bloggang.com mainmenu search






พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


กรมศิลปากรแจ้งปิด พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ซึ่งเป็นห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๑๕  มกราคม ๒๕๕๘  เป็นต้นมา จนกว่าการบูรณะจะดำเนินการแล้วเสร็จ ...

การบูรณะและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครใหม่ครั้งนี้ กรมศิลปากร ใช้งบประมาณกว่า ๖๙ ล้านบาท

เพื่อบูรณะทั้งพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ อาคารมหาสุรสิงหนาท และอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน





(๑๗ ก.ย.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) แถลงข่าวการจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ๑๙ กันยายน

เรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทย และเปิดห้องสมุดปิยมหาราชรฦก ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ว่า

ถือเป็นการเปิดตัวการจัดแสดงนิทรรศการของพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งภายในพระราชวังบวรสถานมงคล

ที่กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ

โดยคงความเป็นสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม เพิ่มรูปแบบการนำเสนอให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง

       การเปิดตัวพระที่นั่งครั้งนี้ นายวีระ กล่าวว่า ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

โดยนำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นเยี่ยม ที่เก็บรักษาภายในพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศ จำนวน ๑๑๑ รายการ

มาจัดแสดงเป็นครั้งแรก โดยเรียงลำดับตามยุคสมัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

ทั้งนี้ ผู้ที่มาเข้าชมจะเห็นความงดงามของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ มีอายุหลายพันปี

เช่น กลองมโหระทึก ของวัดเกษมจิตตาราม จ.อุตรดิตถ์ อายุ ๒,๔๐๐ - ๒,๗๐๐ ปี

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร วัดเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี อายุกว่า ๑,๒๐๐ ปี

การจัดแสดงจะใช้เทคโนโลยี Audio Guide อธิบายโบราณวัตถุชิ้นสำคัญให้บริการนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นครั้งแรก

และในวันที่ ๒๗ ก.ย. เวลา ๑๗.๓๐ น. วธ.ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดนิทรรศการ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และห้องสมุดปิยมหาราช
รฦก ณ ตึกถาวรวัตถุ

ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลสำคัญการค้นคว้าพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ ๕ ทั้งนี้ จะเปิดให้ประชาชนเข้าชมและใช้บริการห้องสมุด วันที่ ๓๐ ก.ย. เป็นต้นไป

//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000105411






วันที่  ๒๒ มกราคม  ๒๕๕๙  ต่อเนื่องจากบล็อก  ศุภวารกราบกรานพุทธบูชา วัสสวานร ๒๕๕๙ 







ศาลาสำราญมุขมาตย์

สร้างสมัยรัชกาลที่ ๕  ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เดิมชื่อ พระที่นั่งราชฤดี

สร้างเป็นพลับพลาที่เสวยในสวนแง่เต๋ง พระราชวังดุสิต ในรัชกาลที่ ๖





ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นศาลาสำราญมุขมาตย์ เมื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ในรัชกาลที่ ๗

ปัจจุบันจึงย้ายมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  กรมศิลปากร





ไหว้พระที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์แล้ว ตั้งใจมาดูนิทรรศการที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมานต่อเลย

ซื้อบัตรเข้าชม ฝากกระเป๋า เอากล้องถ่ายรูปเข้าไปได้ค่ะ




พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

เป็นพระที่นั่งภายในพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างขึ้นครั้งแรกโดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

ต่อมารื้อสร้างใหม่โดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

อ่านต่อที่วิกิพีเดีย



มีเจ้าหน้าที่นั่งประจำที่มุมห้องด้วยค่ะ



ไม่แน่ใจว่าเป็นนิทรรศการหมุนเวียนหรือเปล่าค่ะ


ธรรมจักรและกวางหมอบ

พบที่วัดเสน่หา อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม

ศิลปะทวารดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒ (๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว)



พระวิษณุสี่กร

พบที่ เขาพระเหนอ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (๑,๓๕๐ - ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว)


พระวิษณุสี่กร

พบที่ เมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์

พุทธศตวรรษที่ ๑๓ (๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)


พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ครึ่งองค์

พบที่วัดเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

ศิลปะศรีวิชัย ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (๑,๒๐๐ - ๑,๒๕๐ ปีมาแล้ว)


ทับหลังภาพหงส์ และลายซุ้มพันธุ์พฤกษา

พบที่ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

พุทธศตวรรษที่ ๑๓ (๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)



ทับหลังภาพวิษณุอนันตศายิน (นารายณ์บรรทมสินธุ์)

จากปราสาทกู่สวนแตง อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์

ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๗ (๙๐๐ ปีมาแล้ว)





ศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พบที่เนินปราสาทเมืองโบราณสุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.สุโขทัย จ.สุโขทัย

อักษรสุโขทัย ภาษาไทย พุทธศักราช ๑๘๓๕


พระอิศวร

จากเทวสถานสำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์) กรุงเทพมหานคร

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ (๖๐๐ - ๗๐๐ ปีมาแล้ว)


ที่โบสถ์พราหมณ์ ถ่ายรูปไม่ได้นะคะ



พระอิศวรทรงแสดงหัตถ์มุทรา



พระวิษณุ

จากเทวสถานสำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์) กรุงเทพมหานคร

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ (๖๐๐ - ๗๐๐ ปีมาแล้ว)



พระเศียรพระพุทธรูป

ขุดพบในวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์

อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ (๕๐๐ ปีมาแล้ว)


อยากให้มาชมเองค่ะ... องค์นี้อลังการงานสร้างมาก ขยับเข้าออก อยู่หลายรอบหลายช็อต





พระพุทธรูปยืนทรงเครื่องใหญ่

ไม่ทราบที่มา วัดวิเศษการ ให้ยืมจัดแสดงตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๐๒

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๔๑๑



พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร

ไม่ทราบที่มา วัดวิเศษการ ให้ยืมจัดแสดงตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๐๒

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๔๓๔



พระพุทธรูปทรงเครื่องปางประทานอภัย

จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร

ศิลปะอยุธยา พุทธศักราช ๒๐๘๔



พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ไม่ทราบที่มา รับมอบจากกระทรวงการคลัง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๒

ศิลปะก่อนอยุธยา (ศิลปะอู่ทอง) พุทธศตวรรษที่ ๑๙ (๗๐๐ ปีมาแล้ว)



พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ไม่ทราบที่มา ทายาทมหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา มอบให้

ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ (๕๐๐ ปีมาแล้ว)



พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ไม่ทราบที่มา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระราชทานเมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๙

ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๐ (๖๐๐ ปีมาแล้ว)



พระพุทธรูปปางสมาธิ

พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.ลพบุรี จ.ลพบุรี

ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙  (๗๐๐ - ๘๐๐ ปีมาแล้ว)




พระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก

จากวัดหน้าพระเมรุ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๗ (๙๐๐ ปีมาแล้ว)





หาคำบรรยายไม่เจอ ขอติดไว้ก่อนนะคะ





เสมาสลักภาพพระพุทธประวัติ ตอนโสตถิยพราหมณ์ถวายหญ้าคา

พบที่ เมืองฟ้าแดดสงยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖   (๑,๐๐๐ - ๑,๒๐๐  ปีมาแล้ว)





แผ่นหินสลักภาพพระพุทธรูปนาคปรก

จากวัดประดู่ทรงธรรม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕  (๑,๑๐๐ - ๑,๓๐๐  ปีมาแล้ว)




ต่อตอนหน้าค่ะ







Create Date :02 มีนาคม 2559 Last Update :2 มีนาคม 2559 13:23:57 น. Counter : 11466 Pageviews. Comments :35