Group Blog
 
 
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
27 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์

 “ธุรกิจจะดำเนินไปได้หรือขยายตัวได้ และจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่คน ทุกอย่างล้วนมาจากคน เงินก็มาจากคน เทคโนโลยีก็มาจากคน ผมถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญล้ำค่าอันเป็นหัวใจขององค์กรทุกองค์กร เราจึงต้องมีคนที่มีความรับผิดชอบสูง มีความมานะพยายาม มีความรู้ความสามารถ และมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่ในองค์กรให้มากๆ จึงจะสามารถนำองค์กรหรือบริษัทไปสู่ความสำเร็จได้”
ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์

ความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
 Human resource management [HRM] หมายถึง กระบวนการจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา และการรักษาคุณภาพการทำงานของทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการให้ความสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในองค์การ
 การจัดการเกี่ยวกับนโยบาย การปฏิบัติ และระบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ทัศนคติ และผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

สรุป
 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การแสวงหาวิธีการในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการบุคลากรขององค์การ เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ คุณสมบัติ และจำนวนที่เหมาะสมกับองค์การ รวมทั้งการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติอันดีต่อการทำงาน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความพึงพอใจของบุคลากรแต่ละคนด้วย

ความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
 เป็นวิธีการจัดการให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• เพิ่มศักยภาพของบุคลากร ด้วยกระบวนการพัฒนาตนเอง มีความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน พึงพอใจในงานและมีความสุขในการดำเนินชีวิต
• ช่วยพัฒนาองค์การ ประสิทธิภาพของบุคลากรทำให้องค์การเจริญก้าวหน้า มั่นคง มีผลกำไร
• ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม บุคลากรมีความมั่นคงในอาชีพ มีรายได้ดี ครอบครัวมีความสุข มีความอบอุ่นทำให้ชุมชนเกิดความมั่นคงแข็งแรงและอบอุ่นด้วย

ความเป็นมาและหลักการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1. ยุคสวัสดิการ : เริ่มต้นกลางศตวรรษที่ 18 (อังกฤษ) กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ
ฝ่ายแรงงานมีสวัสดิการในการทำงาน
2. ยุควิทยาศาสตร์การบริหาร : ศึกษาวิธีการทำงาน
 ลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายเทียบกับเวลาที่ใช้ และที่สัมพันธ์กับเครื่องจักร โดยใช้เวลาที่น้อยที่สุด
 ให้ความสำคัญกับ งาน (ทักษะ ความชำนาญ) มากกว่าจิตใจคน
 ระบบการให้รางวัลทำให้คนปฏิบัติงานดีขึ้น
 แบ่งงานกันทำตามความสามารถ
3. ยุคอุตสาหกรรมสัมพันธ์ : นายจ้างและลูกจ้างร่วมมือกันคิดหาวิธีทำงานที่สนองความต้องการของตลาด ร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม (Teamwork spirit)
 สามารถสร้างประสิทธิภาพการผลิต ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ ISO 9000
4. ยุควางแผนกำลังคน(ป้องกันปัญหาว่างงาน หาวิธีการปรับปรุงกระบวนการผลิต และกำลังคนให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการฝึกอบรม)
 การวางแผนอัตรากำลังคน
 ใบพรรณนางาน (Job Description)
 ขั้นตอนกิจกรรมงาน (work flow)
 โครงสร้างตำแหน่งงาน (position structure)

5. ยุคบริหารศาสตร์ :
 งานมีขอบเขตชัดเจนแน่นอนเป็นงานประจำ เช่น งานบัญชี งานจ่ายเงินเดือนค่าจ้าง งานประกันสังคม งานบันทึกประวัติ
 งานขอบเขตไม่ชัดเจน เป็นงานแก้ไขปัญหา พัฒนา เช่นงานวิเคราะห์ข้อมูล วางแผน คาดการณ์

วัตถุประสงค์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
• เพื่อให้มีบุคลากรอย่างเพียงพอ
• เพื่อให้องค์การมีบุคลากรที่มีคุณภาพ
• เพื่อให้องค์การมีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้
• เพื่อให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ระดับการบริหาร
ผู้บริหารระดับสูง กำหนดทิศทาง นโยบาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ
ผู้บริหารระดับกลาง นำนโยบาย กฎระเบียบ และข้อบังคับมาใช้ปฏิบัติ
ผู้บริหารระดับต้น ให้คำปรึกษาแนะนำ ฝึกอบรม บังคับบัญชา ตักเตือน สร้างขวัญกำลังใจ พิจารณาความดีความชอบ

คุณสมบัติของผู้บริหารทางด้านทรัพยากรมนุษย์
- คุณสมบัติพื้นฐานของวิชาชีพ เช่น การมีวินัยในตนเอง ทักษะการวิเคราะห์ ความเป็นผู้ประกอบการ แนวคิดทางการตลาด
- คุณสมบัติการเป็นผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การคิดในเชิงรุก
- คุณสมบัติในการก้าวสู่ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับสูง เช่น การจัดการทางอารมณ์

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์
• ปรัชญาในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
• นโยบายด้านทรัพยากรมนุษย์
• แนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
• การปฏิบัติการด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
• ระเบียบวิธีการด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
• ความหลากหลายของกำลังแรงงาน
• แนวโน้มด้านเทคโนโลยี
• ความเป็นโลกาภิวัตน์
• แนวโน้มเกี่ยวกับลักษณะของงาน
 ทำงานไม่เต็มเวลา
 งานแบบอิสระ
• แนวโน้มอื่นๆ

ขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
- การสรรหา
- การพัฒนา
- การรักษา
- การใช้ประโยชน์

ขั้นตอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
• การวางแผนกลยุทธ์
กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ แผนกลยุทธ์ สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
กำหนดกลยุทธ์ด้านบุคคล ด้านพัฒนา ด้านผลตอบแทน ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์หลัก

• การออกแบบ
การเอาภารกิจมาแยกออกให้เป็นไปตามลักษณะเฉพาะของงาน การไหลของงาน (work flow process) สอดคล้องกับเทคโนโลยี คุณภาพแรงงาน การแข่งขัน กฎหมายและวิธีการ งานไม่ซ้ำซ้อน

• การวิเคราะห์งาน
ศึกษารวบรวมข้อมูลของตำแหน่งงาน ขอบเขตงาน คุณสมบัติที่เหมาะสมกับงาน

• การวางแผนกำลังคน
คำนวณหาปริมาณคนที่เหมาะสม ตามการวิเคราะห์งาน เพื่อป้องกันการขาดแคลน
เช่น การเพิ่มกำลังการผลิต การขยายตลาด ขยายสาขา การเพิ่มยอดขาย

• การสรรหา
การชักจูงบุคคลที่มีคุณสมบัติตรงตามลักษณะของงาน ให้เข้ามาทำงานได้ครบถ้วน ตามเวลา ด้วยวิธีต่างๆ

• การคัดเลือก
กระบวนการพิจารณากลั่นกรองอย่างเป็นระบบ รับสมัคร ทดสอบ สัมภาษณ์ ตรวจสอบเอกสาร ตรวจสุขภาพ และบรรจุ

• การพัฒนาและฝึกอบรม
ให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์

• การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การติดตามและวินิจฉัย ให้มีมาตรฐานแบบเดียวกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจ พัฒนา ปรับเปลี่ยนตำแหน่ง

• การจ่ายผลตอบแทน
การให้รางวัลทั้งเป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน มีความเป็นธรรม

• แรงงานสัมพันธ์



Create Date : 27 มีนาคม 2557
Last Update : 27 มีนาคม 2557 15:56:27 น. 0 comments
Counter : 19608 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.