bloggang.com mainmenu search












แสตมป์ภูฐาน
ภาพพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี
ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา
เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา
แห่งรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย


Enlightenment
ตรัสรู้ แปลว่า รู้แจ้ง รู้อย่างแจ่มแจ้ง รู้ชัดเจน ใช้เป็นคำเฉพาะสำหรับพระพุทธเจ้า "ตรัสรู้" ของพระพุทธเจ้า คือตรัสรู้ ญาณ ๓ ได้แก่

1.บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในอดีตได้ คือระลึกชาติได้

2.จุตูปปาตญาณ ความรู้ในจุติและอุบัติเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียก ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ บ้าง

3.อาสวักขยญาณ ความรู้ในการกำจัดอาสวกิเสส

ตรัสรู้ อีกนัยหนึ่งคือรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เมื่อทรงพระชนม์มายุ ๓๕ พรรษา


พระปางตรัสรู้ จากในกรุ๊พบล็อกที่ ๑๐



ลักษณะพระพุทธรูปปางสมาธิ (ปางตรัสรู้)




พระพุทธเทวปฏิมากร



ปางสมาธิ เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ นั่งลำพระองค์ตั้งตรงพระบาท (เท้า) ทั้งสองซ้อนกัน โดยพระบาทขวาซ้อนทับอยู่บนพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนหงายกันบนพระเพลา (ตัก) โดยวางพระหัตถ์ขวาซ้อนหงายอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย (ท่าสมาธิราบ ขาขวาทับขาซ้าย)

จัดเป็น "ปฐมปาง" หรือปางที่ให้กำเนิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในพระอิริยาบถนี้ในคืนวันตรัสรู้ เรียกได้อีกอย่างว่าปางตรัสรู้ หรือเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบทประทับนั่งสมาธิโดยใช้ข้อพระบาททั้งสองข้างขัดกันซึ่งเรียกว่า (ปางขัดสมาธิเพชร)


ประวัติ

เป็นท่านั่งสมาธิหลังจากพระพุทธเจ้าทรงกำจัดพระยามาร และเสนามารให้ปราชัยไปแล้ว ด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก (ปางมารวิชัย)

ทรงเจริญสมาธิภาวนาด้วยท่านั่งสมาธินี้ จนทำจิตให้ปราศจากอุปกิเลส บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน ซึ่งเป็นส่วนของรูปสมาบัติ ที่เรียกว่า "เข้าฌานสมาบัติ"

จากนั้นก็ใช้ฌานสมาธิที่แน่วแน่นั้น เจริญปัญญา หรือองค์วิปัสสนา จนได้บรรลุ "ญาณ" (คือ ความรู้แจ้ง) ที่เรียกว่า "อภิญญาญาณ" (ความรู้แจ้งอันประเสริฐสุด) ทั้งสามประการคือ

ทรงบรรลุญาณที่หนึ่ง ในตอนปฐมยาม (ประมาณ 3 ทุ่ม) ญาณนี้เรียกว่า "บุพเพนิวาสานุสติญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น

พอถึงมัชฌิมยาม (ประมาณเที่ยงคืน) ก็ได้บรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดจนถึงความต่างกันที่เรียกว่า "กรรม"

พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วงแล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ "อาสวักขยญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส และอริยสัจสี่ คือความทุกข์ (ทุกข์) เหตุเกิดของความทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) วิธีดับทุกข์ (มรรค) และกำจัดอวิชชาไปจนสิ้นจากกมลสันดาน

ขอบคุณ วิกิพีเดีย

สวัสดิ์สิริชีววาร
มานอวลบุษปคนธาลดาทิพย์นะคะ

Create Date :05 มีนาคม 2558 Last Update :7 มีนาคม 2558 19:09:20 น. Counter : 2051 Pageviews. Comments :1