bloggang.com mainmenu search



กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ให้คนไทยใช้ความระมัดระวังในการซื้อยาชุด เนื่องจากคนไทยจำนวนมากนิยมซื้อมารับประทานเองทุกครั้งเมื่อถึงคราวเจ็บไข้ได้ป่วย แทนที่จะไปปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

อันตรายจากการกินยาชุด นั้นมีหลายอย่าง

1. อาจได้รับอันตรายจากพิษภัยของยาที่จัดให้โดยไม่ถูกต้อง เช่น ยาสเตียรอยด์ อันตรายของสเตียรอยด์ อันตรายถึงชีวิต!!

ปัจจุบันคลินิกหรือร้านขายยาหลายแห่ง นิยมจ่ายยาเป็นชุด (รวมในถุงเดียวกัน) ซึ่งทำให้ไม่ทราบว่ายาใด รักษาอาการใด หรือยานั้นคือยาอะไร...และที่อันตรายก็คือ..ในยาชุดเหล่านั้น มักจะใส่ยาสเตียรอยด์เข้าไปด้วย

ทำไมยาสเตียรอยด์ จึงถูกใช้กันแพร่ระบาด ก็เพราะยานี้เมื่อทานเข้าไปแล้ว จะทำให้อาการทุเลาลงเร็ว เช่น อาการปวดก็ทุเลาเร็ว ปวดเมื่อยตามตัวหายไว เบื่ออาหารก็กลับมากระปรี้กะเปร่า กินข้าวได้ กินแล้วรู้สึกว่าดีหายเร็ว ยานี้จึงถูกใช้แบบผิดๆ และไม่มีข้อบ่งชี้ที่เหมาะสมถูกต้องที่จะจ่าย

ในทางการแพทย์ ถือเป็นเรื่องอันตรายร้ายแรคลินิก หรือร้านยา (ที่ไม่ดี) ก็จะนิยมจ่ายให้คนไข้ ทำให้คนไข้ติด เพราะหายไว ที่สำคัญจะไม่บอกชื่อยาไว้หน้าซอง เพราะเป็นยาอันตราย และมักจ่ายเป็นยาชุดไป เพื่อให้ตรวจสอบยาก เมื่อคนไข้ทาน หายไว รู้สึกดีขึ้นเร็ว ก็จะเหมือนติดยา ไม่กินก็จะรู้สึกปวด ไม่ดี ต้องกลับไปเอายานั้นอีก เมื่อทานยานี้ไปสักพัก ร่างกายก็จะแย่ และกู้คืนไม่ได้แล้ว

เนื่องจากสเตียรอยด์เป็นยาซึ่งมีผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย แทบทุกระบบ การใช้สเตียรอยด์อาจนำไปสู่อันตรายมากมายหลายประการ
เช่น

 

Smiley ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้ เนื่องจากยาสเตียรอยด์ขนาดสูง มีผลกดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อราได้ง่าย นอกจากนี้สเตียรอยด์ยังอาจบบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ ทำให้ตรวจพบโรคเมื่ออาการรุนแรงแล้ว

Smiley ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีผลทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง และยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทดแทนเนื้อเยื่อเก่าที่หลุดไป การใช้สเตียรอยด์อาจทำให้มีอาการกระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ โดยไม่มีอาการปวดมาก่อน

Smiley มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลา อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ และอารมณ์ของผู้ใช้ยาได้ นอกจากนี้ยังพบอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เช่น นอนไม่หลับ เจริญอาหาร กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย เป็นต้น

Smiley กระดูกผุ กระดูกพรุน การใช้สเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน มีผลทำให้กระดูกผุได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดกระดูกผุอยู่แล้ว เช่น ผู้สูงอายุ, หญิงวัยทอง และคนที่มีประวัติโรคไขกระดูก จะอันตรายมากขึ้น กระดูกหักง่าย เปราะบาง

Smiley ทำให้ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ผู้ที่มีระดับโปแตสเซียมต่ำมาก อาจมีผลทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหยุดเต้นได้

Smiley ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การใช้สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน จะทำให้มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาและแขน ผู้ป่วยก็จะอ่อนเพลีย ไม่มีแรง และต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะเป็นปกติ

Smiley อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เช่น ลักษณะที่เรียกว่า คุชชิ่ง (Cushing’s Syndrome) ลักษณะที่พบในผู้ป่วยประเภทนี้ เช่น อ้วน ขนดก ระบบประจำเดือนผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อไม่มีแรง ปวดหลัง เป็นสิว มีอาการทางจิตใจ หัวใจล้มเหลว บวมน้ำ เป็นต้น

นี่แค่อันตรายคร่าวๆที่พบได้บ่อยๆ ยังมีผลต่อระบบอื่นๆอีกมากมาย เช่น ไตวาย ระบบหัวใจล้มเหลว ลองมองดูคนรู้จักของเรา หากทานยาชุดอยู่ แล้วทานไปนานๆ เริ่มมีอาการดังที่ว่ามานี้ ก็ให้สงสัยไว้ได้ว่าอาจจะเป็นผลจากยาสเตียรอยด์ที่อาจผสมมาในยาชุดได้

ไม่เพียงแต่ยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน ยาชง ยาฉีด บางครั้งก็ต้องระวังการผสมยาสเตียรอยด์นี้ด้วย


2. อาจมีตัวยาซ้ำซ้อนกันทำให้ได้รับยาเกินขนาด เช่น บางร้านใส่ยาคลายกล้ามเนื้อ กับยาพารา ซึ่งยาคลายกล้ามเนื้อบางตัวก็มียาพารา ผสมอยู่แล้ว จึงอาจทำให้ได้ปริมาณยาพาราเซตามอลเกินขนาด ทานต่อเนื่องนานๆก็อาจทำให้ตับวายได้ ตับอักเสบได้

3. ได้รับยาโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะผู้ขายที่ต้องการให้ผู้ซื้อหลงเชื่อว่าเป็นยาดี จึงจัดตัวยาไว้มากๆ เกินความจำเป็น เช่น หากไปซื้อยาชุดแก้หวัด ก็อาจจะมีทั้ง ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ แก้ปวด ยาลดไข้ ยาฆ่าเชื้อ แต่ในความเป็นจริง หวัดนั้นมักจะเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งไม่จำเป็นต้องทานยาฆ่าเชื้อ การได้ยาฆ่าเชื้อจึงเกินความจำเป็น และอาจเสี่ยงต่อการแพ้ยาฆ่าเชื้อ และการดื้อยา นอกจากนี้หากคนไข้ไม่ไอ ไม่มีปวดกล้ามเนื้อ ก็จะได้ยาแก้ไอ แก้ปวดแก้ยอกมาทานด้วยทั้งๆที่ไม่จำเป็นต้องทาน ทำให้ได้รับยาเกินกว่าที่ควรได้ เสี่ยงต่ออันตรายจากยาหลายชนิด

4. ผู้ที่ซื้อยามารับประทานนั้นไม่ทราบว่ามียาที่ตนเองแพ้อยู่หรือไม่ เพราะไม่มีชื่อยาระบุ ไม่มีรายละเอียดของตัวยาบนซองยาชุด อีกทั้งไม่ทราบว่ายาที่ทานรักษาอาการใดบ้าง บางคนแพ้เพนิซิลลิน ก็อาจได้ยาเพนิซิลลินมากินแล้วแพ้ถึงขั้นเสียชีวิตได้

5. อาจมียาที่เสื่อมคุณภาพ หรือยาที่ไม่ได้มาตราฐานปนอยู่ด้วย เนื่องจากยาชุดส่วนใหญ่มักเป็นยานับเม็ดเกือบทั้งนั้น (ไม่มีแผงยาห่อหุ้ม) ดังนั้นหากเก็บรักษายาไม่ดี ก็อาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพได้ เช่น ยาชื้น หรือยาบางชนิดที่ต้องเก็บพ้นแสงหรือต้องบรรจุในถุงสีชา ก็เอามาจัดชุดรวมกับยาทั่วไปในซองยาใส ทำให้ยาที่ห้ามโดนแสงนั้นเสื่อมคุณภาพ ทานไปก็อาจไม่หายหรือเกิดอันตรายได้ นอกจากนั้นยาที่หมดอายุก็จะไม่ทราบว่ายานั้นหมดอายุแล้วหรือยัง เพราะจัดมารวมๆกัน แต่ละตัวหมดอายุไม่พร้อมกัน คนไข้จึงอาจได้รับยาที่หมดอายุติดมาด้วยในซอง



6. อาจจะได้รับยาไม่ครบถ้วนตามปริมาณที่เหมาะสมหรือสมควร เช่น ยาปฏิชีวนะ ที่ควรทาน 5-7 วัน (ส่วนใหญ่) แต่คนไข้ซื้อทาน 3 ชุด ก็เท่ากับได้ยาปฏิชีวนะแค่ 1 วันเท่านั้นเอง (ทาน เช้า กลางวัน เย็น) ซึ่งอาจจะทำให้เชื้อโรคดื้อยา ตัวโรครักษาหายช้า รักษาไม่ได้ผลตามมาได้

7. การใช้ยาผิดวิธีทำให้ไม่ได้ผลในการรักษา เช่น ยาบางชนิดต้องทานก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างเท่านั้น แต่กลับไปจัดใส่ในซองเดียวกันกับยาที่ทานหลังอาหาร แล้วระบุหน้าซองยาให้ทานรวมกันหลังอาหาร ทำให้ยาตัวที่ต้องทานก่อนอาหารนั้นไม่มีประสิทธิภาพในการรักษา ทานก็เหมือนไม่ได้ทาน ไม่หายจากโรค

8. อาจได้รับยาที่เสริมฤทธิ์กัน ทำให้เกิดอันตรายจากยามากขึ้น หรือได้ยาที่มีฤทธิ์หักล้างกัน ทำให้รักษาไม่ได้ผล เช่น ได้ยาลดน้ำมูกมาทานคู่กับยาแก้แพ้แก้คัน ทำให้ปากคอแห้ง ง่วงนอนมาก หรือได้รับยาแก้ใจสั่นคู่กับยาขยายหลอดลม ทำให้ยาไม่ได้ผล เป็นต้น

9. อาจได้รับยาที่มีผลข้างเคียงกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เนื่องจากร้านเหล่านี้มักไม่สนใจยาเดิมที่ผู้ป่วยทานอยู่ หรือประวัติโรคประจำตัว เช่น เป็นโรคหอบหืด แต่ได้รับยาแก้ใจสั่นมาทาน ก็อาจทำให้หอบกำเริบได้ หรือยาลดน้ำมูกบางตัวห้ามทานในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต เพราะจะยิ่งทำให้อาการต่อมลูกหมากโตกำเริบ ปัสสาวะไม่ออกได้ เป็นต้น

คำแนะนำในการซื้อยา

1. ควรซื้อยาโดยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และซื้อยาจากร้านขายยาที่ได้รับอนุญาต
2. ควรซื้อยาที่บรรจุภัณฑ์อยู่ในสภาพเรียบร้อย มีฉลากครบถ้วน มีการเก็บรักษายาให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น
3. ก่อนกินยา ควรอ่านวิธีใช้ ข้อควรระวัง คำเตือน ในเอกสารกำกับยาอย่าละเอียดทุกครั้ง
4. ก่อนซื้อให้สังเกตชื่อสามัญทางยา ซึ่งมักระบุไว้ใต้ชื่อการค้าของยา เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำซ้อน หรือยาที่ตนเองแพ้
5. สังเกตลักษณะของเนื้อยาว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ ทั้งรูปร่าง กลิ่น สี
6. ควรกินยาให้ครบตามคำสั่งแพทย์ หรือตามข้อบ่งใช้ บนฉลาก
7. อย่าซื้อยาจากรถเร่ หรือหลงเชื่อคำโฆษณา
8. อย่าซื้อและใช้ยาชุด เด็ดขาด

ข้อปฎิบัติง่ายๆ ท่านก็พ้นจากอันตรายจากการใช้ยาแล้ว

บล็อคนี้อยู่ในหมวดสุขภาพค่ะ 














; ;









Create Date :26 ตุลาคม 2556 Last Update :26 ตุลาคม 2556 23:00:27 น. Counter : 45781 Pageviews. Comments :1436