บทที่02 : ภูมิศาสตร์และความจำเป็นเรื่องการบริหารจัดการน้ำ


เมื่อครั้งที่คู่สหายศึกพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวเข้าร่วมโจมตีเมืองศรีสัชนาลัยและสุโขทัยจากขอมสบาดลำพง  เรื่องที่น่าสงสับอย่างยิ่งคือขอมบาดลำพงเป็นใครมาจากไหนเหตุใดจึงสามารถเข้ายึดสุโขทัยและศรีสัชนาลัยนั้นเป็นที่ฉงนอยู่ไม่ใช่น้อยในหลายประการ อย่างเช่น พ่อขุนผาเมืองนั้นมีความแนบแน่นต่ออาณาจักรพระนครเป็นอย่างยิ่งจนเจ้าผีฟ้าเมืองยโสธรปุระหรือเมืองพระนครยกลูกสาวให้แต่งงานด้วยแถมยังมอบพระแสงขรรค์ไชศรีย์ให้ เหตุใดขอมสบาดลำพงซึ่งเป็นขอมเช่นกันกลับกล้าหาญในการเข้ายึดเมืองเช่นนั้นจะไม่เกรงพระอาญาเชียวหรือ หรือจากจารึกวัดว่ามะม่วงกลับมีบันทึกว่ามหาเถรศรีศรัทธาที่เป็นบุตรของคำแหงพระรามนั้นคำแหงพระรามเองก็ครองเมืองอยู่ที่สรวงสองแคว ใกล้สุโขทัยนนั่นเองทำไมไม่เลือกใช้กำลังของน้องชายในการเข้าร่วมชิงอำนาจแทนทหารของเพื่อนที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนอย่างมหาศาลจนถึงต้องยกเมืองให้หรือแม้แต่พ่อขุนผาเมืองผู้เป็นราชบุตรของพ่อขุนศรีนาวนำถมกลับไปครองอยู่เมืองราดไม่ได้อยู่ในฐานะราชบุตรของพ่อขุนศรีนาวนำถมและปกครองศรีสัชนาลัยการกระจายตัวของศรีนาวนำถมนั้นออกจะแปลกประหลาดมากคือศรีนาวนำถมปกครองเมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ผาเมืองปกครองเมืองราดคำแหงพระรามปกครองเมืองสรวงสองแคว ดูราวตระกูลนี้จะเป็น CEO รับจ้างที่ไปบริหารเมืองต่างๆแบบเฉพาะตัวไม่ได้เป็นเมืองที่สืบทอดกันตามสายตระกูลงั้นหรือ

แม้การจัดทัพในการโจมตีก็น่าสนใจคือพ่อขุนผาเมืองเข้าโจมตีสุโขทัยส่วนพ่อขุนบางกลางหาวเข้าโจมตีศรีสัชนาลัย ผมประเมินว่าในบริบทตอนนั้นสุโขทัยและศรีสัชนาลัยคงยังเป็นเมืองคู่กันอยู่ขนาดของเมืองคงไม่ต่างกันมากนักอีกทั้งในยุคสมัยนั้นอาวุธไกลอย่างปืนก็ยังไม่เข้ามาสู่ย่านนี้หากที่เคยไปเมืองโบราณทั้งสองจะพบว่าเมืองศรีสัชนาลัยนั้นมีชัยภูมิในการป้องกันตัวที่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัดนั่นคือมีปราการธรรมชาติที่เข้มแข็มมีแม่น้ำยมเป็นคูเมืองและยังมีภูเขาล้อมรอบตัวเมืองจนเป็นหนึ่งปราการเหล็กกล้าเห็นได้จากตอนที่พระยาพิชัยและพระยาศรีสัชนาลัยต่อต้านพระนเรศทั้งสองสิงห์เฒ่าเลือกใช้ศรีสัชนาลัยเป็นปราการคุ้มตน(แต่ไม่รอดนะ)แสดงว่าพ่อขุนผาเมืองเลือกให้พ่อขุนบางกลางหาวทำงานหนักกว่าโดยเข้าโจมตีเมืองที่จะทำให้เกิดการล้มตายมากกว่าส่วนพระองค์เลือกงานเบา จากที่ผมประเมินโดยแท้จริงแล้วถ้าพูดถึงการรบทัพจับศึกพ่อขุนผาเมืองคงไม่สามารถเทียบพ่อขุนบางกลางหาวได้เป็นแน่ เมือเป็นดังเช่นนั้นแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อพ่อขุนบางกลางหาวมาล้อมเมืองทวงสัญญาจึงเป็นการยอมยกให้แต่โดยดีแถมพ่อขุนบางกลางหาวยังไม่สนใจใยดีต่อเมืองบางยางของพระองค์เลยย้ายมาอยู่สุโขทัยดื้อเลย

ในเบื้องต้นแล้วหากพิจารณาจากภูมิศาสตร์ของสุโขทัยแล้วจะพบว่าพ่อขุนบางกลางหาวน่าจะเล็งเห็นความสำคัญของเส้นทางการค้าเส้นนี้แล้วจึงทรงกระตือรือร้นทั้งการรบและการเทครัวเมืองของพระองค์มาประจำสุโขทัยเลยแต่เดิมสุโขทัยคงเป็นแค่เมืองเล็กๆเท่านั้น ตามสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งของเมืองสุโขทัยนั้นตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขามีความลาดชันค่อนข้างมากอยู่ห่างจากแม่น้ำยมเกือบ15 กม ชั้นดินของบริเวณดังกล่าวเป็นทรายและดินเหนียวปนทรายทำให้แทบไม่มีน้ำบาดาลอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเลยน้ำใช้ของเมืองสุโขทัยทั้งหมดจึงมาจากเขาหลวงทั้งหมด โดยมีสายน้ำแค่แม่รำพันและคลองเสาหอเท่านั้นโดยแม่ลำพันนั้นไหลมากจากบ้านด่านลานหอย ส่วนคลองเสาหอนั้นใช้ส่งน้ำจากสรีดภงค์มาจากการเดินทางการค้าขายโดยผ่านทางบกต้องเป็นการเดินทางโดยคาราวานที่มีคนและสัตว์จำพวกโคกระบือเทียมเกวียนจำนวนมาก

สภาพการเดินทางลำบากยากเย็นอย่างนี้น้ำดื่มสำหรับสัตว์เทียมเกวียนและข้าวอาหาร สำหรับขบวนคาราวานนั้นสำคัญมาก สุโขทัยจงมีความจำเป็นอย่างมากในการพัฒนาระบบชลประธานเพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรฐษกิจแนวทางที่ใช้ในการพัฒนาเมืองของสุโขทัยคือการอาศัยความลาดชันของพื้นที่การสร้างคลองส่งน้ำไปเก็บไว้ในบริเวณคูเมือง ซึ่งการขุดคูเมืองสามชั้นวัตถประสงค์หลักก็คือการเป็นอ่างเก็บน้ำและเพื่อการป้องกันน้ำท่วมในยามนำหลากนอกจากนั้นการขุดตระพังจำนวนมากก็ใช้เพื่อการการเก็บน้ำไว้ในบริเวณตัวเวียงจำนวนมากก็น่าจะเป็นไปด้วยเหตุผลเดียวกันในการกักเก็บน้ำ


จุดเด่นประการหนึ่งของการสร้างตระพังของสุโขทัยคือการสร้างวัดไว้ตรงกลางตระพังต่างๆผมเชื่อว่าเพื่อทำให้เกิดความศักสิทธิ์ทำให้ชาวบ้านไม่นำสัตว์เลี้ยงต่างๆมาไว้ในบริเวณตระพังความสำคัญดังกล่าวนี้เองเราจึงเห็นวัดกลางตระพังเมืองบริวาณอื่นๆของสุโขทัย เช่นศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร สระหลวงก็ไม่มีเช่นนี้ อันเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ต่างกันนั่นเองสิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างไว้เพื่อรองรับการค้าที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย

ที่กรุงละโว้ในเวลานั้นไม่มีเจ้าเมืองปกครอง นายคงเครานายกองส่งน้ำจึงทำหน้าที่รักษาการดูแลเมืองละโว้อยู่ซึ่งขณะนั้นเมืองละโว้อยู่ในความปกครองของพวกขอมจึงต้องเดินทางไปส่งส่วยเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์จากทะเลชุบศร เป็นประจำทุก 3 ปีขากลับจากการเดินทางไปส่งส่วยได้มีการคุมไพร่พลขนน้ำไปถวายพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2ณ เมืองขอมขณะขบวนเกวียนของนายคงเคราผ่านเมืองอัมราพิรุณบูรณ์ได้พบไข่ 1ฟองมีขนาดใหญ่กว่าไข่ทั่วไปบนหาดทราย นายคงเคราจึงเก็บไข่กลับไปยังเมืองละโว้ด้วยจากนั้นได้หาแม่ไก่ให้มาช่วยฟักตัวละหนึ่งเดือน พอครบสิบเดือนไข่นั้นก็แตกออกมาภายในนั้นมีเด็กผู้ชายหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูพร้อมยิ้มให้นายคงเคราพอได้เห็นเช่นนั้นนายคงเคราจึงเกิดความรักในเด็กผู้ชายและได้ตั้งชื่อให้ว่า ร่วงและเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม นับแต่นั้นมา

เมื่อร่วงโตขึ้นอายุได้ 11 ปีร่วงจึงได้รู้ว่าตนเองมีวาจาสิทธิ์ ในวันที่ไปพายเรือเล่นในทุ่งพรหมมาศ(บางตำราว่าพายเล่นในทะเลชุบศร) พายเรือตามน้ำไปได้สักพักก็คิดจะกลับแต่ต้องพายเรือทวนน้ำ รู้สึกเหน็ดเหนื่อยจึงพูดเปรยๆ ออกมาว่า“ทำไมน้ำไม่ไหลกลับไปทางเรือนเราบ้าง” ทันใดนั้น น้ำในทุ่งพรหมมาศก็เปลี่ยนทิศไหลพาเรือกลับอย่างที่ตนพูดร่วงได้เก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับไม่ยอมบอกให้ใคร

ต่อมาไม่นาน นายคงเคราถึงแก่กรรมบรรดาไพร่พลทั้งปวงจึงยกให้นายร่วงเป็นนายกองส่งน้ำแทน ครั้นครบกำหนดนักคุ้มข้าหลวงจากเมืองขอมได้คุมกองเกวียน 50 เล่ม พร้อมไพร่พล1,000 คนมาบรรทุกน้ำศักดิ์สิทธิ์จากทะเลชุบศรเพื่อนำไปประกอบพิธีเมื่อมาถึงเมืองละโว้ได้ทราบข่าวนายคงเคราเสียชีวิตแล้วจึงให้คนไปตามนายร่วงซึ่งทำหน้าที่แทนนายคงเครามาพบตนนายร่วงจึงบอกกับนักคุ้มว่าท่านเอาโอ่งเอาไหที่ทำด้วยดินมาใส่น้ำอย่างนี้หนักเปล่าๆจงช่วยกันสานชะลอมใส่น้ำไปเถิด เราจะสั่งน้ำมิให้ไหลออกมาเองนักคุ้มเห็นนายร่วงรับรองแข็งขันว่าสามารถทำได้ก็สั่งไพร่พลให้ช่วยกันสานชะลอมใส่เกวียนเล่มละ 25 ใบซึ่งเมื่อนำชะลอมทุกใบไปตักน้ำตั้งบนเกวียนปรากฏว่าไม่มีน้ำไหลรั่วออกมาเลยแม้แต่ใบเดียว นักคุ้มรู้สึกเกรงอำนาจวาจาสิทธิ์ของนายร่วงจึงรีบนำขบวนเกวียนเดินทางกลับเมืองขอมระหว่างทางได้เดินทางมาถึงด่านแห่งหนึ่งนักคุ้มเกิดความคลางแคลงใจว่าถูกนายร่วงหลอกให้ขนชะลอมเปล่าไปเมืองตนเองจึงเปิดชะลอมดู ก็เห็นน้ำยังอยู่เต็มเหมือนเดิม ไม่รั่วออกเลยนักคุ้มจึงยกย่องนายร่วงว่ามีความสามารถเก่งกล้ายิ่งนักและให้จารึกเรื่องราวไว้เป็นสำคัญ ณ ที่แห่งนั้น ต่อมาเรียกกันว่า “ด่านพระจารึก”ครั้นเดินทางต่อมาจนถึงเมืองตึกโชชาวเมืองพอทราบข่าวก็เล่าลือเรื่องที่นักคุ้มนำชะลอมใส่น้ำบรรทุกมาเจ้าเมืองขอมทราบจึงเรียกไปสอบถาม นักคุ้มก็เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟังโดยละเอียดพร้อมทั้งยกชะลอมใบที่ยังมีน้ำขังอยู่เทลงในพะเนียงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่เจ้าเมืองและเหล่าข้าราชบริพารโดยทั่วหน้ากันเจ้าเมืองขอมตกพระทัยตรัสว่า บัดนี้ผู้มีบุญมาเกิด ณ เมืองละโว้แล้วกาลภายหน้าจะเป็นอันตรายแก่เรา อย่ากระนั้นเลย เราควรจะรีบยกกองทัพไปจับตัวนายร่วงมาสังหารเสียดีกว่าว่าแล้วก็ส่งกองทหารจำนวนหนึ่งเดินทางมายังกรุงละโว้ เพื่อจับตัวนายร่วงไปสำเร็จโทษทันที นายร่วงพอรู้ข่าวว่าทหารขอมยกกองทัพมาจับตัวก็หนีออกจากเมืองละโว้ขึ้นไปทางเหนือและได้หลบอยู่ริมวัดแห่งหนึ่งตั้งอยู่ ณ บ้านบางคลานเขตเมืองพิจิตร ได้รับความอดอยากถึงกับต้องขออาหารชาวบ้านกินผู้ที่มีจิตเมตตาได้นำข้าวและปลาหมอตัวหนึ่งมาให้นายร่วงกินเนื้อปลาทั้งสองข้างหมดแล้วก็โยนก้างลงไปในสระ และสั่งว่า“เจ้าจงมีชีวิตขึ้นมาเถิด” พลันปลาซึ่งไม่มีเนื้อ มีแต่ก้าง ก็กลับมีชีวิตขึ้นมาแหวกว่ายอยู่ในน้ำซึ่งปลาชนิดนี้ ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า “ปลาก้าง”ต่อมานายร่วงจึงเดินทางไปไปจนถึงเขตเมืองเชลียงนายร่วงจึงหยุดพักและรู้สึกปวดท้องถ่าย จึงนั่งถ่ายที่ข้างป่าเสร็จแล้วได้หักกิ่งไม้แห้งมาชำระและโยนทิ้ง พร้อมกับสั่งว่า“จงงอกขึ้นมาเถิด” พลันไม้นั้นก็งอกขึ้นมาเป็นต้นใหม่และมีกลิ่นเหมือนอาจม ชาวบ้านเรียกไม้ชนิดนี้ว่า “ไม้ชำระพระร่วง”นายร่วงพเนจรหลบหนีพวกทหารขอมอยู่เป็นเวลาหลายปีจนเมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองสุโขทัยชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า“พระร่วง” นับแต่นั้น


จากตำนานที่แสดงให้เห็นความสามารถในการจัดการน้ำของพระร่วงผู้จะเป็นกษัตริย์สุโขทัยในยามถัดมาผมคิดว่าเป็นการเล่าเรื่องเชิงเปรียบเทียบให้เห็นความสามารถในการจัดการน้ำของพระร่วงตัวจริงและแน่นอนเมื่อบ้านเมืองตกมาถึงมือของพ่อขุนรามคำแหงนั้น บ้านเมืองล้วนบริบูรณ์ด้วยน้ำท่าตระพังและคูเมืองเรียบร้อยแล้ว สิ่งเหล่านี้ย่อมสร้างจากสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ตำนานเรื่องพระร่วงกับขอมดำดินนี้คงเป็นตำนานการสร้างบ้านคลองเมืองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั่นเองขอมสบาดลำพงหากเทียบกัยตำนานพระร่วงคงเป็นแม่ทัพนายกองของละโว้เสียมากกว่าจะเป็นขอมจากพระนครหลวงเป็นแน่




Create Date : 02 กันยายน 2560
Last Update : 2 กันยายน 2560 17:22:44 น.
Counter : 2339 Pageviews.

0 comment
บทที่01 : สุโขทัยในความคิดคำนึง


บทที่01 : สุโขทัยในความคิดคำนึง

จากครั้งแรกในการเดินทางไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยอันเกิดจากแรงบันดาลใจเล็กๆที่เห็นลูกชายไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้กับครอบครัวของคุณย่าของเขาจากแรงบันดาลใจเล็กๆอันนี้เองเมื่อผมได้ลองศึกษาข้อมูลในแง่มุมต่างแต่ของอาณาจักรทีได้ชื่อว่าเป็นราชธานีแห่งแรกของชนชาติไทยแม้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าอาณาจักรสุโขทัยอาจมีสถานะแคว้นแห่งหนึ่งเท่านั้นไม่ได้เป็นมหานครที่เต็มภาคภูมิอย่างอาณาจักรอยุธยาก็ตามจากตามที่ผมพิจารณาแล้วคนในยุคอยุธยาก็คงไม่ได่มองเห็นสุโขทัยเป็นรัฐเป็นเมืองหลวงมาก่อนอยุธยาโดยหมุดหมายที่พิจารณาเรื่องดังกล่าวนี้ก็อาจสังเกตจากชื่อเต็มของราชธานีต่างๆได้เช่น

อยุธยา

กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์

รัตนโกสินทร์

กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานี

โดยหากพิจารณาจากชื่อเต็มๆของทั้งสองอาณาจักรแล้วย่อมสามารถพิจารณาได้เบื้องต้นคือชื่อกรุงเทพนั้นเป็นชื่อสามัญที่ได้รับการกล่าวขานนำหน้าเมืองที่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรนั่นเองส่วนสร้อยที่ตามมาจะเป็นอาณาจักรโบราณก่อนที่จะมาถึงมหานครในยุคปัจจุบัน อาทิเช่นอยุธยามีสร้อยในการตั้งชื่อว่า ทวารวดีศรีอยุธยา หรืออยุธยามีสร้อยว่า มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพ การอ้างอิงความศักสิทธิ์ของอาณาจักรก่อนหน้านั้นย่อมแสดงให้เห็นถึงการอ้างสิทธิธรรมในการสืบทอดความรุ่งเรืองต่อมารัตนโกสินธ์อ้างอิงจากกรุงศรีอยุธยาฉันใดกรุงศรีอยุธยาก็อ้างอิงถึงกรุงทวารวดีฉันนั้น ในห้วงคิดคำนึงของอยุธยานั้นตนเองได้สืบทอดมาจากมหานครในตำนานอย่างทวารวดี คำว่าทวารวดีนี้จึงเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ในยุคสมัยนั้นเช่นกัน

หากการเกิดขึ้นของละโว้ หริกุญชัยไม่ได้ยอมรับนับถือเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งอาณาจักรฉันใด สุโขทัยก็เป็นเช่นกันคือไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรฉันนั้น แต่จุดที่แตกต่างระหว่างสุโขทัยและเมืองอื่นๆนั่นคือการได้รับการยอมรับเป็น”ราชธานี”แห่งแรกการเกิดเป็น “กรุงสุโขทัย” นั่นคือการเติบโตจากเมืองธรรมดาเกิดเป็นแคว้นมีราชาที่มีอำนาจเหนือราชาของเมืองบริวาณอย่างชัดแจ้ง โดยหากพิจารณาแล้วก่อนเกิดการสร้างอาณาจักรที่มีราชธานีขึ้นก่อนหน้านั้นเมืองต่างๆในพื้นที่แถบนี้เป็นระบอบเมืองคู่เสียมากกว่าอาทิเช่น

สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย เมืองคู่ที่ครอบคลุมบริเวณลุ่มแม่น้ำยมอันที่ต่อมาจะพัฒนาเป็นอาณาจักรสุโขทัยต่อไป

สระหลวง-สองแคว เมืองคู่ที่อยู่ในบริเวณพิษณุโลกในปัจจุบันโดยเป็นคู่แข่งอำนาจที่สำคัญของสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย โดยเป็นฐานที่มั่นทีสำคัญของตระกูล”ศรีนาวนำถุม”โดยเมืองนี้อยู่ใต้การปกครองของศรีนาวนำถมเช่นคำแหงพระรามน้องชายของขุนผาเมือง ตกมายังในยุคของมหาเถรศรีศรัทธาจึงได้โดนสุโขทัยในสมัยยึดแย่งโดยสายพระร่วง

สุพรรณบุรี-แพรกศรีราชา อันครอบครองลุ่มน้ำท่าจีนเมืองนี้มีความอุดมสมบูรณพรั่งพร้อมไปด้วยข้าทาสบริวาณภายหลังจะเป็นรัฐผู้ร่วมก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาและเป็นผู้ลดอำนาจของสุโขทัยจนเป็นการกลืนกินในที่สุดหัวหอกสำคัญคือขุนหลวงพะงั่วผู้ซึ่งประวัติศาสตร์กระแสหลักแทบไม่กล่าวถึงแต่กลับมีบทบาทมากมายต่อชะตากรรมทั้งสองอาณาจักรอันจะเกิดขึ้น

ละโว้-อโยธยา อาณาจักรที่สืบทอดมาจากอาณาจักรพระนครอาจมีสถานะเป็นเมืองหลวงย่อยๆของภูมิภาคนี้ของอาณาจักรพระนครดำรงความยิ่งใหญ่เหนืออาณจักรต่างๆมานานจนส่งเจ้าหญิงจามเทวีไปสร้างเมืองหริกุญชัยได้นับเป็นสำนักเรียนของบรรดาเจ้าชายต่างๆที่ต้องมาเรียนศึกษา ณ สำนักเรียนที่นี่ ภายหลังเริ่มตกต่ำเนื่องจากเมืองพระนครตกต่ำลงอย่างมากและเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาร่วมกับสุพรรณภูมิ นอกจากนั้นบริเวณอยุธยายังเป็นบริเวณเมืองคู่ของตนอีกด้วย

จากตัวอย่างเมืองคู่ต่างๆนี้ปรากฏอยู่มากบริเวณลุ่มแม่น้ำภาคกลางไม่ได้ปรากฏมากนักในบริเวณล่มแม่น้ำอื่นเหตุผลในการต้องมีเมืองคู่กันก็ปรากฏไม่ได้เด่นชัดมากนักอาจเป็นเรื่องของความั่นคงปลอดภัยทางธรรมชาติเช่นหากมีห่าลงจะได้มีการย้ายประชากรหนีไปยังบริเวณเมืองคู่ได้เช่น ตามตำนานของล้านนาเมื่อมีห่าลงหริกุญไชยชาวบ้านก็ย้ายไปอยู่ยังเมืองอื่นๆ แทนจนมั่นใจว่าโรคหายไปแล้วจึงได้กลับมาอยู่ที่เมืองเดิมของตนอีกครั้ง

สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือทำไมอยู่ๆสุโขทัยจึงสามารถมีพัฒนาการจากระบบเมืองคู่ขึ่นมาเป็ฯอาณาจักรที่มีราชธานีได้โดยหากพิจารณาเพื่อนร่วมสมียในยุคเดียวกันอย่างเมืองคู่อืนกลับไม่สามารถทำได้แม้แความแต่ละโว้ซึ่งน่าจะเป็นรัฐที่มีความพร้อมที่สูงสุดของยุคก็กลับไม่สามารถสร้างตนเป็นราชธานีได้อย่างสุโขทัยหรือแม้แต่ในกรณีเมืองคู่ของสุโขทัยอย่างศรีสัชนาลัยกลับไม่สามารถเป็นใหญ่ยืนระยะได้และหากพิจารณาตามความจริงแล้ว อาณาจักรต่างๆในย่านนี้ ล้วนแต่มีพัฒนาการตามรอยสุโขทัยทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นการก่อกำเนิดอยุธยา การก่อกำเนิดอาณาจักรล้านนา ก็ล้วนเกิดขึ้นในรูปแบบที่สุโขทัยเกิดการเติบโตขึ้น

การเติบโตของสุโขทัยน่าจะมีผลจากเหตุผลภายนอกเป็นตัวส่งเสริมอยู่ระดับหนึ่งทีเดียวหากจะหาหลักฐานเป็นหลักเป็นการณ์ก็คิดได้ถึงเพียงเมื่อตอนพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนงำเมืองเข้ายึดครองเมืองสุโขทัยแต่บริบทภายนอกจะเป็นอย่างไรนั่นคงยากที่จะพิจารณาตามปีเกิดของสุโขทัยอาจพอพิจารณาได้ดังนี้ อาณาจักรสุโขทัยนั้นสถาปนาขึ้นเมื่อประมาณปี 1800 หากไปดูอาณาจักรที่ทรงความยิ่งใหญ่ในยุคสมัยนั้นก็เห็นว่าลองไปดูในช่วงเวลาเดียวกันในยุคสมัยของอาณาจักรพระนครและอาณาจักรพุกาม

ฟากอาณาจักรพระนคร“ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2ประสูติเมื่อประมาณ พ.ศ. 1663 หรือ พ.ศ. 1668พระนามเดิมคือเจ้าชายวรมันทรงเสกสมรสตั้งแต่ทรงพระเยาว์กับเจ้าหญิงชัยราชเทวีสตรีที่มีบทบาทและอิทธิพลสำคัญที่สุดเหนือพระองค์รวมทั้งโน้มนำให้พระองค์หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน

ราว พ.ศ. 1720 – 1721 พระเจ้าชัยอินทรวรมันแห่งอาณาจักรจามปา ทรงนำทัพจามบุกเข้าโจมตียโศธรปุระกองทัพเรือจามบุกเข้าถึงโตนเลสาบ เผาเมือง และปล้นสะดมสมบัติกลับไปเป็นจำนวนมากรวมทั้งจับพระเจ้าตรีภูวนาทิตวรมันประหารชีวิต เชื่อกันว่า การรุกรานเมืองยโศธปุระครั้งนั้นเจ้าชายวรมันได้วางเฉยยอมให้เมืองแตก จากนั้นพระองค์จึงกู้แผ่นดินขึ้นมาใหม่โดยนำทัพสู้กับพวกจามนานถึง 4 ปีจนสามารถพิชิตกองเรือจามผู้เชี่ยวชาญการเดินเรือได้อย่างราบคาบในยุทธการทางเรือที่โตนเลสาบ

พ.ศ. 1724 ยโศธปุระกลับสู่ความสงบพระองค์ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พร้อมกับบูรณปฏิสังขรณ์ราชธานีขึ้นมาใหม่ รู้จักกันในชื่อ“เมืองพระนครหลวง” หรือ “นครธม” หรือ “นครใหญ่”และย้ายศูนย์กลางของราชธานีจากปราสาทปาปวนในลัทธิไศวนิกายมายังปราสาทบายนที่สร้างขึ้นใหม่ ให้เป็นศาสนสถานในลัทธิมหายานแทน จากนั้นมาศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเขมรโบราณก็คือ ปราสาทบายน หรือนครธม”(ข้อมูลจากWikipedia)

เมื่อผ่านยุคทองที่ใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาลในการสถาปนาเมืองพระนครจากการปกครองของจามแล้วอาณาจักรพระนครก็เริ่มเสื่อมถอยอีกครั้งจนในที่สุดเมื่อความเสื่อมถอยจนถึงที่สุดก็เกิดการล่มสลายโดยการรุกรานโดยกองทัพของเจ้าสามพระยาจากอยุธยาในเวลาดังกล่าวที่สุโขทัยเริ่มเกิดความเสื่อมถอยขึ้นน่าจะพอสังเกตได้จากศิลาจารึกหลักที่สองของมหาเถรศรีศรัทธาว่าต้นตระกูลของพระองค์คือพระยาผาเมืองนั้นได้อภิเสกกับเจ้าหญิงจากเมืองพระนคร นอกจากได้อภิเสขเป็นลูกเขยของผีฟ้าแห่งพระนครแล้วยังได้พระนามศรีอินทราทิตย์และพระแสงขรรชัยศรี จากความดังกล่าวนี้น่าเชื่อว่าในยุคสมัยนั้นพระนครคงมีสงครามติดพันธ์กับศัตรูเก่าอย่างจามอยู่การที่มีลูกเขยเป็นเจ้าท้องถิ่นนั้นจะช่วยอาณาจักรพระนครได้หลายเรื่อง เช่นการปกป้องเส้นทางการค้า การขอกำลังสนับสนุนยามมีสงครามหรือแม้แต่การไม่ตีตลบหลังในขณะที่รบกับจามอยู่การมอบบุตรีเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองนี้ในยุคของพ่อขุนรามราชก็มีปรากฏเช่นกัน ดังเช่นที่พระเจ้าฟ้ารั่ว(มะกะโท) เป็นบุตรเขยของพ่อขุนรามราชแห่งสุโขทัยเช่นกัน

อาณาจักรพุกาม (อังกฤษPagan Kingdomพม่าပုဂံခေတ်) เป็น อาณาจักรโบราณในช่วง พ.ศ. 1587 - พ.ศ. 1830 พุกามเป็นอาณาจักรและราชวงศ์แห่งแรกในประวัติศาสตร์ของชาวพม่า มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพุกามในปัจจุบันเดิมมีชื่อว่า "ผิวคาม" (แปลว่า หมู่บ้านของชาวผิว) เป็นเมืองเล็ก ๆริมทิศตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี สภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายแห้งแล้งเป็นที่อยู่ของชาวผิว ซึ่งเป็นชนพื้นเมือง ในปี พ.ศ. 1587 พุกามถูกสถาปนาโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อ พระองค์ทำสงครามกับชาวมอญที่อยู่ทางใต้ชนะแล้วจึงสถาปนาชื่ออย่างเป็นทางการของพุกามว่า "ตะริมันตระปุระ" (အရိမဒ္ဒနာပူရ; หมายความว่า เมืองที่ปราบศัตรูราบคาบ) รอบ ๆ เมืองพุกาม มีหมู่บ้านเล็ก ๆชื่อ "มินดาตุ" ซึ่งเป็นเขตเมืองโบราณ 4 แห่งล้อมรอบอยู่ด้วย

ในรัชสมัยพระเจ้าจานสิตา กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พุกาม เป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดชาวมอญที่อยู่หงสาวดีทางตอนใต้ได้ทำสงครามชนะพุกามและครอบครองดินแดนของพุกาม พระองค์จึงรวบรวมชาวพม่าตีโต้คืนจึงสามารถยึดพุกามกลับมาไว้ได้

อาณาจักรพุกามเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดทางด้านศิลปวิทยาการในสมัยพระเจ้าอลองสิธู ใน พ.ศ. 1687 พระองค์ได้โปรดให้สร้างเจดีย์ชื่อ"ตะเบียงนิว" (แปลว่า เจดีย์แห่งความรู้) ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในพุกามไว้

กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรพุกาม คือ พระเจ้านรสีหบดี สร้างเจดีย์องค์สุดท้ายแห่งพุกามเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 1819 และเมื่อสร้างเจดีย์องค์นี้เสร็จได้มีผู้ทำนายว่า อาณาจักรพุกามจะถึงกาลอวสาน ซึ่งต่อมาก็เป็นจริงดังนั้นเมื่อกองทัพมองโกลยกทัพเข้ามาบุกในปี พ.ศ. 1827 และอาณาจักรพุกามถึงคราวล่มสลายในปี พ.ศ. 1830 รวมระยะเวลาแล้ว243 ปี มีกษัตริย์อยู่ทั้งหมดทั้งสิ้น 11 พระองค์

อาณาจักรพุกามหลังปี พ.ศ. 1830 ถูกมองโกลยึดครองและแบ่งดินแดนออกเป็น2 มณฑล [1] คือ

· มณฑลเชียงเมียนโดยรวมรัฐทางเหนือของพม่าเข้าด้วยกันมีเมืองตะโก้ง เป็นศูนย์กลางภายใต้การปกครองของข้าหลวงจีน มีทหารมองโกลประจำ

· มณฑลเชียงชุงอยู่ทางภาคใต้ของพม่า มีพุกามเป็นศูนย์กลางจนปี พ.ศ. 1834 จึงได้แต่งตั้งพระเจ้ากะยอชวา เป็นกษัตริย์ปกครองพุกาม ในฐานะประเทศราชของจีน(ข้อมูลจาก Wikipedia)

จะเห็นว่าในเวลาช่วงปี1800 มหาอำนาจแห่งย่านอุษาอาคเนย์ล้วนแต่ประสบภัยพุกามประเทศโดนการรุกรานจากมองโกลจนล่มสลายในปี 1830 ในขณะที่อาณาจักรพระนครก็เกิดการสู้รบอย่างยืดเยื้อกับจามจนไม่สามารถมากดทับเหล่าเมืองน้อยในบริเวณสยามได้อีกเป็นช่วงที่อาณาจักรน้อยๆ ต่างเริ่มสามารถก่อร่างสร้างตัวสถาปนาความยิ่งใหญ่จนกลายเป็นอาณาจักรอย่างสุโขทัย ล้านนา และอยุธยาได้ 




Create Date : 02 กันยายน 2560
Last Update : 2 กันยายน 2560 12:48:07 น.
Counter : 817 Pageviews.

0 comment
พญามังรายและอาณาจักรสุโขทัย ตอนที่ 1


พญามมังรายกษัติย์ต้นวงที่ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรล้านนาหนึ่งในกษัตรย์ทืยิ่งใหญ่อย่างยิ่งในยุดเดียวกับพ่อขุนรามคำแหงนั่นคือพญามังรายปฐมวงศ์แห่งราชวงศ์มังราย ตามประวัติที่กล่าวกันมานั้นพญามังรายเป็นบุตรของพญาลาวเมงผู้ครองนครเงินยางเชียงแสนโดยต้นวงศ์ของพญามังรายคือปู่เจ้าลาวจกหรือวงศ์ลวจักรราช โดยหากพิจารณาในอนุสาวรีย์สามกษัติย์นั้น พญางำเมืองหนึ่งในสามกษัตย์ก็เป็นหนึ่งในทายาทของราชวงศ์ลวจักราชเช่นเดียวกับพญามังราย

เมื่อพระบิดาของพญามังรายสิ้น พญามังรายก็ได้ทำการสืบทอดอำนาจต่อจากบิดาในช่วงดังกล่าวนี้พญามังรายก็คงยังเหมือนกับผู้นำคนอื่นในแคว้นแถบนี้คือยังนับถือผีบรรพบุรุษและมักจากสร้างเมืองบนเนินเชาแนวคิดด้านการสร้างอาณาจักรขนาดใหญ่คงยังไม่มีนัก เพียงแต่ในช่วงเวลานั่นแคว้นต่างๆทางภาคเหนือต่างกำลังอกสั่นขวัญแขวนจากการรุกรานของอภิมหากองทัพจากมองโกลอยู่พญามังรายจึงเริ่มคิดการรวมแคว้นเล็กแคว้นน้อยของล้านนาให้เป็นปึกแผ่นขึ้น จึงเริ่มยึดบุกตี เจรจาเพื่อให้เมืองต่างๆเข้ามาอยู่ใต้บารมีอำนาจของพระองค์โดยทรงสร้างเมืองแห่งใหม่ของพระองค์เองคือเมืองเชียงราย โดยยึดเอาดอยเล็กๆแถบริมน้ำกกสร้างฐานทัพในการขยายอำนาจของพระองค์ที่เรียกว่าดอยจอมทองโดยสร้างเป็นเวียงขนาดเล็กบนดอยมีคูน้ำคันดินล้อมรอบจากการสร้างเมืองของพระองค์จะพบว่ายังไม่เน้นเรื่องสร้างศูนย์การปกครองขนาดใหญ่สักเท่าไรนักยังคงสร้างเมืองเล็กๆย้ายไปมาได้ง่ายดั่งเดียวกับบรรพบุรุษของพระองค์ จนเมื่อพระองค์รวบรวมเมืองเล็กน้อยต่างๆรอบเขตเมืองเชียงรายได้แล้วจึงกรีทาทัพไปเพื่อทำการยึดเมืองพะเยาซึ่งเป็นเมื่องที่สืบสายลวจักราชมาเช่นกันแต่เมือไปถึงกลับไม่ได้ทำการรบพุ่งกัน เจ้าครองเมืองพะเยาผู้นั้นกลับออกมารับด้วยดีผู้ครองเมืองพะเยานี้คือพญางำเมือง พญางำเมืองนี้มีความแตกต่างกับเจ้าเชื้อสายลวจักราชคนอื่นอยู่ไม่น้อยนั่นคือพระองค์ได้ไปทำการศึกษาอยู่ที่เมืองละโว้อันเป็นศูนย์กลางความเจริญในสมัยนั้นในยามนั้นเองก็มีเพื่อนสนิทร่วมสำนักคือพญาร่วงหรือพ่อขุนรามราชแห่งนครสุโขทัย

จากการเจรจานี่เองพญางำเมืองคงเห็นว่าหากจะสู้กับพญามังรายให้ชนะก็คงยากเกินไปแต่ในทางกลับกันการที่พญางำเมืองจำได้ชนะพญางำเมืองง่ายๆก็ไม่หมูนักเพราะนอดจากความสามารถของพญางำเมืองที่โดดเด่นไม่แพ้ใครการเป็นมิตรทางยุทธศาสตร์กับสุโขทัยย่อมทำให้พญามังรายเกรงอยู่ไม่น้อยหรือหากพิจารณาเมืองพะเยาก็ทำหน้าที่เป็นรัฐกันชนให้เชียงรายกับสุโขทัยอยู่นั่นเองการดำรงคงอยู่ของพะเยาจะเป็นเครื่องรับประกันสันติภาพของสุโขทัยและเชียงรายในที่สุดพญางำเมืองก็ยกเมืองเล็กริมชายแดนพะเยาให้พญามังรายแลกกับความสงบมิตรภาพที่ยาวนานแม้จะเอาเปรียบพะเยาอยู่ไม่น้อยก็เริ่มขึ้นจากบัดนั้น

พญามังรายเมื่อขยายอาณาจักรเต็มพื้นที่ลุ่มน้ำกกเสียแล้วเป้าหมายต่อไปก็เป็นอาณาจักรหริกุญชัยผู้สืบสานมาจากพระนางจามเทวีนางราชินีจากละโว้ ในเวลานั้นเรียกว่ามหานครแห่งแดนเหนือทีเดียว เมื่องหริกุญชัย-เขลางนครนี้แม้จะศิวิลัยกว่าเมืองอื่นอยู่มากแต่กลับไม่สามารถสร้างอาณาจักรได้กว้างขวางนักส่วนใหญ่ก็ครอบคลุมแค่บริเวณลุ่มน้ำวังแต่ในการยึดครองหริกุญชัยนั้นคงไม่หมูนัก พญามังรายกับเลือกใช้ไส้สึกบ่อนทำลายหริกุญชัยจากเนื้อในแทนจนในทีสุดแม้เกิดสงครามขนาดเล็กขึ้น เจ้าผู้ครองนครหริกุญชัย(ลำพูน)กลับต้องหนีไปอยู่เขลางนคร(ลำปาง)แทน เมื่อพระองค์ทรงยึดเมืองหริกุญชัยได้แล้วทรงย้ายมาอยู่ได้ประมาณ 2 ปี ก็ทรงออกจากหริกุญชัยไปสร้างเมืองใหม่ที่เวียงกุมกามแทนจากที่ดูแล้ว ณ หริกุญชัยนี้พญามังรายคงเริ่มได้รับแนวคิดในการสร้างอาณาจักรขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ขึ่นอีกทั้งเมืองหริกุญชัยเป็นการตั้งเมืองแบบทางภาคกลางคือสร้างเมืองที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแทนที่จะไปสร้างบนดอยเตี้ยๆ 




Create Date : 01 กันยายน 2560
Last Update : 1 กันยายน 2560 21:53:51 น.
Counter : 621 Pageviews.

0 comment
จากภัยแล้งกลายเป็นแผนการยึดเมืองพิษณุโลกของพระเจ้าอู่ทอง




ในการพยายามเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของสุโขทัยนั้นจะยึดแต่ศิลาจารึกแต่ละหลักอย่างเดียวนั้นก็จะค่อนข้างยากเพราะนอกจากศิลาจารึกหลักสำคัญเช่นศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง ศิลาจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงและศิลาจารึกหลักที่ 45 สบถปู่หลาน แล้วหลักอื่นโดยมากก็หนักไปทางบอกบุญเป็นสำคัญ ข้อมูลอีกอย่างที่มีความสำคัญอยู่มากคือตานานต่างๆเช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ดังเช่นในเนื้อความช่วงนี้

…พระเจ้าลิไทยทรงครอบครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้นและพระเจ้าลิไทนั้นมีชื่อเสียงปรากฏว่าพระเจ้าธรรมราชาเพราะทรงศึกษาเล่าเรียนพุทธวจนะคือ ไตรปิฏกเล่ากันว่าครั้งหนึ่งเมืองชัยนาทเกิดทุพภิกขภัย พระเจ้ารามาธิปดีกษัตริย์อโยชฌปุระเสร็จมาจากแคว้นกำโพชทรงยึดเมืองชัยนาทนั้นได้โดยทำทีว่าเอาข้าวมาขาย ครั้นยึดได้แล้วก็ตั้งมหาอำมาตย์ของพระองค์ชื่อว่าวัตติเดชซึ่งครองเมืองสุวรรณภูมิให้มาปกครองเมืองชัยนาทส่วนพระองค์เสร็จกลับไปอโยชฌปุระต่อมานั้นพระเจ้าธรรมราชาก็ส่งบรรณาการเป็นอันมากแก่พระเจ้ารามาธิปดี ทูลขอเมืองชัยนาทคืนฝ่ายพระเจ้ารามาธิปดีก็ทรงประทานคืน แก่พระเจ้าธรรมราชา วัตติเดชอำมาตย์ก็กลับไปเมืองสุวรรณภูมิอีกพระเจ้าธรรมราชาครั้นได้เมืองชัยนาทคืนแล้ว ทรงตั้งมหาเทวีผู้เป็นกนิษฐาของพระองค์ให้ครองสมบัติในกรุงสุโขทัยทรงตั้งอำมาตย์ชื่อติปัญญาอำมาตย์ให้ครองสมบัติในเมืองกำแพงเพชรส่วนพระองค์อันเชิญพระสีหลปฏิมาไปบูชาที่เมืองชัยนาท เมื่อพระเจ้ารามธิปดีผู้เป็นใหญ่ในแคว้นกัมโพชและอโยชฌปุระสวรรคตแล้ววัตติเดชอำมาตย์จากเมืองสุวรรณภูมิยึดแคว้นกำโพชได้ ครั้นพระเจ้าธรรมราชาเมืองชัยนาทสวรรคตแล้ววัตติเดชอำมาตย์มาจากอโยชธปุระยึดเมืองชัยนาทแล้วอัญเชิญพระสีหลปฏิมาไปบูชาที่อโยชฌปุระและมหาอำมาตย์ชื่อพรหมไชยก็ยึดเมืองสุโขทัยได้

จากข้อมูลนี้พอจะเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ทราบกันอยู่โดยพื้นฐานว่าเดิมทีนั้นเมืองสุโขทัยเกิดจากการร่วมกันสร้างและสถาปนาจากมหาอำนาจสองริมฝั่งเจ้าพระยาได้แค่แคว้นสุพรรณภูมิและแคว้นละโว้โดยเจ้าเมืองอยุธยาคนแรกคือพระเจ้าอู่ทองนั้นเสด็จมาจากละโว้(แคว้นกำโพช-แสดงว่าละโว้ในสมัยพระเจ้าอู่ทองก็ยังมีความเป็นเขมรอยู่ไม่เสื่อมคลาย) ที่น่าสนใจอย่างยิ่งดูเหมือนพระองค์ยังทรงมีอำนาจเต็มอย่างสมบูรณ์อยู่ในละโว้เช่นเดิมหากแม้การใช้กลศึกว่าปลอมตัวเป็นพ่อค้าขายข้าวเข้ามาขายยามเมืองชัยนาท(พิษณุโลก)ขาดแคลนอาหารอย่างหนักนั้น โดยส่วนตัวผมมองว่าน่าจะเป็นในลักษณะกองทัพมดค่อยๆมากันทีละเกวียนสองเกวียนจนมาสะสมกำลังกันได้ระดับหนึ่งกำลังลังที่ว่านี้คงไม่มากจนเกิดความระแวงสงสัยเป็นแน่เพราะพญาลิไทนั้นก็มีชื่อเสียงในการรบราอยู่ไม่น้อยโดยดูได้จากตั้งแต่พระองค์เอาขวานประหารศัตรูจนสามารถรวบรวมอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งได้การยึดเมืองครั้งนี้คงเป็นการยึดจากพระราชวังของเจ้าเมืองซึ่งปัจจุบันก็คือพระราชวังจันทร์นั่นเอง

ที่ผมสนใจอยู่มากคือการขาดแคลนข้าวอย่างหนักจนเป็นที่มาของการสอดไส้ยึดเมืองของพระเจ้าอู่ทองนั้นมีสาเหตุจากเหตุใดหากพิจารณาจากที่ตั้งที่ชิดติดกับพรมแดนสุโขทัย การขนกำลังคนและข้าวจากอยุธยาหรือลพบุรีของพระเจ้าอู่ทองนั้นก็ทำได้ไม่ง่ายนักหากแม้ยึดเมืองเสร็จแล้วก็ยังให้ขุนหลวงพ่องั่วเป็นผู้รักษาเมืองเมือพระองค์เสร็จกลับไปยังอยุธยาแล้วผมคิดว่าจริงๆแล้วกำลังคนและกำลังข้าวนั้นคงขนมาจากแคว้นสุพรรณภูมิอันเป็นอู่น้ำเลื่องชื่อจนปัจจุบันนี้

แต่ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นคือภัยอะไรการระบาดของแมลงหรือการขาดแคลนของน้ำกันแน่ หากเป็นการระบาดของแมลงก็คงเหมือนในยุคปัจจุบันคือบริเวณความเสียหายจะกว้างขวางมากสุพรรณภูมิก็น่าจะเสียหายไปด้วยไม่มีข้าวเหลือพอมาขายให้เมืองพิษณุโลกแต่แม่น้ำหลักของเมืองสุพรรณคือแม่น้ำท่าจีนนั้นก็เกิดจากการแยกตัวของแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นกันดังนั้นน่าจะพอสันนิฐฐานได้บ้างว่าแม่น้ำเจ้าพระยานั้นคงไม่แล้งแน่เพราะทั้งสุพรรณภูมิและอยุธยาต่างก็มีข้าวและทหารพอที่จะยึดเมืองชัยนาทได้แต่หากแม่น้ำย่อยที่ก่อให้เกิดเจ้าพระยาอาจจะแล้งน่าจะพอสมมุติได้ว่าเป็นแม่น้ำน่าน ซึ่งในจังหวะที่ผ่านพิษณุโลกนั้นยังไม่ได้รวมกับแม่น้ำยมและแม่น้ำปิงในขณะที่ทางสุโขทัยก็ยังติดศึกไปตีเมืองต่างๆแถบแม่น้ำสะแกกรังจึงมิอาจส่งอาหารมาช่วยได้มากนัก

แล้วหากโดนยึดเมืองใครเป็นเจ้าเมืองที่โดนยึดเสียเล่าหากคิดย้อนกลับไปในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงพบว่าเดิมทีนั้น เมืองชัยนาทนี้ไม่ได้เป็นเขตการปกครองเดิมของสายพระร่วงหากเป็นเมืองในปกครองของสายศรีนาวนำถมอันได้ปกครองเมืองนี้สืบมาตั้งแต่สมัยเพระยาคำแหงพระรามมาจนมหาเถรศรีศรัทธาเมื่อเกิดการบีบของพญาลิไทนี่เองมหาเถรศรีศรัทธาจึงต้องจำใจออกบวช ด้วยรากอำนาจอาจยังไม่หยั่งลึกนี่เองอาจเป็นช่องทางให้กลุ่มอำนาจเก่าและอำนาจใหม่ภายนอกมายึดเมืองเอาง่ายๆแบบไม่มีการต่อต้านเลย

แม้เมื่อเสียเมืองชัยนาทเสียแล้วการตอบสนองของพระเจ้าลิไทนั้นกลับมีทิศทางที่แปลกอยู่มากทำไมพระยาลิไทถึงยอมลงทุนมากขนากที่ต้องยอมออกบวชเพื่อขอคืนเมืองพิษณุโลกกลับมาด้วยจนเมื่อได้เมืองแล้วก็ถึงกับต้องย้ายตัวเองมาปกครองเมืองพิษณุโลกแทนที่เมืองสุโขทัยในทางส่วนตัวนั้นผมเชื่อว่าในขณะนั้นเมืองสุโขทัยคงโรยราเต็มทีแล้วเพราะเส้นทางการค้าไปยังเมาะตะมะอาจจะโดนตัดขาดหรือไม่เฟืองฟูดังแต่ก่อนผู้คนน่าจะสนใจมาทำการค้าเรือสำเภากับอยุธยาเสียมากกว่าการค้าคงจะเกิดในสายลำน้ำเจ้าพระยา ลำน้ำปิง ลำน้ำน่านเสียเป็นหลักเมื่อพระองค์ช่างน้ำหนักแล้วเมืองที่เป็นเพียงสัญลักษณ์เชิงอำนาจอย่างสุโขทัยกับเมืองที่มีประโยชน์อย่างแท้จริงเช่นเมืองพิษณุโลกก็คงเลือกของจริงเป็นหลักเสียมาก

การย้ายเมืองหลวงของเจ้าแคว้นสมัยก่อนนั้นก็ดูไม่ได้เป็นเรื่องเหลือบ่าฝ่าแรงนักหากพิจารณาจากการที่พระบรมไตรโลกนาถเสด็จมาประทับเมืองพิษณุโลกเพื่อรับศึกกับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนานั้นก็ดูไม่แตกต่างกันนักนั่นแสดงว่าในช่วงตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองซึ่งร่วมสมัยกับพระยาลิไท มาจนอย่างน้อยก็สมัยพระนเรศนั้นเมืองพิษณุโลกนั้นมีความสำคัญพอที่จะให้เจ้าแคว้นย้ายเมืองมาเปลี่ยนที่ประทับได้เลยทีเดียวจะเห็นว่าข้อแลกเปลี่ยนนั้นสูงมากนั้นคือการต้องย้ายเมืองหลวงตลอดจนเสียการปกครองที่เมืองกำแพงเพชรเสียอีก

และเมื่อเกิดการย้ายพระราชฐานขึ้นแล้วพระยาลิไทก็ต้องยินยอมให้น้องสาวที่เชื่อกันว่าเป็นมเหศรีของขุนหลวงพะงั่วไปนั่งเมืองสุโขทัยแทนที่หากพิจารณาว่าในสายตาของนางกษัติย์ยุคนั้นมองเห็นพี่ชายกับสามีใครมีความสำคัญเหนือกว่านั้นก็อาจเทียบได้กับนางกษัตริย์อีกพระองค์ที่ได้ชื่อว่าเป็น”กษัตริย์ฝ่ายใน”นั่นคือพระสวัสดิราชย์อันเป็นภรรยาของพระมหาธรรมราชากับเป็นพระมารดาของพระนเรศและพระเอกาทศรถพระองค์ทรงเลือกสามีอย่างชัดเจนโดยแอบช่วยส่งกระสุนดินดำจากในเมืองอยุธยาไปยังพระมหาธรรมราชา

จากปรากฏการที่แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์นั้นน่าจะพอแสดงได้ว่าในยาดังกล่าวพระเจ้าอู่ทองและขุนหลวงพะงั่วนั้นคงมีอำนาจมากจนแม้กษัตริย์นักรบแห่งอาณาจักรสุโขทัยก็ไม่ติดจะกล้าใช้กำลังเข้าต่อรบเสียแล้วพลานุภาพดังกล่าวนี้เองที่ในที่สุดพระยาลิไทจะเป็นพระยาลิไทดังเดิมไม่ได้อีก ต้องขับความแข็งแกร่งให้แม้ในเชิงสัญลักษณ์คือการขยับรับฐานะเป็นพระมหาธรรมราชาอันเป็นพระนามศักสิทธ์คู่อาณาจักรสุโขทัยมาอย่างต่อเนื่อง




Create Date : 25 มิถุนายน 2560
Last Update : 25 มิถุนายน 2560 15:04:15 น.
Counter : 731 Pageviews.

0 comment
มะกะโทแห่งอาณาจักรสุโขทัย


ตอนเด็กๆเราเรียนวิชาภาษาไทยเนื้อเรื่องแสนสนุกเรื่องหนึ่งที่เราต้องเรียนกันทุกคนคือราชาธิราช อันมีพระเอกของเรื่องเป็นชาวมอญเจ้าปัญญาคนหนึ่งชื่อมะกะโทจริงๆแล้วมะกะโทเป็นคนที่มีตัวตนจริงและมีบทบาทอยู่ทั้งในประวัติศาสตร์ของสุโขทัย,พม่าและมอญในนามของพระเจ้าฟ้ารั่ว จากตำนานของสุโขทัยและพงศาวดารของมะกะโท//www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000120242

มะกะโทเป็นมอญหนุ่มที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในพงศาวดารไทยสมัยพระร่วงเข้ามารับราชการอยู่กรุงสุโขทัยพ่อขุนรามคำแหงทรงชุบเลี้ยงให้ได้ดิบได้ดีเป็นถึงกรมวัง พอโอกาสเหมาะมักกะโทได้แอบพาพระราชธิดาหนีไปเมืองมอญ แต่แทนที่พ่อขุนรามคำแหงจะทรงกริ้วกรีฑาทัพไปตาม พระร่วงเจ้ากลับทรงเห็นว่าเป็นบุพเพสันนิวาสทั้งยังทรงอวยพรให้มอญหนุ่มและพระราชธิดาประสบแต่ความสุขสวัสดี

มะกะโทเป็นบุตรชาวบ้านธรรมดาอยู่ที่ตำบลตะเกาะวุ่น เมืองเมาะตะมะ ในรามัญประเทศได้ยกกองคาราวานเดินทางค้าขายกับเมืองสุโขทัย วันหนึ่งมะกะโทพร้อมกับลูกหาบ ๓๐คนหาบสินค้ามาถึงเชิงเขานวรัตนคีรี ขณะนั้นก็ไม่ใช่ฤดูฝน แต่เกิดฝนตกฟ้าร้องอสุนีบาตได้ผ่าลงมาที่ปลายไม้คานของมะกะโทจนแตกหัก ส่วนตัวเขากลับไม่ได้รับอันตรายเมื่อมะกะโทแหงนขึ้นมองดูท้องฟ้าก็เห็นแสงฟ้าเป็นปราสาทราชมณเฑียรประดับด้วยราชวัตรฉัตรธง ทำให้มะกะโทประหลาดใจแต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นนิมิตดีร้ายประการใด

ครั้นเดินทางไปถึงหมู่บ้าน มะกะโทจึงไปกราบกรานโหราจารย์ที่ชาวบ้านนับถือขอให้ช่วยทำนายนิมิต โหราจารย์เฒ่ารู้ว่าชายหนุ่มผู้นี้เป็นคนมีบุญวาสนาจะได้เป็นใหญ่ในวันหน้า จึงบอกกับมะกะโทว่า นิมิตที่ได้เห็นนั้นเป็นสิริสวัสดิ์มงคลใหญ่หลวงยิ่งนักท่านจงนำเงินทองมากองให้สูงเสมอจอมปลวก เป็นการคำนับบูชาครูเราก่อนเราจะทำนายให้มะกะโทก็คิดว่าสินค้าที่นำมาขายครั้งนี้ ถึงจะขายหมดก็ยังได้เงินไม่มากขนาดนั้นแต่ทำอย่างไรจึงจะได้เงินทองให้สูงเสมอจอมปลวก เมื่อใช้ปัญญาไตร่ตรองแล้วมะกะโทก็ถอดแหวนที่นิ้วนำไปวางไว้เหนือจอมปลวก บอกโหราจารย์ว่าได้บูชาคำนับครูของท่านด้วยทองเสมอจอมปลวกแล้วขอท่านได้เมตตาทำนายนิมิตให้ข้าพเจ้าเถิด

โหราจารย์เห็นดังนั้นก็คิดว่าบุรุษหนุ่มผู้นี้เป็นคนมีปัญญาเฉียบแหลมยิ่งนัก จึงทำนายนิมิตว่าในเวลาไม่ช้าไม่นานนี้มะกะโทจะได้เป็นเจ้าบ้านผ่านเมืองใหญ่โต มีอานุภาพมาก ฉะนั้นอย่าได้ค้าขายอยู่เลยจงอุตส่าห์หาช่องทางเข้าทำราชการเถิด จะได้เป็นใหญ่มียศศักดิ์รุ่งเรืองมะกะโทกับบริวารทั้งหลายได้ฟังก็ดีใจ ก้มลงกราบขอบพระคุณโหราจารย์

ครั้นขายของเที่ยวนั้นหมดแล้ว มะกะโทก็พาบริวารไปฝากไว้กับบ้านคนชอบพอกันแล้วหาช่องเข้าทำราชการ จนได้ฝากตัวกับนายช้างพระที่นั่งโรงในซึ่งเป็นมงคลคเชนทร์ตัวโปรดของสมเด็จพระร่วงเจ้าช่วยดูแลรักษาเก็บกวาดมูลช้างล้างโรงให้สะอาด นายช้างก็มีความเมตตารักใคร่มะกะโทเรียกใช้สอยอยู่ทุกวัน

สมเด็จพระร่วงเจ้าเสด็จไปที่โรงช้างนั้นเป็นประจำทรงแปลกพระทัยที่เห็นโรงช้างสะอาดเรียบร้อยผิดกว่าแต่ก่อน จึงรับสั่งถามนายช้างได้ความว่ามีมอญน้อยคนหนึ่งมาขออาศัยช่วยปัดกวาดทำความสะอาดพระร่วงจึงรับสั่งให้นายช้างเลี้ยงมอญน้อยผู้นี้ให้ดี

อยู่มาวันหนึ่งพระร่วงเสด็จโรงช้าง ประทับบนพระที่นั่งใกล้ช่องพระแกลโผล่พระพักตร์ออกไปบ้วนพระโอษฐ์ เห็นเบี้ยอันหนึ่งตกอยู่ จึงตรัสเรียกมะกะโทว่ามอญน้อยจงมาเก็บเบี้ยนี้ไป มะกะโทคลานเข้าไปถวายบังคมแล้วเก็บเบี้ยนั้นไว้มีความดีใจว่าได้รับพระราชทานเบี้ย จึงหมอบเฝ้าอยู่หน้าพระที่นั่งจนเสด็จกลับ

มะกะโทคิดไตร่ตรองว่าจะนำเบี้ยพระราชทานนี้ไปทำประการใดให้เกิดผลสมกับเป็นเบี้ยมงคลในที่สุดก็เห็นว่าควรจะนำไปซื้อเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาปลูกแต่แม่ค้าบอกว่าเบี้ยเดียวไม่รู้ว่าจะขายให้ได้อย่างไรมะกะโทจึงว่าขอเพียงจิ้มนิ้วลงไป เมล็ดผักติดมาแค่ไหนก็แค่นั้นแม่ค้าก็ยอมตามที่ว่ามะกะโทจึงเอานิ้วจุ่มน้ำลายในปากก่อนที่จะจุ่มลงในกระบุงเมล็ดผักกาดจึงมีเมล็ดพันธุ์ติดนิ้วขึ้นมาไม่น้อยแม่ค้าเห็นดังนั้นก็ชมว่ามอญน้อยผู้นี้ฉลาดเฉียบแหลมยิ่งนัก

มะกะโทขุดดินยกแปลงขึ้นข้างโรงช้างเอามูลช้างผสมลงเป็นปุ๋ย เอาเมล็ดพันธุ์ผักติดนิ้วโรยลงไป ไม่ช้าผักก็ขึ้นงอกงามครั้นพระร่วงเสด็จมาโรงช้าง มะกะโทจึงถอนผักกาดถวายมีรับสั่งถามว่ามอญน้อยได้พันธุ์ผักมาอย่างไร มะกะโทก็ทูลไปตามความเป็นจริงพระร่วงเจ้าทรงเห็นว่ามอญน้อยผู้นี้ปัญญาเฉียบแหลมสมควรจะเลี้ยงไว้จึงขอตัวมะกะโทจากนายช้าง ให้เข้าไปรับราชการเป็นพวกวิเสทเครื่องต้นในพระราชวัง

ต่อมามะกะโททำความดีความชอบมากขึ้นเรื่อยๆ ในพงศาวดารรามัญกล่าวว่าสมเด็จพระร่วงเจ้าโปรดเกล้าฯเลื่อนมะกะโทขึ้นเป็นขุนวัง มีตำแหน่งในกรมวัง

ครั้นอยู่มาเกิดกบฏขึ้นที่หัวเมืองชายแดนสมเด็จพระร่วงเจ้าเสด็จกรีธาทัพออกไปปราบกบฏด้วยพระองค์เองตรัสสั่งให้มะกะโทกรมวังอยู่เฝ้าพระนคร ในช่วงเวลานี้ นางสุวรรณเทวีราชธิดาของพระร่วงเจ้าได้เกิดจิตปฏิพัทธ์ผูกเสน่หากับมะกะโทขึ้นการลอบรักใคร่ของมะกะโทกับพระราชธิดานี้ข้าราชการทั้งปวงต่างก็รู้แต่เห็นว่าพระร่วงทรงโปรดปรานมะกะโทมาก ทุกคนจึงพากันเกรงกลัวไม่มีใครกล้าว่ากล่าวตำหนิ

ฝ่ายมะกะโทกับนางสุวรรณเทวี ก็สำนึกว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นความผิดถ้าพระร่วงเจ้ากลับมาอาจจะต้องได้รับพระราชอาญา จึงปรึกษากันที่จะหนีไปเสียก่อนพระราชธิดาได้รวบรวมแก้วแหวนเงินทองทรัพย์สินที่ได้รับพระราชทานส่วนมะกะโทก็เกลี้ยกล่อมผู้คนข้าทาสได้ ๓๐๐ คนเศษพาพระราชธิดาขึ้นช้างหนีออกจากกรุงสุโขทัยไปทางด่านกะมอกะลกรีบเดินทางกันทั้งกลางวันและกลางคืน พอบรรดาเสนามาตย์รู้ว่ามะกะโทพาพระราชธิดาหนีไปก็พากันออกติดตามแต่มะกะโทก็พาพระราชธิดาหนีข้ามแดนไปได้จึงต้องพากันกลับมารอฟังพระราชโองการดำรัสสั่งของพระร่วงเจ้าต่อไป

มะกะโทพาพระราชธิดาและผู้คนไปที่บ้านตะเกาะวุ่นซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนและยกย่องพระราชธิดาอย่างสูงส่ง กับจัดที่อยู่ที่ทำกินแก่บริวารทั้งกว่า ๓๐๐คนนั้นให้มีสุขกันถ้วนหน้า

เมื่อพระร่วงเจ้าทรงปราบกบฏราบคาบ ยกทัพกลับพระนครเสนาอำมาตย์ทั้งปวงจึงนำความเรื่องมะกะโทพาพระราชธิดาหนีไปกราบทูลให้ทรงทราบแต่พระร่วงเจ้ากลับไม่พิโรธอย่างที่พากันคาดคิด ตรัสว่า เรารู้มาแต่เดิมแล้วมอญน้อยผู้นี้มีลักษณะดี นานไปภายหน้าจะมีบุญได้เป็นใหญ่เราจึงมีความรักใคร่เหมือนบุตร ถ้าเราจะสาปแช่งให้เป็นอันตรายหรือยกกองทัพติดตามไปจับมาลงทัณฑ์ก็ทำได้ทุกประการ แต่จะเป็นเวรกรรมแก่เราแลเสียเกียรติยศของบ้านเมือง เป็นที่อัปยศแก่นานาประเทศ ซึ่งมอญน้อยพาธิดาเราไปหากตั้งตัวเป็นใหญ่ได้เมื่อใด ก็คงจะต้องแต่งตั้งให้ธิดาเราเป็นใหญ่ยิ่งขึ้นจะเป็นเกียรติยศแก่บ้านเมืองทั้งสองฝ่าย อนึ่งบุพเพสันนิวาสแห่งธิดาเรากับมอญน้อยนั้น ก็ได้อบรมกันมาแต่ชาติปางก่อนแล้วจึงให้มีจิตปฏิพัทธ์ต่อกันดังนี้ เพราะเหตุนี้ เราจึงจะอวยพรแก่มอญน้อยแลธิดาเราอย่าให้มีภัยอันตรายใดๆ ให้เกิดความสิริสุขสวัสดีด้วยกันเถิดคำอำนวยอวยพรของพระร่วงเจ้าผู้มีวาจาสิทธิ์นี้ จึงได้ส่งผลแก่มะกะโทต่อไป ตั้งแต่พาพระราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัยมาอยู่บ้านตะเกาะวุ่นแล้ว มะกะโทก็มีสง่าราศีเกิดสิริมงคลยิ่งขึ้นด้วยนางนั้นเป็นราชธิดาของกษัตริย์ผู้มีราชอิสริยยศยิ่งใหญ่พวกชาวบ้านชาวเมืองต่างพากันเกรงกลัวรักใคร่ในมะกะโทและพระราชธิดาพากันมาสวามิภักดิ์ฝากตัวเป็นให้ใช้สอยมากขึ้นทุกที นับเป็นจำนวนได้หลายพันหลายหมื่นมะกะโทนั้นเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด จึงช่วยปลดเปลื้องทุกข์ให้ชนทั้งหลายจนบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติมีความสุขกันถ้วนหน้า จึงเป็นที่นับถือแก่ชนทั่วไป

ครั้นมะกะโทเห็นว่ามีผู้ให้ความนับถือรักใคร่ตนมากแล้วจึงประกาศเกลี้ยกล่อมทั้งฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ในรามัญประเทศให้ร่วมสามัคคีรวมน้ำใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเมื่อรวบรวมผู้คนเข้ามาอยู่ในอำนาจตนได้มากแล้วมะกะโทก็ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ครองราชย์สมบัติ ณ เมืองเมาะตะมะ

แม้ชนทั่วไปจะยินดีถวายพระพรชัยแก่กษัตริย์องค์ใหม่แต่พระเจ้ามะกะโทก็หาได้ทำพิธีราชาภิเษกเฉลิมพระนามไม่ด้วยระลึกถึงพระเดชพระคุณของสมเด็จพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยจึงได้แต่งพระราชสาสน์ลงในสุพรรณบัตรแลจัดเครื่องมงคลราชบรรณาการให้อำมาตย์ผู้หนึ่งเป็นราชทูตนำพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระร่วงเจ้า ณ กรุงสุโขทัย

พ่อขุนรามคำแหงโปรดให้อำมาตย์นำราชทูตจากเมืองเมาะตะมะเข้าเฝ้ามีรับสั่งให้อ่านพระราชสาสน์มีข้อความว่า

       “ข้าพระบาทผู้ชื่อว่ามะกะโทเป็นข้าสวามิภักดิ์ใต้พระบาทมุลิกากรของพระองค์ผู้เป็นพระมหากษัตริย์ผ่านพิภพกรุงสุโขทัยพร้อมด้วยพระราชธิดาของพระองค์ขอโอนอุตมงคเศียรเกล้ากราบถวายบังคมมาแทบพระยุคลบาทบงกชมาศของพระองค์ซึ่งทรงพระมหากรุณาธิคุณชุบเลี้ยงข้าพระบาททั้งสองให้มีความร่มเย็นเป็นสุขพระเดชพระคุณปกป้องอยู่เหนือเกล้าข้าพระองค์ทั้งสองหาที่เปรียบให้สิ้นสุดมิได้ด้วยเผอิญบุพเพสันนิวาสแห่งข้าพระบาททั้งสองมาดลบันดาลให้มีปฏิพัทธ์จิตต่อกันข้าพระองค์ได้ละเมิดล่วงพระราชอาญาพาพระราชธิดาของพระองค์มาโทษานุโทษมีแก่ข้าพระองค์เป็นล้นเกล้าฯแต่บัดนี้ด้วยเดชะพระบารมีบรมเดชานุภาพของพระองค์ปกแผ่อยู่เหนือเกล้าฯข้าพระองค์ทั้งสองชนทั้งปวงจึงยินดีพร้อมกันอัญเชิญข้าพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองราชย์สมบัติในเมืองเมาะตะมะเป็นใหญ่ในรามัญประเทศทั่วไปเพราะฉะนี้ข้าพระองค์ขอพระราชทานโทษานุโทษซึ่งมีผิดมาแต่หลังขอพระบารมีของพระองค์เป็นที่พึ่งสืบไปขอได้ทรงประสาทพระราชทานนามกับเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ ประการแก่ข้าพระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ครองราชย์ใหม่เพื่อเป็นสวัสดิชัยมงคลแก่ข้าพระองค์ทั้งสองสืบไปเมืองเมาะตะมะนี้จะได้เป็นสุพรรณปฐพีแผ่นเดียวกับกรุงสุโขทัยอยู่ใต้พระเดชานุภาพของพระองค์สืบต่อไปจนตลอดกัลป์ปาวสาน”

สมเด็จพระร่วงเจ้าได้ทรงทราบความในพระราชสาสน์แล้วก็มีพระทัยยินดีตรัสสรรเสริญว่า มะกะโทมอญน้อยผู้นี้ เราได้ทำนายไว้แล้วว่าสืบไปจะมีบุญญาธิการบัดนี้ได้เป็นกษัตริย์ครองรามัญประเทศแล้ว ต่อไปภายหน้านอกจากเราผู้เดียวแล้วจะหากษัตริย์อื่นมีบุญยิ่งกว่ามะกะโทนี้มิได้พระองค์จึงทรงพระราชทานพระนามให้มะกะโทว่า “พระเจ้าวาริหู” หรือ “ฟ้ารั่ว”หมายถึงหล่นมาจากฟ้า กับพระราชทานเครื่องราชกกุธภัณฑ์สำหรับกษัตริย์ ๕ประการคือพระขรรค์ ๑ ฉัตร ๑ พระมหามงกุฎ ๑ ฉลองพระบาท ๑ พัดวาลวิชนี ๑และโปรดพระราชทานพระราโชวาทแก่ราชทูตไปว่า ให้แผ่นดินเมาะตะมะอยู่ในทศพิธราชธรรมบำรุงปกครองแผ่นดินโดยยุติธรรม ให้ตั้งใจรักใคร่ราษฎรพลเมืองดุจบุตรในอุทรและทรงประสาทพระพรว่า ให้เจ้าแผ่นดินเมาะตะมะปราศจากภัยอันตรายทั้งภายนอกภายในให้ครองราชย์สมบัติเป็นสุขเจริญสืบไปสิ้นกาลนานเทอญ

เมื่อราชทูตนำความกลับไปกราบทูลให้พระเจ้าแผ่นดินแห่งเมาะตะมะได้ทรงทราบและถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ ประการแล้ว พระเจ้ามะกะโทก็ทรงโสมนัสยินดีผินพระพักตร์ไปทางทิศเมืองสุโขทัย กราบถวายบังคมสมเด็จพระร่วงเจ้าระลึกพระคุณของพระองค์อันยิ่งใหญ่เหลือล้นไม่มีที่สิ้นสุด ได้พระนามว่า“พระเจ้าฟ้ารั่ว” ตั้งแต่บัดนั้น

ในประวัติศาสตร์พม่าซึ่งเรียกมะกะโทว่า “มะกะทู” กล่าวว่ามะกะทูมีบิดาเป็นไทย มารดาเป็นมอญ เกิดที่เมืองสะเทิม เป็นนักผจญภัยเมื่อพม่าปราบกบฏพวกมอญ มะกะทูได้หนีมาอยู่กรุงสุโขทัยเข้ารับราชการกับพ่อขุนรามคำแหง และได้เป็นนายกองช้าง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๑๘๒๓มะกะทูได้พาพระราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหงหนีไปเมาะตะมะมะกะทูได้เกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองเมาะตะมะให้เป็นกบฏในขณะที่พม่ากำลังรบติดพันกับพวกมองโกล แต่เจ้าเมืองเป็นคนนิยมพม่าจึงไม่ยอมมะกะทูได้ฆ่าเจ้าเมืองแล้วประกาศตัวเป็นกษัตริย์แห่งเมาะตะมะ ทรงพระนามว่า “วาเรรุ”ซึ่งแปลว่า “กษัตริย์ที่หล่นมาจากฟ้า”

ในปี พ.ศ.๑๘๓๐ พม่าอ่อนอำนาจลง เจ้าเมืองหงสาวดี (พะโค)ซึ่งเป็นมอญได้ประกาศตนเป็นกษัตริย์อีกองค์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าตละพญาผูกสัมพันธ์เป็นพันธมิตรกับพระเจ้าวาเรรุ กษัตริย์มอญทั้ง ๒ องค์ได้ร่วมกับเจ้าฟ้าไทยใหญ่เข้ารบกับพม่าและเป็นฝ่ายมีชัย ได้ครอบครองดินแดนพม่าตอนใต้ไว้ได้ทั้งหมด

ต่อมาพระเจ้าวาเรรุกับพระเจ้าตละพญาก็แตกคอจนรบพุ่งกันเองพระเจ้าตละพญาเป็นฝ่ายแพ้ถูกประหารพระเจ้าวาเรรุเลยสถาปนาราชอาณาจักรมอญขึ้นในพม่าตอนใต้ โดยมีเมาะตะเป็นเมืองหลวงจากนั้นก็ส่งทูตไปขอพระราชทานอภัยโทษพร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการแด่พ่อขุนรามคำแหงซึ่งทางสุโขทัยก็รับเครื่องราชบรรณาการและพระราชทานช้างเผือก ๑ เชือกเป็นของขวัญ

พระเจ้าวาเรรุได้ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตเพื่อชำระกฎหมายของมอญขึ้นแทนการใช้กฎหมายพม่าอย่างแต่ก่อนซึ่งกฎหมายที่ชำระขึ้นใหม่นี้มีชื่อเรียกกันต่อมาว่า “ประมวลกฎหมายวาเรรุ”

แต่อย่างไรก็ตาม วัฏจักรของการชิงอำนาจก็เวียนมา พระเจ้าวาเรรุได้ถูกพระราชนัดดาองค์หนึ่งของพระเจ้าตละพญาปลงพระชนม์ในปีพ.ศ.๑๘๓๙ บ้างก็ว่า มะกะโทผู้มีบุญบารมีราวกับฟ้ารั่วหล่นลงมา เสวยราชย์เมื่อปีพ.ศ. ๑๘๒๙ ครองราชย์อยู่ ๒๓ ปี สิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๑๘๕๒

จากตำนานแสนสนุกจนมาถึงประวัติศาสตร์ของพม่านั้นยืนยันอย่างชัดเจนว่ามะกะโทเป็นผู้เป็นพระเจ้าฟ้ารั่วและสร้างตัวมาจากสามัญชนจริงอีกทั้งทรงเป็นลูกเขยของพ่อขุนรามคำแหงแห่งเมืองสุโขทัยอีกด้วยแม้มีเนื้อหาเรื่องการพาหนีต่างๆเพื่อให้นิทานเรื่องนี้สนุกขึ้น แต่โครงเนื้อหาก็แสดงเหตุและผลหลายอย่างค่อนข้างชัดเจนนั่นคือมะกะโทนี้เป็นสามัญชนที่มารับราชการเติบโตในกรุงสุโขทัยจริง เมื่อรับราชการเติบโตถึงขั้นหนึ่งก็ได้แต่งงานกับบุตรสาวของพ่อขุนรามคำแหงและได้เดินทางออกจากสุโขทัยไปพร้อมเจ้าหญิงผู้เป็นภรรยาพร้อมทั้งไพร่พลจำนวนหนึ่ง

มะกะโทใช้กำลังคนที่ได้ไปจากสสุโขทัยนี่เองในการทำรัฐประหารเจ้าผู้ครองเดิมในเมืองเมาะตะมะในยุคที่เกิดการยึดครองเมาะตะมะนั้น พม่าในนามของอาณาจักรพุกามกำลังมีการรบพุ่งกับชาวมองโกลอยู่ในทางเหนือทำให้ไม่มีกำลังพอที่จะยกมาปราบปรามมะกะโทที่ทำการยึดครองเมาะตะมะได้


คำถามพื้นๆคือทำไมพ่อขุนรามคำแหงจึงต้องมอบพระธิดาให้แต่งงานกับหนุ่มนักแสวงโชคอย่างมะกะโทได้หากพิจารณานโยบายของราชวงศ์พระร่วงในยุคต่างๆ น่าจะพอสังเกตุทิศทางที่ชัดเจนได้

· เมืองสุโขทัยตั้งอยู่ในพื้นที่เหมาะสมกับการตั้งตนเป็นเมืองด่านรวบรวมสินค้าและส่งผ่านไปออกทะเลยังบริเวณเมืองเมาะตะมะอู่แต่แรกแล้วเพื่อทำการค้าขายไปยังอินเดีย

· ในสมัยที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนรามคำแหงในวัย19 ปี ยกไปตีเมืองฉอดและได้ทำยุทธหัตธีกับขุนสามชนนั้น เป็นแนวทางที่ชัดเจนอย่างยิ่งในการพยายามควบคุมเส้นทางการค้าไปยังเมืองเมาะตะมะ(หรือที่เรียกว่าเมืองพัน)

· พ่อขุนรามคำแหงพญางำเมืองและพญามังรายร่วมเป็นพันธมิตรไม่ทำการรุกรานขยายอำนาจไปในเขตแดนของแต่ละฝ่าย

· มะกะโททำการยึดอำนาจจากเจ้าเมืองเดิมและตั้งตนเป็นพระเจ้าฟ้ารั่วครองเมืองเมาะตะมะหลังจากนั้นก็ขยายอำนาจไปครองเมืองพะโคจนยึดพม่าตอนใต้ที่ติดทะเลได้ทั้งหมดแต่ก็ยอมเป็นเมืองประเทศราชของสุโขทัยตลอดรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง

· เมื่อสมัยพญาเลอไทพระเจ้าฟ้ารั่ว(มะกะโท) โดนทำการยึดอำนาจและสังหารต่อมาแม้น้องชายของมะกะโทคือมะกะตาสามารถยึดอำนาจกลับมาได้ก็เป็นเพียงระยะสั้นๆเท่านั้นก็โดนยึดอำนาจอีกและเชื้อสายของมะกะโทก็หลุดจากอำนาจของเมืองมอญตลอดไป

· เมืองมอญเมื่อไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของราชวงศ์ของพระเจ้าฟ้ารั่วก็ไม่ยอมขึ้นต่ออำนาจของสุโขทัยอีกพญาเลอไทได้ทำการส่งกองทัพไปปราบปรามแต่ไม่สำเร็จ แพ้ไม่เป็นท่ากลับมา

· พญาเลอไทหมดอำนาจโดนบีบให้ออกบวชและพญางั่วนำถมขึ้นครองอำนาจแทนช่วงนี้สุโขทัยตกต่ำมาก วุ่นวายไปหมดเมืองเล็กน้อยแตกตัวเป็นอิสระ

· พญาลิไทยึดเมืองสุโขทัยยึดเมืองสุโขทัยและตั้งตนเป็นพระมหาธรรมราชายึดเมืองต่างๆคืนมาได้เกือบหมด สามารถอารารนาภิกษุจากลังกามาทางเมืองพัน(เมาะตะมะ)ได้

จากลำดับเหตุการคร่าวๆที่ไล่เลียงมาแสดงให้เห็นนัยสำคัญของความสัมพันธ์ของเมืองสุโขทัยและเมาะตะมะเป็นอย่างมากนั่นคืโดยภูมิประเทศแล้วสุโขทัยนั่นแม้จะควบคุมเส้นทางการค้าทางบกได้ก็จริงแต่หากไม่มีเส้นทางในการออกทะเลเพื่อไปค้าขายกับจีนและอินเดียได้เมาะตะมะจึงเป็นเส้นทางหายใจเส้นเดียวที่สุโขทัยสามรถจะส่งออกสินค้าได้ ตั้งแต่ยุคพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พยายามควบคุมเส้นทางการค้าจากสุโขทัย-แม่สอด-เมาะตะมะ ให้ได้ จึงเกิดการยกพลไปรบที่เมืองฉอด(แม่สอด)เพื่อควบคุมเส้นทางการค้าจึงได้ต้องสู้ครับขุนสามชนอันเป็นเจ้าเมืองเดิม เชื่อว่าสงครามครั้งนี้คงเป็นผลสำเร็จในระดับหนึ่งแต่คงไม่เบ็ดเสร็จนัก ครั้นเมื่อถึงยุคพ่อขุนรามคำแหงเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สสำคัญคือมีกองทัพมองโกลรุกรานมาทางทิศเหนือเมืองที่อยู่ติดจีนต่างมีภาระรับศึกใหญ่จากอภิมหากองทัพที่พิชิตมาครึ่งโลกแล้วโดยผู้ที่ตกหนักสุดคืออาณาจักรพุกามจนล่มสลายไปในที่สุดส่วนพญามังรายก็พลอยฟ้าพลอฝนในการต้องรับศึกมองโกลที่รุกมาทางล้านนาไปด้วย การที่พญามังรายต้องรับศึกของมองโกลนี่เองบีบให้พญามังรายกษัตริย์ยอดนักรบจำเป็นต้องสู้ศึกมองโกลอย่างไม่วอกแวกจึงเกิดสนธิสัญญาสามกษัตริย์ขึ้นเพื่อป้องกันการตีกระหนาบจากสุโขทัยขึ้นไป สั่นพุกามนั้นอำนาจสั่นคลอนเพราะต้องรับศึกมองโกลตลอดอำนาจการครองเมืองมอญที่ติดทะเลจึงลดลงมากส่วนสุโขทัยก็เกิดขึ้นมาเมื่ออาณาจักรพระนครตกต่ำลงมากแล้ว เมือถึงในยุคพ่อขุนรามคำแหงพระองค์จึงได้ทรงขยายอำนาจโดยสนับสนุนให้มะกะโทประกาศอิสระภาพจากพม่ามาขึ้นครองสุโขทัย

ยุคของพ่อขุนรามจึงเป็นยุคทองตลอดรัชสมัยเนื่องจากสามารถเปิดประตูการค้าและควบคุมเมืองเมาะตะมะโดยสมบูรณ์ผ่านทางลูกเขยทางมะกะโทก็ไม่มีฐานอำนาจเก่าหากไม่มีพ่อขุนรามก็จะไม่มีทางปฏิวัติสำเร็จเมื่อสิ้นพ่อขุนรามอำนาจหนุนหลังหายไปมะกะโทก็โดนปฏิวัติในที่สุด

เมื่อสุโขทัยขาดเมาะตะมะเพราะพระเจ้าฟ้ารั่วไม่มีชีวิตเสียแล้วสุโขทัยคงทรุดโทรมลงมากจนแม้แต่พญาเลอไทยังคงสิ้นอำนาจต้องโดนบังคับให้ไปออกบวชเสีย สภาวะวุ่นวายดังกล่าวคงอยู่อย่างน้อยหลายสิบปีจนพญาลิไทได้ครองอำนาจอีกครั้งแม้จะไม่มีหลักฐานว่าพระองค์มีอำนาจเหนือเมาะตะมะหรือไม่ แต่ก็มีร่องรอยที่เห็นชัดเจนนั่นคือการอัญเชิญพระองค์ต่างๆผ่านเมืองเมาะตะมะมาได้นั่นย่อมแสดงง่าพญาลิไทคงมีอำนาจหรืออย่างน้อยก็ความสัมพันธ์กับเมาะตะมะสุโขทัยในยุคของพระองค์จึงขึ้นมามีอำนาจอีกครั้ง

ภายหลังเมื่อพม่าเริ่มกลับมาเข้มแข็งอีกครั้งจนยึดหัวเมืองชายทะเลคืนได้สุโขทัยก็สิ้นหวังในการส่งออกสินค้าทางเมาะตะมะหรือทวายอีก จึงยินยอมย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรไปยังพิษนุโลกแทน

เรียกง่ายๆว่าเมาะตะมะนี้เป็นลมหายใจของสุโขทัยเลยทีเดียวเมือสิ้นเมาะตะมะก็สิ้นสุโขทัยตามไป





Create Date : 18 พฤษภาคม 2560
Last Update : 18 พฤษภาคม 2560 21:56:26 น.
Counter : 3514 Pageviews.

0 comment
1  2  3  

สมาชิกหมายเลข 3850125
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สนใจประวัติศาสตร์ช่วงสมัยสุโขทัย-อยุธยา พยายามทำความเข้าใจตามหลักการความรู้ตามปัจจุบันเท่าที่พอหาได้