bloggang.com mainmenu search


"ข้าวคลุกกะปิ"...
ว่าไปแล้ว "กะปิ" ถือว่าเป็นเครื่องปรุงคู่บารมีที่สำคัญของ "ครัวแห่งสยาม" มานาน
(* "กะปิ" เกิดจาก วิธีถนอมอาหาร ที่นำกุ้งฝอยตัวเล็กๆไปหมัก กับ เกลือ ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปตากแดด จากนั้น นำมา โขก หรือ โม่ให้ละเอียด เอาไปตากแดดอีกครั้ง ใส่ลงเข่ง หรือ ตะกร้าที่มีใบตองรองอีก 7 วัน ก็จะกลายเป็น กะปิ สามารถเก็บไว้ทานได้เป็นเวลานานๆ ครับ)
"กะปิ" มี บันทึก ที่เป็นหลัก เป็นฐาน ครั้งแรก ในช่วงสมัยที่ "พระนารายณ์มหาราช" ครองราชย์ไปแล้ว 10 ปี เนื่องจากนโยบายเปิดประเทศคบหากับต่างประเทศ ของพระองค์ เพียงในช่วงแรกๆ ชาวต่างชาติที่เข้ามากรุงศรีอยุธยา มาจาก ญี่ปุ่นบ้าง อาหรับบ้าง เป็นส่วนใหญ่ และ บังเอิญทูตที่มาจาก "อาณาจักรเปอร์เซีย" เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี ชื่อ "Muhammad Ibrahim" บันทึกถึง "กะปิ" ในปี ค.ศ. 1666 (พ.ศ. 2209) ไว้ว่า "กะปิ เครื่องปรุงอาหารอย่างหนึ่งของไทยนั้น เป็น ของเน่า กลิ่นเหม็น ไม่เห็นสมควรนำไปปรุงอาหารทานได้เลย"
แต่ หลังจากนั้นอีก 21 ปี (หนึ่งปีก่อน "พระนารายณ์" จะสวรรคต) ทูตฝรั่งเศส ที่ถูกส่งมาโดย "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14" ชื่อ "Simon De La Loubère" ก็พูดถึงกะปิเหมือนกัน แต่คราวนี้ไม่ได้เลวร้าย เหมือนกับ "ทูตของเปอร์เซีย" โดยเค้าบรรยายถึง "สำรับกับข้าวไทย" ไว้ว่า "ปกติซอส(น้ำพริก) ของไทย ก็ไม่ค่อยมีอะไร แค่ใส่พริก กระเทียม และ เครื่องเทศ แต่ไม่รู้ทำไม คนไทยถึงชอบ เจ้ากุ้งที่ถูกหมักจนเปื่อยเรียกว่า "กะปิ" มาก ต้องผสมมันลงไปด้วยเสมอๆ"
ส่วน "ข้าวคลุกกะปิ" มีพูดถึงเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1907 (พศ 2450) โดยบันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ 5 ทรงฝันถึง "กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร" ที่มีศักดิ์เป็นยาย ว่า ปรุงข้าวคลุกกะปิให้ทาน ได้อร่อยนัก พอตื่นขึ้นมา เลยทรงสั่งให้เตรียม กะปิ และ เครื่องปรุงต่างๆ ให้พร้อมสรรพ จากนั้นพระองค์ก็จะทรงคลุกเสวยเอง ในตอนเช้า ที่ยุโรป นั่นเอง ครับ
(* การเสด็จไปยุโรปครั้งนี้ ของ รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จแบบส่วนพระองค์ เพื่อไปรักษาพระวรกาย ตามคำแนะนำของแพทย์ฝรั่ง ณ. เมือง Baden-Baden ทางตอนใต้ของ ประเทศเยอรมันนี ติดกับพรมแดนของฝรั่งเศส
แต่ยังไงก็ตาม "ข้าวคลุกกะปิ" มิได้มีบันทึกว่า ผู้ใดเป็นคนสร้างสรรค์เมนูจานนี้ รู้แต่ว่ามันมีมานานมากแล้ว โดยต้นตำรับชาววังแท้ๆ จะต้องมี "ปลาดุกย่าง" มาร่วมคลุกด้วยเสมอ แต่ถูกปรับออกไป เพื่อความสะดวก  





 
Create Date :25 เมษายน 2566 Last Update :1 พฤษภาคม 2566 21:44:01 น. Counter : 470 Pageviews. Comments :10