Group Blog
 
All Blogs
 

ตอนที่ 1

รถวีโก้ และฟอร์จูนเนอร์ ไม่ได้มีระบบเบรกที่แตกต่างไปจากรถค่ายอื่นๆในประเภทเดียวกันมากมายนัก

โดยเฉพาะในรถตระกูลเดียวกัน เพียงแต่รถ 2 รุ่นนี้ ใช้ระบบ LSPV ที่มีบายพาส ซึ่งแตกต่างจากไฮลักซ์รุ่นก่อนๆใช้เป็น LSPV ธรรมดา

โดยหลักการทำงานพื้นฐานของ LSPV เดิมๆคือวาวล์จะจ่ายแรงดันให้กับล้อหลังเพิ่ม

เมื่อระยะห่างระหว่างตัวกระบะและเพลาหลังแคบลง เช่น เมื่อมีน้ำหนักบรรทุก หรือโหลดต่ำ

แต่ในการณีของ LSPV-BV หรือ LSPV แบบมี Bypass นั้น

ของเหลวในระบบ(น้ำมันเบรคนั่นแหละครับ) สามารถไหลเชื่อมกันได้ทั้ง 2 วงจร คือทั้งวงจรเบรคหน้า และหลัง

ข้อดีของวงจรนี้ก็คือ ของเหลว และแรงดันจากแม่ปั้มเบรคของทั้งวงจรหน้าและหลัง

สามารถเสริมแรงดันซึ่งกันและกันได้ผ่านท่อบายพาสของระบบ
เพื่อให้ได้แรงดันที่เหมาะกับสภาวะการถ่ายน้ำหนักในขณะเบรค

ซึ่งนอกจากจะช่วยลดแรงดันเบรคหลังในขณะที่เบรคแล้วเกิดการถ่ายน้ำหนักไปข้างหน้า
ยังช่วยให้เบรคหน้าได้รับแรงดันเพิ่มเติมเสริมจากวรจรเบรคหลังเมื่อหลังต้องลดแรงดันลงนั่นเอง

ทำให้แรงดันที่ถูกลดทอนลงไปขณะท้ายยก ไม่หายไปไหน แถมยังส่งเข้าไปเสริมที่เบรคหน้าในขณะที่เบรคหน้ากำลังต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ภาพการถ่ายน้ำหนักขณะเบรค โดยแรงดันที่ลดทอนจากหลังจะส่งผ่านท่อ bypass ไปยังเบรคหน้า
Weight Transferred & Pressure from BV


อย่างไรก็ตาม มีผู้ใช้รถวีโก้ และ ฟอร์จูนเนอร์ได้มีข้อตำหนิในเรื่องเบรค
จากการสอบถามอาการจากผู้ใช้รถ และทำการตรวจสอบ ได้ข้อสรุปดังนี้คือ

เบรควีโก้ และฟอร์จูนเนอร์เดิมๆ มีปัญหาพื้นฐานดังนี้

1. เบรคทำงานช้า ระยะเบรคไม่ดีพอ
2. แป้นเบรคทำงานกว้าง ขาดความแม่นยำ
3. การปรับระยะเบรคหลังห่างจากโรงงาน ทำให้เบรคลึก
4. การปรับวาวล์ให้แรงดันหลังน้อยลง แป้นเบรคสูงขึ้น เบรคทำงานฉับไวมากชึ้น


สำหรับข้อเสียจริงๆของ LSPV นั้นแทบไม่มี

แต่เรากลับพบว่ารถวีโก้และฟอร์จูนเนอร์นั้น มีการตอบสนองของเบรคที่ช้าเกินไป(โดยเฉพาะฟอร์จูนเนอร์) และยังพบว่าเบรคหน้าออกอาการจับไม่อยู่ เมื่อต้องเบรคยาวๆ เบรคออกอาการไหม้




 

Create Date : 25 มกราคม 2551    
Last Update : 25 มกราคม 2551 18:29:05 น.
Counter : 4757 Pageviews.  

ตอนที่ 2

จากการทดสอบในระยะแรกๆ หลังจากที่ได้พบปัญหาในฟอร์จูนเนอร์
กลับพบว่าเบรคหลังมีการตั้งเบรคที่ห่างเกินไป

ทำให้เบรคลึก และการส่งแรงดันไปที่ล้อหลัง มากเกินกว่าระยะสโตรกของแม่ปั้มวงจรหลัง

จะทำให้ระบบเบรคทั้งวงจรตอบสนองช้าลงไปอีก

เพราะเบรคหลังไปดึงเอาของเหลวและแรงดันที่สร้างได้จากวงจรเบรคหน้าไปเสริมที่ล้อหลัง

และด้วยล้อหลังที่เป็นดรัมเบรค ทำให้ใช้ระยะเวลาในการสร้างแรงดันมากกว่าดิสค์เบรค

เพราะดรัมเบรคมีระยะเคลื่อนที่ของลูกสูบมากกว่า จึงทำให้ระยะทำงานของแป้นเบรคกว้าง และลึกกว่าทั่วไป



เมื่อลองปรับตั้งระยะเบรคหลังให้ชิดขึ้น เพื่อลดจังหวะทำงานของเบรคหลัง

ระบบเบรคก็ตอบสนองได้เร็วขึ้นกว่าเดิม แป้นเบรคสูงขึ้น แต่ยังมีช่วงกดที่กว้างอยู่ขณะตัวเปล่า

ซึ่งถ้าหากบรรทุกแล้ว แป้นเบรคจะลึกและกว้างกว่านี้อีก

และนั้นการปรับวาวล์ขึ้นเพื่อส่งแรงดันไปหลังมากขึ้น ก็จะมีอาการแป้นลึกเช่นนี้เมื่อตัวเปล่า

ดังนั้น เมื่อบรรทุกหนัก วาวล์จะส่งแรงดันไปหลังเพิ่มอีก แป้นเบรคก็ยิ่งลึกไปอีก

ส่งผลให้เวลาบรรทุกหนัก หากต้องเบรคฉุกเฉินแล้ว แรงเบรคหน้าจะต่ำเกินไป

และแป้นเบรคจะลึกมากจนกดลึกสุดแล้วยังไม่เพียงพอที่จะหยุดให้ได้ในระยะที่ต้องการ



กลับมาที่การปรับแต่เพียงระยะเบรคหลัง โดยไม่ปรับวาวล์ลงต่ำ

แม้ว่าระบบทำงานได้ไวขึ้น แต่เมื่อเบรคยาวๆ ให้ค่อยๆเกิดการถ่ายน้ำหนัก

กลับพบว่าแรงเบรคหน้าอ่อนแรงลงเมื่ออยู่ในระยะปลายของการเบรค เหมือนเบรคไหลๆ

เสมือนหนึ่งว่าแรงดันน้อยเกินกว่าที่จะสร้างแรงกดที่ผ้าดิสค์เบรคให้เกิดแรงเบรค



เมื่อทดสอบปรับวาวล์ลง ก็พบว่าระบบเบรคทำงานได้ฉับไวมากกว่าเดิมมาก

แป้นเบรคเองก็สูงขึ้นมาก ระยะควบคุมผ่านแป้นเบรคก็แม่นยำขึ้น



เมื่อนำทั้ง 2 อย่างคือการปรับระยะเบรคที่ถูกต้อง และการปรับวาวล์ที่เหมาะสม

เบรคของรถทั้ง 2 รุ่นก็จะทำงานได้ดี ถึงดีมาก แก้ไขปัญหาเดิมๆได้เป็นอย่างดี



อย่างไรก็ตาม แม้ในระบบดรัมเบรคหลังจะมีกลไกปรับตั้งระยะห่างอัตโนมัติ

แต่กลไกดังกล่าว ไม่ว่าในรถรุ่นใดก็ตาม ยังไม่สามารถปรับระยะได้ผลถึง 100%

จึงยังต้องมีการเขี่ยปรับระยะเบรคหลังเป็นครั้งคราว ซึ่งโดยปกติแล้ว

ควรปรับตั้งระยะดรัมเบรคหลังทุกๆ 10,000 กม.

สาเหตุหนึ่งที่ของกลไกปรับระยะเบรคหลังอัตโนมัติทำงานไม่ค่อยสมบูรณ์ก็คือ
ตัวแขนสับเฟืองไม่มีแรงมากพอที่จะเขี่ยเฟืองตั้งโดยอัตโนมัติ
โดยพบว่าบางครั้งแขนสับเฟืองเด้งออกห่างจากเฟืองได้
Adjusting Mechanism

รูปกลไกเบรคหลังของรถฟอร์จูนเนอร์ และวีโก้รุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ และ พรีรันเนอร์
LEFT-Rear Drum Brake Assy





 

Create Date : 25 มกราคม 2551    
Last Update : 25 มกราคม 2551 18:24:20 น.
Counter : 669 Pageviews.  

ตอนที่ 3

การปรับตั้ง

1. รถวีโก้ รุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อ

1.1. เขี่ยปรับระยะดรัมเบรคหลังเหมือนรถทั่วไป โดยปรับเพียงให้ชิดพอประมาณ

1.2. ปรับวาวล์ลงมา ให้เหลือวาวล์ด้านล่าง 2 เกลียว

1.3. ก่อนทดสอบเบรค ให้ปั้มเบรค และขับเดินหน้าถอยหลัง เหยียบเบรคอย่างรวดเร็ว 4-5 ครั้ง



2. รถวีโก้ รุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ

2.1. ควรมีการดัดแขนสับเฟืองให้แนบกับเฟืองปรับระยะ

2.2. ปรับระยะดรัมเบรคหลังโดยเขี่ยเบรคให้ติด แล้วเขี่ยออก 5 กริ๊ก ล้อหลังจะฟรี

2.3. ปรับวาวล์โดยให้ก้านต่ำลงมา โดยเหลือเกลียวด้านล่าง 0-2 เกลียว

2.4. ก่อนทดสอบเบรค ให้ปั้มเบรค และขับเดินหน้าถอยหลัง เหยียบเบรคอย่างรวดเร็ว 4-5 ครั้ง

การปรับวาวลของวีโก้รุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อ และขับเคลื่อน 4 ล้อ
Photobucket


3. รถฟอร์จูนเนอร์ ทุกรุ่น

3.1. ควรมีการดัดแขนสับเฟืองให้แนบกับเฟืองปรับระยะ

3.2. ปรับระยะดรัมเบรคหลังโดยเขี่ยเบรคให้ติด แล้วเขี่ยออก 5 กริ๊ก ล้อหลังจะฟรี

3.3. ปรับวาวล์โดยดึงเกลียวแนวนอนรั้งสปริงให้เข้าด้านในสุด

3.4. ดึงก้านแนวตั้งให้ต่ำลงมา โดยให้หัวน็อตบังร่องแนวตั้งด้านล่างพอดี

3.5. ก่อนทดสอบเบรค ให้ปั้มเบรค และขับเดินหน้าถอยหลัง เหยียบเบรคอย่างรวดเร็ว 4-5 ครั้ง

การปรับ LSPV ของฟอร์จูนเนอร์
1. ตำแหน่งแนวตั้ง
Photobucket

2. ตำแหน่งแนวตั้งเมื่อมองจากล้อหลังซ้าย
Photobucket

3. ตำแหน่งสกรูแนวนอน
Photobucket




 

Create Date : 25 มกราคม 2551    
Last Update : 25 มกราคม 2551 18:25:20 น.
Counter : 1055 Pageviews.  


kroner
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kroner's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.