bloggang.com mainmenu search
งานทอดกฐินที่วัดปรางหมู่ใน จังหวัด พัทลุง 

 ปีนี้ ฉันมีโอกาสได้ไปทอดกฐินกับจอยอีกครั้งหนึ่ง  และเป็นปลาย ๆ
ของการทอดกฐินแล้ว  คือ การทอดกฐิน เราจะทำการ
ทอดกฐินหลังออกพรรษาแล้วเพียง 1 เดือน แตกต่างจากการทอด
ผ้าป่า ซึ่งเราทอดผ้าป่าได้ตลอดปี ค่ะ 
ทอดกฐินปีที่แล้ว  เราไปทอดจุลกฐินที่ อ.แม่แจ่ม  จ. เชียงใหม่
(เหนือ)   แต่ปีนี้ ไปทอดที่ใต้ ค่ะ คือ จังหวัดพัทลุง 
มีพระอาจารย์แหลม ซึ่งได้ชวนจอยไปทอดกฐินด้วย  เนื่องจาก ได้รับ
นิมนต์ไปวัดนี้  โดยพระอาจารย์จะเป็นผู้ออกค่าแก๊สให้  อิอิ 
  ฉันโทรชวน เอม ไปด้วย  เอม ไม่ปฏิเสธ  แต่ประมาณ เที่ยงครึ่ง  รถตู้
ของจอย ที่เอม เช่า นั้น ต้องไปรับน้องสาว  น้องเขย
ที่มาเที่ยวเมืองไทย กลับบ้านที่ อเมริกา  โดยให้ทูน  (โซเฟอร์) มารับ
ฉันที่บ้าน ประมาณ 11.30 น. แล้วไปคลองเตย
รับเอม และ น้องสาว น้องเขย  ทูนมารับฉันตั้งแต่ 11 โมง  ฉันยังแต่งตัว
ไม่เสร็จต้องรอพักใหญ่  ไปรับเอมและญาติเขา
  เพื่อไปสนามบิน สุวรรณภูมิ   ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ  น่าจะประมาณ
บ่ายโมงทูนช่วยยกกระเป๋าลงแล้วไปหาที่จอดรถ
  เอม และ น้องสาว เข็นกระเป๋าน่าจะมี 4 ใบฉันคอยจูงน้องเขยของเอม
ซึ่งตอนนี้เป็นโรคอัลไซเมอร์ไปแล้ว  ถามโน่นถามนี่
  ตอบไปแล้ว  สักพักก็ถามอีก  เฮ้อ ! น่าเห็นใจจริง ๆ เลย เนาะ 

เอม จัดการเรื่องเช็คอิน  เรียกเจ้าหน้าสายการบินที่จะไปนั้น  เตรียมรถ
เข็นมาให้น้องเขยเขานั่งโดยเจ้าหน้าที่สายการบิน
นั้น ๆ มาบริการเข็น ค่ะ ฉันพาน้องเขยเอม มานั่งที่เก้าอี้ เพื่อรอเอมและ
น้องสาวเขาเช็คอิน  น่าจะประมาณ ครึ่งชั่วโมงกว่า
  ก็เสร็จเรียบร้อย  ร่ำลากันระหว่างพี่น้อง แล้วเอมก็โทรหาทูน เพื่อ
บอกว่าเช็คอินเสร็จเรียบร้อยแล้วให้มา
รับที่ประตูไหนโชคดี ทูนได้ที่จอดแถวที่เราลงรถ  เลยได้ขึ้นรถเร็ว 
           จากนั้น ก็ไปที่บ้านของจอยแถวสมุทรปราการ
ซึ่งจอยขับรถไปรับพระอาจารย์แหลมมาจาก จ.ฉะเชิงเทรา และโยม
อุปัฎฐากของพระอาจารย์แหลม
ชื่อ สุภารัตน์  ซึ่งบ้านอยู่ที่นครศรีธรรมราช เพิ่มอีกคน ค่ะ 

  เมื่อรถทูนมาถึง  ก็ขนของ ของพระอาจารย์แหลมและของ สุ ขี้นรถตู้
ซึ่งมีมากมายเหมือนกัน  พร้อมแล้ว พวกเราก็ขึ้นรถตู้
  คราวนี้ วรรณ ไปด้วย เป็นผู้หญิงทั้งหมด 5 คน พระอาจารย์แหลม
นั่งเบาะหน้ากับทูน ช่วงนั้นน่าจะเกือบบ่าย 3 แล้ว
เลยมื้อเที่ยง จอยแวะกลางทางซื้อหมูทอดและข้าวเหนียวคนละกล่อง
  จอยประชาสัมพันธ์ว่า เป็นเจ้าที่อร่อยมาก  ฉันกินแล้ว
ก็โอเค นะ ข้าวเหนียวเขานิ่มดี ค่ะ  คืนนี้ เราค้างคืนที่ จ.ประจวบ ฯ จอย
ไม่ได้จองโรงแรมตามเคย  ไปหาเอาดาบหน้า
  คืนนี้หาไม่ยาก  ได้โรงแรมชื่อว่า  รีสอร์ท เกาะหลัก คืนละ 400 บาท 
ไม่มีอาหารเช้า  ก็ไม่แพง
 

เข้าห้องพักเรียบร้อยแล้ว  ฉัน จอย เอม และ ทูน ไปหาร้านข้าวกุ๊ย
กินกันแถว ๆ โรงแรม  เดินไปไม่ไกลนัก 
จอยให้ลงขันกันคนละ 1,000บาท มื้อนี้ วรรณกับสุภารัตน์ ไม่ไปกิน
ด้วย  (สุ ไม่ร่วมเรื่องกิน รวมลงขัน 4 คน
เป็น 4,000 บาท)ร้านอาหารที่เราไปนั่งกิน ติดริมถนน  คนไม่
พลุกพล่าน   เราสั่งอาหารหลายอย่าง  มีจับฉ่าย 
ไข่เจียวปู  ผัดผักบุ้ง  ทอดมัน  และ ผักคะน้าต้นเล็ก เพิ่มอีกจาน 
ข้าวต้ม คนละถ้วยร้อน ๆ อร่อยมาก  ทูนขอเป็นข้าวสวยด้วย



อาหารมื้อเย็นของวันนี้ ค่ะ อร่อยทุกอย่าง ค่ะ 

 กลับจากกินข้าวมื้อดึก ก็น่าจะ 3 ทุ่ม แล้ว  คืนนี้ มีละครให้ดูด้วย ดู
ละครจบแล้วจึงอาบน้ำ  พรุ่งนี้ จะออกจาก
โรงแรม 6 โมงเช้า ค่ะ 
       
วันที่ 25 พ.ย. เช้านี้ ฉันตื่น ตี 4 กว่า อาบน้ำ แต่งตัว เสร็จเตรียมลาก
กระเป๋าลงมา  แต่ปรากฎว่า  สุ น่ารักมาก ช่วยฉันลาก
กระเป๋าไปให้ทูนเพื่อนำใส่ท้ายรถ  ฉันเลยเดินตัวเปล่าไม่ต้องลาก
ขอบใจมาก จ้ะสุ   มาถึงหน้าโรงแรม
ได้ถ่ายชื่อป้ายโรงแรม  แล้วเดินข้ามถนนไปยังชายหาด ซึ่งมีสุ จอย
กำลังถ่ายรูปกันที่ชายหาด    อากาศตอนเช้า ที่ชายหาด 
เย็น สดชื่น  บริสุทธิ์  สุ เป็นคนชอบถ่ายรูป  ถ่ายรูปให้ฉันกับจอยหลาย
รูปอยู่  มาชมรูปของพวกเรา ค่ะ 



ที่พัก คืนแรก ที่ ประจวบคีรีขันธ์  ค่ะ 



บรรยากาศชายหาดที่ เกาะหลัก  ประจวบคีรีขันธ์ อันสดชื่น ค่ะ 

รถออก 6.00 น. ตามที่พระอาจารย์กำหนดไว้  ระหว่างทาง พระ
อาจารย์แวะวัดแถว ๆ นั้น เพื่อเยี่ยมเจ้าอาวาสวัดนี้
นำปฏิทินปีใหม่ไปให้ท่านด้วย  จอย วรรณ ก็ถวายขนมปังและปัจจัย
ให้ท่าน ค่ะ มาชมภาพ ค่ะ 



ออกจากโรงแรมสักพัก พระอาจารย์แวะวัดนี้ เยี่ยมเจ้าอาวาส
นำปฏิทินให้ท่าน ส่วนจอยและวรรณถวายขนมและปัจจัย

รถเราแล่นไปเรื่อย ๆ ถึงร้านอาหาร คุณสาหร่าย ซึ่งในนี้ น่าจะเรียกว่า 
ตลาดอาหารมากกว่าร้าน  เพราะสถานที่กว้างใหญ่มาก 
มีร้านอาหารมากมาย ขายอาหารสารพัด เดินเลือกอาหารกินได้ตามใจ
ชอบ สุ สั่งข้าวต้มปลาให้พระอาจารย์แหลม ฉันก็ว่า
น่ากินดี   เลยสั่งมา 1 ชาม 70 บาท รสชาติไม่ค่อยอร่อยนักให้มากเต็ม
ชามใหญ่ พยามยามกินให้มากที่สุด  ไม่อยาก
เหลือข้าวไว้  สงสารชาวนา เนาะ 

   ช่วงประมาณ น่าจะเกือบบ่ายสองแล้ว   มาถึงวัดเกล็ดแรด (อ.สิชล 
จ. นครศรีธรรมราช)  ซึ่งวันนี้ ก็มีการทอดกฐินเช่นกัน
  แต่พวกเรามาถึง  ก็ทอดกฐินกันเสร็จแล้วพระอาจารย์แหลมนำของ
และเงินทำบุญ ปฏิทิน  ไข่ มาถวายพระเจ้าอาวาส
ของวัดนี้ (พระอาจารย์แหลมกับเจ้าอาวาสวัดนี้ น่าจะเป็นเพื่อนกัน นะ
เดา)  จอย  วรรณก็มีปัจจัยมาถวายพร้อมของฉันกับเอม
ร่วมบุญกฐิน คนละ 100 บาท ร่วมไปกับซองของจอยด้วย  มาชมภาพ





ถวายสิ่งของ ปฏิทิน ปัจจัย แด่เจ้าอาวาสวัด เกล็ดแรด ค่ะ 

มื้อกลางวัน พระอาจารย์ ให้โยมที่วัด จัดข้าวปลาอาหารที่จากการทอด
กฐินยังมีเหลืออยู่ เช่น ข้าวยำ  แกงทางใต้  มีหมูทอด
ที่เหลือจากเมื่อวานด้วย  อิ่มหนำสำราญแล้วเข้าห้องน้ำกันเสร็จ  ว่าจะ
ไปดูต้น เกล็ดแรด  ซึ่งเป็นชื่อต้นไม้ และเป็นที่มา
ของชื่อวัดนี้  ปรากฎว่า มันต้องเดินไปดูไกลมาก พวกเราเลยไม่ได้ไป
ดู  ฉันไปค้นในกูเกิลมาให้ ค่ะ 

เกล็ดแรด
ชื่อพื้นเมือง : เกล็ดแรด (กาญจนบุรี), ปอพัดโบก (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sterculia macrophylla Vent.
ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE

ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 ม. เรือนยอด
เป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนอวบย่นเต็มไปด้วยรอยแผล
ใบและขนสากสีน้ำตาล ขนจะค่อยๆ ร่วงไปเมื่อกิ่งแก่ ใบเดี่ยว เรียง
เวียนกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง รูปรีแกมรูปหัวใจ
หรือป้อมคล้ายรูปโล่ ปลายมนหรือหยักเป็นติ่งแหลมเล็กน้อย โคนผาย
กว้างแล้วหยักเว้าลึก ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย
แผ่นใบหนา เส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น ช่อดอกออกเหนือรอย
แผลใบค่อนไปทางปลายกิ่ง ส่วนมากห้อยลง มีขนทั่วไป 
ดอกเล็ก สีชมพู กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 ผล ผลสี
แดงหรือสีแสด รูปทรงกลมเบี้ยวๆ ผิวแข็งคล้ายแผ่นหนัง
ผลแก่แตกออกตามรอยประสานตามยาว ภายในมีเมล็ดสีดำเป็นมัน
รูปรีๆ เรียงเป็นแถว
ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้เป็นสิ่งปลูกสร้างภายในร่ม ทำไม้แบบลังใส่ของ
และไม้อัด









ส่วนต่าง ๆ ของต้น เกล็ดแรด  ค่ะ 


เอกสารอ้างอิง: Chamlong Phengklai. 2001. Sterculiaceae in
Flora of Thiland 7(3): 539-654.


  เมื่ออิ่มข้าวแล้ว  พวกเราก็กราบลาเจ้าอาวาส เดินทางต่อไป  เพื่อไป
ส่ง น้อง สุ ที่บ้าน ปากทาง  ไม่ได้ถึงตัวบ้าน  เพราะ
ต้องเข้าสวนไปอีกขนกล่องของสุ หลายกล่อง ลงจากรถ เรียบร้อย
แล้ว  พวกเราก็เดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทาง คือ 
วัดปรางหมู่ใน  อ.เมือง จังหวัดพัทลุงที่เราจะมาทอดกฐิน  นั่นเอง  

      คืนนี้  เราพักที่รีสอร์ทที่ทางวัดได้จองไว้ให้แล้ว  คืนละ 700 บาท 
ไม่มีอาหารเช้า  ชื่อ รีสอร์ท สร้องทอง    ราคาสูงที่สุด
ในจำนวนที่พักที่เรามาพัก  หลังจากพวกเราเข้าที่พักแล้วพวกเรา 
ก็ไปกินข้าวมื้อเย็น  น่าจะประมาณ สองทุ่มได้มั้ง ชื่อว่า
  ร้าน บ่าววี  คนเยอะมากพอควร แต่ก็รอไม่นาน ก็ได้อาหารตามที่สั่ง

      





อาหารที่สั่ง มื้ออร่อยที่พัทลุง  ร้าน บ่าววี  ค่ะ 



ห้องพักในคืนที่ 2 ค่ะ 

รุ่งเช้า วันนี้พวกเราตื่นสายได้หน่อย เพราะว่าจะมีพิธีประมาณ  9.00 น.
ทูนไปส่งพระอาจารย์แหลมไปที่วัดก่อน   9.00 น.
ถึงมารับเราที่รีสอร์ท   ฝนตกหนักมากตั้งแต่เมื่อคืน  เช้านี้ ก็ยังตกอยู่
  เช้านี้  เรามีขนมปังที่จอยนำมาด้วย  เป็นอาหารเช้า
  ในห้องพัก มีน้ำต้ม  มีโอวัล    กาแฟ  ชงกินได้ เป็นอาหารเช้า ค่ะ 
ประมาณ 8 โมง มีสาวนางหนึ่ง ถือร่มและนำขนม
มาแจกขนมถึงห้องพัก  บอกว่า  ท่านเจ้าคุณ  ให้นำขนมมาแจกแขก
ที่มาพักที่นี้ กินรองท้องไปก่อน เธอเป็นหลาน
ของท่านเจ้าคุณ ขนมเหล่านี้ เธอทำเองด้วย  มีขนมใส่ไส้  ข้าวเหนียว 
ฯลฯ  เรารับของแล้ว  ขอบใจเธอที่มีน้ำใจ
ฝ่าสายฝนมาให้พวกเรากิน ค่ะ 

    ประมาณ 9.00  น. ทูนก็มารับพวกเราไปวัด  ไปถึง มีคนมามากแล้ว 
ฝนก็ตกปรอย ๆ  พื้นเปียกหมด  บางแห่งมีน้ำขัง 
เดินต้องคอยระวัง  พวกเราหาที่นั่งกัน ในศาลาที่จะทำพิธี  เราไปนั่ง
ด้านหน้าซึ่งยังมีที่นั่ง พอดีกับเรา 4 คน  มีพระสงฆ์ที่ได้รับ
นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ มากมาย  น่าจะเป็นเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ทั้งใน
พัทลุง และจังหวัดรอบ ๆ พัทลุง มั้ง  มาถึงจึงรู้ว่า
ช่วงเช้า จะมีการสวดมนต์ ทำพิธีเปิดอาคารที่ได้สร้างขึ้นใหม่  เพื่อ
อุทิศให้บิดามารดา  ใช้เป็นอาคารให้ญาติธรรม
ที่มาจากที่ต่าง ๆ ได้มาพักอาศัยเมื่อมาเยี่ยมเยือนที่วัดนี้  ตามคำบรรยายเล่า
ความเป็นมาของพระวิเทศสิทธิธรราภรณ์
ซึ่งเคยบวชเณรที่วัดนี้  และได้ไปเผยแผ่ศาสนาพุทธยังต่างประเทศ  ที่
เรียกว่าธรรมทูตคฤหัสถ์วิถีพุทธ อยู่ที่อเมริกา
(ฉันสรุปจากที่ฟังท่านบรรยาย ค่ะ)  

วัดปรางหมู่ใน   เป็นวัดราษฎร์ในสังกัดคณสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดเก่า
แก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2149 ในสมัยพระเอกาทศรถ
  เดิมชื่อ วัดปรางหมู่ เพราะหมู่บ้านที่ตั้งวัดมีต้นมะปรางมาก  ต่อมา มี
การสร้างวัดอีกวัดหนึ่งติดกัน ปัจจุบันมีถนนตัดผ่าน
ระหว่างวัดทั้งสอง
 จึงมีการเติมชื่อ วัดเก่าว่า  วัดปรางหมู่ใน ส่วนวัดที่สร้างใหม่ ชื่อว่า
วัดปรางหมู่นอก  วัดปรางหมู่ใน
เป็นวัดที่พระเดชพระคุณพระวิเทศสิทธิธรรมาภรณ์ (เจ้าคุณฤทธิ์)  เจ้า
อาวาสวัดอตัมมยตาราม  ในอเมริกาได้เคยบวชเณรในปี 2518 และบวชพระ  เมื่อปี 2523    

 จอยมีผ้าไตรมา 1 ผืน ใส่พาน มีปัจจัย ธนบัตรใบละร้อย คลี่แผ่ใส่
พาน จำนวนเท่าไร ฉันไม่รู้  ฉันทำบุญไปธนบัตร
500 บาท ของฉัน 300 บาท ของเยาว์และจ๋าฝากมาทำบุญอีกคนละ 100 บาทรวมเป็น
500 บาท อธิษฐานขอพรให้เยาว์และจ๋าด้วย ตามรูปถ่าย ค่ะ 





เตรียมพานใส่ผ้าไตรและปัจจัยไว้ทอดกฐิน ช่วงบ่าย ค่ะ 
 
       
ช่วงเช้า เป็นการสวดมนต์  ฟังสวดยาวนานมากพอสมควร  เป็นพิธีสวด
และเปิดอาคารใหม่ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น   
ส่วนช่วงเที่ยงครึ่ง จึงเริ่มพิธีทอดกฐิน  ค่ะ 
ประมาณ11.30 น. เสร็จพิธี  ให้ไปกินข้าวมื้อเที่ยง ซึ่งมีอาหารตั้งเป็น
ถาด ๆ ให้ มีขนมหวาน  พวกเราก็ไปตักอาหาร
และข้าวตามที่ชอบ  นั่งกินกันในโรงทาน นั่นแหละเที่ยงครึ่งก็เข้าไปนั่งที่เดิมเพื่อจะทำ
พิธีทอดกฐิน  ค่ะ ให้ภาพ เป็นตัวเล่าเรื่อง นะคะ 



คุณ เบญจมาศ  แสนงาม  ประธานองค์กรธรรมทูตคฤหัสถ์วิถีพุทธ
ภาคฟื้นอเมริกา  กล่าวถึงจุดประสงค์การจัดงาน



ประธานของงานจุดธูปเทียนกราบพระพุทธ  ค่ะ 



พระที่ได้รับนิมนต์มาในงานนี้ สวดมนต์  ค่ะ 



ทุกคนฟังสวดมนต์อย่างตั้งใจ  



ผู้นำอาราธนาศีลและเป็นพิธีกร ค่ะ 



หลังเสร็จพิธีสวดมนต์แล้ว  ท่านเจ้าคุณ พระวิเทศสิทธธรรมาภรณ์
ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของงานและวัดปรางหมู่ใน





พักกินข้าวมื้อเที่ยง  และ เตรียมทอดกฐินต่อไป  ค่ะ 



เนื่องจากฝนตกตลอดเวลา  จึงงดการแห่ กฐิน เหลือแต่กลองยาวที่ได้
รำและเล่นกลองยาวหน้าศาลาที่ทอดกฐินเท่านั้น ค่ะ 



งานนี้มีพระภิกษุณีจากอเมริกามาร่วมทอดกฐินด้วย  จอยนำปัจจัย
ไปถวายด้วย  ค่ะ 




ต้นกฐินจากวัดต่าง ๆ และชาวบ้านมาร่วมงานด้วย  ค่ะ 



พวกเราฟังสวดพิธีทอดกฐิน  หลังทอดกฐิน  มีการถวายผ้าไตร 
จอยเป็นคนนำไปถวายพระสงฆ์ ค่ะ 

ระหว่างทำพิธี  ฝนตกหนักมาก  เสร็จพิธี จะกลับแล้ว ปรากฏว่า  น้ำ
ท่วมวัด ต้องถอดถุงเท้า ไม่กล้าเดินเท้าเปล่า
กลัวหินบาดเท้า ค่ะ  ลุยน้ำเพื่อไปขึ้นรถ  มีเอมรอฉันอยู่ข้างล่าง
  ส่วนจอยและวรรณ เดินไปขึ้นรถล่วงหน้าแล้ว
  ทอดกฐินครั้งนี้  ชุ่มฉ่ำ จริง ๆ เลย ค่ะ 
ออกจากวัด รถแล่นไปเรื่อย ๆ ไปถึง สิชล  เพื่อไปรับ สุ กลับฉะเชิงเทราด้วย
 
หลังจากรับ สุ แล้ว ก็เดินทางต่อไป ระหว่างทาง  ฝนตกหนักตลอดทางเลย 
คืนนี้ เราพักกันที่สุราษฏร์ หาโรงแรม
อยู่เป็นชั่วโมง  ในที่สุด ได้โรงแรมเพชรพะงัน  คืนละ 600 บาท มี
อาหารเช้าด้วย  มื้อเย็น กินข้าวที่โรงแรม เป็นอาหาร
ตามสั่ง  หลายคนสั่งข้าวผัดกุ้งหมึกมีเอม  ผัดกระเพรากุ้งคนเดียวมั้ง  

      ตอนเช้า ลงมากินข้าว  มีทูนช่วยยกกระเป๋าให้ เพราะได้พักชั้น 3
ไม่มีลีฟ ให้ขึ้นเลย  กินข้าวเช้า  มีข้าว  ข้าวต้มหมู ไข่ดาว
  น้ำส้ม กาแฟ ด้วย ฝนยังคงตกตลอดทั้งคืนตอนเช้าก็ยังคงตกอยู่



น้ำท่วมระหว่างเดินทางกลับ ค่ะ 

ออกจากโรงแรมนี้แล้ว  ฝนก็ตกหนักไปตลอดทาง  และตกหนักจน
ท่วมถนนมิดล้อรถ  รถเกือบเสียกลางทาง  ดีที่ทูนเก่ง
รีบเปลี่ยนจากแก๊สเป็นน้ำมันแทน  ค่อย ๆ ประคองรถ ๆ ไปจอดในปั๊มน้ำมัน หนีน้ำท่วม
และพักรถ ซ่อมเครื่องที่ถูกน้ำท่วม 
เช็ดให้แห้ง  ฝนยังตกอยู่แต่เพลา ๆ ลงแล้ว  พวกเราสั่งอาหารมื้อเที่ยง
ที่ปั๊มนี้มีร้านขายอาหารตามสั่ง  ฉันสั่งราดหน้า 
บางคนก็สั่งข้าว ตามแต่ที่ตนเองชอบ   เราอยู่ที่นี่ประมาณชั่วโมงกว่า 
จึงออกรถเดินทางต่อไป ฝนซาลงไปเหลือตกปรอย ๆ
น้ำที่ท่วมลดลงมากพอสมควร เดินทางต่อไป เรื่อย ๆ ระหว่างทาง
  ผ่านวัดหงส์  มีหงส์รูปปั้นใหญ่มาก  แวะลงไปถ่ายรูปกับจอย
พระอาจารย์แหลม ก็ถ่ายด้วยนะ  อิอิ  



ถ่ายรูปกับหงส์ ตัวใหญ่มาก  



ระหว่างทางก็แวะปั๊ม เข้าห้องน้ำ ซื้อของกิน  เจอมะพร้าวกะทิ  จอยซื้อ
กินเอง 1 ลูก และซื้อให้ฉัน 1 ลูกด้วย  (ตอนนี้
ยังกินไม่หมด แช่แข็งอยู่ในตู้เย็น อิอิ)  

เรามาถึงกรุงเทพฯ รถไม่ติดมาก  ไปส่งเอมที่แถวบ่อนไก่ คลองเตย 
แล้วจึงมาส่งฉันที่บ้าน  กราบลาพระอาจารย์แหลม
  ท่านให้ผ้ายันต์นางกวักมา 1 ผืน กราบขอบพระคุณท่านที่ให้ผ้ายันต์
มากวักเงิน กวักทอง และกวักความสุข
ความแข็งแรงให้ฉัน อิอิ ฉันขอบใจจอย ทูน ที่ชวนฉันไปทำบุญทอด
กฐินในครั้งนี้ด้วย 
   
  สำหรับค่าใช้จ่ายครั้งนี้  ที่ลงขันเรื่องอาหารคนละ 1000 บาท ยัง
เหลือเงินอีก คนละ 500 มั้ง ก็เป็นค่าติ๊บให้ทูนที่บริการพวกเราเป็นอย่างดี 
ส่วนน้ำมันและแก๊ส พระอาจารย์แหลม
น่าจะออกเองทั้งหมด กราบขอบพระคุณท่านอีกครั้ง ค่ะ จ่ายค่าที่พัก
ไป 1700 บาท ออกค่าที่พักคนละครึ่งกับเอม
ก็จ่ายเพียง 850 บาท เท่านั้น ทริปนี้ ถึงจะไม่ได้เที่ยว เพราะฝนตก
ตลอด แต่ก็อิ่มใจที่มีโอกาสได้ไปทำบุญกฐิน ค่ะ
ขอแบ่งผลบุญมายังเพื่อน ๆ และคนที่มีโอกาสได้เข้ามาอ่าน งาน
เขียนบล็อกนี้ด้วย ค่ะ  ฝากเพลงเชิญชวน ทอดกฐิน ด้วยค่ะ สวัสดี  



เพลงเชิญชวนทำงานทอดกฐิน  ค่ะ ของคุณไวพจน์  เพชรสุพรรณ
    








 
Create Date :17 ธันวาคม 2566 Last Update :18 ธันวาคม 2566 5:49:48 น. Counter : 624 Pageviews. Comments :15