กาแฟอีกแก้วที่อยากให้เพื่อนลองชิม กลมกล่อมพอจะเสริฟได้หรือไม่
Group Blog
 
All Blogs
 

จักรพรรดิมุสลิมองค์แรกของอินเดีย

สุลต่าน กุตาบ-อุด-ดิน ไอบาค Sultan Qutb-ud-din Aibak
คำว่า กุตาป Qutb บางคนไทยก็จะอ่านว่า กุตุป ซึ่งพระองค์ เป็นที่รู้จักกันในพระนาม สุลต่าน ลาข์ บาฆษ์ แปลว่า ผู้ให้ทานนับแสน the donator of hundreds of thousands และคำว่า กุตตาบ-อุด-ดิน มีความหมายว่า แกนหลักแห่งศรัทธา Axis of the Faith นอกจากนี้ยังทรงได้รับพระนามว่า ลาข์ อัณฐาตาLakh Annadata ซึ่งแปลว่า ผู้ให้ธัญพืชนับพัน the giver of thousands of grains
กุตาป-อุด-ดิน ทรงเป็นจักรพรรดิมุสลิมองค์แรกที่ปกครองอินเดียที่สืบเชื้อสายมากจากผู้ปกครองชาวเติร์กในดินแดนเอเซียกลาง มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงเดลฮีห์ โดยทรงก่อตั้งราชวงศ์กฮูลามของอินเดีย แม้ว่าทรงปกครองได้เพียง 4 ปี จากปีค.ศ.1206-1210 แต่ก็ได้ทรงสร้างระบบการปกครองที่สมบูรณ์ ยอดเยี่ยม ขณะเดียวกันก็ทรงวางรากฐานกฎหมายที่มั่นคงด้วยวิสัยทัศน์อันยาวไกล มีสถาปัตยกรรมมากมายที่บ่งบอกถึงความอยู่ดีมีสุขในยุคที่พระองค์ปกครอง ทำให้พระนามของพระองค์ไม่สามารถแยกออกได้จากประวัติศาสตร์ของเอเชียใต้ได้ และหนึ่งในสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ของพระองค์ก็คือ หอคอยกุตตาบ มีนาร์ หนึ่งในสถานที่ทางประวัติศาสตร์สำคัญของกรุงนิว เดลีฮ์ โดยในเบื้องต้นเป็นการมาเพื่อประกาศความศรัทธาที่มีต่อศาสนาอิสลามในดินแดนอนุทวีปและครั้งที่สองเป็นการประกาศชัยชนะในการรบครั้งใหญ่เหนือกองทัพของอาณาจักรราชปุต ซึ่งเป็นผู้ปกครองฮินดูเดิม

ชีวิตในช่วงต้นของไอบาค Early years of Aibak
กุตาป-อุดดิน ทรงถือกำเนิดที่ใดสักแห่งในเอเชียกลาง ขณะที่บางเอกสารเชื่อว่าพระองค์เป็นลูกทาสในตุรกี ดินแดนอันรุ่งเรืองของชาวเติร์กที่พระองค์สืบเชื้อสายมา เข้าใจกันว่าในวัยเยาว์พระองค์เป็นเด็กที่ถูกจับและขายเป็นทาส และหัวหน้าผู้รักษากฎหมายอิสลามของเมืองนิษปูร์ ได้อบรมสั่งสอนพระองค์ดั่งลูกชายของเขา ซึ่งเด็กชายไอบาคในขณะนั้น ได้รับการศึกษาชั้นสูง พร้อมฝึกฝนศิลปะการยิงธนูและขี่ม้า ทำให้เป็นนักรบที่กล้าหาญ นักปกครองที่ดี และฉลาดหลักแหลม โดยมีความรู้ทั้งภาษาเปอร์เซี่ยนและอารบิค
หลังการเสียชีวิตของอาจารย์ หนุ่มไอบาคได้ถูกขายเป็นทาสให้กับพ่อค้าทาสอีกครั้ง โดยบุตรชายของอาจารย์ที่อิจฉาริษยาเขามาโดยตลอด และไอบาคก็ถูกขายต่อเป็นทอดจนสุดท้าย เขาก็ถูกซื้อโดยนายพล ซาห์อับ-อุด-ดิน มูฮัมหมัด เการี ผู้ยิ่งใหญ่ ครั้งที่ยังที่เป็นผู้ปกครองแคว้นกัซนี ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน ที่ต่อมานายพลผู้ได้กลายเป็นสุลต่านแห่งกฮอร์

การขึ้นสู่อำนาจ Rise to power
การเริ่มต้นที่ดินแดนกฮอร์ อันเป็นถิ่นฐานของชาวไอแมค ชนเผ่าเร่ร่อนที่อาศัยอยู่บนที่สูงทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน, ซาห์อับอุดดิน เการี ซึ่งมีลักษณะพิเศษในทางประวัติศาสตร์ ที่ทำให้เขาสามารถขยายอาณาเขตปกครองออกไปได้กว้างไกล ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอัฟนิสถาน, ปากีสถาน และทางตอนเหนือของอินเดีย และภายใต้การนำของเขา, กุตตาบอุดดิน ได้เป็นหัวหอกในการขยายอาณาเขตทางตะวันออกไปยังเดลีฮ์ ซึ่งเขาทำสำเร็จและได้เป็นข้าหลวงปกครองดินแดนทางตอนเหนือของอินเดีย
ไอบาค เป็นผู้มีศรัทธาต่อศาสนามากและได้ก่อตั้งระบบการบริหารงานแบบมุสลิมที่ตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็น การบริจาคเพื่อเป็นภาษีให้แก่รัฐ, การออกกฎหมาย, การจัดสันปันส่วนที่ดินและรายได้ต่าง ๆให้กับเหล่าขุนนางภายใต้การปกครองของเขาอย่างยุติธรรม และการบริหารสาธารณกิจต่าง ๆ ของรัฐบนพื้นฐานของการผสมรวมของคนท้องถิ่นที่ได้รับคัดสรร โดยมีขุนนางในราชสำนักมาสุระ Mashura courts และผู้คัดเลือกรายชื่อในทุกตำแหน่งที่มั่นใจว่าเป็นบุคคลที่มีผลการปฏิบัติราชการดี
กุตาป-อุดดิน ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิ เนื่องจากเป็นนายพลที่ได้รับการไว้วางใจมากที่สุดของ โมฮัมหมัด เการี Mohamad Gauri สุลต่านแห่งอาณาจักรกฮอร์ และขณะเดียวกันกองทัพอันเกรียงไกรของเขาก็เป็นที่ประจักษ์ถึงความสามารถในการวางแผนการรบและความเป็นผู้นำของ จากการมีชัยในสมรภูมิที่เดลีฮ์เช่นกัน ซึ่งกุตาปต้องรับภาระในการนำพาความสำเร็จในการภารกิจพิชิตดินแดนตอนเหนือของอินเดีย และหลังปีค.ศ.1192 เขาได้ปล่อยเหล่าเชลยศึกชาวอินเดียและการรีดภาษีจากประชาชนในพื้นที่ ๆ เขาพิชิตได้ตามโองการของสุลต่านเการี ในขณะที่สุลต่านเการีเองก็กำลังหมกมุ่นกับสงครามขยายอาณาเขตอยู่ในเอเชียกลาง



ในปีค.ศ.1206 จักรพรรดิ เการี ได้มีโองการแต่งตั้ง กุตาป-อุด-ดิน ไอบาค เป็นนาอิบ อุส สุลต่านปกครองอินเดียอยู่ที่ลาฮอร์ ระหว่างการประชุมเหล่าขุนนางครั้งใหญ่ ที่เดินทางมาจากดินแดนต่าง ๆ ภายใต้การปกครองของเขา โดยพระราชทานให้มีชั้นยศนำหน้านามแก่ไอบาค ว่า กุตาป-อุด-ดิน ซึ่งแปลว่า แกนหลักแห่งศรัทธา

การก่อตั้งสุลต่านแห่งเดลีฮ์ Founding of the Delhi Sultanate
หลังจากสุลต่าน โมฮัมหมัด เการี แห่งแคว้นกฮอร์ ได้ก่อตั้งรัฐมุสลิมในดินแดนตอนเหนือของอินเดียเป็นอาณาจักรในปกครองในปีค.ศ.1206 และได้สิ้นพระชนม์ลงภายในปีเดียวกัน ซึ่งกุตตาบได้พยายามอย่างที่ในการรวบอำนาจการปกครองและปราบดาภิเษกเป็นผู้ปกครองอาณาจักรที่มีอาณาบริเวณครอบคลุมทั้งอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน และทางตอนเหนือของอินเดีย แต่สินทรัพย์มีค่ามากมายของซาห์อับอุดดิน โมฮัมเหม็ด เการี ได้ถูกกองทัพของเจงกิสข่าน ราชันแห่งนักรบบนหลังม้ายึดไป
เนื่องจากพื้นที่เคยเป็นอาณาเขตของ โมฮัมหมัด เการี นั้นกว้างใหญ่เกินกว่าการบังคับใช้กฎหมายและการเรียกเก็บภาษีของไอบาคไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพที่บังคับใช้กับขุนนางท้องถิ่นต่าง ๆ ระหว่างการปกครองเขาก็ไม่คิดที่รุกรานอาณาจักรอื่นและมุ่งพัฒนาอาณาจักรของเขาให้มั่นคงไม่สูญเสียดินแดนในแก่อาณาจักรใด ดังนั้นตลอดระยะ 4 ปีภายใต้การปกครองของไอบาค เขาได้สร้างความมั่นคงให้กับระบบการบริหารแผ่นดินที่สร้างมาด้วยมือของซาห์อิบอุดดิน โมฮัมเหม็ด เการี ผู้ที่เป็นทั้งอดีตผู้ปกครองและอาจารย์ของเขา ความสำเร็จในการปกครองของเขา แม้จะมีการก่อกบฏและก่อจลาจลโดย ตาจ-อุด-ดิน อิลดิซและนาสเซอร์-อุด-ดิน คูบาฆา ซึ่งเป็นขุนนางที่มีอำนาจอยู่บ้างก็ตาม และกุตตาบอุดดินก็ได้ย้ายเมืองหลวงจากลาฮอร์เดิมมายังเมืองหลวงใหม่ ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของเขา ทำให้เขาได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้ปกครองมุสลิมคนแรกในดินแดนเอเซียใต้
กุตตาบอุดดิน ไอบาค เป็นนักสร้างที่ละเอียดลออและสลับซับซ้อนมาก เห็นได้จากสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เช่น หอสังเกตการณ์ จุดตรวจ จุดเรียกเก็บภาษี และบางส่วนของป้อมปราการในเมืองสำคัญภายในอาณาจักรของเขา ถูกสร้างอย่างแน่นหนา ป้องกันการปล้นสะดมจากเหล่าขุนศึกบนหลังม้าของกองทัพมองโกล ขณะเดียวกันเขาก็ได้สร้างสุเหร่าคิววัต-อุล-อิสลามและหอคอยกุตตาบ ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานในแบบมุสลิมเป็นครั้งแรกของเดลีฮ์ ซึ่งเมาราน่า ฮาคิม ซายอิด อับดุล ฮาไอ นักประวัติศาสตร์มุสลิม ผู้ที่ได้รวบรวมและบันทึกอัตชีวประวัติของเขาไว้ เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าไอบาคเป็นพวกลัทธิทำลายรูปเคารพ ซึ่งส่งผลทำให้ศาสนาฮินดูและพุทธให้ต้องสูญสลายในดินแดนอนุทวีปในเวลาต่อมา ตามความเชื่อทางศาสนาอิสลามที่ห้ามไม่ให้มีการบูชารูปเคารพใด ๆ นอกเหนือจากพระเจ้าสูงสุดที่ไม่มีรูปเคารพใดเทียบเคียงได้
ไอบาค ได้รับการขนานนามว่า ลาข์ บาฆษ์ หรือผู้ให้ทานนับแสน เนื่องจากเขาเป็นคนที่มีจิตเมตตากรุณาและปฏิบัติตัวเป็นมุสลิมที่เคร่งครัด ซึ่งได้รับการสรรเสริญจากเหล่านักสอนศาสนาถึงความดีและการใช้ชีวิตอย่างสมดุล และได้อุปถัมภ์รับเลี้ยงนิซามิ Nizami และฟาข์-อี-มุดอับบีร์ Fah-i-Mudabbir ทั้งคู่ก็ได้เป็นทาซุล มาเซอร์ Tazul Maasir ซึ่งเป็นต้นห้องของสุลต่านกุตตาบอุดดิน ไอบาค

การสวรรคตและการสืบสันตติวงศ์ Death and Succession
สุลต่านกุตตาบอุดดิน ไอบาค ทรงสิ้นพระชนม์ในอุบัติเหตุระหว่างที่ทรงพระเกษมสำราญบนหลังม้าในกีฬาโปโลที่ลาฮอร์ โดยม้าของพระองค์ล้มลงและสุลต่านได้กระแทกกับปุ่มบนอานม้าของพระองค์ ในปีค.ศ.1210 และผู้ที่ได้ขึ้นปกครองแทนก็คือ อาลัม และได้สิ้นพระชนม์ในปีค.ศ.1211 และผู้ที่สืบต่อก็คือ ซามส์-อุด-ดิน อิลตุสมิช และผู้ปกครองเชื้อสายเติร์กคนอื่น ๆในฐานะสุลต่านแห่งเดลีฮ์ ซึ่งเคยเป็นคนรับใช้ของสุลต่านไอบาคและได้แต่งงานกับลูกสาวทั้งสามคนของเขา
พระศพของสุลต่านได้ฝังไว้ที่ใกล้ ๆ กับ อนาร์กาลี บาซาร์ ใน ลาฮอร์ ในปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของปากีสถาน ซึ่งได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในปีค.ศ.1970 โดยนายกรัฐมนตรี




 

Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2554    
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2554 6:32:27 น.
Counter : 2839 Pageviews.  

เขาลือกันว่า กาแฟลาว นั้นดีจริงหรือไม่

จากที่ได้อ่านบทความของเพื่อน ๆ ร่วมบล็อกแก็งค์เกี่ยวกับกาแฟจากแดนจำปาสักนคร ที่เราเคยไปยึดเขามาแล้วโดนเศษฝรั่งขู่กรรโชกไปอีกทอดนึง ซึ่งผมเคยได้ยินกิตติศัพท์ที่เขาเล่าลือมาเช่นกัน ซึ่งเท่าที่รู้ก็อยู่ที่โรงแรมตาดฟาน (Tad Fane Hotel) เรียกชื่อถูกหรือป่าวไม่รู้ ซึ่งคนละที่กันกับของเพื่อนคนดังกล่าว ในใจก็อิจฉาว่า มีคนได้ไปลิ้มลองอีกแล้วหนึ่งคน ส่วนเรายังหาโอกาสไปได้สักที แต่ก็ต้องขอบคุณกับภาพถ่ายที่แบ่งปันให้ชมกัน และรับทราบว่ามีอีกหนึ่งแห่งที่รสชาดดี

ผมได้มีโอกาสไปตะลอนแถวอีสานและหลุดเข้าไปถึงเวียนจันทน์ เลยได้กาแฟคั่วมาห่อหนึ่ง ซึ่งหีบห่อดีไม่เท่ามาตรฐานกาแฟไทยเท่าใดนัก และพิมพ์ชื่อว่า ปากเซ (PAKSE) เพื่อนในวงการกาแฟคั่วคนนึงของผมบอกว่า น่าจะมาจากดาวเรืองอุตสาหกรรม ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าใช่หรือไม่ เพราะไม่พิมพ์บอกไว้
เมื่อดูเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ที่ค่อนข้างใส ทำให้เห็นเมล็ดคั่วที่เริ่มมีน้ำมัน หรือที่หลายคนเรียกว่าเหงื่อกาแฟ ไหลออกมาเคลือบบ้างแล้ว นอกจากถูกทิ้งไว้ในหีบห่อนานเกินไป ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากร้านกาแฟสดทั่วไป ที่เมล็ดกาแฟภายในโหล ค้างเป็นอาทิตย์แล้วยังไม่ถูกซิวขึ้นห้อง (มะช่ายอย่างง้าน) โดยปกติร้านกาแฟที่ดีต้องสั่งเมล็ดกาแฟเก็บไว้เพื่อขายไม่เกินอาทิตย์ แต่บางร้านก็ต้องสั่งตามจำนวนขั้นต่ำ(ไม่งั้นไม่คุ้มค่าส่ง)แล้วยังขายไม่หมด
หากระยะเวลาเกินกว่านั้น ต้องมีบรรจุภัณฑ์อย่างดี เช่น บรรจุในซองฟอยด์และมีวาล์วระบายอากาศด้านบนที่เป็นแผ่นพลาสติกคล้ายเม็ดกระดุม ที่ต้องมีเพราะความร้อนจากภายนอกทำให้เกิดก๊าซภายในหีบห่อและบวมขึ้นได้ ทำความเสียให้กับกาแฟได้ ซึ่งวาล์วมาจากทางตะวันตกจะมีคุณภาพแต่แพงมาก หากมาจากจีนแม้จะมีราคาถูกแต่คุณภาพจะต่ำกว่า หรือการบรรจุในซองฟอยด์สูญญากาศแล้วนำไปแช่ในตู้เย็นเพื่อลดอุณหภูมิและการกระจายตัวของกลิ่นซึ่งอยู่ได้นานเป็นเดือน หรือบางที่ก็ใช้วิธีแบ่งเป็นซองเล็ก ๆ นำมาใช้เท่าที่จำเป็น ซึ่งกิจการร้านกาแฟประเภทเฟรนด์ไชส์ดัง มักใช้วิธีนี้ในการควบคุมสินค้าคงเหลือกัน

กาแฟแก้วแรกจากปากเซ ที่ผมได้ชิม ด้วยอุปกรณ์การบดและชงที่แสนจะธรรมดา เริ่มจากการบดด้วยครกหิน ในขณะที่กาแฟก็ต้มในหม้อมีด้ามคนจนมีกลิ่นหอมได้ที่ แล้วกรองด้วยผ้ากรองกาแฟโบราณ ทำให้สัมผัสถึงรสชาดใหม่ของกาแฟที่ผสมสารแคปไซซินของพริกที่ติดอยู่ที่ครกมาด้วย ส่วนแก้วถัดมาผิดเป็นครู เลยใช้ที่ปั่นพริกที่ให้มาพร้อมกับโถปั่นน้ำผลไม้แทน และเมื่อนำไปเสริฟให้เพื่อนทั้งคอกาแฟและคอห่าน ปรากฏว่าทุกคนพูดกับเป็นเสียงเดียวกันว่าหอม อร่อย บางคนบอกว่ามันมีเปรี้ยวติดปลายลิ้นทำให้อยากดื่มต่ออีก บางคนก็บอกรสชาดดีไม่เคยมาก่อน

แต่สำหรับผมแม้จะไม่ใช่กาแฟที่เข้มข้นดังเช่นกาแฟที่จากเครื่องกลั่นเอสเพรสโซแต่ก็หอมติดจมูกและกลมกล่อมติดปลายลิ้นเช่นกัน เหมาะสำหรับท่านที่ชื่นชอบกาแฟร้อนในกาเฟร้นเพลส (French press) กับบรรยากาศสบาย ๆ ไม่รีบร้อนนัก ในมุมโปรด กับหนังสืออีกสองสามเล่ม

นี่แหล่ะครับ Coffee Time ที่หลายคนอยากมี แล้วคุณล่ะครับ หาเวลาให้กับตัวเองบ้างหรือยัง...




 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 15 มิถุนายน 2551 23:20:07 น.
Counter : 3316 Pageviews.  

เขาเรียกฉันว่า กาแฟ

หากเราได้รู้จักสิ่งได้สักเรื่องแล้ว เราคงอยากจะรู้จักมากขึ้นในสิ่งนั้น จากมุมมองอื่น และเช่นเดียวกัน Coffee คือ ภาษาที่แตกต่างที่เราคุ้นเคยกันดี อยากรู้บ้างไม๊ว่าชาวโลกในมุมต่าง ๆ ของโลก เขาเรียกว่าอย่างไร

Kalawa เคนยา
Masbout อียิปต์
Kave อิสราเอล
Qahwe/Kahwa ประเทศในกลุ่มอาหรับ
Qahwa อิรักและเลบานอน
Kefes กรีซ
Kava เชคและบอสเนีย
Coffea อิตาลี
Cafe ฝรั่งเศส
Kafe สเปน
Koffie เนเธอร์แลนด์
Kaffee เยอรมันนีและกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียน
Kawa โปแลนด์
Kafei จีน (กลาง)
Koohii ญี่ปุ่น
Kape ฟิลิปปินส์
Kafe ลาว
และ กาแฟ ที่เรียกเพี้ยนมาจากชาวจีนที่หอบหิ้วมาและคั่วผสมกับธัญพืชต่าง ๆ ในท้องถิ่น ซึ่งเหตุผลหนึ่งมาจากต้องการลดต้นทุน เนื่องจากยุคแรก ๆ นั้น ต้องนำเข้าเมล็ดกาแฟ 100 % และให้รสชาดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว บางสูตรใส่เม็ดมะขาม บางสูตรใส่เนยเพื่อหอม บางสูตรใส่งา แล้วแต่สูตรใครสูตรมัน

แต่งานวิจัยบางชิ้นบอกว่า กาแฟโบราณบางสูตร มีส่วนประกอบของสารก่อมะเร็ง ที่เกิดจากการคั่วไหม้ของวัตถุดิบหลายชนิดด้วยกัน และจะปลอดภัยมากกว่าหากดื่มกาแฟที่ไม่คั่วจนไหม้เกินไป ซึ่งจะให้แค่ความขมและสารก่อมะเร็ง




 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 15 มิถุนายน 2551 23:21:09 น.
Counter : 337 Pageviews.  

อีกหนึ่งหน้าเกี่ยวกับกาแฟ

ผมจำได้ว่าตั้งแต่เล็กเครื่องดื่มที่ผมรู้จักนอกจากน้ำอัดลมชื่อดัง ที่ปัจจุบันก็ยังโด่งดังติดปากติดลิ้นคนไทยอยู่ ก็คือ กาแฟ และโอเลี้ยง ซึ่งกาแฟสีน้ำตาลจะมีทั้งร้อนและเย็น และโอเลี้ยงสีดำจะมีแต่เย็น เพราะถ้าเป็นโอเลี้ยงร้อน ปู่บอกว่า เขาเรียกว่า โอยั๊วะ (ในภาพความจำในวัยเด็ก เป็นคนจีนแก่ ๆ ที่โมโห)

และเมื่อผมโตพอที่จะหาดื่มเองได้ โดยไม่ต้องรอได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่แล้ว กาแฟหรือโอเลี้ยง จะถูกสั่งมาเพื่อเป็นเครื่องดื่มแห่งความเป็นผู้ใหญ่ แต่ก็ไม่ได้มีความหมายมากกว่าน้ำอัดลมชนิดต่าง ๆ ที่เหล่าเด็กชื่นชอบกันจนถึงปัจจุบัน (คุณด้วยหรือปล่าว)

จนวันหนึ่งผมไปทำงานที่ขอนแก่น และได้สัมผัสรสชาดของกาแฟสด ประกอบกับ คุ้นเคยเจ้าของร้านทำให้เริ่มรู้จักกาแฟสดมากขึ้น รวมทั้งเริ่มเข้าใจภาพวงการกาแฟบ้างในฐานะนักชิมใหม่ หน้าแก่คนนึง ที่ในบางครั้งก็เอาครกมากตำเม็ดกาแฟที่คั่วบดแล้ว (ยังไม่มีเครื่องบด) แล้วต้มกับน้ำในหม้อต้มหูเดียว (แบบหนังตะวันตก) ต่อจากนั้นก็นำมากรองด้วยผ้ากรองกาแฟโบราณ แม้จะไม่ได้ความเข้มเท่าเครื่องชงแบบเอสเพรสโซ่ แต่ก้อเป็นความหอมหวลที่เรียบง่ายอีกแบบที่หาได้ยามขัดสน

วันนี้ขอคุยเรื่องรสชาดกาแฟแต่ละชนชาติให้ฟังพอคร่าว ๆ จากเขา ๆ ที่เล่าให้ฟังครับ
- ชาวไทยชอบขมอมเปรี้ยว แล้วตามด้วยหวานของนมข้น
- ชาวเม็กซิกันรสขมที่อบอวลด้วยอบเชย
- ชาวเยอรมันและสวิส ดื่มกาแฟต้องมีช็อคโกแลตเติมในปริมาณเท่ากัน
- ชาวโมร็อคโคเกือบทุกแก้วต้องมีพวงเม็ดพริกไทย
- ชาวแอฟริกันเกลือหนึ่งหยิบมือช่วยให้กาแฟกลมกล่อมมากขึ้น
- ชาวตะวันออกกลางกระวานและเครื่องเทศคือวัฒนธรรมที่ใส่ลงในกาแฟ
- ชาวออสเตรเลียกาแฟที่ปิดทับด้วยวิปครีมทำให้รสชาดนุ่มนวลขึ้น
- ชาวอเมริกันสีน้ำตาลเข้มจนดำ เพียว ๆ คือรสชาดแท้ตั้งแต่ยุคคาวบอย

และผมกาแฟดำเพียวกับมะตูมแห้งหนึ่งชิ้น ช่วยขับกลิ่นที่แตกต่างจากเดิม ให้หอมอบอวลคู่ความเข้มของกาแฟคั่วกลาง ดื่มเมื่อไรก็ไม่รู้จักพอ

ส่วนคุณล่ะครับ พบกาแฟในแบบฉบับของคุณหรือยัง?




 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2550 21:53:41 น.
Counter : 292 Pageviews.  


NACBIZ
Location :
จันทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add NACBIZ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.