18.7 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
18.6 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=06-12-2013&group=1&gblog=64

ความคิดเห็นที่ 4-68
ฐานาฐานะ, 19 มิถุนายน เวลา 18:07 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า โกสัมพิยสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9992&Z=10133

              พระสูตรหลักถัดไป คือพรหมนิมันตนิกสูตร [พระสูตรที่ 49].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
              มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
              พรหมนิมันตนิกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=10134&Z=10286
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=551

              มารตัชชนียสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=10287&Z=10458
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=557

ความคิดเห็นที่ 4-69
GravityOfLove, 19 มิถุนายน เวลา 18:24 น.

             คำถามพรหมนิมันตนิกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=10134&Z=10286

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. พกพรหมเป็นพรหมชั้นใดคะ
             ๒. อภิภูพรหม หมายความว่าอย่างไรคะ  
             ๓. พกพรหมกล่าวกะเราว่า
             ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ ถ้าแลเพราะท่านรู้นิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง
             ถ้อยคำของท่านอย่าได้ว่างเสียเลย อย่าได้เปล่าเสียเลย.
             นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิทัสสนะ (ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ)
เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด หรือ หายไปจากความเกิดขึ้นและความเสื่อม) มีรัศมีในที่ทั้งปวง
อันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ โดยความที่ไฟเป็นไฟ
โดยความที่ลมเป็นลม โดยความที่เหล่าสัตว์เป็นเหล่าสัตว์ โดยความที่เทวดาเป็นเทวดา
โดยความที่ปชาบดีเป็นปชาบดี โดยความที่พรหมเป็นพรหม โดยความที่เป็นอาภัสสรพรหมเป็นอาภัสสรพรหม
โดยความที่สุภกิณหพรหมเป็นสุภกิณหพรหม โดยความที่เวหัปผลพรหมเป็นเวหัปผลพรหม
โดยความที่อภิภูพรหมเป็นอภิภูพรหม โดยความที่สิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งทั้งปวง.
             ๔.  จาก [๕๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มารผู้ลามกเข้าสิงกายของพรหมปาริสัชชะผู้หนึ่งแล้ว
              และจาก [๕๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารผู้ลามก เข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะผู้หนึ่งแล้ว
              หมายความว่า ออกจากพรหมปาริสัชชะองค์หนึ่งแล้วเข้าสิงองค์ใหม่หรือคะ
             ๕. ไวยากรณภาษิตนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยมารมิได้เรียกร้อง และโดยพรหมเชื้อเชิญดังนี้
             เพราะฉะนั้น ไวยากรณภาษิตนี้ จึงมีชื่อว่าพรหมนิมันตนิกสูตร ฉะนี้แล.

            อรรถกถา
            ๖. ก็แหละ ผู้พูดเช่นนี้นั้นย่อมป้องกันทุกอย่างคือ ชั้นของฌานข้างบน ๓ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑.
            ๗. ภัพย์ มีความหมายเดียวกับ สัมภเวสี ใช่ไหมคะ
            ๘. พกพรหมเข้าใจว่าถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าตรัสนั้น หมายถึงทุกๆ สิ่ง.
            เขาจึงหาว่า พระพุทธเจ้ากล่าวคำเท็จ ด้วยใช้ถ้อยคำว่า
            ถ้าสิ่งทั้งปวงไม่มี ความไม่มีแห่งสิ่งทั้งปวงนั้นก็ต้องมีอยู่
อย่าให้ถ้อยคำของท่านเป็นถ้อยคำที่ไม่จริง ดังนี้.
             แต่พระศาสดาเป็นผู้ฉลาดยิ่งกว่าพกพรหมนั้นตั้งร้อยเท่าพันเท่า
             พระองค์จึงได้ทรงยกเอานิพพานขึ้นมาแสดงเพื่อให้เห็นว่า
สิ่งที่ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลมเป็นต้นนั้น ได้แก่ นิพพานฯ
             ก็นิพพานนั้นเป็นของควรรู้ แต่ไม่มีใครเห็นด้วยจักษุวิญญาณ
             เป็นของไม่มีที่สุด เพราะปราศจากความเกิด และความสิ้นไปฯ
             ๙. ถามว่า ก็แล พรหมนี้เป็นผู้ใคร่จะทำอะไร?
             ตอบว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อจะไปสู่ปฏิสนธิดั้งเดิม.
             จริงอยู่ อัตภาพที่ได้จากปฏิสนธิดั้งเดิมของพวกพรหมเป็นสิ่งละเอียด
เป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นไม่ได้ ย่อมดำรงอยู่ด้วยกายที่ถูกสร้างอย่างยิ่ง (อภิสังขาร) นั่นเอง.
             พระศาสดาไม่ได้ประทานเพื่อไปสู่ปฏิสนธิดั้งเดิมแก่พรหมนั้น.
             หรือเมื่อไม่ไปสู่ปฏิสนธิดั้งเดิม พรหมพึงทำตัวให้หายไปแล้วเป็นผู้ที่
ไม่มีใครมองเห็นด้วยความมืดใด. พระศาสดาก็ทรงบรรเทาความมืดนั้นเสียแล้ว
             เพราะฉะนั้น พรหมจึงไม่สามารถจะหายตัวได้.
             เมื่อเขาไม่สามารถแอบซ่อนในวิมาน จึงแอบซ่อนที่ไม้กัลปพฤกษ์ นั่งกระหย่งอยู่.
             ๑๐. คำว่า "เราได้กล่าวคาถานี้" ความว่า
             ถามว่า ทำไมพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระคาถา?
             ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคิดว่า
             พวกพรหมจงอย่ามีโอกาสพูดอย่างนี้ว่า ใครจะสามารถทราบได้อย่างไรว่า
ในที่นี้มีพระโคดมผู้เป็นสมณะหรือไม่มี จึงได้ตรัสพระคาถาแล้วเสด็จหายพระองค์ไป.
             ๑๑. เมื่อทรงเทศน์จบ พรหมประมาณหมื่นองค์ ยังวิปัสสนาให้ถือเอาครรภ์
(ตั้งท้องแล้วก็คลอดเหมือนข้าวกล้าตั้งท้องแล้วก็ออกรวง) ตามแนวแห่งเทศนา
            แล้วก็ดื่มน้ำอมฤตคือมรรคผล.

ความคิดเห็นที่ 4-70
ฐานาฐานะ, 19 มิถุนายน เวลา 18:35 น.

GravityOfLove, 9 นาทีที่แล้ว
             คำถามพรหมนิมันตนิกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=10134&Z=10286
...
6:24 PM 6/19/2013

              ทั้งหมดนั้น ให้อธิบายหรือหนอ?

ความคิดเห็นที่ 4-71
GravityOfLove, 19 มิถุนายน เวลา 18:42 น.

ถูกต้องค่ะ ดูเหมือนเยอะเฉยๆ ค่ะ

ความคิดเห็นที่ 4-72
ฐานาฐานะ, 19 มิถุนายน เวลา 18:46 น.

              รับทราบครับ.
              1. พระสูตรนี้ 153 บรรทัด
              2. อรรถกถา 1 หน้าต่างสั้นๆ.
              รอสักหน่อยก่อนครับ.

ความคิดเห็นที่ 4-73
ฐานาฐานะ, 19 มิถุนายน เวลา 23:38 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
              คำถามพรหมนิมันตนิกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=10134&Z=10286

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. พกพรหมเป็นพรหมชั้นใดคะ
ตอบว่า มหาพรหม (ระดับปฐมฌาน)
              3) มหาพรหม (พวกท้าวมหาพรหม — realm of great Brahmas)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_31
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๒. อภิภูพรหม หมายความว่าอย่างไรคะ
ตอบว่า น่าจะหมายความถึงอสัญญีสัตว์ ที่มาในอรรถกถามูลปริยายสูตร
              อธิบายอภิภูพรหม
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=1&p=4
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๓. พกพรหมกล่าวกะเราว่า
              ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ ถ้าแลเพราะท่านรู้นิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง
              ถ้อยคำของท่านอย่าได้ว่างเสียเลย อย่าได้เปล่าเสียเลย.
              นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิทัสสนะ (ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ)
เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด หรือ หายไปจากความเกิดขึ้นและความเสื่อม) มีรัศมีในที่ทั้งปวง
อันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ โดยความที่ไฟเป็นไฟ
โดยความที่ลมเป็นลม โดยความที่เหล่าสัตว์เป็นเหล่าสัตว์ โดยความที่เทวดาเป็นเทวดา
โดยความที่ปชาบดีเป็นปชาบดี โดยความที่พรหมเป็นพรหม โดยความที่เป็นอาภัสสรพรหมเป็นอาภัสสรพรหม
โดยความที่สุภกิณหพรหมเป็นสุภกิณหพรหม โดยความที่เวหัปผลพรหมเป็นเวหัปผลพรหม
โดยความที่อภิภูพรหมเป็นอภิภูพรหม โดยความที่สิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งทั้งปวง.
อธิบายว่า
              พกพรหมกล่าวอย่างนี้ เพราะยังไม่เลื่อมใสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัมมาพุทธเจ้า
จึงกล่าวข่มพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถ้อยคำของท่าน อย่าได้ไร้ประโยชน์หรืออย่าได้เป็นเท็จเสียเลย.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๔. จาก [๕๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มารผู้ลามกเข้าสิงกายของพรหมปาริสัชชะผู้หนึ่งแล้ว
              และจาก [๕๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารผู้ลามก เข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะผู้หนึ่งแล้ว
              หมายความว่า ออกจากพรหมปาริสัชชะองค์หนึ่งแล้วเข้าสิงองค์ใหม่หรือคะ
อธิบายว่า
              น่าจะเป็นอย่างนั้น น่าจะเป็นทำนองว่า สิงกายพรหมปาริสัชชะ
ประหนึ่งว่า พรหมปาริสัชชะกล่าวเอง (หน้าม้า) จึงน่าจะสิงองค์นั้นองค์นี้
เพื่อให้ดูเหมือนว่า ผู้ไม่เห็นด้วยมีจำนวนมาก.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๕. ไวยากรณภาษิตนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยมารมิได้เรียกร้อง และโดยพรหมเชื้อเชิญดังนี้
              เพราะฉะนั้น ไวยากรณภาษิตนี้ จึงมีชื่อว่าพรหมนิมันตนิกสูตร ฉะนี้แล.
อธิบายว่า
              โดยมารมิได้เรียกร้อง
กล่าวคือ มารไม่ยินดีให้แสดงธรรมเลย ดังคำกล่าวของมารว่า
              ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้น เราจึงบอกกะท่านอย่างนี้ว่า
              ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ เชิญท่านเป็นผู้มักน้อย ตามประกอบความอยู่สบายในชาตินี้ อยู่เถิด
เพราะการไม่บอกเป็นความดี ท่านอย่าสั่งสอนสัตว์อื่นๆ เลย.

              โดยพรหมเชื้อเชิญ กล่าวคือ พรหมเชื้อเชิญด้วยคำว่า
              ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ เชิญมาเถิด ท่านมาดีแล้ว
นานทีเดียวที่ท่านเพิ่งทำปริยายเพื่อจะมาในที่นี้ ...
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              อรรถกถา
              ๖. ก็แหละ ผู้พูดเช่นนี้นั้นย่อมป้องกันทุกอย่างคือ ชั้นของฌานข้างบน ๓ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑.
อธิบายว่า เมื่อเห็นว่า มหาพรหม (ระดับปฐมฌาน) ประเสริฐสูงสุดแล้ว
ย่อมไม่มีวิริยะ อุตสาหะ ฉันทะในอันจะเจริญธรรมที่ยิ่งๆ ขึ้นไป
อันได้แก่ ชั้นของฌานข้างบน ๓ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑.
              ความเห็นอย่างนั้น เป็นเครื่องกางกั้นการบรรลุธรรมที่ยิ่งๆ ขึ้นไปนั่นเอง.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๗. ภัพย์ มีความหมายเดียวกับ สัมภเวสี ใช่ไหมคะ
ตอบว่า จากคำอธิบายในอรรถกถา ก็มีความหมายเดียวกัน.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๘. พกพรหมเข้าใจว่าถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าตรัสนั้น หมายถึงทุกๆ สิ่ง.
              เขาจึงหาว่า พระพุทธเจ้ากล่าวคำเท็จ ด้วยใช้ถ้อยคำว่า
              ถ้าสิ่งทั้งปวงไม่มี ความไม่มีแห่งสิ่งทั้งปวงนั้นก็ต้องมีอยู่
อย่าให้ถ้อยคำของท่านเป็นถ้อยคำที่ไม่จริง ดังนี้.
              แต่พระศาสดาเป็นผู้ฉลาดยิ่งกว่าพกพรหมนั้นตั้งร้อยเท่าพันเท่า
              พระองค์จึงได้ทรงยกเอานิพพานขึ้นมาแสดงเพื่อให้เห็นว่า
สิ่งที่ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลมเป็นต้นนั้น ได้แก่ นิพพานฯ
              ก็นิพพานนั้นเป็นของควรรู้ แต่ไม่มีใครเห็นด้วยจักษุวิญญาณ
              เป็นของไม่มีที่สุด เพราะปราศจากความเกิด และความสิ้นไปฯ

อธิบายว่า
              คำอธิบายนี้น่าจะมาจากเนื้อความว่า
              ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ ถ้าแลเพราะท่านรู้นิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้โดย
ความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง ถ้อยคำของท่านอย่าได้ว่างเสียเลย อย่าได้เปล่าเสียเลย.

สันนิษฐานนัยว่า ก็คือ สัตว์ที่มีอวิชชาอยู่ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานไม่ได้เลย
สัตว์ที่มีอวิชชาอยู่ สำคัญสิ่งทั้งปวง ก็เพียงสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งเท่านั้น.
              ดังนั้น สิ่งทั้งปวงตามสัตว์ที่มีอวิชชาอยู่ รู้อยู่ เห็นอยู่นั้น ไม่รวมพระนิพพาน
เพราะสัตว์ที่มีอวิชชาอยู่ ไม่รู้จักพระนิพพานโดยการทำให้แจ้ง.

              ประโยคว่า
              นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิทัสสนะ (ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ)
เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด หรือ หายไปจากความเกิดขึ้นและความเสื่อม) ...
โดยความที่อภิภูพรหมเป็นอภิภูพรหม โดยความที่สิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งทั้งปวง.
              น่าจะเป็นพระพุทธดำรัสตอบคำกล่าวของพกพรหม.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๙. ถามว่า ก็แล พรหมนี้เป็นผู้ใคร่จะทำอะไร?
              ตอบว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อจะไปสู่ปฏิสนธิดั้งเดิม.
              จริงอยู่ อัตภาพที่ได้จากปฏิสนธิดั้งเดิมของพวกพรหมเป็นสิ่งละเอียด
เป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นไม่ได้ ย่อมดำรงอยู่ด้วยกายที่ถูกสร้างอย่างยิ่ง (อภิสังขาร) นั่นเอง.
              พระศาสดาไม่ได้ประทานเพื่อไปสู่ปฏิสนธิดั้งเดิมแก่พรหมนั้น.
              หรือเมื่อไม่ไปสู่ปฏิสนธิดั้งเดิม พรหมพึงทำตัวให้หายไปแล้วเป็นผู้ที่
ไม่มีใครมองเห็นด้วยความมืดใด. พระศาสดาก็ทรงบรรเทาความมืดนั้นเสียแล้ว
              เพราะฉะนั้น พรหมจึงไม่สามารถจะหายตัวได้.
              เมื่อเขาไม่สามารถแอบซ่อนในวิมาน จึงแอบซ่อนที่ไม้กัลปพฤกษ์ นั่งกระหย่งอยู่.

อธิบายว่า
              สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นวิธีการหายตัวอย่างหนึ่งที่พกพรหมคิดว่า
ประณีตที่สุดในการหายตัว แต่ก็หายตัวไปจากพระผู้มีพระภาค ไม่สำเร็จ.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๑๐. คำว่า "เราได้กล่าวคาถานี้" ความว่า
              ถามว่า ทำไมพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระคาถา?
              ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคิดว่า
              พวกพรหมจงอย่ามีโอกาสพูดอย่างนี้ว่า ใครจะสามารถทราบได้อย่างไรว่า
ในที่นี้มีพระโคดมผู้เป็นสมณะหรือไม่มี จึงได้ตรัสพระคาถาแล้วเสด็จหายพระองค์

อธิบายว่า
              เหตุการณ์น่าจะเป็นดังนี้ว่า
              1. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพรหม ผิฉะนั้น บัดนี้ เราจะหายไปจากท่าน.
              2. เมื่อทรงหายพระกายแล้ว ทรงตรัสพระคาถาว่า
               เราเห็นภัยในภพ และเห็นภพของสัตว์ผู้แสวง
               หาที่ปราศจากภพแล้ว ไม่กล่าวยกย่องภพ
               อะไรเลย ทั้งไม่ยังนันทิให้เกิดขึ้นด้วย ดังนี้.
              ข้อ 2 นี้ ก็เพื่อแสดงว่า ยังทรงอยู่ที่นั้น แต่หายตัว ทำให้พรหมเห็นไม่ได้
ได้ยินแต่พระสุรเสียงเท่านั้น กล่าวคือไม่ได้เสด็จไปจากที่นั้นนั่นเอง.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๑๑. เมื่อทรงเทศน์จบ พรหมประมาณหมื่นองค์ ยังวิปัสสนาให้ถือเอาครรภ์
(ตั้งท้องแล้วก็คลอดเหมือนข้าวกล้าตั้งท้องแล้วก็ออกรวง) ตามแนวแห่งเทศนา
              แล้วก็ดื่มน้ำอมฤตคือมรรคผล.
              ขอบพระคุณค่ะ
6:24 PM 6/19/2013
อธิบายว่า
              เมื่อทรงเทศน์จบ พรหมประมาณหมื่นองค์ ได้ปัจจัยแก่วิปัสสนา
คือวิปัสสนาได้โอกาส ได้ปัจจัย จึงเจริญขึ้นตามแนวพระธรรมเทศนา
แล้วบรรลุมรรคผล.

ความคิดเห็นที่ 4-74
GravityOfLove, 19 มิถุนายน เวลา 23:52 น.

ขอบพระคุณค่ะ ตอบเร็วมากเลยค่ะ
แต่ว่าตอนนี้ง่วงแล้วค่ะ ไม่สดใสพอที่จะอ่านทำความเข้าใจ
ขออ่านพรุ่งนี้นะคะ

ความคิดเห็นที่ 4-75
ฐานาฐานะ, 19 มิถุนายน เวลา 23:53 น.

              รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 4-76
GravityOfLove, 20 มิถุนายน เวลา 13:16 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 4-77
GravityOfLove, 20 มิถุนายน เวลา 13:27 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค
๙. พรหมนิมันตนิกสูตร ว่าด้วยพกพรหมมีทิฏฐิอันลามก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=10134&Z=10286&bgc=papayawhip

              สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
             สมัยหนึ่ง ที่พระองค์ประทับที่โคนต้นรังใหญ่ในสุภควัน ใกล้เมืองอุกกัฏฐา
             พกพรหม (รูปพรหมชั้นที่ ๓ ผู้ได้ฌานที่ ๑) มีทิฏฐิอันลามก (ชั่ว) เกิดขึ้นว่า
             พรหมสถานนี้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ
             เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งนอกจากพรหมสถานนี้ไม่มี
(ไม่มีความหลุดพ้นอื่นที่ยิ่งกว่านี้)
             พระองค์ทรงทราบความปริวิตกแห่งใจ (ความคิดนึก) ของพกพรหมด้วยใจแล้ว
จึงหายพระองค์ไปปรากฏในพรหมโลกนั้น
             พกพรหมเมื่อเห็นพระองค์เสด็จมาแต่ไกล ก็ทูลเชิญเสด็จพระองค์
แล้วทูลเล่าทิฏฐิตนให้ทรงทราบ
             พระองค์ได้ตรัสกับพกพรหมดังนี้ว่า
             เพราะท่านมีอวิชชา (ความไม่รู้) จึงกล่าวดังนั้น คือกล่าวสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เที่ยง
             กล่าวสิ่งที่ไม่ยั่งยืนว่า ยั่งยืน
             กล่าวสิ่งที่ไม่มั่นคงว่า มั่นคง
             กล่าวสิ่งที่ไม่แข็งแรงว่า แข็งแรง
             กล่าวสิ่งที่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดาว่า ไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา
             แท้จริงแล้ว มีสัตว์ที่ทั้งเกิด ทั้งแก่ ทั้งตาย ทั้งจุติ ทั้งอุบัติในพรหมสถาน
แต่ท่านกลับกล่าวว่า พรหมสถาน ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ
             เหตุออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นอันมีอยู่ แต่ท่านกลับกล่าวว่า
ไม่มีเหตุออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งนอกจากพรหมสถาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_31
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อวิชชา

มารเข้าสิงกายพรหม
             มารเข้าสิงพรหมปาริสัชชะผู้หนึ่ง (รูปพรหมชั้นที่ ๑ ผู้ได้ฌานที่ ๑) แล้วกล่าวว่า
             ท่านอย่ารุกรานพกพรหมนี้เลย เพราะว่า พรหมผู้นี้เป็นมหาพรหม
             เป็นใหญ่ (ปกครองคณะพรหม) อันคณะพรหมฝ่าฝืนไม่ได้ เป็นผู้ดูทั่วไป
มีอำนาจเหนือสรรพสัตว์ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้างโลก นิรมิตโลก เป็นผู้ประเสริฐ
            เป็นผู้แต่งสัตว์ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้ว (ภูต)
และกำลังจะเกิด (ภัพย์หรือสัมภเวสี)
             สมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่านที่เป็นผู้ติเตียนดิน เกลียดดิน ... น้ำ... ไฟ
... ลม ... สัตว์ ... เทวดา ... ปชาบดี (มาร) ... พรหม (ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)
             สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อตายไป ต้องไปเกิดในหีนกาย
(พวกที่กายทราม หรือจตุราบาย (อบาย ๔))
             ส่วนสมณพราหมณ์พวกก่อนท่านที่เป็นผู้สรรเสริญดิน ชมเชยดิน ... น้ำ... ไฟ
... ลม ... สัตว์ ... เทวดา ... ปชาบดี ... พรหม (ว่าเที่ยงแท้ แน่นอน ถาวร ไม่ขาด ไม่สิ้น)
             สมณพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อตายไป ก็ไปเกิดในกายที่ประณีต (พรหมโลก)
             ดังนั้น ขอให้ท่านทำตามคำที่พรหมบอกเท่านั้น อย่าได้ฝ่าฝืน
             ถ้าฝ่าฝืนคำของพรหม โทษจะมีแก่ท่าน
             ท่านย่อมเห็นพรหมบริษัทประชุมกันแล้วมิใช่หรือ
(ว่า ผู้ดำรงอยู่ในโอวาทของมหาพรหม กระจ่างสว่างไสว รุ่งเรืองโชติช่วงเพียงไร)
             พระองค์ตรัสกับมารนั้นว่า
             แน่ะมาร เราย่อมรู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า เราไม่รู้จักท่าน
             แน่ะมาร ท่านเป็นมาร พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี
ทั้งหมดนั่นตกอยู่ในอำนาจของท่านได้ ท่านจึงคิดว่า แม้เราก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของท่าน
             แต่ว่าเราไม่ได้ตกอยู่ในอำนาจของท่านเลย
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาริสัชช&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อบาย_4

พกพรหมหายไปจากพระผู้มีพระภาค
             พกพรหมได้กล่าวแสดงทิฏฐิของตนเองอีกครั้ง และกล่าวว่า
             อายุทั้งสิ้นของท่านเท่าไร กรรมที่ทำด้วยตบะของท่านมีเท่านั้น
             สมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน รู้ซึ่งเหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่น
ว่า มี หรือไม่มี (ส่วนท่านเพิ่งเกิด จะรู้อะไร)
             เหตุที่เรากล่าวกับท่านอย่างนี้ เพราะว่าท่านไม่เห็นเหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์
อย่างยิ่งอื่นเลย
             และท่านจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก แห่งความคับแค้นอย่างเดียวเท่านั้น
             ถ้าท่านกลืนกินแผ่นดินได้ (ยึดถือแผ่นดินด้วยอำนาจตัณหา มานะ และทิฏฐิ)
             ท่านก็จะชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่อยู่ของเรา
(เราจะปกป้องท่าน ทำท่านให้เป็นคนสนิท)
             เราพึงทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้ (เราจะทำอย่างไรกับท่านก็ได้)
             ถ้าท่านกลืนกินน้ำได้ ... ไฟ ... ลม ... เหล่าสัตว์ ... เทวดา ... ปชาบดี ...
พรหมได้ไซร้
             ท่านก็จะชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่อยู่ของเรา
เราพึงทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้
             พระองค์ตรัสว่า
             เราก็รู้ว่า ถ้าเราจะกลืนกินแผ่นดิน ...  ท่านพึงทำได้ตามประสงค์ ท่านพึงห้ามได้
             แต่เรารู้ยิ่งกว่านั้น เราย่อมรู้ความสำเร็จ (คติ) และย่อมรู้อานุภาพของท่านว่า
             พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้
             พกพรหมทูลถามพระองค์ว่า ท่านรู้อย่างไร
             พระองค์ตรัสตอบว่า
             ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมโคจรส่องทิศให้สว่างอยู่เท่าใด                          
อำนาจของท่านย่อมเป็นไปในพันจักรวาลเท่านั้น
             ท่านย่อมรู้จักสัตว์ที่เลวและสัตว์ที่ประณีต รู้จักสัตว์ที่มีราคะและสัตว์ที่ไม่มีราคะ
รู้จักจักรวาลนี้และจักรวาลอื่น
             และรู้จักความมา (ด้วยการปฏิสนธิ) และความไป (ด้วยการจุติ)
ของสัตว์ทั้งหลาย (ในพันจักรวาลเท่านั้น)
             ยังมีกาย ๓ อย่าง ที่ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เราเห็น นั่นคือ
             - กายชื่ออาภัสสระ (รูปพรหมชั้นที่ ๖ ผู้ได้ฌานที่ ๒)
             - สุภกิณหะ (รูปพรหมชั้นที่ ๙ ผู้ได้ฌานที่ ๓)
             - เวหัปผละ (รูปพรหมชั้นที่ ๑๐ ผู้ได้ฌานที่ ๔) มีอยู่
             ท่านเคลื่อนจากที่ใด (เคลื่อนจากชั้นเวหัปผละ มาชั้นสุภกิณหะ แล้วมาชั้นอาภัสสระ)
แล้วมาอุบัติแล้วในที่นี้ (ผู้ได้ฌานที่ ๑)
             ท่านมีสติหลงลืมไป เพราะความอยู่อาศัยนานนัก เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงไม่รู้ไม่เห็นกายนั้น
             เราเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ยิ่งอย่างนี้
             ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน ที่แท้เรานี่แหละเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน
             เรารู้จักดินโดยความเป็นดิน
             รู้จักนิพพานอันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน
(สัตว์ครอบครองไม่ได้ บรรลุไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน)
             แล้วไม่เป็นดิน ไม่ได้มีแล้วในดิน ไม่ได้มีแล้วแต่ดิน ไม่ได้มีแล้วว่าดินของเรา
ไม่ได้กล่าวเฉพาะดิน (ไม่ยึดถือดินด้วยอำนาจปปัญจธรรม ๓ - ตัณหา มานะ และทิฏฐิ)
             เราเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้
             ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน ที่แท้เรานี่แหละเป็นผู้สูงกว่าท่าน
             เรารู้จักน้ำ ... ไฟ ... ลม ... เหล่าสัตว์ ... เทวดา ... ปชาบดี ... พรหม ...
พวกอาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อภิภูพรหม (อสัญญีสัตว์) ...
             เรารู้จักสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นสิ่งทั้งปวง
             รู้จักนิพพานอันสัตว์เสวยไม่ได้ โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง
             แล้วไม่เป็นสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีแล้วในสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีแล้วแต่สิ่งทั้งปวง
ไม่ได้มีแล้วว่าสิ่งทั้งปวงของเรา ไม่ได้กล่าวเฉพาะสิ่งทั้งปวง
             เราเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้
             ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน ที่แท้เรานี่แหละเป็นผู้สูงกว่าท่าน

             พกพรหมทูลว่า
             ท่านกล่าวว่า นิพพานนั้น สัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง
ถ้อยคำของท่านอย่าได้ไร้ประโยชน์หรืออย่าได้เป็นเท็จเสียเลย
(พกพรหมข่มว่า พระองค์ตรัสคำเท็จ เพราะเขาคิดว่า สิ่งทั้งปวงนั้นหมายถึงทุกๆ สิ่ง)
             (พระองค์จึงตรัสว่า) นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้
             เป็นอนิทัสสนะ (ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ)
             เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด หรือ หายไปจากความเกิดขึ้นและ ความเสื่อม)
             มีรัศมีในที่ทั้งปวง อันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน
... โดยความที่สิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งทั้งปวง
             (สัตว์ที่มีอวิชชาอยู่ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานไม่ได้เลย
สัตว์ที่มีอวิชชาอยู่ สำคัญสิ่งทั้งปวง ก็เพียงสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งเท่านั้น
              ดังนั้น สิ่งทั้งปวงตามสัตว์ที่มีอวิชชาอยู่ รู้อยู่ เห็นอยู่นั้น ไม่รวมพระนิพพาน
เพราะสัตว์ที่มีอวิชชาอยู่ ไม่รู้จักพระนิพพานโดยการทำให้แจ้ง)

             พกพรหมทูลกับพระองค์ว่า บัดนี้เราจะหายไปจากท่าน
             (หลังจากที่พระองค์ทรงแสดงบุพกรรม (ความเป็นมา) ของพกพรหมแล้ว
พกพรหมก็หมดหนทางโต้แย้ง จึงอยากแสดงอานุภาพของตนด้วยการหายตัว)
             แต่ก็ไม่สามารถหายตัวไปได้
             พระองค์จึงตรัสกับพกพรหมว่า บัดนี้เราจะหายไปจากท่าน
             ทรงบันดาลอิทธาภิสังขารให้พระกายหายไป
             ทั้งพรหม พวกพรหมบริษัท พวกพรหมปาริสัชชะจึงได้ยินแต่เสียงพระองค์
โดยไม่เห็นพระกาย
             พระองค์ตรัสคาถา (ร้อยกรอง) ว่า
                       เราเห็นภัยในภพและเห็นภพของสัตว์
                       ผู้แสวงหาที่ปราศจากภพแล้ว (วิภพ)
                       ไม่กล่าวยกย่องภพอะไรเลย
                       ทั้งไม่ยังนันทิ (ในที่นี้หมายถึงภวตัณหา) ให้เกิดขึ้นด้วย (ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ)

             ครั้งนั้น บริษัทเหล่านั้นได้มีความแปลกประหลาดอัศจรรย์ใจว่า
             น่าอัศจรรย์ แปลกประหลาดหนอ พระสมณโคดม มีฤทธิ์มาก
             เราไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ยินสมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่มีฤทธิ์มากเหมือน
พระสมณโคดมนี้ ผู้ออกผนวชแต่ศากยสกุล
             ผู้ถอนภพพร้อมทั้งรากแห่งหมู่สัตว์ ผู้รื่นรมย์ยินดีในภพ เมา (เพลิดเพลิน) ในภพ

             เมื่อทรงเทศน์จบ พรหมประมาณหมื่นองค์ ได้ปัจจัยแก่วิปัสสนา
จึงเจริญขึ้นตามแนวพระธรรมเทศนาแล้วบรรลุมรรคผล
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=รูปาวจรภูมิ_16&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปปัญจธรรม_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภพ_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ตัณหา_3
             มูลปริยายสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=0&Z=237&pagebreak=0
//2g.pantip.com/cafe/religious/topic/Y12560599/Y12560599.html#15

[มีต่อ]

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑



Create Date : 06 ธันวาคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:31:14 น.
Counter : 464 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog