14.1 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
13.13  พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.

ความคิดเห็นที่ 4-1
ฐานาฐานะ, 5 มีนาคม เวลา 00:36 น.

             พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             กกจูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4208&Z=4442
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263

             อลคัททูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4443&Z=4845
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=274

             วัมมิกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4846&Z=4937
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=289

ความคิดเห็นที่ 4-2
GravityOfLove, 5 มีนาคม เวลา 00:49 น.

             คำถาม กกจูปมสูตร
             ๑. กรุณาอธิบายค่ะ
             [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอควรใส่ใจถึงโอวาท แสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะไม่มองเห็นทางแห่งถ้อยคำที่มีโทษน้อย หรือโทษมาก
ที่พวกเธอจะอดกลั้นไม่ได้ หรือยังจะมีอยู่บ้าง
             ไม่มีพระเจ้าข้า
             เพราะเหตุนั้นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงใส่ใจถึงโอวาทแสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด
ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์และความสุขแก่พวกเธอสิ้นกาลนาน ดังนี้แล.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4208&Z=4442&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             ๒. บทว่า โย มโน ปโทเสยฺย ความว่า ผู้ใดไม่ว่าภิกษุหรือภิกษุณี เคืองใจ อดกลั้นการเลื่อยด้วยเลื่อยนั้นไม่ได้.
             บทว่า น เม โส เตน สาสนกโร ความว่า ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้กระทำตามคำสอนของเรา เหตุอดกลั้นไม่ได้นั้น
ก็แต่ว่า อาบัติย่อมไม่มีแก่เธอในเพราะอดกลั้นไม่ได้นั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263&bgc=aliceblue

             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 4-3
ฐานาฐานะ, 5 มีนาคม เวลา 00:59 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
             คำถาม กกจูปมสูตร
             ๑. กรุณาอธิบายค่ะ
             [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอควรใส่ใจถึงโอวาท แสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะไม่มองเห็นทางแห่งถ้อยคำที่มีโทษน้อย หรือโทษมาก
ที่พวกเธอจะอดกลั้นไม่ได้ หรือยังจะมีอยู่บ้าง
             ไม่มีพระเจ้าข้า
             เพราะเหตุนั้นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงใส่ใจถึงโอวาทแสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด
ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์และความสุขแก่พวกเธอสิ้นกาลนาน ดังนี้แล.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4208&Z=4442&bgc=aliceblue&pagebreak=0
             อธิบายว่า
             ก็พวกเธอควรใส่ใจถึงโอวาท แสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด ...
             กล่าวคือ ควรพิจารณาโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้บ่อยๆ เนืองๆ เถิด
             เมื่อพิจารณาโอวาทนี้แล้ว เธอเห็นว่าจะไม่มีถ้อยคำที่รุนแรงมากหรือรุนแรงน้อย
ที่พวกเธอจะอดกลั้นไม่ได้ หรือว่า พิจารณาโอวาทนี้แล้ว ยังเห็นว่ายังมีบางถ้อยคำที่อดกลั้นไม่ได้?
             ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ไม่มีพระเจ้าข้า คือ
             เมื่อพิจารณาโอวาทนี้แล้ว ก็เห็นว่า ไม่มีถ้อยคำอะไรๆ ที่จะอดกลั้นไม่ได้เลย
กล่าวคืออดกลั้นได้ทั้งนั้น.
             เพราะเหตุนั้นแหละ จงใส่ใจถึงโอวาทนี้บ่อยๆ เนืองๆ การใส่ใจโอวาทนี้
จะเป็นประโยชน์ฯ ต่อพวกเธอทั้งหลายตลอดกาลนาน.

             ๒. บทว่า โย มโน ปโทเสยฺย ความว่า ผู้ใดไม่ว่าภิกษุหรือภิกษุณี เคืองใจ อดกลั้นการเลื่อยด้วยเลื่อยนั้นไม่ได้.
             บทว่า น เม โส เตน สาสนกโร ความว่า ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้กระทำตามคำสอนของเรา เหตุอดกลั้นไม่ได้นั้น
ก็แต่ว่า อาบัติย่อมไม่มีแก่เธอในเพราะอดกลั้นไม่ได้นั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263&bgc=aliceblue
             ขอบพระคุณค่ะ
12:41 AM 3/5/2013

             อธิบายว่า ตัวอย่างเช่น พระภิกษุปุถุชนถูกด่าถูกตีเป็นต้น ก็โกรธต่อผู้ด่าผู้ตี
             ดังนี้แล้ว กล่าวได้ว่า พระภิกษุนั้นไม่กระทำตามโอวาทเปรียบด้วยเลื่อยของพระผู้มีพระภาค
             กล่าวคือ ไม่กระทำให้สมบูรณ์ในสิกขา 3 ตามฐานะนั้นๆ.
             แต่ว่า พระภิกษุปุถุชนโกรธเท่านั้น แต่ไม่ได้ด่าตอบ ไม่ได้ตีตอบ ไม่ได้ทำร้ายผู้ตี
โดยประการอื่น เพียงแต่โกรธในใจ พระภิกษุปุถุชนก็ไม่เป็นอาบัติเพราะการโกรธนั้น.

ความคิดเห็นที่ 4-4
GravityOfLove, 5 มีนาคม เวลา 08:25 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 4-5
GravityOfLove, 5 มีนาคม เวลา 08:34 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค          
             ๑. กกจูปมสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยเลื่อย
             พระโมลิยผัคคุนะคลุกคลีกับภิกษุณี
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4208&Z=4442&bgc=aliceblue

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายเกินเวลา
ถ้าภิกษุรูปใดติเตียน ก็จะถูกโกรธ ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์
(เรื่องราวที่ต้องวินิจฉัย) ก็มี
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อธิกรณ์

             มีภิกษุรูปหนึ่งไปทูลเล่าให้พระผู้มีพระภาคฟัง
             พระองค์จึงตรัสเรียกให้ท่านพระโมลิยผัคคุนะมาเข้าเฝ้าแล้วตรัสถามว่า
ทำเช่นนั้นจริงหรือ
             ท่านพระโมลิยผัคคุนะทูลรับว่า จริง
             พระองค์จึงตรัสถามต่อไปว่า เธอเป็นกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตด้วยศรัทธามิใช่หรือ?
             ทูลตอบว่า ใช่
             ตรัสว่า การอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีจนเกินขอบเขต ไม่สมควรแก่
กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาเลย
             ถ้าแม้ภิกษุรูปใดติเตียน ประหารภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าเธอ
ติเตียนตัวเธอเองต่อหน้าเธอ หรือประหารเธอ
             แม้เป็นเช่นนี้ เธอควรละความพอใจและวิตกอันอาศัยเรือน (กามคุณ ๕)
เสีย เธอควรศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจะไม่แปรปรวน และเราจะไม่เปล่งวาจาที่
ชั่วหยาบ จะอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ และจะเป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ
ภายใน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5

             พระองค์ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ทำจิตของเราให้ยินดีเป็นอันมาก เราขอเตือน
ภิกษุทั้งหลายไว้ในที่นี้ว่า เราฉันอาหารที่อาสนะแห่งเดียว
(ฉันมื้อเดียว จะฉันกี่ครั้งก็ได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาเที่ยงวัน)
ทำให้เรารู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง
และอยู่อย่างผาสุก
             ภิกษุทั้งหลาย ถึงพวกเธอก็จงฉันอาหารที่อาสนะแห่งเดียวเถิด
             เราไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้นอีก เพียงแต่ทำให้สติเกิดขึ้นในภิกษุ
เหล่านั้นเท่านั้น
             เปรียบเหมือนรถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ซึ่งฝึกมาดีแล้ว แล่นไปตาม
ทางใหญ่สี่แพร่ง บนพื้นราบเรียบโดยไม่ต้องใช้แส้ เพียงแต่นายสารถีผู้ฝึกหัดม้า
ที่ฉลาดขึ้นรถแล้วจับสายบังเหียนด้วยมือซ้าย จับแส้ด้วยมือขวา เตือนม้าให้วิ่ง
ตรงไป หรือเลี้ยวกลับไปตามถนนที่ต้องการได้ตามความปรารถนา ฉันใด
             เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้นอีกเนืองๆ
             เพราะฉะนั้น แม้พวกเธอก็จงละอกุศลธรรมเสีย จงทำความพากเพียร
แต่ในกุศลธรรมทั้งหลาย
             เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้พวกเธอก็จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ใน
พระธรรมวินัยนี้
             เปรียบเหมือนป่าไม้รังใหญ่ ใกล้บ้านหรือนิคม และป่านั้นเต็มไปด้วย
ต้นละหุ่ง ชายคนหนึ่ง เล็งเห็นประโยชน์และคุณภาพของต้นรังนั้น ใคร่จะทำให้
ต้นรังนั้นให้ปลอดภัย
             เขาจึงตัดต้นรังเล็กๆ ที่คดและถางต้นละหุ่งอันคอยแย่งอาหารของ
ต้นรังนั้นออก ทำภายในป่าให้สะอาดเรียบร้อย แล้วคอยรักษาต้นรังเล็กๆ ต้นตรง
ที่ขึ้นแรงดี โดยถูกต้องวิธีการ
             ด้วยการกระทำดังที่กล่าวมานี้ กาลต่อมา ป่าไม้รังนั้นก็ถึงความเจริญ
งอกงาม ไพบูลย์ขึ้นโดยลำดับ

             ตรัสเล่าเรื่องในอดีตให้ฟังว่า ที่พระนครสาวัตถีนี้มีแม่เรือนคนหนึ่งชื่อว่า
เวเทหิกา ร่ำลือกันว่า เป็นคนสงบเสงี่ยมอ่อนโยน เรียบร้อย
             แม่เรือนเวเทหิกา มีทาสชื่อนางกาลีซึ่งเป็นคนขยัน จัดการงานดี
             ต่อมา นางกาลีได้คิดอย่างนี้ว่า นายหญิงของเราไม่แสดงความโกรธ
ที่มีอยู่ภายในให้ปรากฏ เพราะไม่มีความโกรธอยู่เลย
             หรือว่านายหญิงของเราที่ไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ภายในให้ปรากฏ
ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ
             จึงคิดจะทดสอบนายหญิงของตน ด้วยการแกล้งทำเป็นตื่นสายโดยไม่มี
สาเหตุึ แม่เรือนเวเทหิกาตวาดถาม โกรธ ขัดใจ ทำหน้าบึ้ง
             นางกาลีจึงคิดได้ว่า นายหญิงมีความโกรธอยู่ ที่ไม่แสดงความโกรธออก
มา เพราะเราจัดการงานทั้งหลายได้เรียบร้อย
             วันต่อมา แกล้งทำเป็นตื่นสายยิ่งกว่าเดิม แม่เรือนเวเทหิกาตวาดถาม
โกรธ ขัดใจ แผดเสียงด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย
             นางกาลีแกล้งทำเป็นตื่นสายยิ่งกว่าเดิมอีก แม่เรือนเวเทหิกาด่าตวาด
ด้วยความโกรธจัด จึงคว้าลิ่มประตู ปาศีรษะ ปากก็ว่า กูจะทำลายหัว
             นางกาลีศีรษะแตก โลหิตไหลโซม จึงเที่ยวโพนทะนาว่า เชิญดูการ
กระทำของคนสงบเสงี่ยม อ่อนโยน เรียบร้อยเอาเถิด
             ตั้งแต่นั้นมา เกียรติศัพท์อันชั่วของแม่เรือนเวเทหิกาก็ขจรไปอย่างนี้ว่า
แม่เรือนเวเทหิกา เป็นคนดุร้าย ไม่อ่อนโยน ไม่สงบเสงี่ยมเรียบร้อย แม้ฉันใด
             ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น เป็นคนสงบเสงี่ยมจัด
เป็นคนอ่อนโยนจัด เป็นคนเรียบร้อยจัด ได้ก็เพียงชั่วเวลาที่ยังไม่ได้กระทบด้วย
คำอันไม่เป็นที่พอใจเท่านั้น
             แต่ถ้าถ้อยคำอันไม่เป็นที่พอใจกระทบเข้า ก็ยังเป็นคนสงบเสงี่ยม
อ่อนโยนเรียบร้อยอยู่ได้ เมื่อนั้นแหละ ควรถือว่าเป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคน
อ่อนโยน เป็นคนเรียบร้อยจริง (ตั้งอยู่ในอธิวาสนขันติ)
             เราไม่เรียกภิกษุรูปที่เป็นคนว่าง่าย ถึงความเป็นคนว่าง่าย เพราะเหตุ
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะแลคิลานปัจจัยเภสัชบริขารว่า เป็นคนว่าง่าย เลย
             เพราะภิกษุรูปนั้นเมื่อไม่ได้จีวร ฯลฯ ก็จะไม่เป็นคนว่าง่าย
             ภิกษุรูปใดสักการะ เคารพ นอบน้อมพระธรรมอยู่ เป็นคนว่าง่าย
เราเรียกภิกษุรูปนั้นว่า เป็นคนว่าง่าย
             วิธีที่คนอื่นพูดกับเรามี ๕ วิธี
             ๑. กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
             ๒. กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง
             ๓. กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย
             ๔. กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์
             ๕. มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว
             ไม่ว่าเขาจะกล่าวกับเราอย่างไรก็ตาม เราควรศึกษาอย่างนี้ว่า
             จิตของเราจะไม่แปรปรวน เราจะไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ เราจะ
อนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์
             เราจะมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน เราจะแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
และจะแผ่ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของเมตตาจิตนั้น
             ทรงอุปมาเมตตาจิตดังต่อไปนี้
             ๑. เปรียบเหมือนคนจะทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดิน จึงทั้ง
ขุดดิน ทั้งโกยดินด้วยจอบและตะกร้า ด่า บ้วนน้ำลาย ถ่ายปัสสาวะรดดินตรง
นั้น เขาย่อมทำไม่ได้ เพราะแผ่นดินนั้นกว้างใหญ่และลึก เขาจึงเหนื่อยเปล่า
             ๒. เปรียบเหมือนคนจะเขียนรูปในอากาศด้วยเครื่องเขียน เขาย่อม
เขียนไม่ได้ เพราะอากาศเป็นของไม่มีรูปร่าง ชี้ให้เห็นไม่ได้ เขาจึงเหนื่อยเปล่า
             ๓. เปรียบเหมือนคนจะเผาแม่น้ำคงคา จะทำให้แม่น้ำร้อนจัด เดือด
เป็นควันพลุ่งด้วยคบหญ้าที่จุดไฟ เขาย่อมทำไม่ได้เพราะแม่น้ำคงคากว้างใหญ่
และลึก เขาจึงเหนื่อยเปล่า
             ๔. เปรียบเหมือนคนจะตีกระสอบหนังแมวที่อ่อนนุ่มดังปุยนุ่นด้วยไม้
หรือกระเบื้องเพื่อให้เกิดเสียงดังก้อง เขาย่อมทำไม่ได้เพราะกระสอบหนังแมว
เป็นของที่ตีแล้วไม่ดังก้อง เขาจึงเหนื่อยเปล่า
             ถ้ามีโจรจะใช้เลื่อยๆ ร่างกายของภิกษุหรือภิกษุณี ก็อย่าได้มีจิตคิดร้าย
ต่อโจรนั้นเพราะเหตุว่า อดกลั้นไม่ได้ ควรศึกษาอย่างนี้ว่า
             จิตของเราจะไม่แปรปรวน เราจะไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ เราจะ
อนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์
             เราจะมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน เราจะแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
และจะแผ่ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น
             ควรใส่ใจถึงโอวาทที่แสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้ไว้เนืองนิตย์
เพราะการอดกลั้นถ้อยคำจะไม่มีโทษเลย จะเป็นประโยชน์สุขแก่พวกเธอ
สิ้นกาลนาน
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค

แก้ไขตาม #4-6

ความคิดเห็นที่ 4-6
ฐานาฐานะ, 5 มีนาคม เวลา 23:28 น.   

GravityOfLove, 14 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค
             ๑. กกจูปมสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยเลื่อย
             พระโมลิยผัคคุนะคลุกคลีกับภิกษุณี
...
8:34 AM 3/5/2013

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน
             ขอติงสักเล็กน้อย ดังนี้ :-
             1. ย่อความนี้ไม่มีลิงค์ไปยังพระสูตรเลย.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             กกจูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4208&Z=4442
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263

             2.
             ไม่่ว่าเขาจะกล่าวกับเราอย่างไก็ตาม เราควรศึกษาอย่างนี้ว่า
แก้ไขเป็น
             ไม่ว่าเขาจะกล่าวกับเราอย่างไรก็ตาม เราควรศึกษาอย่างนี้ว่า

ความคิดเห็นที่ 4-7
ฐานาฐานะ, 5 มีนาคม เวลา 23:31 น.

             คำถามในกกจูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4208&Z=4442

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 4-8
GravityOfLove, 5 มีนาคม เวลา 23:34 น.

ขอบพระคุณค่ะ

             ตอบคำถามในกกจูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4208&Z=4442

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ถ้าถูกตำหนิ ติเตียน อย่างมีเหตุผลถูกต้อง อย่าใช้คำพูดที่ไม่ดี หยาบคายต่อว่ากลับ
ให้มีจิตเมตตา (อุปมา ๔ ข้อ เหมือนแผ่นดิน อากาศ น้ำ ผ้านุ่ม) ให้ละความพอใจในกามคุณ ๕ เสีย
ละอกุศลธรรม อนุเคราะห์ด้วยเรื่องที่มีประโยชน์

             ๒. การฉันมื้อเดียวคือ จะฉันกี่ครั้งก็ได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาเที่ยงวัน
เรื่องการฉันอาหาร มีการกำหนดเวลาดังนี้
             - เช้าถึงเที่ยงวัน เรียกว่า ปุเรภัต
             - เวลาวิกาล มีทั้งวิกาลในเวลากลางวันและวิกาลในเวลากลางคืน
เวลาวิกาลที่เกี่ยวกับการฉันอาหาร คือ หลังเที่ยงวันจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น

             ๓. อานิสงส์การฉันมื้อเดียว หรืออานิสงส์ของการละการฉันในเวลาวิกาลมี ๕ ประการคือ
อาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก

             ๔. ให้ละอกุศลธรรม เช่น ความพอใจในการคุณ ๕ ,การรับประทานแต่พออิ่ม อันเอื้อต่อการบำเพ็ญเพียร
พระองค์ก็ไม่ต้องพร่ำสอนบ่อยๆ เหมือนคนขี่ม้าที่ถือแต่เืชือกคุมไว้เฉยๆ ไม่ต้องลงแส้ ตัวผู้ปฏิบัติก็จะมีเจริญใน
พระธรรมวินัยนี้ (เหมือนคอยทำนุบำรุงป่ารังใหญ่)

             ๕. คนที่ดูสงบเสงี่ยมดี แต่พอมีอะไรมากระทบ ก็ดีแตก ไม่ทรงเรียกว่า เรียบร้อยจริง (เช่นแม่เรือนเวเทหิกา)
ถ้าสงบเสงี่ยม อ่อนโยนเรียบร้อยอยู่ได้ ทรงเรียกว่า เป็นคนเรียบร้อยจริง (ตั้งอยู่ในอธิวาสนขันติ)

             ๖. คนที่ดูเป็นคนว่าง่ายตราบเท่าที่มีปัจจัยใช้สอย ไม่ทรงเรียกว่า เป็นคนว่าง่าย
คนที่สักการะ เคารพ นอบน้อมพระธรรม ทรงเรียกว่า เป็นคนว่าง่าย

             ๗. วิธีที่คนอื่นพูดกับเรามี ๕ วิธี ไม่ว่าจะพูดเป็นคุณหรือเป็นโทษกับเรา (เหมือนโจรจะเลื่อยร่างกายเรา)
จิตของเราต้องไม่แปรปรวน ไม่พูดคำหยาบ อนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีจิตเมตตา ไม่มีโทสะ แผ่เมตตาจิต
ไปถึงบุคคลนั้น และไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของเมตตาจิตนั้น
             เมื่อพิจารณาพระโอวาทของพระองค์ดังนี้ ย่อมมีความอดกลั้นต่อคำพูดผู้อื่นได้ และจะไม่มีโทษเลย
             ปุถุชนถ้าจะรู้สึกโกรธบ้าง (โดยไม่ด่าตอบ ไม่ทำร้ายตอบ) ก็พอยอมรับได้ สำหรับภิกษุก็ไม่ถือว่าอาบัติ

             ๘. เวลามี ๓ คือ
                         ๑. กาลเวลา ขอบเขตคือเวลา เช่นอยู่เกินเวลา
                         ๒. สีมเวลา ขอบเขตคือเขตแดน เช่นพูดเกินกว่าที่ควรพูด
                         ๓. สีลเวลา ขอบเขตคือศีล  เช่นแม้กำลังสอนธรรมอยู่ก็พูดเล่น พูดตลก ถือเป็นอาบัติหยาบได้
                         พระโมลิยผัคคุนะนั้นก้าวล่วงทั้ง ๓ ขอบเขต

             ๙. อากาศมี ๔ ประเภท คือ
             - อัชฏากาส ได้แก่อากาศในท้องฟ้า
             - ปริจฉินนากาส ได้แก่อากาศที่กำหนดได้ในระหว่างแห่งวัตถุ
             - กสิณุคฆาปฏิกากาส ได้แก่อากาศที่ได้มาเนื่องจากเพิกกสิณ ๙
             - ปริจเฉทากาส ได้แก่อากาศที่ขึ้นระหว่างรูปกับรูป

ความคิดเห็นที่ 4-9
ฐานาฐานะ, 5 มีนาคม เวลา 23:54 น.

GravityOfLove, 7 นาทีที่แล้ว
             ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในกกจูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4208&Z=4442
...
11:34 PM 3/5/2013

             ตอบคำถามได้ดี ดูเหมือนคำตอบจะถูกเรียบเรียงไว้ก่อนแล้ว
เพราะถามคำถามซ้ำๆ ในแต่ละสูตรว่า เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ในข้อ 1 ดูจะแปลกๆ ดังนี้ :-
             ๑. ถ้าถูกตำหนิ ติเตียน อย่างมีเหตุผลถูกต้อง อย่าใช้คำพูดที่ไม่ดี หยาบคายต่อว่ากลับ
ให้มีจิตเมตตา (อุปมา ๔ ข้อ เหมือนแผ่นดิน อากาศ น้ำ ผ้านุ่ม) ให้ละความพอใจในกามคุณ ๕ เสีย
ละอกุศลธรรม อนุเคราะห์ด้วยเรื่องที่มีประโยชน์
             กล่าวคือ ถ้าถูกตำหนิ ติเตียน อย่างไม่มีเหตุผล อย่างไม่ถูกต้อง จะทำอย่างไร?
             การที่บุคคลอื่นตำหนิ ติเตียนเรา อย่างไม่มีเหตุผล อย่างไม่ถูกต้อง
ก็จัดเข้าทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะเรา 5 ประการเหมือนกัน.

ความคิดเห็นที่ 4-10
GravityOfLove, 6 มีนาคม เวลา 00:00 น.

เรียบเรียงคำตอบหลังจากที่ส่งคำถามค่ะ
ไม่ได้เรียบเรียงคำตอบตอนอ่านรอบแรกที่ทำย่อความไว้
เพราะเดี๋ยวไ่ม่ตื่นเต้น

คำตอบข้อ ๑ เพิ่มเติมว่า
ถ้าตำหนิ ติเีตียนอย่างไม่มีเหตุผล ก็ไม่ต้องโกรธ ฯลฯ เหมือนกันค่ะ
แต่ให้ชี้แจงว่าอะไรเป็นอะไรอย่างสุภาพ ไม่หยาบคาย ตามที่ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร

ความคิดเห็นที่ 4-11
ฐานาฐานะ, 6 มีนาคม เวลา 00:14 น.

GravityOfLove, 9 นาทีที่แล้ว
             เรียบเรียงคำตอบหลังจากที่ส่งคำถามค่ะ
ไม่ได้เรียบเรียงคำตอบตอนอ่านรอบแรกที่ทำย่อความไว้
เพราะเดี๋ยวไม่ตื่นเต้น
             คำตอบข้อ ๑ เพิ่มเติมว่า
ถ้าตำหนิ ติตียนอย่างไม่มีเหตุผล ก็ไม่ต้องโกรธ ฯลฯ เหมือนกันค่ะ
แต่ให้ชี้แจงว่าอะไรเป็นอะไรอย่างสุภาพ ไม่หยาบคาย ตามที่ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร
12:00 AM 3/6/2013
             แปลว่า ทำย่อความไว้ก่อนที่จะส่งคำถาม (คุณ GravityOfLove เป็นผู้ถาม) ?
             คำว่า ตามที่ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร
             ควรแสดงเนื้อความและลิงค์ประกอบด้วยว่า ตามที่ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร
เป็นอย่างไร?

ย้ายไปที่



Create Date : 14 มีนาคม 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 10:17:52 น.
Counter : 3234 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog