ดั้นด้นค้นหาคุณธรรม

ชีวิตคืออะไร








ชีวิตคืออะไร ?เป็นคำถามสั้น ๆ ฟังดูเรียบง่ายแต่ซ่อนความหมายไว้อย่างลึกซึ้ง ยังมีคนอีกมากมายที่ค้นหาคำตอบให้กับตัวเองไม่ได้ว่าตัวเองเกิดมาทำไม ? ชีวิตคืออะไรกันแน่การค้นหาคำตอบดูจะเป็นเรื่องยุ่งยากและไร้สาระสำหรับบางคนและเมื่อถุกถามว่า ชีวิตคืออะไร ? เขามักจะตอบเสียมิได้ว่า.ชีวิตคือตัวฉันเอง ชีวิตคือ ลมหายใจชีวิต.ไม่ควรสื่อความหมายเพียงตัวเราหรือสิ่งที่เคลื่อนที่ได้เท่านั้น แต่รวมไปถึงทุกสิ่ง - ทุกอย่างที่มีคุณค่าด้วยตัวอย่างเช่นขวดยาคูลท์เปล่าที่ถูกทิ้งลงในถังขยะเหมือนสิ่งของไร้ค่า แต่เมื่อเก็บรวบรวมส่งโรงงานผลิตขาเทียมแล้ว ขวดยาคูลท์เปล่าก็จะกลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการผลิดขาเทียมให้คงทนถาวรและมีน้ำหนักเบา ช่วยให้คนพิการเดินยิ้มได้อย่างมีความสุขเหมือนคนปกติทั่วไปสิ่งไม่มีค่าสำหรับคนหนึ่งอาจเป็นสิ่งประเมินค่ามิได้สำหรับอีกคนหนึ่ง เราจึงไม่ควรเรียกสิ่งที่ถูกไร้ค่าว่า ไร้ชีวิต และไม่ควรใช้ชีวิตอย่างไร้ค่าด้วย บางคนปล่อยชีวิตให้ไหลไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ เหมือนปลาตายไหลตามน้ำ ชอบใช้ชีวิตแบบเสี่ยง ๆ และสิ้นเปลืองเวลากับเรื่องไร้สาระเช่นคุยโทรศัพท์นานเป็นชั่วโมง (ไม่ได้คุยเรื่้องการงาน) หายใจทิ้งไปวัน ๆ ดำรงชีวิตด้วความโกรธ อาฆาตแค้น - อิจฉาริษยา หรือทำลายธรรมชาติ(ตัดไม้ทำลายป่า)ซึ่งเป็นทรัพย์พยากรของโลก พอไม่เหลืออะไรให้ทำลายแล้วก็หันมาทำลายชีวิตมนุษย์ด้วยกันเอง การทำลายชีวิตไม่ได้หมายเฉพาะการเข่นฆ่า การขัดขวางหรือการเอารัดเอาเปรียบเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการมองการกระทำของคนอื่นว่าเป็นเรื่องไร้สาระอีกด้วย ซึ่งนั่นเป็นการทำลายชีวิตของคนอื่นอย่างเลือดเย็น ยิ่งกว่า

วิธีการอื่นทั้งหมด ไม่มีการกระทำใดหรอกที่ไร้สาระ หากการกระทำนั้นมิได้มีเจตนาที่จะทำลายผู้อื่นให้ย่อยยับ ลองนั่งหลับตานึกถึงภาพผู้ใหญ่ที่มองการกระทำของเด้กน้อยผู้คลั่งวิทยาศาสตร์ที่นำเอาวิทยุเก่า ๆ ออกมาแกะเล่น เด็กจะถูกตะคอกเสียงดัง และถูกทำหน้ายักษ์ใส่หรือเงื้อมือจะตีให้ตายเด็กน้อยคงแยกแยะไม่ออกระหว่าจริงกับเล่น การถูกปิดกันในวัยเด็กจะส่งผลถึงพฤติกรรมอันก้าวร้าวเมื่อโตขึ้นส่วนเด็กที่ได้รับการประคบ - ประหงมจากพ่อ - แม่ จะกลายเป็นคนไม่สู้ชีวิตเดินก้มหน้าหลบสายตาผู้คนเหมือนหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลาชีวิตที่ยังคิดไม่ออกว่าจะเดินไปทางไหนดี หรือไม่มีแม้แต่สิทธิ์ที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองใฝฝัน เป็นเรื่องที่น่าอายหากจะเรียกมันว่า ชีวิต ความสำเร็จในชีวิตมิอาจเกิดขึ้นได้ด้วยก้าวแรกเพียงก้าวเดียวหรือด้วการก้าวเพียงครั้งเีดียว แต่จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย ก้าว เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าเอาแต่คิดไม่ ก้าว ก็จะไม่มีวันประสบความสำเร็จได้คงจำวันแรกที่เราหัดเดินได้วันนั้นเราฝึกซ้อมการพลิกตัว - ลุก - นั่ง - คลาน ยืนเกาะไหล่ พ่อ - แม่ที่ขอบเตียงเตรียมจะ ก้าว พอก้าวเท้าแรกก็ล้มลงก้นจ้ำเบ้า เราร้องไห้แต่ไม่ใช่เพราะเจ็บ เป้นเพราะกลัวว่าตัวเองจะเดินไม่ได้นั่นคือความกลัวครั้งแรกแบบเด็ก ๆแต่หลังจากเราเล่นจนลืมความเจ็บปวดแล้วเราก็พยายามลุกขึ้นยืนอีกครั้ง คราวนี้เราเดินได้ 2 ก้าว 3 ก้าวและเดินได้ไกลกว่าเดิม เรารู้สึกภุมิใจอยุ่ลึก ๆ ในความสำเร็จครั้งแรก ต่อมาเราก็เดินได้ - วิ่งได้ - พูดได้ - ขี่จักรยานได้ ขับรถยนต์ได้ทำได้สารพัด ยกเว้นคิดเองยังไม่ได้และหาเลี้ยงตัวเองยังไม่ได้ชีวิตเอ๋ยชีวิตของใครบางคนดูช่างไร้ค่าเสียเหลือเกิน พ่อและแม่คือผู้ให้ชีวิต คือ

ผู้รักษาชีวิต คือ แสงสว่างส่องนำทางชีวิต แต่คนที่ต้องก้าวเดินไปตามถนนสายชีวิตคือตัวเราเอง ตัวเรามีสิทธิ์เลือก มีสิทธิ์ฝันมีสิทธิ์ก้าวไปตามความใฝ่ฝันของตัวเองเลิกพูดว่าไม่มีใครให้โอกาส ฉันถูกกีดกัน ฉันถูกกลั่นแกล้ง อะไรทำนองนี้ เพราะบ่นไปถึงชาติหน้าก็ไม่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น ซ้ำร้ายยิ่งเป็นการงับประตูแห่งชีวิตให้แคบลงไปเรื่อย ๆในเมื่อสองมือเรายังยกสิ่งของได้ สองเท้ายังก้าวไหว สายตายังมองเห็น หูยังได้ยินเสียงชัดแจ๋ว ร่างกายยังแข็งแรง เสริมใจให้แกร่งขึ้นมาอีกนิด เติมชีวิต้วยรอยยิ้ม - ทำตาให้ยิ้ม - ทำปากให้ยิ้ม - ทำใจให้ยิ้ม แล้วชีวิตก็จะพลอยยิ้มตามไปด้วยจงใช้ชีวิตให้มีค่า ด้วยการใฝ่หาสิ่งดี ๆ ให้กับชีวิตคัดมาจากหนังสือ กระเป๋า...สติ ของ โรมรันต์ เสวิคาร








 

Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2565   
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2565 22:22:21 น.   
Counter : 381 Pageviews.  

ไหว้พระ 9 วัด 2565 วัดระฆัง













ปีใหม่ผ่านไปชีวิตคงดำรงต่อไปถ้าไม่ติดเชื้อไวรัส Covid - 19 มีหลากหลายสายพันธุ์ให้ท่านเลือก Omicron เดลต้า และยังจะมีโปรโมชั่นมาอีกแต่ต้องรอสักพัก

ผู้ใดยังอยากยุ่งรุกราน
เบียดเบียนเพียรประหารท่านทั่ว
ท่านนั้นบ่ควรขานเรียกบรรพชิตนา
เพราะจิตอมหิตกลั้วโหดร้ายสำแดง

 




 

Create Date : 06 มกราคม 2565   
Last Update : 6 มกราคม 2565 18:16:01 น.   
Counter : 547 Pageviews.  

ปิดตำนานเวิ้งนาครเขษม 2565















ปิดตำนานอย่างเป็นทางการน่าเสียดายย่านเก่าแก่ที่ต้องสูญหายไปมันเป็นสัจธรรม




 

Create Date : 04 มกราคม 2565   
Last Update : 4 มกราคม 2565 19:17:17 น.   
Counter : 635 Pageviews.  

สังสารวัฏฏ์






เข้าสู่ปลายปี 2564 - 2021 Coronavirus 19 ยังไม่มีทีท่าว่าจะเบาบางลงแถมมีสายพันธุ์ให้เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ แม้จะฉีดวัคซีนแล้วแต่ยังไม่สามารถต้านทายเชื้อโรคร้ายนี้ได้ปริมาณยา(ฟ้าทะลายโจร)ที่ใช้ในการรักษาโควิดในผู้ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรงคือรู้ตัวแต่เนิ่นๆนั่นเอง เพื่อระงับเชื้อโรคไม่ให้ลงปอด เพราะไม่สามารถพบแพทย์ได้ หรือปัญหาสถานพยาบาลไม่มีที่รองรับ  จำเป็นต้องช่วยตัวเองในเบื้องต้น

ขณะนี้เป็นสังสารวัฏฏ์

ตามความเข้าใจทั่ว ๆ ไป สังสารวัฏฏ์ หมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดวนเวียนอยู่ใน

ภพภูมิต่างๆหาเบื้องต้นเบื้องปลายไม่เจอซึ่งได้แต่เข้าใจเรื่องราวของสังสารวัฏฏ์

ไม่สามารถเข้าใจถึงสภาพธรรมจริง ๆ ท่านอาจารย์บรรยายไว้ว่าขณะนี้หรือเปล่า

สังสารวัฏฏ์จิตเกิดดับแต่ละขณะเป็นสังสารวัฏฏ์ขณะนี้เห็นเกิดแล้วดับแล้วไม่

กลับมาไม่ว่าจะทางตา ทางหู และทางใจ แต่ละขณะเกิดดับสืบต่อเป็นสังสารวัฏฏ์  

ไม่ใช่เกิดขณะเดียวในวันหนึ่ง ๆ มีธรรมหลากหลายปรากฏซึ่งสามารถเข้าใจ

ได้ว่าเป็นธรรมแต่ละอย่างไม่ใช่เราจนกว่าจะรู้ได้แต่ละอย่าง

บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ

กระทำกรรมอันลามก

ด้วยอำนาจความอยากในรส

ย่อมจมลงในอบายทั้ง ๔

ส่วนชนเหล่าใดย่อมรู้จักประมาณในโภชนะ

ชนเหล่านั้นย่อมไม่จมลงทั้งในทิฏฐธรรม

ความเป็นไปในปัจจุบันภพนี้

ทั้งในสัมปรายภพ

ผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย เมื่ออายตนะภายในและภายนอกมากระทบกันเข้า มีความรู้สึกเกิดขึ้น ย่อมพิจารณาเป็นไตรลักษณญาณอย่างนี้ทุกขณะไม่ว่าอิริยบถใดๆทั้งหมด ถ้าพิจารณาจนชำนิชำนาญแล้ว มันจะเป็นไปโดยอัติโนมัติของมันเองมีความรู้เท่าตลอดเวลา จนเห็นว่าอารมณ์ทั้งปวง สักแต่ว่าอารมณ์ เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไปตามสภาพของมัน(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) 







 

Create Date : 24 ตุลาคม 2564   
Last Update : 30 ตุลาคม 2564 20:48:28 น.   
Counter : 536 Pageviews.  

Nichiren Buddism








ขอความสะอาด 
สว่าง
สงบ
จงบังเกิดแก่ทุกท่าน
คุณพระคุ้มครอง




Nichiren Daishonin wrote this letter while he was in exile in Itō on the Izu Peninsula. It was addressed to Kudō Sakon-no-jō Yoshitaka, known also as Kudō Yoshitaka, the lord of Amatsu in Awa Province.

Kudō Yoshitaka is said to have converted to Nichiren Daishonin’s teachings around 1256, about the same time Shijō Kingo and Ikegami Munenaka did, a few years after the Daishonin first proclaimed his teachings. While the Daishonin was in exile on Izu, Yoshitaka sent offerings to him and continued to maintain pure faith. He was killed defending the Daishonin at the time of the Komatsubara Persecution in the eleventh month of 1264. The Four Debts of Gratitude is the only letter still extant that the Daishonin addressed to him.

In this letter, in light of the reason for his banishment, Nichiren Daishonin expresses his conviction that he is a true practitioner of the Lotus Sutra. He mentions the “two important matters” that concern his Izu Exile. He states, “One is that I feel immense joy,” and explains the reasons for his joy. The greater part of the letter consists of this explanation. Following this, he states, “The second of the two important matters is that I feel intense grief.” Citing passages from the Lotus and Great Collection sutras that reveal the gravity of the offense of slandering the Law and its devotees, the Daishonin explains that he grieves at the thought of the great karmic retribution his tormentors must undergo. This is the concluding part of the letter.

In the body of the letter, the Daishonin gives two reasons for his “immense joy.” One is that he has been able to prove himself to be the votary of the Lotus Sutra by fulfilling the Buddha’s prediction made in the sutra that its votary in the Latter Day of the Law will meet with persecution. The other reason is that, by suffering banishment for the sutra’s sake, he can repay the four debts of gratitude. He declares that the ruler who condemned him to exile is the very person to whom he is the most grateful; thanks to the ruler, he has been able to fulfill the words of the Lotus Sutra and so prove himself to be its true votary.

Then, the Daishonin stresses the importance of repaying the four debts of gratitude set forth in the Contemplation on the Mind-Ground Sutra. p.47The four debts of gratitude are the debts owed to all living beings, to one’s father and mother, to one’s sovereign, and to the three treasures—the Buddha, the Law, and the Buddhist Order. Among these four debts of gratitude, the Daishonin places special emphasis on the debt owed to the three treasures, without which one could not attain Buddhahood.

พระนิชิเร็น ไดโชนินเขียนจดหมายนี้ขณะที่เขาลี้ภัยอยู่ในอิโต้บนคาบสมุทรอิซุ มันถูกจ่าหน้าถึงคุโดะ ซาคอน-โนะ-โจ โยชิทากะ หรือที่รู้จักในชื่อคุโด โยชิทากะ เจ้าเมืองอามัตสึในจังหวัดอาวะ

กล่าวกันว่าคุโด โยชิทากะได้เปลี่ยนคำสอนของพระนิชิเร็น ไดโชนินราวปี 1256 ในช่วงเวลาเดียวกับที่ชิโจ คิงโกะและอิเคงามิ มุเนนากะทำ ไม่กี่ปีหลังจากที่ไดโชนินประกาศคำสอนของเขาเป็นครั้งแรก ขณะที่ไดโชนินถูกเนรเทศไปยังอิซุ โยชิทากะได้ส่งเครื่องบูชาไปให้เขาและยังคงรักษาศรัทธาอันบริสุทธิ์ต่อไป เขาถูกสังหารเพื่อปกป้องไดโชนินในช่วงเวลาของการกดขี่ข่มเหงโคมัตสึบาระในเดือนที่สิบเอ็ดของปี 1264 หนี้สี่ประการแห่งความกตัญญูกตเวทีเป็นจดหมายฉบับเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ซึ่งไดโชนินส่งถึงเขา

ในจดหมายฉบับนี้ ด้วยเหตุผลของการถูกเนรเทศ พระนิชิเร็น ไดโชนินได้แสดงความเชื่อมั่นว่าเขาเป็นผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริกสูตรอย่างแท้จริง เขาพูดถึง "สองเรื่องสำคัญ" ที่เกี่ยวข้องกับ Izu Exile ของเขา เขากล่าวว่า “หนึ่งคือฉันรู้สึกปีติอันยิ่งใหญ่” และอธิบายเหตุผลสำหรับความปิติของเขา ส่วนใหญ่ของจดหมายประกอบด้วยคำอธิบายนี้ ต่อจากนี้ เขากล่าวว่า “เรื่องสำคัญที่สองในสองเรื่องคือฉันรู้สึกเศร้าโศกอย่างแรง” ไดโชนินอธิบายว่าเขาเสียใจเมื่อนึกถึงผลกรรมครั้งใหญ่ที่ผู้ทรมานของเขาต้องได้รับ นี่คือส่วนสุดท้ายของจดหมาย

ในเนื้อความของจดหมาย ไดโชนินให้เหตุผลสองประการสำหรับ "ความสุขอันยิ่งใหญ่" ของเขา ประการหนึ่งคือท่านสามารถพิสูจน์ตนเองว่าเป็นพระสูตรแห่งสัทธรรมปุณฑริกสูตรโดยทำตามคำทำนายของพระพุทธเจ้าในพระสูตรว่าพระสูตรในธรรมยุคสุดท้ายจะพบกับการกดขี่ข่มเหง อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ โดยการทนทุกข์กับการถูกเนรเทศเพราะเห็นแก่พระสูตร เขาสามารถชำระหนี้สี่ประการแห่งความกตัญญูได้ เขาประกาศว่าผู้ปกครองที่ประณามเขาให้เนรเทศเป็นคนที่เขารู้สึกขอบคุณมากที่สุด ต้องขอบคุณผู้ปกครองที่ทำให้เขาสามารถบรรลุคำพูดของสัทธรรมปุณฑริกสูตรได้และได้พิสูจน์ตัวเองว่าเป็นสัจธรรมที่แท้จริง

จากนั้น Daishonin เน้นถึงความสำคัญของการชำระหนี้สี่ประการของความกตัญญูที่กำหนดไว้ใน Contemplation on the Mind-Ground Sutra น.๔๗ หนี้บุญคุณ ๔ ประการ คือ หนี้ที่เป็นหนี้ของสรรพสัตว์ทั้งปวง บิดามารดา อธิปไตย และทรัพย์สมบัติ ๓ ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระพุทธบัญญัติ ในบรรดาหนี้แห่งความกตัญญูทั้งสี่นี้ ไดโชนินให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับหนี้ที่เป็นหนี้สมบัติทั้งสาม โดยที่ไม่มีใครสามารถบรรลุพุทธภาวะได้








 

Create Date : 11 กันยายน 2564   
Last Update : 11 กันยายน 2564 20:13:52 น.   
Counter : 531 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

suchu
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เงียบ ๆ และชอบสันโดษ ไม่พูดมาก ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่ชอบคุย



https://leemupai.tumblr.com/post/167978216820/in-bangkok-1900


IMG0813 L

[Add suchu's blog to your web]