bloggang.com mainmenu search

คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์



เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในราชจักรีวงศ์ เห็นว่าการสร้างวัดประจำรัชกาลมีมากพออยู่แล้ว และเป็นปัญหาในการใช้พระราชทรัพย์การซ่อมบำรุงปฏิสังขรณ์ในภายหลังเป็นจำนวนมาก ประกอบกับที่กิจการศึกษาของประเทศไทยได้เปลี่ยนรูปจากการศึกษาในวัดมาเป็นการตั้งโรงเรียน

พระองค์จึงได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างโรงเรียนสำหรับเยาวชนไทยขึ้นแทน

เป็นโรงเรียนอย่างสมัยใหม่ เรียกว่าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ภายหลังในรัชกาลที่ 7 ได้รวมกับโรงเรียนราชวิทยาลัย ตั้งชื่อใหม่ว่า โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย) โดยสร้างโรงเรียนขึ้นที่ริมคลองเปรมประชากร มีสถาปนิกคือ นายอี ฮีลี่ และพระสมิทรเลขา (ปลั่ง วิภาตศิลปิน) เป็นผู้ร่วมกันวางผังออกแบบอาคาร




อาคารหอประชุมโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เป็นอาคารออกแบบสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยที่ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ร่วมกับโครงสร้างสถาปัตยกรรมสากลที่งดงามมาก

ผู้รับเหมาก่อสร้างคือบริษัทสง่าพานิช ในวงเงินงบประมาณประมาณ 11 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2457

หน้า 6



ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
Create Date :02 มิถุนายน 2557 Last Update :2 มิถุนายน 2557 7:58:17 น. Counter : 836 Pageviews. Comments :0