bloggang.com mainmenu search





แถบการดูดกลืนแสงในสเปกตรัมของแสง
ที่ได้จากกระจุกดาราจักรอันห่างไกล (ด้านขวา)
เปรียบเทียบกับแถบการดูดกลืนแสงในสเปกตรัม
ของแสงดวงอาทิตย์ (ด้านซ้าย)
ลูกศรชี้แสดงถึงการเคลื่อนไปทางแดง
ความยาวคลื่นจะเพิ่มขึ้นและความถี่ลดลง




ในวิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ การเคลื่อนไปทางแดง (Redshift) เกิดขึ้นเมื่อการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (โดยมากเป็นแสงที่ตามองเห็น)

มีการเปล่งแสงหรือสะท้อนกับวัตถุ แล้วเกิดปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ ทำให้คลื่นเคลื่อนตัวไปในทางฝั่งสีแดง ของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า (ซึ่งมีพลังงานน้อยกว่า)

การเคลื่อนไปทางแดงจึงหมายถึง การที่ผู้สังเกตหรืออุปกรณ์ตรวจจับได้รับรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับแหล่งกำเนิด

การที่ความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นสัมพันธ์ กับการที่ความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลดลง ดังนั้นในทางตรงกันข้าม หากตรวจพบว่าความยาวคลื่นลดลงก็จะเรียกปรากฏการณ์นั้นว่า การเคลื่อนไปทางน้ำเงิน

การเคลื่อนไปทางแดง ที่เกิดจากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ เกิดขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดแสงเคลื่อนที่ห่างออกไปจากผู้สังเกต เช่นเดียวกับการเคลื่อนดอปเปลอร์ ซึ่งความถี่จะเปลี่ยนแปลงลดลง เมื่อต้นกำเนิดเสียงเคลื่อนห่างออกไป

ฟิสิกส์ดาราศาสตร์สเปกโตรสโกปี อาศัยปรากฏการณ์ดอปเพลอร์เช่นนี้ในการคำนวณการเคลื่อนที่ ของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในที่ห่างไกล


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จันทรวารสิริประสบ ดั่งส่องภพด้วยรัศมีรุจีฉานนะคะ
Create Date :24 มกราคม 2554 Last Update :24 มกราคม 2554 10:29:14 น. Counter : Pageviews. Comments :1