bloggang.com mainmenu search

 

 



ทะไลลามะองค์ที่ 14 เทนซิน เกียตโซ ผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบตองค์ปัจจุบัน

ยุคทะไลลามะครองอำนาจ

ในยุคของโลซัง กยัตโส ทะไลลามะองค์ที่ 5 (พ.ศ. 2158-2223 ชาวมองโกลในทิเบตไม่มีเอกภาพ ทำให้เจ้าเมืองซังอัน ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งของทิเบตชิงบัลลังก์ลาซาไปได้ ทะไลลามะองค์นี้ซึ่งมีมองโกลสนับสนุน จึงขอความช่วยเหลือไปยัง กุชรีข่าน ผู้นำมองโกลให้มายึดอำนาจคืนสำเร็จ และมอบอำนาจการปกครองทิเบตทั้งหมด คือฝ่ายอาณาจักร และศาสนจักรให้แก่ทะไลลามะ

และเป็นครั้งแรกที่ทะไลลามะได้อำนาจสูงสุดทั้งหมด จากนั้นท่านก็ได้ย้ายที่ประทับที่พระราชวังโปตาลา นครลาซา ชาวทิเบตมีความเชื่อว่าทะไลลามะเป็นอวตารของพระอวโลกิเตศวรพระโพธิสัตว์ผู้กรุณา และเชื่อว่าปันเชนลามะ ผู้มีอำนาจรองจากทะไลลามะเป็นอวตารของพระอมิตาภะ แต่ทะไลลามะนั่งสมาธิแบบเนียงมา พลอยทำให้นิกายเนียงมาเจริญไปด้วย

แต่นิกายโจนังหลังจากท่านตารนาถ ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์มีชื่อเสียงแล้วถูกยึดวัดทั้งหมด ถือว่านิกายเกลุกพัฒนารุ่งเรืองตามคำสอนของพระนาครชุน พระอสังคะ เป็นต้น แม้ลัทธิบอนก็ยังนำไปพัฒนาตนเองของตนเอง จนทะไลลามะสวรรคต ชาวทิเบตจึงถวายพระนามว่า "มหาปัญจะ" เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ แม้พระองค์จะเสด็จสวรรคตแล้วยังมีผู้อ้างว่าทะไลลามะทรงเสด็จเข้าสมาธิระยะยาว แล้วสำเร็จราชการแทนพระองค์

โดยปิดข่าวการสวรรคตนานถึง 13 ปี เพื่องานฟื้นฟูวังโปตาลาต่อไป จากนั้นมีการแต่งตั้งทะไลลามะองค์ที่ 6 แต่พระองค์โปรดการแต่งกวี และสนใจผู้หญิง ไม่สนใจบริหารประเทศ จึงถูกเนรเทศไปจีนแต่สิ้นพระชนม์ระหว่างทาง

จีนคอมมิวนิสต์ยึดทิเบต

จนถึง พ.ศ. 2351-2401 คาลซังกยัตโส ได้ขึ้นเป็นทะไลลามะองค์ที่ 7 โดยการสนับสนุนของราชวงศ์ชิงของจีน ซึ่งจีนเคยมีบทบาทต่อตำแหน่งปันเชนลามะ หรือ บัณฑิตเซ็นโป แปลว่านักวิชาการใหญ่ จากนั้นมีสงครามกลางเมือง ฝ่ายทะไลลามะแพ้ต้องหนีภัยจากเมือง ทำให้นิกายเกลุกอับอายครั้งแรกในประวัติศาสตร์

จากนั้นมามีผู้สำเร็จราชการเป็นลามะเกลุก มีรัฐมนตรีเป็นลามะและฆราวาสด้วย ทะไลลามะอีก 4 พระองค์ต่อมาก็มีพระชนม์สั้นทั้งหมด บางองค์ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ จนถึง องค์ทะไลลามะองค์ที่ 14 เข้ามาบริหารประเทศ ทรงหลีกเลี่ยงติดต่อกับอังกฤษ โดยอาศัยจีนติดต่อกับรัสเซีย จนมีความผันผวนทางการเมือง องค์ทะไลลามะจึงลี้ภัยไปจีน

เมื่อจีนรุกรานก็ลี้ภัยไปอินเดีย เมื่อจีนปฏิวัติท่านก็กลับทิเบต แล้วมีความสัมพันธ์กับอังกฤษ จากนั้นเหล่ามิชชันนารีชาวคริสต์เข้าไป ความสัมพันธ์กับอินเดียค่อยๆ เลือนลางไป พระสงฆ์จากที่เคยมาจากอินเดียก็เสื่อมไป ต่อมาทิเบตก็ปิดประเทศโดดเดี่ยว พอใจกับอำนาจที่นิกายเกลุกดำรงอยู่ติดต่อกันจนสวรรคตในปี พ.ศ. 2476 ก็มีผู้สำเร็จราชการปกครองประเทศ

สิบแปดปีต่อมาจีนแดงยึดทิเบต ภิกษุลดลงอย่างมาก เนื่องจากจีนให้ลงทะเบียน ตามรายงานของวัดเดรปังบอกว่า มีพระสงฆ์จำนวน 7,700 - 10,000 รูป เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2502 รัฐบาลทิเบตสลายตัว มีคณะกรรมการคณะหนึ่งขึ้นมาบริหาร โดยมีปันเชนลามะเป็นประมุข

ปัจจุบัน

ทะไลลามะองค์ที่ 14 ท่านเทนซิน กยัตโส ได้ลี้ภัยไปที่ ธรรมศาลา เชิงเขาหิมาลัย รัฐหิมาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย และจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบตที่นี่ ต่อมาก็เป็นศูนย์รวมใจชาวทิเบตในต่างแดน ชาวทิเบตในจีน ช่วงแรกทำถนนทำถนนทำให้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศ จนบางคนเป็นวัณโรค บางคนเป็นโรคทางเดินหายใจ

 ต่อมาก็มาค้าขายเสื้อผ้าที่อินเดีย และได้ขยายไปตั้งนิคมอยู่ที่รัฐมิโซรัม ประเทศอินเดีย ในยุคนี้มีการเผยแผ่พุทธศาสนาแบบทิเบตไปทั่วโลกทั้ง 4 นิกาย ได้แก่ นิกายเนียงมา นิกายกาจู นิกายสักยะ และนิกายเกลุก ในอเมริกา มีชาวพุทธทิเบตประมาณ 5 ล้านคนและส่วนใหญ่เป็นของนิกายหมวกเหลือง ทะไลลามะยังต่อสู้เพื่อเอกราชของตนโดนสันติวิธี พร้อมกับรักษาจิตวิญญาณของชาวพุทธไว้อย่างมั่งคง


ภิกษุณีปัลโม ภิกษุณีชาวอังกฤษที่เข้าบวชในนิกายกาจู ถือเป็นภิกษุณีสงฆ์องค์แรกๆ นอกเขตทิเบต

 

ขอบคุณ วิกิพีเดีย

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ

Create Date :19 พฤศจิกายน 2553 Last Update :24 เมษายน 2556 18:45:05 น. Counter : Pageviews. Comments :0