. 1 จากคณะกรรมการควบคุมอาคาร


คลิกLink //www.dpt.go.th/auditbldg_ps/ListPSUserPrtCard.php?ided1=912
ภาพแสดงหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร (แบบ รต. 1)


?? จะหาผู้ตรวจสอบได้จากที่ใด
เจ้าของอาคารสามารถค้นหารายละเอียดข้อมูลของผู้ตรวจสอบอาคารได้ในเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง (www.dpt.go.th) ซึ่งจะมีรายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของผู้ตรวจสอบอาคาร แสดงไว้เพื่อให้เจ้าของอาคารได้พิจารณาเลือกผู้ตรวจสอบอาคารด้วยตนเอง

?? ราคาค่าตรวจสอบ
ราคาค่าตรวจสอบขึ้นอยู่กับ
1. ลักษณะและขอบเขตของการทำงานตรวจสอบ ซึ่งเป็นการตรวจสอบแบบ Audit ด้วยสายตา ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบเพื่อสังเกตว่ามีสิ่งที่ผิดปกติกับระบบนั้นๆ หรือไม่ ระบบต่างๆ มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานที่ไม่สลับซับซ้อน หากพบว่ามีสิ่งที่ผิดปกติ ผู้ตรวจสอบจะรายงานให้เจ้าของอาคารทราบเพื่อจัดหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นเข้ามาทำการตรวจวิเคราะห์
และซ่อมแซมแก้ไข แล้วผู้ตรวจสอบจะทำหน้าที่ตรวจว่า การแก้ไขนั้นถูกต้องสมบูรณ์และทำให้ระบบที่ได้รับการซ่อมแซมแก้ไขอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
2. ชนิด ประเภทและขนาดของอาคาร รวมทั้งจำนวนของระบบต่างๆ ของอาคารนั้นและความสลับซับซ้อนของระบบ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดปริมาณงานที่ต้องตรวจสอบ
ทั้งนี้ เจ้าของอาคารต้องเป็นผู้เจรจาตกลงราคากับผู้ตรวจสอบ

5. รายละเอียดการตรวจสอบ
?? การตรวจสอบใหญ่
เป็นการตรวจสอบโครงสร้างอาคารและระบบทุกระบบ ตามที่กล่าวมาแล้วข้อ 2. โดยให้กระทำทุก 5 ปี ในการตรวจสอบใหญ่ทุกครั้ง ผู้ตรวจสอบต้องจัดทำแผนต่างๆ ดังนี้
(1) แผนปฏิบัติการการตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร รวมทั้งคู่มือ
ปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวให้แก่เจ้าของอาคาร เพื่อเป็นแนวทางการตรวจบำรุงรักษาและการบันทึกข้อมูล
การตรวจบำรุงรักษาอาคาร
(2) แผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปี รวมทั้งแนวทางการตรวจสอบตามแผนดังกล่าวให้แก่เจ้าของอาคาร เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปี
?? การตรวจสอบประจำปี
เป็นการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปีที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทำไว้ในการตรวจสอบใหญ่ การตรวจสอบประจำปีให้กระทำทุกปี

6. ขั้นตอนที่เจ้าของอาคารต้องดำเนินการ
6.1 เจ้าของอาคารต้องปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารและคู่มือปฏิบัติตามแผนดังกล่าวที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทำไว้ในการตรวจสอบใหญ่ เพื่อเป็นแนวทางการตรวจบำรุงรักษาและการบันทึกข้อมูล การตรวจบำรุงรักษาอาคาร นอกจากนี้ยังต้องจัดให้มีการบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคารตามคู่มือปฏิบัติของผู้ผลิตหรือผู้ติดตั้งระบบและอุปกรณ์อาคาร หรือตามแผนปฏิบัติการการตรวจบำรุงรักษาที่ผู้ตรวจสอบกำหนด และจัดให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจบำรุงรักษาอาคารตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด
หากผู้ตรวจสอบเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ควรดำเนินการตามข้อเสนอแนะให้แล้วเสร็จ แล้วให้ผู้ตรวจสอบทำการตรวจสอบอีกครั้งแล้วทำรายงานเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
6.2 เจ้าของอาคารต้องเสนอรายงานผลการตรวจสอบของอาคารและอุปกรณ์ของอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี โดยจะต้องเสนอในสามสิบวันวันก่อนวันที่ใบรับรองการตรวจสอบอาคารฉบับเดิมจะมีระยะเวลาครบหนึ่งปี
เมื่อได้รับใบรับรองการตรวจสอบแล้ว ให้แสดงใบรับรองการตรวจสอบไว้ในที่เปิดเผยเห็น ได้ง่าย ณ อาคารนั้น (ใบรับรองการตรวจสอบอาคารสามารถเปิดดูได้จากเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง //www.dpt.go.th)


ภาพแสดงใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (แบบ ร.1)

6.3 สำหรับอาคารที่ก่อสร้างแล้วเสร็จหรือได้รับใบรับรองประเภทอาคารควบคุมการใช้มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประเภทการตรวจสอบใหญ่เป็นครั้งแรก

7. ก่อนการตรวจสอบผู้ตรวจสอบต้องเตรียมตัวอย่างไร
เจ้าของอาคารต้องจัดหาแปลนหรือแผนผังรายการเกี่ยวกับการก่อสร้างหรือจัดทำแบบแปลนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคารไว้ให้ผู้ตรวจสอบเพื่อทำการตรวจสอบสภาพอาคาร

8. การดำเนินการตรวจสอบอาคาร
เมื่อผู้ตรวจสอบอาคารได้ตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารแล้วพบว่า อาคาร มีความปลอดภัยเพียงพอและถูกต้องตามกฎหมายและมาตรฐานแล้ว ผู้ตรวจสอบจึงลงนามรับรองผลการตรวจสอบสภาพอาคารนั้น แต่ถ้าผู้ตรวจสอบพบว่าอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารบางส่วนหรือ บางรายการไม่ผ่านหลักเกณฑ์หรือมาตรฐาน ผู้ตรวจสอบจะต้องทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงอาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารเพื่อให้อาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารดังกล่าวให้แก่เจ้าของอาคาร
การจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงอาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารนั้น หาก ผู้ตรวจสอบเห็นว่า จำเป็นต้องทำการตรวจสอบแบบเชิงวิเคราะห์และคำนวณทางหลักวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรมให้เป็นความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบอาคารนั้นแนะนำหรือจัดหาวิศวกรหรือสถาปนิกให้แก่เจ้าของอาคารที่สามารถดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์ หรือคำนวณพิสูจน์ หรือให้คำปรึกษาในการแก้ไขเพื่อให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น โดยวิศวกรหรือสถาปนิกนั้นต้องมีคุณสมบัติการประกอบวิชาชีพที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 หรือพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543

9. เจ้าของอาคารจะยื่นเอกสารอย่างไร
เจ้าของอาคารจะต้องเสนอรายงานผลการตรวจสอบอาคารที่ผู้ตรวจสอบลงนามรับรองให้แก่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ที่อาคารของตนตั้งอยู่ ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมอาคาร ได้แก่
9.1 นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
9.2 นายกองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
9.3 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
9.4 นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา

10. ระยะเวลาพิจารณาดำเนินการของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับรายงานผลการตรวจสอบแล้วจะต้องพิจารณารายงานผลการตรวจสอบภายใน 30 วัน และเมื่อเห็นว่า อาคารดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายและมีความปลอดภัย เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องออกใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคารโดยไม่ชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ

11. หากเจ้าของอาคารไม่จัดให้มีการตรวจสอบสภาพอาคารจะมีโทษตามกฎหมายอย่างไร
หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตรวจสอบอาคารจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

12. กฎหมายที่อ้างอิง
1. มาตรา 2 มาตรา 4 และมาตรา 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
2. กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548
3. กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ.2548




 

Create Date : 12 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 19 กันยายน 2552 20:45:20 น.
Counter : 350 Pageviews.  

ผู้ตรวจสอบอาคาร

ผู้ตรวจสอบอาคาร | คู่มือแนะนำเจ้าของอาคาร | กฏหมายที่เกี่ยวข้อง | ข่าวสาร ตรวจสอบอาคาร




ผู้ตรวจสอบอาคาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎกระทรวง การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร ได้แก่ กำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอน การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบ พ.ศ. 2548 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา

ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 8(14) ได้กำหนดให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารมีอำนาจออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับคุณสมบัติ เฉพาะ และลักษณะต้องห้ามของผู้ตรวจสอบอาคาร ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุม หรือสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายควบคุมอาคาร

ปัจจุบัน คณะกรรมการควบคุมอาคาร ได้กำหนดให้ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร จะต้องเข้ารับการอบรมโดยสถาบันซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมโยธาธิการ โดยแบ่งการอบรมเป็นภาคทฤษฎีจำนวน 33 ชั่วโมง และภาคการปฏิบัติจำนวน 12 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 45 ชั่วโมง และจะต้องมีการทดสอบความรู้ความสามารถของผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารมีแนวความคิดให้สภาวิศวกร และ / หรือ สภาสถาปนิก เป็นหน่วยงานกลางที่ดำเนินการดูแลเรื่องการจัดสอบ และส่งผลการทดสอบให้กรมโยธาธิการเพื่อดำเนินการออกใบอนุญาตผู้ตรวจสอบอาคาร ต่อไป ซึ่งสภาวิศวกรได้ทำหนังสือตอบรับยินดีจะเป็นหน่วยงานกลางเพื่อดำเนินการดัง กล่าว

และล่าสุด กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจสอบอาคาร ติดตั้งและตรวจสอบอุปกรณ์ประกอบของอาคาร ซึ่งออกตามความในมาตรา 8 (15) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคาร ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาข้อกฎหมาย และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งขณะนี้กฎกระทรวงทั้งสองฉบับได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา

อาคารที่ต้องทำการตรวจสอบตาม พรบ.มีทั้งหมด 9 ประเภท ได้แก่
1. อาคารสูง (อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพท้นดาดฟ้า สำหรับอาคารจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของ ชั้นสูงสุด)
2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่ อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่หนึ่งหมื่นตารางเมตรขึ้นไป)
3. อาคาร ชุมชนคน (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการ ชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป)
4. โรงมหรสพ (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม)
5. โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่แปดสิบห้องขึ้นไป
6. อาคาร ชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม (อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำกรับหลายครอบ ครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว) ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป สำหรับอาคารชุด และอาคารอยู่อาศัยรวมที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษจะ ได้รับการผ่อนผันการตรวจสอบคือ - กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2555 - กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันเกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2553
7. อาคารโรงงานที่สูงกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
8. ป้าย สูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปหรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป
9. สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป

ทั้งนี้อาคารทั้ง 9 ประเภท (เว้นแต่อาคารตามข้อ 6 ที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ) ต้องถูกตรวจสอบและส่งรายงานการตรวจสอบก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2550
สำหรับกรณีพื้นที่นอกเขตควบคุมอาคาร (พื้นที่ที่ยังไม่มีการประกาศพระราชกษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 หรือพื้นที่นอกเขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง) อาคารที่ต้องทำการตรวจสอบมี 4 ประเภท ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ

ประเภทการตรวจสอบอาคาร 1. การตรวจสอบใหญ่ กระทำทุก 5 ปี (กำหนดให้การตรวจสอบครั้งแรก เป็นการตรวจสอบใหญ่) 2. การตรวจสอบประจำปี



หน้าที่รับผิดชอบ ในการตรวจสอบอาคาร

แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
1) หน้าที่ของผู้ตรวจสอบอาคาร
2) หน้าที่ของเจ้าของอาคาร หรือ ผู้จัดการ นิติบุคคล
3) หน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น

หน้าที่ของ ผู้ตรวจสอบอาคาร
• ทำการตรวจสอบสภาพอาคาร และ อุปกรณ์ประกอบ ตามแผนบริหารจัดการ ของผู้ตรวจสอบ
• จัดทำรายงานผลการตรวจสอบสภาพอาคาร และ อุปกรณ์ประกอบ ให้แก่เจ้าของอาคาร
• หากพบว่ามีบางรายการ ไม่ผ่านเกณฑ์ ให้จัดทำข้อ เสนอแนะ และแนวทางการปรับปรุงแก้ไข แก่เจ้า ของอาคาร

หน้าที่ของเจ้าของอาคาร หรือ ผู้จัดการนิติบุคคล
• จัดหา หรือ จัดทำแบบแปลนการตรวจสอบอาคาร และอุปกรณ์ ประกอบอาคารทุกรายการที่ต้องตรวจสอบ
• เสนอรายงานผลการตรวจสอบ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี โดยเสนอภายใน 30 วัน ก่อนใบรับรองการตรวจสอบฉบับเดิมครบกำหนด
• ให้แสดงใบรับรองการตรวจสอบอาคารติดไว้ในที่เปิดเผยที่เห็นได้ง่าย
• จัดให้มีการตรวจและทดสอบระบบโดยละเอียดตามแผนที่กำหนด
• จัดให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจบำรุงรักษาตามช่วงเวลาที่กำหนด
• จัดให้มีการทดสอบสมรรถนะระบบความปลอดภัย การซ้อมหนีไฟ การบริหารจัดการความปลอดภัย และ อบรมพนักงาน

หน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
• เมื่อได้รับรายงานแล้ว ให้แจ้งเจ้าของอาคารทราบถึง ผลการพิจารณา ใน 30 วัน นับแต่วันได้รับรายงาน ผลการตรวจสอบ
• ในกรณีที่เห็นว่าอาคารดังกล่าว ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือตามมาตรฐาน และมีความปลอดภัยในการใช้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ออกใบรับรองการตรวจอาคาร ให้แก่เจ้าของอาคาร โดยไม่ชักช้า โดยไม่เกิน



//th.wikipedia.org/wiki/ผู้ตรวจสอบอาคาร

//www.safetytoyou.com/

//www.thaibuildinginspector.com/

กรมโยธาธิการและผังเมืองtarget='_blank'>//www.dpt.go.th/
สภาวิศวกร //www.coe.or.th/_coe/_home/index.php
สมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร//www.bsa.or.th/




ค้นหารายชื่อผู้ตรวจสอบอาคาร ประเภทบุคคลธรรมดา
//www.dpt.go.th/auditbldg_ps/ListPSUserPrtCard.php?ided1=912


ผู้ตรวจสอบอาคาร ประเภทบุคคลธรรมดา
เลขทะเบียน บ.0912/2550
ชื่อ นายบุญนาค พัฒน์ชูชีพ
โทรศัพท์ 081-735-6788
อีเมลล์ baanpu@yahoo.com
วันออกบัตร 14 พฤศจิกายน 2550
วันหมดอายุบัตร 14 พฤศจิกายน 2552








 

Create Date : 07 มีนาคม 2552    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2552 14:36:45 น.
Counter : 496 Pageviews.  

วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้

วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้



รู้หรือไม่ว่า ควันไฟจากเหตุการณ์เพลิงไหม้นั้น สามารถคร่าชิวิตคุณได้ เพราะภายในเวลา 1 วินาที ควันไฟสามารถลอยสูงขึ้นไปได้ถึง 3 เมตร และภายใน 1 นาที ควันไฟสามารถลอยขึ้นไปได้สูงเท่ากับตึก 60 ชั้น ดังนั้น ทันทีที่เกิดเพลิงไหม้ ควันไฟจะปกคลุมอยู่รอบๆ ตัวเราอย่างรวดเร็ว ทำให้สำลักควันไฟตายก่อนที่เปลวเพลิงจะคืบคลานมาถึงตัว ดังนั้น เราจึงควรเรียนรู้วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเพลิงไหม้ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของตัวคุณเอง

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัยได้ให้ข้อแนะนำว่า การออกไปอยู่ในอาคารปิดทึบ ไม่ว่าจะเป็นผับ บาร์ หรือห้างสรรพสินค้า สิ่งที่พึงกระทำเป็นอันดับต้นๆ คือการมองหาทางหนีไว้อย่างน้อย 2 ทาง เช่น สังเกตตำแหน่งบันไดหลักและบันไดหนีไฟ ประตู หน้าต่าง เส้นทางหนีไฟ และทางออกจากตัวอาคาร และจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ทางออกนั้นไม่ได้ปิดล็อกหรือมีสิ่งกีดขวาง สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยจริง
นอกจากนี้ ต้องสังเกตอุปกรณ์ช่วยชีวิตและอุปกรณ์เตือนภัยว่ามีอยู่หรือไม่ เป็นแบบใด อยู่ที่ไหน จำนวนและใช้อย่างไร ได้แก่ เครื่องดักจับควัน (Smoke Detectors) เครื่องดักจับความร้อน (Heat Detectors) อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ (Sprinkler) อุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉิน (Fire/Emergency Alarm) และเครื่องดับเพลิง (Fire Extinguisher)

วิธีการช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น
1. ต้องควบคุมสติให้ได้ อย่าตื่นกลัวจนทำอะไรไม่ถูก แล้วเปิดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้(ถ้ามี) และหากได้ยินสัญญาณเตือนไฟไหม้ ให้รีบออกจากตัวอาคารทันที อย่าเสียเวลาตรวจสอบว่าเพลิงไหม้ที่ใด
2. หากเพลิงมีขนาดเล็ก พอที่จะดับเองได้ ให้ใช้ถังดับเพลิง เพื่อดับไฟ หากไม่มีอุปกรณ์ หรือไม่สามารถดับเพลิงเองได้ ให้รีบแจ้งตำรวจดับเพลิง โทร. 199 จากนั้นรีบออกจากตัวอาคารทันที และปิดประตู-หน้าต่างห้องที่เกิดเพลิงไหม้ให้สนิทที่สุดทันที (ถ้าทำได้) เพื่อให้เกิดภาวะอับอากาศ วิธีนี้จะช่วยให้เพลิงไหม้ช้าลง ทำให้ง่ายต่อการดับเพลิง แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีใครติดอยู่ข้างใน แล้วรีบวิ่งหนีออกมา
3. หากอยู่ในอาคารที่มีเพลิงไหม้ ก่อนจะเปิดประตูต้องแตะลูกบิดก่อน โดยนั่งชันเข่าให้มั่นคงหลังประตู แล้วใช้หลังมือแตะที่ลูกบิดประตู ถ้ามีความร้อนสูงแสดงว่ามีเพลิงไหม้อยู่ในห้อง หรือบริเวณใกล้ๆ ดังนั้น อย่าเปิดประตูโดยเด็ดขาด แต่หากลูกบิดไม่ร้อน ให้ค่อยๆ บิดออกช้าๆ โดยใช้ไหล่คอยหนุนประตูไว้ หากทำได้ควรหาผ้าชุบน้ำปิดจมูก หรือผ้าห่มชุบน้ำชุ่มๆ ไว้ด้วย
4. หากต้องเผชิญกับควันไฟที่ปกคลุม ให้ใช้วิธีคลานต่ำๆ และหนีไปยังทางออกฉุกเฉิน เพราะอากาศที่พอหายใจได้จะอยู่ด้านล่างเหนือพื้นห้องไม่เกิน 1 ฟุต เนื่องจากผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุเพลิงไหม้ประมาณร้อยละ 90 เป็นผลมาจากสำลักควันไฟ เพราะมีทั้งก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไอร้อน ทำให้ขาดออกซิเจน ควรเตรียมหน้ากากหนีไฟฉุกเฉิน (Emergency smoke mask) ไว้จะปลอดภัยกว่า หรืออาจใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่ตักอากาศ แล้วคลุมศีรษะหนีฝ่าควันออกมา เพราะการคลานต่ำจะไม่สามารถทำได้จากชั้นบนลงชั้นล่างที่มีควัน
5. อย่าใช้ลิฟต์และบันไดเลื่อนขณะเกิดเพลิงไหม้ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะหยุดการทำงานเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้า ให้ใช้บันไดหนีไฟเท่านั้น
6. หากติดอยู่ในวงล้อมของไฟ ให้โทรศัพท์แจ้งหน่วยดับเพลิงว่าท่านอยู่ที่ตำแหน่งใดของเพลิงไหม้ แล้วหาทางช่วยเหลือตัวเองโดยปิดประตูให้สนิท หาผ้าหนาๆ ชุบน้ำอุดตามช่องที่ควันเข้าได้ เช่น ใต้ประตูหรือช่องลมต่างๆ ปิดพัดลมและเครื่องปรับอากาศ แล้วเปิดหน้าต่างส่งสัญญาณด้วยการใช้ไฟฉายหรือผ้าโบก และตะโกนขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้ เพื่อให้คนนอกอาคารรู้ตำแหน่งที่แน่นอน
7. หากมีไฟลามติดตัว อย่าเพิ่งวิ่ง เพราะยิ่งวิ่ง... ไฟจะยิ่งลุกลาม ให้หยุดนิ่ง และล้มตัวลงนอนกับพื้นทันที หลังจากนั้นให้ใช้มือปิดหน้า กลิ้งตัวทับเสื้อผ้าที่ติดไฟจนดับ
8.ถ้าหนีออกมาได้แล้ว ไม่ควรกลับเข้าไปในอาคารอีก หากยังมีคนอื่นติดอยู่ภายในอาคาร ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงทราบ เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่

การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจากไฟไหม้เบื้องต้น
1. ใช้น้ำสะอาด ราด รด หรือแช่ผู้บาดเจ็บจากไฟลวก เพื่อลดความเจ็บปวดของบาดแผล หยุดการทำลายจากความร้อน

2. หากผู้บาดเจ็บสวมแหวน นาฬิกา กำไล ให้รีบถอดออก เพราะไม่นานบริเวณที่ถูกความร้อนจะเกิดอาการบวม

3. ปิดแผลด้วยผ้าปิดแผล ถ้าหาไม่ได้ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอนหรือผ้าปูที่นอนพันบาดแผลไว้ และรีบนำส่งโรงพยาบาล


สิ่งที่ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า

1. บันไดหนีไฟ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด เมื่อเกิดเพลิงไหม้จะช่วยให้เราออกจากสถานที่เกิดเหตุได้ พวกอาคารสูงๆ นั้นก็ต้องมีบันไดหนีไฟไว้ด้วย แต่ถ้ามีบันไดแล้วใช้ไม่เป็นก็ไม่ดีแน่ค่ะ นี่คือข้อแนะนำในการใช้บันไดหนีไฟค่ะ
- ควรมีการตรวจสอบสภาพของบันไดหนีไฟให้พร้อมใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา
- ควรซักซ้อมความเข้าใจในการใช้บันไดหนีไฟ
- หากมีลูกกรงเหล็กดัด ต้องทำกลอนประตูที่เปิดออกได้ง่าย ไม่ควรคล้องกุญแจเด็ดขาด

2. อุปกรณ์ดับเพลิง ควรมีไว้ประจำบ้าน ประจำชั้นต่างๆ ของตึก และต้องเรียนรู้การใช้เครื่องดับเพลิงด้วย

3. วัตถุไวไฟ ควรเก็บให้มิดชิด หากไม่จำเป็นจริงๆ ควรเก็บไว้นอกที่พักจะดีกว่าค่ะ

4. อุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องรักษาให้อยู่ในสภาพดี ควรมีการตรวจสอบอยู่เสมอ หากพบว่าชำรุดต้องรีบแก้ไข ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันทีเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้ารั่ว ซึ่งเป็นต้นเหตุของเพลิงไหม้

5. อย่าใช้ลิฟท์ขณะเกิดเพลิงไหม้ เพราะลิฟท์จะเป็นช่องทางให้ควัน ความร้อนและเปลวไฟผ่าน และยิ่งถ้ากระแสไฟถูกตัดขาด รับรองว่าติดอยู่ในลิฟท์ตายแน่นอน

6. อย่าหวงข้าวของต่างๆ อย่าคิดว่ามีเวลาเหลือพอที่จะกอบโกยข้าวของออกมา ควรรีบหนีไฟออกมาก่อนดีกว่า เงินทองของนอกกาย ไม่ตายก็หาเอาใหม่ได้


โบราณว่า โจรปล้น 7 ครั้ง เสียหายน้อยกว่าไฟไหม้ครั้งเดียว...หวังว่าข้อแนะนำต่างๆ เหล่านี้ คงเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ อย่างไรก็ตาม หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญคือการมีสติเท่านั้นที่จะช่วยให้เรารอดชีวิตได้

--------------------------------------------------------------------------------

แหล่งข้อมูล

//hilight.kapook.com/view/32627

//www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=19355

แก้ไขล่าสุด ( วันจันทร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓:๔๔ น. )





สาระความรู้ งานระบบประกอบอาคาร ,บันไดหนีไฟ

//pirun.ku.ac.th/~b4655393/หน้าแรก.htm





 

Create Date : 07 มีนาคม 2552    
Last Update : 8 มีนาคม 2552 23:32:08 น.
Counter : 773 Pageviews.  

เอกสารกรมโยธาฯ เรื่องแนวทางในการออกใบ ร.๑

เอกสารกรมโยธาฯ เรื่องแนวทางในการออกใบ ร.๑












 

Create Date : 07 มีนาคม 2552    
Last Update : 7 มีนาคม 2552 1:10:31 น.
Counter : 423 Pageviews.  


บ้านปู่
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




*********************************
Custom Search
*********************************
ผู้ตรวจสอบอาคาร
 - ผู้ตรวจสอบอาคาร -
ผู้ตรวจสอบอาคาร | คู่มือแนะนำเจ้าของอาคาร | กฏหมายที่เกี่ยวข้อง | ข่าวสาร ตรวจสอบอาคาร
บทความล่าสุด
ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในอาคาร
กฎหมายควบคุมอาคาร ฉบับประชาชน
*********************************
ลิ้งภายในบล็อค
 - ดูหนังออนไลน์ -  - ฟังเพลงออนไลน์ -  - ข่าวเด่นประจำวัน -  - หุ้น-น้ำมัน-ทองคำ-อัตราแลกเปลี่ยน-กรมอุตุ-หวย -  - เทคโนโลยี -  - ความรู้คู่บ้าน -
*********************************
Link : กรมโยธาธิการและผังเมือง
 - กรมโยธาธิการและผังเมือง -
Link : สำนักควบคุม และตรวจสอบอาคาร
 - สำนักควบคุม และตรวจสอบอาคาร -
Link : สภาวิศวกร
 - สภาวิศวกร -
*********************************
*********************************
LINK : ความรู้ ด้านวิศวกรรม
 - ร้านหนังสือ วสท. -  - ระบบไฟฟ้า -  - งานระบบ ประกอบอาคาร -  - สมาคมสถาปนิกสยาม -  - Thaiengineering -  - วารสาร TEMCA Magazine -  - www.thaicontractors.com -  - Consultant -
*********************************
LINK : ระบบสาธารณูปโภค
 - กฟน -  - กฟภ -  - กปน -  - TOT -
*********************************
LINK : ทั่วไป
Friends' blogs
[Add บ้านปู่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.