365วันของฉันมีแต่เรื่องการเดินทาง
<<
มีนาคม 2567
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
17 มีนาคม 2567

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬา ผนึก พช.เปิดตัวลายแทงผ้าไทย 3 ชุมชน


สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน เปิดตัวโครงการ ลายแทงผ้าไทย สืบสานภูมิปัญญาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3 ชุมชน ทั้งบ้านเก็ต จังหวัดน่าน , บ้านนอแล จังหวัดเชียงใหม่ และบ้านทุ่งฟ้าฮ่าม จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นหมู่บ้านOTOP เพื่อการท่องเที่ยวและชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เส้นทางลายแทงผ้าไทย “อัตตวิถีพัสตรา ข้ามพรมแดน” เชื่อมโยงวิจัยและวิชาการสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าโครงการ ลายแทงผ้าไทย สืบสานภูมิปัญญาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เปิดเผยว่าได้ดำเนินโครงการลายแทงผ้าไทยฯ ภายใต้การสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสินค้าผ้าไทยของชุมชนด้วยแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผสมผสานกับเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ และร่วมกันออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ และแหล่งท่องเที่ยว

โดยมีพื้นที่เป้าหมายจำนวน 3 ชุมชน ประกอบด้วย 1) บ้านเก็ต หมู่ที่ 2 ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน 2) บ้านนอแล หมู่ที่ 14 ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 3) บ้านทุ่งฟ้าฮ่าม หมู่ที่ 5 ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
โครงการลายแทงผ้าไทย ฯ ได้จัดกิจกรรมการทดสอบเส้นทาง “ลายแทงผ้าไทย สืบสานภูมิปัญญาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ระหว่างวันที่ 9 – 12 มีนาคม 2567 ณ จังหวัดน่าน เชียงใหม่ และเชียงราย

เส้นทางแรก ลายแทงผ้าไทยน่าน ชุมชนบ้านเก็ต หมู่บ้านเก่าแก่มีอายุหลายร้อยปี เกิดจากการย้ายถิ่นฐานของคนไทลื้อมาจากพื้นที่สิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน แต่เดิมใช้ชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านเคล็ด" ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "บ้านเกล็ด" หมายถึง ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าไม้เกล็ด (ภาษาเหนือ) หรือไม้ชิงชัน (ภาษากลาง) และในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนการสะกดคำเป็นคำว่า "บ้านเก็ต" ในปัจจุบัน

บ้านเก็ตเป็นชุมชนไทลื้อ มีแหล่งทอผ้าและจำหน่ายผ้าทอไทลื้อที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น อาทิ ผ้าลายน้ำไหล ซิ่นป้อง ซิ่นม่าน และซิ่นคำเคิบที่มีเอกลักษณ์วิจิตรบรรจง ด้วยเทคนิคการทออันหลากหลาย อาทิ การเกาะล้วง การมัดก่าน และการขิด เป็นต้น ผ้าทอบ้านเก็ตเป็นผ้าทอย้อมสีจากธรรมชาติ โดยเฉพาะจากเปลือกเมล็ดโกโก้ และยังออกแบบผ้าทอลายที่คิดขึ้นใหม่ อาทิ ลายการเดินทาง ลายดอกชมพูภูคา

ที่จังหวัดน่านยังได้แวะไปทานกาแฟน่านที่ร้าน Erabica Nan Coffee

ทานอาหารกลางวันที่ร้านครัวปลาร้าหอม

ชมสวนโกโก้ และเรียนรู้การทำช็อคกาแลต @ Cocoa valley resort
ชมผลิตภัณฑ์เครื่องเงินและกระบวนการผลิตเครื่องเงินน่านที่ร้านเครื่องเงินดอยซิลเวอร์ ทานอาหารเย็นที่แมลงปอฮอลแอนด์การ์เด้น (จังหวัดพะเยา)

เส้นทางที่ 2 ลายแทงผ้าไทยเชียงใหม่ ชุมชนบ้านนอแล ตั้งอยู่สุดเส้นทางของแหล่งท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง สุดเขตชายแดนไทย–พม่า ตั้งอยู่ใกล้กับ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ชุมชนเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ

หมู่บ้านนอแลเป็นหมู่บ้านของชาวดาราอาง (ปะหล่อง) ที่อพยพมาจากเมียนมาร์ เมื่อราวพุทธศักราช 2519-2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  ทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรบนพื้นที่ดอยอ่างขาง พระองค์ทรงทักทายและสอบถามประวัติความเป็นมาของชาวดาราอาง ทรงอนุญาตให้อาศัยอยู่ในพื้นที่มีถนนตัดผ่านและมีแหล่งน้ำ ณ บ้านนอแล (ปัจจุบัน) เพื่อให้หน่วยงานราชการเข้ามาช่วยเหลือได้สะดวก

เอกลักษณ์ด้านผ้าเช่นชุดพื้นเมืองดาราอางแดง ทอผ้าลายริ้วสีแดงชายผ้าสีชมพู สีประจำชาติพันธุ์ดาราอางคือสีแดง เน้นการประดับตกแต่ง ซึ่งโดดเด่นกว่าที่อื่น มีลวดลายผ้าต่างๆเช่น ลายเจงไก๋ (ซิกแซ็ก) ลายงายซิม (ลายตานก) ลายกระบานหน่าย (ตีนหนู-ช่อดอกไม้) ลายโคงโลง (ลายภูเขา) และลายต้นเกี๊ยะ (ต้นสน)

ที่เชียงใหม่ได้แวะเที่ยวที่พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 ฝาง ชมพิพิธภัณฑ์พื้นที่มีชีวิตตามวิสัยทัศน์การพัฒนาโรงงานหลวงและพื้นที่โดยรอบให้เป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ (A Platform for Learning Experience) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา

ทานสุกี้ยูนนานที่ร้านเจ้เหมย
เที่ยวหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านยาง ชม Street Art มากมาย

รับประทานอาหารกลางวัน @ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ชมสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ชมสวนดอกไม้และแปลงสวนเกษตร

เที่ยวน้ำพุร้อนฝาง

เส้นทางที่ 3 ลายแทงผ้าไทยเชียงราย ชุมชนบ้านทุ่งฟ้าฮ่าม ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ พ.ศ. 2508 เนื่องจากหนีภัยน้ำท่วม ในสมัยแรกนั้นมีราษฎรอพยพมา 10 ครอบครัวและขยายเพิ่มขึ้นตามลำดับ ส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัด ขอนแก่น ศรีสะเกษ อุดรธานี และอุบลราชธานี

ชุมชนทุ่งฟ้าฮ่ามมีทักษะการทอผ้าที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนอีสาน ด้วยเทคนิคที่ใช้ คือ การขิดลายเป็นรูปต่าง ๆ การทอยกดอก มัดหมี่ ซึ่งติดตัวมาจากภาคอีสาน โดยมีทักษะและความรู้ เรื่องการทอผ้าอย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูกฝ้าย การเก็บและการปั่นฝ้าย ผูกลายมัดย้อม (มัดหมี่) มาทอเป็นผืน ทั้งผ้าพื้น และผ้าลายยกดอก สมาชิกกลุ่มได้นำชื่อตำบลโยนกมาเป็นชื่อลายของกลุ่ม เรียกว่า “ลายโยนก” ซึ่งจะเป็นการเรียกรวมชื่อลายที่มีทั้งหมด เช่น ลายนก ลายเต่า ลายหงส์ ลายม้า ลายช้าง ลายปลา ซึ่งสะท้อนรื่องเล่าและตำนานพื้นบ้านของกลุ่มที่สืบทอดกันมา รวมถึงตำนานที่สัมพันธ์กับเสภาพภูมิประเทศของชุมชนบ้านทุ่งฟ้าฮ่ามที่อยู่ในพื้นที่เวียงหนองหล่มซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Geo Park เชียงราย มีทั้งหนองน้ำ และปางควาย


ที่เชียงรายได้แวะเที่ยววัดร่องขุ่น (วัดสีขาว) ชมความสวยงามสถาปัตยกรรมและศิลปะในการออกแบบงานพุทธศิลป์ ของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และได้เจออาจารย์ด้วย

ทานร้านข้าวซอยแม่พิมพรที่อยู่ในบริเวณวัด

จากนั้นไปชมวัดพระธาตุผาเงา

เดินชมสกายวอล์ค

ชมพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นเวียงหนองหล่ม

และเที่ยววัดร่องเสือเต้น (วัดน้ำเงิน)

และได้ชมฝั่งลาวที่อยู่ตรงข้ามเชียงแสน

จากการเดินทางในเส้นทางนี้ได้มีการออกแบบเอกลักษณ์ร่วมกันบนผืนผ้า “อัตตวิถีพัสตรา ข้ามพรมแดน” ลายแทงบนผืนผ้าที่ทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของทั้งสามชุมชนอพยพ ย้ายถิ่นมาตั้งรกรากในพื้นที่ใหม่ และได้นำความคิด ความเชื่อ ภูมิปัญญาดั้งเดิม มาพร้อมกับการเดินทาง ที่เกี่ยวพันกับความศรัทธาของธรรมชาติและความเร้นลับเหนือธรรมชาติที่มีต่อวิถีชีวิต และการประกอบอาชีพของผู้คน

          เส้นทางลายแทงผ้าไทยเป็นเส้นทางที่เชิญชวนให้ทุกท่านร่วมค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชนผ่านลวดลายและสีสันบนผืนผ้า ร่วมกับการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพที่ใส่ใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม (ไทลื้อ ดาราอาง และอีสาน) ความเหมือนที่แตกต่าง ในการเดินทางอย่างรับผิดชอบเพื่อให้การเดินทางเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

โดยในทริปนี้มีวรวรรธน์ วราสถิรวัฒน์ (แจ๊ค) ดีไซเนอร์ไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก เจ้าของแบรนด์ VORAVAJ Bangkok ที่ได้จัดการแสดงผลงานแฟชั่นผ้าไทยในหลายประเทศเข้าร่วมทริปด้วย

          โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคงซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยกรมการพัฒนาชุมชน ที่มุ่งเน้นส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ให้มีความพร้อมที่จะรองรับนักท่องเที่ยว ส่งเสริมการบริโภคและอุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน เคารพในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพและมรดกท้องถิ่น รองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและประสบการณ์สร้างสรรค์ ผ่านโปรแกรมการท่องเที่ยวที่เพิ่มมูลค่าและเอกลักษณ์ของพื้นถิ่นได้ ภายใต้แนวคิด CREATIVE TOURISM



Create Date : 17 มีนาคม 2567
Last Update : 17 มีนาคม 2567 14:37:35 น. 0 comments
Counter : 813 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณhaiku, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณดอยสะเก็ด


ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelistaนักเดินทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




Travelista นักเดินทาง หรือสาธิตา โสรัสสะ อดีตหัวหน้าข่าวเศรษฐกิจเครือเนชั่น เป็นนักข่าวสายท่องเที่ยวยาวนานเกือบ 40 ปี เดินทางมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก มีผลงานเขียนพ็อคเก็ตบุ๊คท่องเที่ยว 34 เล่ม ปัจจุบันเป็นอุปนายกสมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย และประธานมีเดียแอนด์บล็อกเกอร์ คลับ (คลับของบล็อกเกอร์) เคยได้รับรางวัลบล็อกเกอร์ยอดเยี่ยมปี 59 ,ช่างภาพหญิงยอดเยี่ยมจากจีนปี 60 , สื่อมวลชนยอดเยี่ยมปี 64 และผู้บริหารสื่อออนไลน์ยอดเยี่ยมปี 65 ไอดีไลน์ tatravel โทร 081-817-2805
[Add travelistaนักเดินทาง's blog to your web]