ฟ ฟัน สะอาดจัง
Group Blog
 
All Blogs
 

แปรงสีฟัน โอ้ ไม่

วันนี้ เป็นวันแห่งความรัก มีใครแอบไปเที่ยวกับแฟน กับ กิ๊ก มาบ้างเอ่ย

อิอิ นัทเอง ไม่ได้อยู่ใกล้คุงหมอเลย

แต่ก็ให้ของขวัญไปล่วงหน้าแล้ว

สุขสันวันวาเลไทย์นะครับ ทุกคน

-----------------------------------------
จุดเริ่มต้นของแปรงสีฟันเริ่มจากในคุก เมื่อประมาณ
ค.ศ. 1770 หนุ่มชาวอังกฤษชื่อ วิลเลียม แอดดิส
( William Addis ) ประสบกับความผันผวนในชีวิตจน ต้องระเห็จระหนไปอยู่ในคุกชั่วคราว จากการนั่งๆ นอน ๆ ระหว่างถูกจองจำทำให้เขามีเวลาเหลือเฟือที่จะวางแผนถึงสิ่งที่เขาจะกระทำเมื่อพ้นโทษแล้ว
ในสมัยนั้นการแปรงฟันทำได้โดยใช้เศษผ้าถู ... ถู ... ถู จนปากและฟันจนสะอาด เช้า วันหนึ่งขณะที่แอดดิสกำลังขัดฟันอย่างเพลิดเพลิน ทันใดนั้นความคิดหนึ่งก็ผุดขึ้นมา
แอดดิสเก็บกระดูกชิ้นหนึ่งซึ่งเหลือจากอาหารเย็นของเขามาเจาะรูเล็ก ๆ เรียงเป็นแนวที่ปลายด้านหนึ่ง แล้วไปออดอ้อนของขนแปรงจากผู้คุมมาได้จำนวนหนึ่ง เขานำมันมาตัดให้สั้นพอ เหมาะแล้วยัดลงไปในรู ตรึงให้อยู่กัยที่ด้วยกาว และแล้วแปรงสีฟันอันแรกของโลกก็ได้ถูกกำเนิดขึ้น เมื่อออกจากคุก แอดดิสเริ่มธุรกิจผลิตแปรงสีฟันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีคนให้ความสนใจต่อ ผลิตภัณฑ์ของเขาอย่างล้นหลามเรื่อยมา จนมาถึงทุกวันนี้ไม่มีใครในโลกที่ไม่รู้จักแปรงสีฟัน แต่จะมีสักกี่คนกันล่ะที่รู้ว่าสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้มีต้นกำเนิดมาจากในคุก




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2552 0:03:29 น.
Counter : 494 Pageviews.  

หินปูน…ศัตรูตัวร้ายในช่องปาก

โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคที่พบมากที่สุดในช่องปาก คนไทยมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นโรคนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปจะเป็นกันมาก

โรคเหงือกอักเสบนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียฟันไป บางรายต้องถอนฟันไป ทั้งปากตั้งแต่อายุน้อย ที่เคยพบมีอายุเพียง 20 กว่าปีเท่านั้นที่ต้องใส่ฟันปลอมทั้งปาก ซึ่งการที่ไม่มีฟันเหลืออยู่เลยมักจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพไม่ดีเท่าที่ควร เพราะจะเคี้ยว อาหารได้ไม่ดีเท่าฟันธรรมชาติ จากการศึกษาทางทันตแพทย์พบว่า ฟันปลอมจะใช้งาน ได้ต่างจากฟันแท้เกือบ 10 เท่า

โรคเหงือกอักเสบเกิดจากการแปรงฟันได้ไม่สะอาดพอ เกิดคราบอาหารเกาะอยู่ตามผิวฟัน โดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือกและซอกฟัน แล้วในเวลาเพียง 2 วันก็จะเริ่มมี เชื้อแบคทีเรีย สารแคลเซียมและฟอสเฟต ซึ่งมีอยู่ในน้ำลายจะตกตะกอนสะสมลงไปบนคราบอาหาร ที่ตกค้างนั้นเกิดเป็นหินปูนหรือเรียกว่าหินน้ำลาย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เหงือกบริเวณนั้น เกิดการอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบนี้ในระยะแรก ๆ จะไม่มีอาการเด่นชัด แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นเหงือก
รอบ ๆ คอฟันเริ่มอักเสบ มีสีแดงหรือบวมเล็กน้อย และถ้ามีการสะสมของหินปูนมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีกลิ่นปากเหม็น เหงือกเลือดออดง่าย โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหาร
หรือแปรงฟัน เมื่อเป็นมากขึ้นอาจจะมีเลือดไหลซึมออกมาจากเหงือกรอบ ๆ ฟัน เลยมักทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคเลือดออกเองตามไรฟันหรือที่เรียกว่าโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งความจริงโรคนี้จะเกิดจากการที่ร่างกายขาดวิตามินซี ซึ่งเป็นสารที่มีมากในผักผลไม้ จึงไม่ค่อยพบในคนไทยเพราะเรามีผักและผลไม้ให้รับประทานกันตลอดทั้งปี

อาการอย่างหนึ่งที่สำคัญของโรคเหงือกอักเสบคือมีกลิ่นปากเหม็น ซึ่งเป็นอาการเตือน ให้เราทราบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น บางคนจึงพยายามดับกลิ่นปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก หรือยาอมดับกลิ่นปากชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เลยต้องใช้บ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น เพราะนอกจากจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอย่างจริงจังแล้ว ยังทำให้เสียเงิน โดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย

โรคเหงือกอักเสบระยะแรกนี้รักษาให้หายได้โดยการขูดหินปูนออก และรักษาฟัน ให้สะอาดก็พอ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้มีการสะสมของหินปูนมากขึ้น จะทำให้เชื้อแบคทีเรีย มาเกาะมากยิ่งขึ้น และปล่อยสารพิษออกมาทำให้เหงือกอักเสบเกิดเป็นหนอง และกระดูกรอบรากฟันจะละลายตัวไป ในที่สุดก็จะเริ่มโยกระยะนี้เรียกว่าเป็น โรคปริทนต์หรือโรคเหงือกขั้นรุนแรง หรือที่บางคนเรียกว่าโรครำมะนาด จนกระทั่งมีหินปูนเกาะลึกลงไปใต้เหงือกจนถึงปลายรากฟัน ฟันก็จะโยกมากจนไม่สามารถใช้เคี้ยวอาหารได้ต้องถอนฟันซี่นั้นออกไป

หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมโรคเหงือกถึงได้ลุกลามไปได้มากขนาดนี้ อันนี้เกิดขึ้นเพราะ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง คือเมื่อมีการอักเสบของเหงือกเกิดขึ้น ก็แก้ไขตามอาการนั้น โดยการรับประทานยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ เหงือกก็จะยุบลงไปดูเหมือนว่า หายแล้ว แต่ถ้ายังมีหินปูนอยู่ก็จะมีอาการขึ้นมากอีก และเมื่อทานยาก็จะหายไป ในที่สุดก็ต้องเสียฟันไปทั้งปาก

การกำจัดหินปูนนั้นทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือสำหรับขูดหินปูน ซึ่งมีทั้งชนิดใช้แรงมือ และชนิดใช้ไฟฟ้า เครื่องมือขูดหินปูนชนิดใช้แรงมือ ที่ปลายเครื่องมือจะมี ด้านคม สำหรับขูดเอาหินปูนออก ส่วนเครื่องมือชนิดใช้ไฟฟ้าจะไม่คม แต่มีการสั่นสะเทือนที่ปลายเครื่องมือ ใช้กระแทกให้หินปูนหลุดออกได้ เครื่องมือนี้จะต้องมีน้ำพ่นออกมาเพื่อลดความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีของเครื่องมือ เป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดกับฟัน

การขูดหินปูนจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บบ้าง เนื่องจากส่วนหนึ่งของหินปูนจะเกิดอยู่ ใต้เหงือก เมื่อสอดเครื่องมือลงไปก็อาจจะทำให้เจ็บเหงือกและเสียวฟันได้

ในบางคนที่มีหินปูนมาก ๆ และอยู่ลึกลงไปทางปลายรากฟันนั้น การที่จะขูดเอาหินปูนออกต้องใช้เครื่องมือและวิธีการพิเศษ ทันตแพทย์ก็จะฉีดยาชาให้ก่อนเพื่อลดความเจ็บปวดและการเสียวฟันที่จะเกิดขึ้น

หลังจากขูดหินปูนแล้ว บริเวณเหงือกอาจจะมีเลือดไหลซึมออกมาอยู่สักพักหนึ่ง ซึ่งจะหยุดไปได้เอง และใน 1 สัปดาห์เหงือกที่เคยอักเสบก็จะค่อย ๆ หายเป็นปกติ ในบางคนอาจมีเหงือกร่นหรือเกิดช่องว่างบริเวณซอกฟัน ซึ่งเดิมเหงือกที่อยู่ บริเวณนั้นจะดูเหมือนว่ามีอยู่เป็นปกติ เพราะมีหินปูนอยู่ข้างใต้และเหงือกก็บวมโต เมื่อรักษาโรคเหงือกแล้วเหงือกจะยุบลงกลับเป็นเหงือกที่แข็งแรงไม่มีการอักเสบ แต่เพราะกระดูกถูกทำลายไปทำให้เกิดเป็นช่องว่างและเหงือกร่น เห็นฟันยาวขึ้น เสียความสวยงาม และมีเศษอาหารติดบริเวณซอกฟันได้บ้าง

การขูดหินปูนนี้ทันตแพทย์แนะนำให้ทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ขึ้นกับการแปรงฟันของแต่ละคนว่าจะมีประสิทธิภาพเพียงใด จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าการแปรงฟันอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ฟันสะอาด และป้องกันการเกิดหินปูนได้ จะต้องใช้เส้นใยขัดฟันร่วมด้วย จึงต้องใช้อย่างน้อย วันละครั้งเพื่อช่วยทำความสะอาดซอกฟันซึงเป็นบริเวณที่ขนแปรงเข้าไปไม่ค่อยถึง

หินปูนนับเป็นศัตรูร้ายของช่องปาก จึงจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้เกิด และต้องขจัดเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ตลอดจนโรคปริทนต์ ก่อนที่จะต้องเสียฟันไปอย่างน่าเสียดาย

ทญ.ฉวีวรรณ ภักดีธนากุล




 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2552 16:58:16 น.
Counter : 793 Pageviews.  

ฟันผุจะอุดอย่างไร

โรคฟันผุเป็นโรคในช่องปากที่พบได้บ่อย จากการสำรวจสภาวะทันตสาธารณสุขของประเทศไทย พบว่า เด็กไทยอายุ 3 ปี จะมีฟันน้ำนมผุโดยเฉลี่ยคนละ 3 ซี่ และจะผุเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้ใหญ่ที่อายุ 35-44 ปี จะมีฟันผุโดยเฉลี่ย 7 ซี่ และที่เป็นปัญหาสำคัญ คือ ฟันเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษา อาการของโรคจะลุกลามมากขึ้น ในที่สุดฟันที่ผุนั้นก็จะถูกถอนไปก่อนกำหนด

การรักษาโรคฟันผุ จะต้องจำกัดเนื้อฟันส่วนที่ถูกทำลายออกให้หมด และเก็บรักษาเนื้อฟันส่วนที่ดีไว้ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คนไข้ส่วนมากจะไม่เข้าใจว่าทำไมฟันผุเป็นรูเพียงนิดเดียว ต้องกรอฟันออกไปมากมาย เป็นเพราะว่า การเกิดฟันผุนั้น จะเริ่มจากผิวนอกของฟัน คือเคลือบฟันซึ่งเป็นส่วนที่แข็งเมื่อกร่อนเป็นรู จนถึงชั้นเนื้อฟัน ซึ่งนิ่วกว่า การผุในชั้นเนื้อฟัน จะลุกลามได้เร็วกว่าที่ชั้นเคลือบฟัน จึงเห็นภายนอกเป็นรูเพียงเล็กน้อย แต่ภายในกลวงจึงต้องเปิดกรอเอาส่วนผุออกให้หมด ทันตแพทย์จะพยายามเก็บเนื้อฟันส่วนที่ดีไว้ให้มากที่สุด ยิ่งมีเนื้อฟันเหลือมากการรักษาก็จะไม่ยุ่งยาก จึงวางใจได้ว่า ถ้าไม่จำเป็นทันตแพทย์จะไม่กรอฟันท่านออกไปแน่นอน


หลังจากกรอฟันที่ผุออกไปหมดแล้ว ก็จะต้องบูรณะฟันให้มีรูปร่างและขนาดเหมือนฟันเดิม เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป การบูรณะฟันก็ทำได้หลายวิธี เช่น การอุดฟัน การอุดฟันร่วมกับการปัดหมุด การอุดฝัง (inlay) การอุดครอบ (onlay) หรือการครอบฟัน (crown) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อฟันส่วนที่เหลืออยู่ ถ้าเนื้อฟันเหลืออยู่มากพอที่จะยึดวัสดุ ก็ใช้วิธีอุดธรรมดาได้ ถ้าเหลือเนื้อฟันน้อยไม่พอที่จะมีแรงยึดวัสดุได้ อาจต้องปักหมุดลงในเนื้อฟัน เมื่อใช้เป็นตัวยึดวัสดุอุดฟัน แล้วจึงอุดเหมือนอุดฟันธรรมดา ส่วนการทำ inlay หรือ onlay คือจะทำชิ้นวัสดุที่จะบูรณะฟันมาเป็นชิ้น ขนาดพอดีกับเนื้อฟันที่ถูกกรอออกไป แล้วจึงนำมาติดบนฟันโดยมีตัวยึดให้ชิ้นวัสดุนี้ติดแน่นอยู่กับตัวฟัน ส่วนการทำครอบฟันนั้นมักจะทำในรายที่สูญเสียเนื้อฟันไปมาก จนต้องบูรณะขึ้นมาใหม่ทั้งซี่ มาครอบตัวฟันส่วนที่เหลืออยู่
โดยส่วนมากฟันที่ผุมักจะบูรณะด้วยการอุดฟันก่อน ถ้าอุดไม่ได้ หรืออุดไม่อยู่คือ อุดไปแล้วใช้งานไม่ได้นานก็แตกหรือหลุด จึงจะบูรณะด้วยวิธีอื่นต่อไป วัสดุที่ใช้อุดฟันในปัจจุบัน มีอยู่หลายชนิด จะต้องเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานของฟันซี่นั้นๆ ด้วย เช่น ฟันหน้าจะต้องพิจารณาถึงความสวยงามเป็นหลัก ส่วนฟันหลังจะต้องพิจารณาถึงความทนทาน ต่อแรงบดเคี้ยวเป็นหลัก ฟันที่อุดแล้วจะต้องใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคงอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน


วัสดุอุดฟันที่ดีควรมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับคุณสมบัติของฟันธรรมชาติ ทั้งในด้านความแข็งแรง ความยืดหยุ่น การนำความร้อนเย็น การละลายในน้ำ รวมทั้งการยึดติดแน่นกับเนื้อฟัน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวัสดุอุดฟันชนิดใดที่เหมือนกับเนื้อฟันธรรมชาติอย่างแท้จริง การเลือกวัสดุในการอุดฟันจึงต้องพิจารณาจากคุณสมบัติที่เหมาะสมกับสภาพช่องปาก อายุและสถานภาพของผู้ป่วยแต่ละคน

วัสดุอุดฟันที่ใช้ในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ๆ คือ

1. กลาสไอโอโนเมอร์ เป็นวัสดุอุดฟันที่มีคุณสมบัติเด่นในด้านการยึดติดแน่นกับฟัน ทางเคมีโดยตรง สามารถปล่อยฟลูออไรด์ออกมาเพื่อช่วยป้องกันโรคฟันผุได้ สีเหมือนฟัน แต่สึกกร่อนได้มากกว่าวัสดุฟันชนิดอื่น จึงใช้อุดฟันที่มีรอยผุเล็กๆ อุดคอฟัน และฟันน้ำนม


2. เรซิน คอมโพสิต เป็นวัสดุอุดฟันที่มีข้อเด่นทางด้านสีสวยเหมือนฟันธรรมชาติ มากที่สุด สามารถยึดติดแน่นกับฟันได้โดยอาศัยสารยึดทางเคมีอื่นร่วมด้วย คงทนได้นานกว่า กลาสไอโอโนเมอร์ แต่ไม่มีการปล่อยฟลูออไรด์ออกมา จึงไม่มีผลในการป้องกันโรคฟันผุ มักใช้อุดฟันหน้าหรือบริเวณที่ต้องการความสวยงาม


3. อมัลกัม เป็นวัสดุอุดฟันดั้งเดิม ที่มีจุดเด่นที่ความแข็งแรงเพราะเป็นส่วนผสมของโลหะ แต่มีสีไม่เหมือนฟัน คือจะเป็นสีเทาเงิน ไม่สามารถยึดติดกับฟันได้ และไม่ปล่อยฟลูออไรด์ มักใช้อุดฟันกรามที่ไม่ต้องการความสวยงาม แต่ต้องรับแรงบดเคี้ยวมาก
ฟันที่อุดแล้วไม่ได้หมายความว่าฟันซี่นั้นของท่านจะปลอดภัยจากโรคฟันผุตลอดไป ฟันเหล่านั้นสามารถจะผุต่อไปได้อีกเช่นกับฟันซี่อื่นๆ ในปาก โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อของเนื้อฟัน กับวัสดุบูรณะฟัน ดังนั้นถึงแม้จะอุดฟันด้วยวัสดุที่ดีและเหมาะสมมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังต้องการการดูแลรักษาฟันอย่างต่อเนื่องด้วย


โรคฟันผุสามารถป้องกันได้ ถ้าท่านหมั่นดูแลรักษาฟันอย่างสม่ำเสมอให้ถูกวิธี เช่น การเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันโรคฟันผุ การใช้ฟลูออไรด์ การแปรงฟันและควรให้ทันตแพทย์ ตรวจสุขภาพช่องปากปีละครั้ง เพื่อตรวจหารอยโรคฟันผุและให้การอุดฟันที่ทันสมัยและเหมาะสม ซึ่งไม่เจ็บปวดและเสียค่าใช้จ่ายน้อย รวมทั้งเป็นวิธีการที่จะเก็บฟันให้ใช้ได้ชั่วชีวิต

ขอขอบคุณ
ทญ.สุมนา สวัสดิ์-ชูโต






 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2552 15:20:03 น.
Counter : 1264 Pageviews.  

การรักษารากฟัน


 การรักษารากฟัน


   


การรักษารากฟันเป็นทันตกรรมแขนงหนึ่งที่มุ่งเน้นด้านการรักษารากฟันและเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟัน ซึ่งสาเหตุโดยทั่วไปเกิดเนื่องมาจากการติดเชื้อ



บริเวณปลายรากฟัน หรือเกิดจากการหัก ร้าว หรือผุ ลึกลงไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟันซึ่งมีเส้นประสาทและเส้นเลือดอยู่ ก่อให้เกิดอาการ

ปวดและบวมที่บริเวณนั้น บางครั้งอาจเกิดความเสียหายต่อกระดูกขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อ รวมถึงการติดเชื้อและการอักเสบในโพรงฟัน การรักษาอย่าง

ถูกต้องและทันท่วงทีจึงมีความสำคัญและช่วยให้ผู้ป่วยยังคงสามารถเก็บฟันซี่นั้นได้ โดยไม่ต้องถูกถอนทิ้งไป

โดยในอดีตปัญหาเหล่านี้มักจะได้รับการแก้ไขด้วยการถอนฟันซี่นั้นทิ้งไป แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาทางทันต
กรรมรวมถึงเทคโนลยีด้านเทคนิค วัสดุและอุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ช่วยให้สามารถรักษาอาการดังกล่าวได้ด้วยการรักษารากฟัน

ซึ่งช่วยให้ผู้เข้ารับบริการไม่ต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป


 












 ข้อดีของการรักษารากฟัน



  • ช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการอักเสบ

  • ช่วยขจัดความเจ็บปวด

  • ช่วยป้องกันการแพร่ขยายบริเวณของการติดเชื้อ



  ขั้นตอนของการรักษารากฟัน



  1. ขั้นตอนการวินิจฉัยและการเตรียมฟันเพื่อรับการรักษา

    • การถ่ายเอ๊กซเรย์ฟิลม์เล็กเพื่อตรวจดูสภาพและรูปร่างของฟัน รวมถึงบริเวณที่มีการติดเชื้ออักเสบ

    • ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณนั้น

    • การเจาะเปิดโพรงฟันเพื่อตัดเนื้อฟันที่ติดเชื้อออกไป



  2. ขั้นตอนการทำความสะอาดโพรงรากฟัน

    • การทำความสะอาดโพรงรากฟันอาจทำมากกว่า 1 ครั้ง สำหรับผู้ป่วยบางท่าน เพื่อความมั่นใจว่าโพรงรากฟันได้รับการทำความสะอาดอย่างสมบูรณ์

    • สำหรับผู้ป่วยบางท่าน ทันตแพทย์อาจทำการใส่ยาลงในโพรงรากฟัน เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อาจหลงเหลือ และป้องกันการกลับมาติดเชื้อ



  3. ขั้นตอนการอุดปิดโพรงรากฟัน

    • หลังจากโพรงรากฟันได้รับการฆ่าเชื้อแล้วนั้น ทันตแพทย์จะทำการอุดปิดโพรงรากฟัน



  4. ขั้นตอนการใส่เดือยฟันและครอบฟัน

    • ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันแล้วนั้นจะมีความแข็งแรงน้อยลง มีความเปราะบางมากขึ้น ดังนั้นการทำเดือยฟันและครอบฟันจึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงและช่วยปกป้องฟันซี่นั้น



  5. การดูแลความสะอาดฟันและช่องปาก และการเข้ารับการตรวจสภาพฟันทุก 6 เดือนหรือตามที่ทันตแพทย์นัดก็มีความสำคัญอย่างมาก ช่วยให้สามารถพบและแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ


  วัตถุประสงค์หลักของการรักษารากฟันคือการที่ทันตแพทย์สามารถที่จะกำจัดเชื้อโรคในโพรงประสาทฟันออกไปได้ทั้งหมด รวมไปถึงการอุดปิดโพรงรากฟันได้อย่างแนบสนิทเพื่อป้องกันการกลับมาของเชื้อโรคอีกด้วย


  ที่ศูนย์ทันตกรรมบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ เราเลือกสรรวัสดุอุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องมือสำหรับการรักษารากฟัน Endo-mate DT และ เครื่องมือวัดความยาวของรากฟัน ซึงช่วยให้การรักษาสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น


  อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการเข้ารับการรักษารากฟัน


ช่วงระยะเวลา 2-3 วันแรกหลังได้รับการรักษารากฟันแล้วนั้น ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกเสียวฟันอันเกิดเนื่องมาจากเนื้อเยื่อได้เคยเกิดการอักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการปวดมาก่อนเข้ารับการรักษา ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถแก้ไขด้วยการรับประทานยาแก้ปวดทั่วไปและอาการดังกล่าวจะหายไปในเวลาไม่นาน


  วิธีการดูแลเมื่อเข้ารับการรักษารากฟันและเมื่อเสร็จสิ้นการรักษา


ใ  นช่วงเวลาของการรักษารากฟัน ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการบดเคี้ยวบริเวณฟันที่ได้รับการรักษา เนื่องจากทันตแพทย์จะทำการอุดปิดโพรงฟันแบบชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นฟันซี่นั้นจึงไม่มีความแข็งแรงมากพอที่งาน
ได้ตามปกติ และเมื่อการรักษารากฟันเสร็จสิ้นแล้วนั้น ฟันซี่ดังกล่าวก็จะมีความแข็งแรงไม่เท่าดังเดิม ดังนั้นทันต
แพทย์จึงแนะนำให้รับการใส่เดือยฟันและครอบฟันเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงและป้องกันฟันซี่นั้นจากการติดเชื้อ
และฟันแตกหัก


  เพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดีควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี รวมถึงการพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันปัญหาในช่องปากและฟันได้



 






Free TextEditor




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2552 9:17:36 น.
Counter : 888 Pageviews.  

ครอบฟัน(crown)

สวัสดีทุกคนนะครับ ที่ผ่านเข้ามา
วันพรุ่งนี้ก็เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง
ของพุทธศาสนาแล้ว อย่าลืม
เข้าวัด ทำบุญ กันบ้างนะครับ
เพื่อความสุขใจของเราเอง

ขอบคุทุกคนที่แวะเข้ามา
อยากติชม หรือ สอบถามปัญหา
ก็สามารถถามกันมาได้ครับ

เดี๋ยวจะจัดส่งคำถามไปให้ทันตแพทย์
แล้วจะเอามาเล่าสู่กันฟังครับ
สำหรับครั้งนี้เป็นเรื่องของการครอบฟันครับ
เชิญศึกษาข้อมูลกันได้......

........................................................................................................


การทำครอบฟันเป็นการบูรณะฟันอย่างหนึ่ง โดยการนำวัสดุบางชนิด เช่น โลหะ , พอร์สเลน
หรือพลาสติก ครอบลงไปบนตัวฟัน ครอบฟันมีทั้งแบบสีเหมือนฟันและแบบที่เป็นสีโลหะ

การทำครอบฟันมักจะทำเมื่อ
1. ฟันชี่นั้นผุมากจนเนื้อฟันเหลือน้อยมาก ไม่เหมาะหรือไม่สามารถที่จะอุดฟันแบบปกติ
2. ฟันชี่นั้นหัก แตก หรือบิ่นมากจนอุดไม่ได้
3. ฟันชี่นั้นได้รับการรักษารากฟันจนเสร็จสมบูรณ์แล้วชึ่งเนื้อฟันจะเปราะหรือแตกง่ายกว่าฟันปกติ
4. เหตุผลอื่นๆ เช่น เพื่อความสะดวกในการใส่ฟันปลอม
การทำครอบฟันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นจะทำในรายที่มีข้อบ่งชี้เท่านั้น
ข้อเสียของการทำครอบฟัน คือ มีราคาสูงเมื่อเทียบกับการอุดฟันและฟันที่อยู่ในครอบฟันอาจจะเกิดการผุได้
ดังนั้นผู้ที่ใส่ครอบฟันจึงต้องรักษาฟันให้สะอาดและหมั่นมาตรวจฟันที่ครอบกับทันตแพทย์ทุกๆ6เดือน
ระยะเวลาที่ใช้ในการทำครอบฟันจำเป็นต้องมาทำอย่างน้อย2ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ1สัปดาห์ครับ

โดย ทพ.ณพงษ์ พัวพรพงษ์




 

Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2552 11:51:39 น.
Counter : 1144 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

nat85min
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีตอนรับทุกคนที่เข้ามานะครับ

ชื่อนัทครับ ไม่ใช่หมอฟัน

แต่มีแฟนเป็นหมอ(ฟัน)

จึงอยากให้ blog นี้เป็น

แหล่งรวบรวมเรื่องราว

เกี่ยวกับฟัน ฟัน ฟัน
<data:blog.title/> <data:blog.pageName/> กระบี่อยู่ที่ใจ ไร้ใจ ไร้กระบี่

สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง
Friends' blogs
[Add nat85min's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.