รู้ทันการหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ต (2)

หลังจากที่ เราได้ทราบรูปแบบการหลอกลวงไป 3 รูปแบบในตอนที่แล้ว คราวนี้เรามาดูรูปแบบที่เหลือกันเลยดีกว่าค่ะ

4.Phishing

Phishing คือ วิธีการหลอกลวงในรูปแบบของการปลอมแปลงอี-เมล์ และทำการสร้างเว็บไซต์ปลอม เพื่อทำการหลอกลวงให้เหยื่อหรือผู้รับอี-เมล์เปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงิน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ เช่น ข้อมูลของหมายเลขบัตรเครดิต บัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้อมูลอื่น ๆ

วิธีการป้องกันและรับมือกับการถูกโจมตีแบบ phishing

1.หยุดคิดและพิจารณาข้อมูลที่ได้รับทางอี-เมล์ หรือข้อมูลที่เข้าไปดูในเว็บไซต์ทุกครั้ง

2.ควรลบข้อมูลที่น่าสงสัยทิ้งทันที

3.หากมีความจำเป็นต้องกรอกหรือส่งข้อมูลใดทางเว็บไซต์ ต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของเว็บดังกล่าวว่ามีตัวตนหรือการรับรองหรือไม่ หากไม่แน่ใจควรติดต่อไปยังเจ้าของเว็บไซต์หรือเจ้าของสถาบันการเงินดังกล่าว เพื่อสอบถามข้อมูลและยืนยันข้อมูลก่อนดำเนินการใด ๆ

4.ไม่ควรเข้าไปในเว็บไซต์หรือรันไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ ซึ่งมาจากบุคคลที่ไม่รู้จัก หรือไม่มั่นใจว่าผู้ส่งเป็นใคร หรือไม่ทราบว่าไฟล์ดังกล่าวเป็นไฟล์อะไร

5.ติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงช่องโหว่ ของทุกซอฟแวร์ที่มีการใช้อยู่ในเครื่องของท่านอยู่เสมอ

6.ติดตามข่าวสารและการแจ้งเตือนทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย คอมพิวเตอร์

5.Information/Adult service

เป็นกรณีของการให้บริการที่ผู้ให้บริการนั้นไม่มีการแจ้งราคาหรือรายละเอียด ไว้ หรือแจ้งไว้แต่ไม่ถูกต้อง ซึ่งวิธีการป้องกันก็ให้วิธีการแบบเดียวกันกับการป้องกันการถูกหลอกลวงจาก การซื้อขายสินค้าทั่วไปคือ การรู้จักบริษัทที่เราจะทำการติดต่ออยู่ การเข้าใจข้อเสนอแนะ การตรวจสอบประวัติของบริษัทที่เราทำการติดต่อ และ ไม่ควรรีบตัดสินใจ นั่นเอง

นอกจากรูปแบบที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีการหลอกลวงแบบอื่นๆที่กำลังเป็นที่แพร่หลาย ได้แก่
1. การหลอกลวงให้ประกอบธุรกิจที่บ้าน (Work-at-Home)
2. การให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยหลอกลวง (Internet Service Provider Scams)
3. การใช้บัตรเครดิตโดยไม่ได้รับอนุญาต (Credit Card Fraud)
4. การเข้าควบคุมการใช้โมเดมของบุคคลอื่น (International Modem Dialing/ Modem Hijacking
5. การหลอกลวงให้ใช้บริการเกี่ยวกับเว็บไซต์ (Web Cramming
6. การหลอกลวงโดยใช้การตลาดหรือการขายแบบตรง (Multilevel Marketing Plans/ Pyramids
7. การหลอกลวงให้จดทะเบียนโดเมนเนม (domain name registration scams)
8. การหลอกลวงโฆษณาหรือขายยามหัศจรรย์ (miracle products)

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงในรูปแบบใด สิ่งที่สามารถป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดของผู้บริโภคก็คือ การใช้วิจารณญาณของผู้บริโภคเองในการพิจารณาไตร่ตรองข้อมูลที่ได้รับมาอย่าง รอบคอบเสมอ การไตร่ตรองข้อมูลนี้เองที่จะเป็นเสมือนเกราะป้องกันผู้บริโภคไมให้ตกเป็น เหยื่อมิจฉาชีพได้ง่าย ขณะเดียวกันการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับพฤติกรรมการกระทำผิดที่เกิดขึ้นก็จะ เป็นเสมือนสิ่งที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งของเกราะได้อีกชั้นหนึ่ง

ที่มา : //www.dsi.go.th



Create Date : 09 เมษายน 2553
Last Update : 9 เมษายน 2553 10:24:28 น. 0 comments
Counter : 271 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 
 

ubuntu
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ubuntu's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com