Group Blog
กันยายน 2565

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
 
 
All Blog
สังขารุเปกขาในระดับปุถุชนที่เข้าใจง่าย เข้าถึงได้
สังขารุเปกขาในระดับปุถุชนที่เข้าใจง่าย เข้าถึงได้

ก. ปัญญาในสมถะ คือ ทำสักแค่ว่ารู้ ทำแค่รู้ มีใจผลักออกจากอารมณ์ เคลื่อนไปในอารมณ์ที่ดีกว่า เป็นปัญญาในสมถะ

1. แก้ฟุ้งซ่าน เหม่อลอยไปตามความคิด มีใจอ่อนไหวไหลตามไปในรัก โลภ โกรธ หลง
     ..อาศัยขณิกสมาธิ คือ ความสงบใจ (ในขั้นหยาบนี้ นิวรณ์ อุปกิเลสยังมีรายล้อมอยู่ แต่จิตไม่จับ ไม่ยึด ไม่เสพย์) น้อมเข้ามาในภายใน พิจารณาให้เห็นว่า..

1.1 เพราะใจเราอ่อนไหวไปตามสมมติความคิดกิเลสของปลอมจึงเร่าร้อน เพราะใจเราอ่อนไหวติดใคร่หมายมั่นในสิ่งที่มากระทบให้ใจรู้ทั้งปวงไปตามสมมติความคิดกิเลสของปลอมจึงทนอยู่ได้ยาก เพราะใจอ่อนไหวตามสมมติความคิดกิเลสของปลอมข้องแวะเกลียดชัง ผลักไส ต่อต้าน ไม่อยากพบ ไม่อยากเจอ ไม่อยากให้เกิดมีกับตนจึงทนอยู่ได้ยาก จะบังคับไม่ให้เกิดกับตนก็ไม่ได้ เพราะใจขาดปัญญาทำให้ไม่รู้ว่ามันเป็นแค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบที่มันเกิดขึ้นกับใจอยู่ตลอดเวลา อยู่เหนือการควบคุม เป็นทุกข์เพราะใจคอยอ่อนไหวไหลตามสมมติความคิดกิเลสของปลอม

1.2 ความสงบใจจากกิเลส เพราะอาศัยใจปล่อย ละ วาง ไม่ยึด ไม่เสพย์ ใจเราทำสักแต่ว่ารู้ ว่ามันแค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบที่เกิดขึ้นให้ใจรู้ มันเป็นเพียงสังขารที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแต่สัมผัสที่ตกกระทบใจแล้วปรุงแต่งอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดสืบต่อไป เพราะใจรู้ดเังนี้ ไม่สืบต่อดังนี้ ปล่อย ละ วาง ไม่ยึด ไม่เสพย์ ถึงความว่าง ใจว่างจากสมมติกิเลสปรุงแต่งจิต ถึงความสงบ ถึงความไม่มี ถึงความสละคืน เราจึงผ่อนคลายสบายกายใจ เย็นใจไม่เร่าร้อน เป็นสบายกายใจนัก

1.3 เมื่อรู้ดังนี้แล้ว ให้มีสติเป็นเบื้องหน้า ทำไว้ในใจเคลื่อนใจออกจากอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด มีใจน้อมไปในการไม่จับ ไม่เอา ไม่ยึด ไม่เสพย์ ถึงความว่าง ความไม่มี ความสละคืน
- ขณะนี้จะเห็นความรู้สึกทั้งปวงเป็นเพียงสังขารที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นให้ใจรู้ ให้ใจหลงเสพย์ จิตจะเคลื่อนออกจากกองสังขารนั้น เกิดมนสิการน้อมใจไปในความสงบ ปล่อย ละ วาง ไม่ติดใจข้องแวะอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวง แม้ภายนอก หรือภายใจ (แรกเริ่มที่ฝึกหัดใหม่จะตั้งด้วยมโนกรรม คือ เจตนา อาศัยใจหน่าย ผลักไสจากสังขาร จากธัมมารมร์ทั้งปวง)

1.4 คาถาแก้ความฟุ้งซ่าน

..อย่าไปติดใจข้องแวะมันเลย ติดใจข้องแวะมันไปก็หาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ไม่ติดใจข้องแวะมันก็ไม่ทุกข์

- คำว่า "ติดใจ" ในที่นี้ คือ การเอาใจเข้าไปข้องเกี่ยว ยินดี ติดใจ ใคร่ตาม หมายมั่นต้องการปารถนา
- คำว่า "ข้องแวะ" ในที่นี้ คือ เอาใจเข้าไปข้องเกียว ยินร้าย ขุ่นข้อง ขัดเคืองใจ หมายมั่นเกลียดชัง ผลักไส
- คำว่า "มัน" ในที่นี้ คือ ธัมมารมณ์ทั้งปวง สังขารทั้งปวง คือ สิ่งที่รับรู้กระทบสัมผัสในภายนอก อาการความรู้สึกนึกคิดอันเกิดแต่กระทบสัมผัสในภายใน
- การไม่ติดใจข้องแวะ ในที่นี้หมายถึง การไม่เอาใจเข้าไปข้องเกี่ยว คือ ตั้งความสำคัญมั่นหมายของใจยินดี ยินร้าย รัก ชัง กลัว หลง สักแต่ว่ารู้แล้วก็ปล่อยผ่านไป ไม่เอาใจเอายึดครอง ไม่เอาใจเข้าไปข้องเกี่ยว ใหฟ้เกิดความสืบต่อ

2. แก้ใจไม่มีกำลัง เพราะอาศัยอุปจาระสมาธิ

"คาถาแก้อารมณ์ จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ก็ไม่ยึดสมมติ"
"ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น อย่าทิ้งลมหายใจ อย่าทิ้งพุทโธ"

คำสอนของหลวงพ่อเสถียร ถิระญาโน จาก หลวงตาศิริ อินทสิริ


2.1 เพราะใจอยู่เหนือการควบคุม ทำให้ไม่อาจจะทรงอารมณ์นั้นได้ตลอดเวลา เมื่อกิเลสที่จรมาเกิดขึ้นให้ใจรู้ โดยอาศัยเครื่องล่อใจ คือ รูป เสียง กลิ้น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ เมื่อใดที่ใจเรารู้สิ่งเหล่านี้โดยสมมติ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์เมื่อนั้น เรามีความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ต่อสิ่งนั้นอย่างไร ความทุกข์ด้วยประการฉันนั้น

2.2 เมื่อได้รู้อย่างนี้แล้วพึงไม่ตั้งความสำคัญมั่นหมายใดๆไว้กับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ทำสักแต่ว่ารู้แล้วก็ปล่อยมันไป เราก็จะไม่ยึดสมมติ ก็ไม่มีทุกข์

2.3 ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น เพราะลมหายใจคือ กายสังขาร กายเรานี้อาศัยลมหายใจหล่อเลี้ยงกายไว้จึงยังทรงรูปของมันไว้ได้อยู่

2.4 ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น เพราะลมหายใจเป็นธาตุ ๑ ใน ธาตุ ๖ คือ วาโยธาตุในกายนี้ เคลื่อนไหวเข้าออกในกาย ทำให้กายเคลื่อนตัวเหยียดออก แผ่ออก ขยายออกด้วยลมหายใจเข้า ทำให้กายเคลื่อนตัวผ่อนลง หด คู้เข้าด้วยลมหายใจออก

2.5 ลมหายใจนี้ไม่มีทุกข์ ลมหายใจไม่มีโทษ ลมหายใจเป็นที่สบายกายใจ เพราะลมหายใจไม่ใช่เครื่องปรุงแต่งจิต ไม่ใช่เครื่องปรุ่งแต่งสมมติให้จิต รู้ลมหายใจจิตจึงไม่ยึดสมมติ รู้ลมหายใจจิตจึงไม่ปรุงแต่งจิต เพราะลมหายใจไม่ใช่ของปรุงแต่งจิต อย่าทิ้งลมหายใจ อย่าทิ้งพุทโธ

คำว่าสมมติ มีจำแนกด้วยกันดังนี้

ก. สมมติความคิด คือความคิดสืบต่อเรื่องราวต่างๆไม่อยู่กับปัจจุบัน ไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ตามที่รักบ้าง ที่ชังบ้าง ที่กลัวบ้าง ที่หลงไมม่รู้ตามจริงบ้าง

ข. สมมติสัจจ์ คือ สภาพอาการแท้จริง ที่มีอยู่จริงเดิมแท้ของธรรมธาตุโดยปราศจากการจำกัดความหมายในอาการนั้นๆ เป็นการรับรู้เอาแค่อาการที่มากระทบสัมผัสจากสิ่งทั้งปวงโดยไม่จำกัดความหมายของสิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ใจ คน สัตว์ สิ่งของ รับรู้ได้ด้วยอาการสัมผัสรับรู้ทางสัมผัสในสฬายตนะ เช่น ลมหายใจก็รู้สักแต่ว่าอาการที่สัมผัสได้ คือ เคลื่อน ไหว พอง หย่อน เป็นต้น

ค. สมมติกิเลส คือ ความรักโลภ โกรธ หลง ที่เกิดขึ้นกับจิต เกิดปรุงแต่งให้ใจรู้โดยความอาศัยความคิดสืบต่อ กล่าวคือ..
- ความคิดที่ใคร่เสพย์ ความคิดสมมติสืบต่อเรื่องราวที่ใคร่ ..ความนึกคิดในราคะนั้น มีความหมายรู้สำคัญมั่นหมายของใจเป็นสมุทัย ..ก็เพราะใจเรามีราคะเป็นเครื่องอยู่ที่ตั้งแห่งใจ ด้วยความสำคัญมั่นหมายเอาผูกขึ้นไว้กับใจต่อสิ่งที่รู้อยู่นั้นๆด้วยราคะ ..ใจเราก็รู้สิ่งนั้นด้วยราคะ เมื่อรู้สิ่งใดด้วยราคะ ใจก็จะตรึกถึงนึกถึงราคะ แล้วก็คิดสืบต่อเรื่องราวในราคะ
- เมื่อจิตเสพย์ความคิดที่มีราคะเป็นที่ตั้ง จึงทนอยู่ได้ยาก ทุรนทุราย เร่าร้อนเป็นไฟแผดเผากายใจด้วยไฟราคะ
- โดยกิเลสราคะนี้อาศัยความรู้สึกนึกคิดอันเกิดแต่สัมผัสนี้เป็นธัมมารมณ์เครื่องล่อจิต สิ่งนี้สำคัญที่สุด เพราะละสิ่งนี้ได้จึงเห็นธัมมารมณ์ จึงเห็นธาตุที่แท้จริง

- เมื่อเข้าอุปจาระสมาธิได้ นิวรณ์จะอ่อน ไม่มีความกำหนัด สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล อุปจาระฌาณละเอียดจะเหมือนละกิเลสได้ เหมือนบรรลุธรรมเพราะสงัดจากกิเลส จิตตั้งมั่นไม่สัดส่ายแต่รับรู้ทุกอย่างได้ทั้งภายนอกหรือภายในตามแต่อริริยาบถและกิจการงานที่ทรงอยู่ แต่มันเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ ทำได้เป็นครั้งคราว นึกอกุศลไม่ออก ทรงอารมณ์ได้ทั้งขณะเคลื่อนไหว หรือหยุดนิ่ง

- เมื่อรู้ดังนี้แล้ว เราจะทำไฉนหนอจึงละความรู้อารมณ์ด้วยราคะอย่างนี้ๆไปได้ เมื่อรู้ว่าสำคัญใจด้วยราคะ ตรึกตรองในราคะ จะละก็ละที่เหตุ คือ

      ๑. ความคิดสืบต่อ ก็ละที่การไม่สืบต่อ ทำแค่รู้แล้วปล่อยผ่านมันไป

      ๒. ความนึกถึง ก็ละที่การสำคัญมั่นหมายของใจ คือ การไม่ให้ความสำคัญกับใจต่อสิ่งที่รู้อยู่นั้น ทางแก้ก็เริ่มจาก
          ๒.๑ ความหน่ายระอา คือ กำหนดรู้ทุกข์ในราคะ ที่ร้อนรุ่มเพราะมีราคะ ติดในราคะ เพราะเอาใจเข้ายึดครองราคะ
          ๒.๒ รู้ของจริงต่างหากจากสมมติในสิ่งที่ยึด คือ อาการ ๓๒ ทั้งประการ, ธาตุ ๖, อสุภะกรรมฐาน, สัญญา ๑๐
          ๒.๓ รู้ชัดเหตุแห่งทุกข์นั้น เพราะรู้สิ่งนั้น-ธัมมารมณ์นั้นๆโดยสมมติที่กิเลสวางไว้ล่อใจเราให้หลงตามทางสฬายตนะ จึงสืบต่อสมมติกิเลสอันเร่าร้อน ต้องแก้โดยละสมมติ

      ๓. เมื่อปฏิบัติรวมประการทั้ง ๒ ข้อ ข้างต้นแล้ว เพื่อไม่ให้จิตยึดสมมติกิเลส ไม่เอาสมมติกิเลสมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต ไม่รู้ธัมมารมณ์ด้วย ราคะ โทสะ โมหะ ..เราก็ต้องไม่ยึดในอาการความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงรวมลงเป็นทางปฏิบัติด้วยประโยคคาถาว่า..

"จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นสมมติทั้งหมด ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้(ธัมมารมณ์)ก็ไม่ยึดสมมติ ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น อย่าทิ้งลมหายใจ อย่าทิ้งพุทโธ คำสอนของหลวงพ่อเสถียร ถิระญาโน จาก หลวงตาศิริ อินทสิริ"

- สัพเพธัมมาอนัตตาติ จะเข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัตินี้


- ความสำคัญมั่นหมายของใจ อีกประการหนึ่ง ซึ่งที่มีทับถมในใจมากจนกลายเป็นจริตนิสัยสันดาน ก็คือ นิวรณ์

3. แก้นิวรณ์ ด้วยอาศัยปฐมฌาณ

คาถา ให้เข้าถึง
..เพราะอิงอาศัยนิวรณ์ ความคิด ความจดจำสืบต่อในอกุศลทั้งปวงที่เกิดจากจิต ทำให้ใจเศร้าหมอง เป็นทุกข์
..เพราะความมีจิตแจ่มใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน มีเจตนาเป็นศีล พ้นแล้วจากกิเลสนิวรณ์เป็นสุข

- เมื่ออยู่ในอุปจาระฌาณนิวรณ์ก็อ่อนลงไม่ฟุ้งขึ้น อารมณ์เหมือนสละคืนกิเลสได้แล้ว ปิดการรับรู้ภายนอก เสียงภายนอกเบาจนเหมือนไม่ได้ยินเสียงจากภายนอก เพราะจิตจดจ่อในอารมณ์ที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นลม มีนิมิต หรือว่างโล่ง ไม่มีนิมิต หรือนิ่งอยู่ หรือ มีอาการเหมือนตัวรู้แยกจากความนึกคิดก็ตาม ลมหายใจหายไปบ้าง เหมือนไม่หายใจบ้าง พุทโธดับไปบ้าง หรือเสียงจิตบริกรรมพุทโธอยู่อีกฟากหนึ่ง ไม่ได้อยู่ที่ตัวรู้เหมือนเวลาปกติที่เราเป็น (กล่าวคือเวลาปกติของปุถุชนความรู้จะเป็นอันเดียวกับจิต เจตนาเป็นตัวเดียวกัน อารมณ์ความรู้สึกนึกเป็นอันเดียวกัน)

- เมื่อมีใจน้อมไปในปฐมฌาณ ให้จิตตัวรู้ทิ้งอารมณ์สภาวะธรรมที่อยู่เบื้องหน้า ไม่ใช่ผลักจิตออก แต่เป็นการเคลื่อนอารมณ์ของจิต มีวิธีอยู่ ๒ ประการ ที่ผู้เขียนพอจะมีปัญญาเข้าถึงได้อย่างปุถุชน คือ..

๑. แนบจิตเคลื่อนไหลไปตามลมหายใจ เป็นการยกจิตขึ้นเคลื่อนไปอีกสภาวะหนึ่งตามลมหายใจ (เหมาะกับจิตที่มีกำลังจดจ่อแนบอารมณ์กับนิมิต หรือสี หรือแสงได้ดี) ..โดยเอาจิตจับนิมิตตรงหน้าที่เกิดขึ้นอยู่ไว้มั่น ปักใจแนบเป็นอารมณ์เดียวกับนิมิต แล้วทำไว้ในใจว่า..เราจักเคลื่อนออกจากนิมิตตรงหน้านี้เพื่อเข้าสู่ธรรมที่สูงขึ้น ..โดยเอาจิตแนบตามลมหายใจเข้า(ข้อนี้สำคัญ) เคลื่อนจิตออกจากนิมิตตรงหน้าที่เกิดขึ้นอยู่ เพื่อเลื่อนขึ้นไปในธรรมที่สูงขึ้น  หายใจออกจิตตั้งอารมณ์ในธรรมนั้น
(ธรรมชาติของคนที่กำหนดพุทโธ จะจับลมหายใจเข้าเป็นอันรดับแรก จิตจึงเคลื่อนไปตามความเคยชินดังนี้..)

๒. ทำไว้ในใจละองค์ธรรม เพื่อเข้าถึงองค์ธรรม เป็นการละจากองค์ธรรมหนึ่ง เพื่อเข้าถึงอีกองค์ธรรมหนึ่ง แนบจิตรู้อารมณ์สภาวะองค์ธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน รู้ว่าหากองค์ฺธรรมใดดับ องค์ธรรมใดจะสืบต่อ องค์ธรรมที่เราต้องการจะเคลื่อนไปนั้นต้องสงัดจากองค์ธรรมใด สิ่งใดต้องดับ-สิ่งใดตั้งอยู่จึงเคลื่อนไปจุดนั้นได้ ในที่นี้จะเข้าสู่ปฐมฌาณ เราจับรู้อารมณ์ของอุปจาระฌาณว่ามันมีปรุงแต่งหลายอย่าเกิดขึ้น มีการกระทำ เช่น คิด กระทำใจ มิมิต ยังมีอารมณ์นิวรณ์อ่อนๆ จะความง่วงก็ดี ความหน่ายก็ดี ความเฉยไม่รู้ก็ดี ความจดจ่อนิ่งว่างแต่หน่วงตรึงจิตก็ดี สิ่งนี้คือนิวรณ์ทั้งสิ้น เมื่อรู้แล้วก็ให้ทำไว้ในใจเอาใจแนบอารมณ์จับรู้ที่สภาวะธรรมนั้นไว้เป็นอารมณ์เดียว มีใจอยากออกจากสภาวะธรรมปัจจุบัน ดับสภาวะธรรมนั้น จักเอาใจเคลื่อนออกจากสภาวะนั้น โดยการทำไว้ในใจว่าเพราะอิงอาศัยนิวรณ์ ความคิด ความจดจำสืบต่อ เป็นทุกข์ มีใจถอนออกจากอุปจาระสมาธิ โดบกำหนดหมายใจให้สงัดจากนิมิต สงัดจากความคิด สงัดจากกิเลส กำหนดหมายใจเข้าสู่ปฐมฌาณ (การเคลื่อนของจิตวิธีนี้ จะว่ามีนิมิตก็ไม่ใช่ไม่มีนิมิตก็ไม่ใช่ แต่ที่แน่ชัดคือมีแต่ตัวรู้ และตัวถูกรู้ อาการปรุงแต่งที่ใจรู้ ..ซึ่งจิตตัวรู้จะเกิดความรู้ถึงอาการความรู้สึกขององค์ธรรมที่จิตแนบรู้อยู่เป็นกองธรรมกองหนึ่ง และ จิตตัวรู้จะมนสิการกองธรรมอีกกองที่กำหนดหมาย จากนั้นจิตจะจับรู้ว่ากองธรรมที่กำหนดหมายนั้นตั้งอยู่ที่ใด แล้วจะเคลื่อนตัวไปองค์ธรรมกองนั้น โดยใจเราที่เป็นตัวรู้จะรู้ว่ากองที่เคลื่อนไปนั่นมีสภาวะอาการความรู้สึกอย่างไร เช่น สงบ สงัด เย็นที่สบาย ซาบซ่าน อิ่มเอิบ แช่มชื่น เป็นต้น) นี้เป็นสังขารุเปกขาโดยปัญญาในสมถะ เป็นการละจากองค์ธรรมหนึ่ง เพื่อเข้าถึงอีกองค์ธรรมหนึ่ง ใช้ในการเข้าวสีฌาณ


- หากเข้าปฐมฌาณได้จะไม่มีอกุศล จะนึกอกุศลเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก เพราะไม่มีนิวรณ์ จิตอยู่วิเวก ในสมาธิมีอารมณ์เดียว เรื่องเดียว (ความวิเวก และจดจ่อมีอารมณ์เดียวเกิดขึ้นเฉพาะในฌาณเท่านั้น)


 


ข. ปัญญาในวิปัสสนา คือ การอบรมอินทรีย์ ทำให้แจ้งในสังขาร จิตรู้ชัดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในโลกุตระ ของคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ คือ มรรค-ผล ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคให้แจ้ง ให้สูงขึ้น จนเข้าถึงอรหันตผล เพราะละอวิชชา ละอุปาทานตัวตนแห่งสังขารอันเป็นสังโยชน์ข้อนั้นๆในแต่ละระดับได้

 



Create Date : 27 กันยายน 2565
Last Update : 18 ตุลาคม 2565 16:23:55 น.
Counter : 473 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณnewyorknurse

ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]