bloggang.com mainmenu search


ทำข้อสอบ CU-TEP Reading ไม่ทัน หรือ รู้สึกว่าทำได้ แต่คะแนนน้อยกว่าที่คาด 



          สัดส่วนสำหรับ Reading Part ในข้อสอบ CU-TEP ถือว่าถูกให้น้ำหนักสูงมาก เมื่อเทียบกับข้อสอบประเภทอื่นๆ คือ 50% เรียกได้ว่า อยู่หรือไป ก็ขึ้นกับ Reading Part นี้เลยทีเดียว 

สำหรับส่วน Reading Part ในข้อสอบ CU-TEP มีด้วยกัน 3 ลักษณะการอ่าน ดังนี้

1. Cloze Test เป็นข้อสอบลักษณะที่จะเว้นช่องว่างใน Passage และให้น้องๆ หาคำที่เหมาะสมที่สุดจาก 4 Choices มาเติมครับ มีด้วยกัน 1 Cloze Test มีคำถามทั้งหมด 15 ข้อ Part นี้ น้องๆ หลายคนกลัวที่สุดครับ และอาจารย์โจก็เห็นด้วยครับว่าเป็นส่วนที่ยากที่สุดจริงๆ เนื่องจากว่า ข้อสอบส่วนนี้วัดได้ทุกเรื่องครับ ตั้งแต่ โครงสร้าง (Structure), คำศัพท์ (Vocabulary) และความเกี่ยวเนื่องของทั้ง Passage (Collocation) 

     ซึ่งข้อสอบ CU-TEP ยุคใหม่ ออกโครงสร้างน้อยแล้วครับ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่คำศัพท์และความเกี่ยวเนื่อง ซึ่งก็อีกเช่นกัน น้องๆ ที่อาศัยท่องศัพท์เป็น Synonym โดยไม่รู้ความแตกต่างก็จะเสียคะแนนได้อีกครับ เนื่องจากข้อสอบอาจจะให้คำศัพท์ที่แปลคล้ายๆ กันทั้งหมดมาใน 4 Choices ปัญหาเกิดแล้วเห็นไหมครับ เพราะน้องๆ ต้องสามารถเลือกคำที่เข้ากับ Passage ไม่ใช่แค่แง่ของความหมายโดยลึก ประเภทของเนื้อหา แต่ยังรวมถึง Level การใช้ภาษาของ Passage นั้นๆ อีกด้วย และแน่นอนครับข้อสอบประเภทนี้ต้องการวัดการต่อเนื่องของ Passage ดังนั้น 1 ข้อแนะนำที่สำคัญมากๆ เลยครับ คือ พยายามอย่าข้ามไปทำข้อที่คิดว่า เฮ้ย เราทำได้ ก่อนนะครับ (เว้นแต่เป็นข้อเกี่ยวกับ Connector) นั่นเพราะจะขาดความต่อเนื่องในการอ่านอย่างที่ข้อสอบต้องการวัด ทำให้เสียคะแนนได้มากมายครับ ทางที่ดีลองอ่านคร่าวๆ ให้พอรู้ก่อนครับ ว่าเรื่องเกี่ยวกับอะไร Level คำศัพท์ประมาณไหน แล้วก็ทำไปเรียงข้อไป อย่าสะดุดบ่อย ปล่อยให้สมองได้เห็นความต่อเนื่องของ Passage พอเสร็จแล้วอ่านดูทั้งเรื่อง ว่าที่เราเติมทั้งหมดดูเข้ากันดีไหม 

2. Short Passage ส่วนนี้น้องๆ อ่าน Passage สั้นๆ ครับ คือประมาณครึ่งหน้า แล้วตอบคำถาม 5 ข้อ อาจารย์โจไม่ค่อยชอบ Part นี้ครับ เพราะสั้นๆ ไม่ได้หมายความว่า ง่ายๆ สั้นคือ น้ำน้อยครับ เนื้อๆ ทั้งนั้น อ่านตั้งนานได้ 5 ข้อ ดูไม่ค่อยคุ้มเลยครับ ซึ่งจริงๆ เราอาศัยอ่านประโยคเดียว แล้วได้สัก 3 จาก 5 คะแนน น้องๆ ว่าดีไหมครับ

3. Long Passage เราพยายามเก็บพลังมาทำส่วนนี้ครับ เพราะต้องทำถึง 4 Passages ซึ่ง 1 Passage ก็ยาวประมาณ 1 หน้าครับ แล้วมาตอบคำถาม 10 ข้อ ดังนั้นส่วนนี้มีคะแนนให้ถึง 40 คะแนน เลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนครับว่า น้องๆต้องเจอ Passage เชิงวิชาการในหลายๆ สาขาวิชา ซึ่งสาขาวิชายอดฮิต ก็จะเป็นแนว วิทยาศาสตร์ แนวโลกของเรา หรือแนวการแพทย์ (Medical Issue) นอกนั้นก็จะมีแซมมาด้วยประเภท ประวัติศาสตร์บ้าง มนุษยศาสตร์บ้าง ดังนั้นอ่านไว อ่านเข้าใจ (แก่น) ยังไม่พอ ยังต้องเก็งและเตรียมให้พร้อมกับ Passage ในแต่ละสาขาวิชากันด้วยนะครับ 
Part นี้คงไม่ต้องเถียงกัน ปัญหาหลัก คือทำไม่ทัน แต่จากประสบการณ์คนที่อ่านไม่ทันนั้นมักจะเกิดจาก
          1. การอ่าน-แปล อ่าน-แปล ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวติดศัพท์ตัวนั้นตัวนี้ อ่านไม่ต่อเนื่อง
          2. กับอีกประเภท อ่านคำถามก่อนแล้วมาหาคำตอบจาก Passage ข้อสอบระดับสูงๆ ทำแบบนี้ไม่ได้ครับ เนื่องจากมีหลายๆ ข้อถามภาพรวม ในขณะข้อที่เป็น Detail จริงๆ Choice ก็ทำการ Restatement ไปเรียบร้อยแล้ว อีกอย่างโจทย์มักจะถามว่าข้อไหนถูกหรือผิด ไปหาในPassage ก็ไม่รู้จะหาตรงไหนแถมต้องหาทีละChoice อีก อย่างนี้ก็ไม่ทัน

          ดังนั้นการทำ Reading Part ให้ดีต้องอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Skimming) คือ อ่านแล้วจับใจความได้ อะไรสำคัญ อะไรไม่สำคัญ จะเน้นตรงไหน ตรงไหนข้ามๆไป 
3 Factors หลักๆ ที่อาจารย์โจชอบที่จะแนะนำในการประสบความสำเร็จใน part นี้
1. Structure โครงสร้างดี อานิสงค์จาก Writing Part ดังนั้นอยากให้เริ่มจาก Writing Part ให้แม่นๆ ก่อน เมื่อเรามีโครงสร้างดี จับได้หมดอันไหน Verbแท้ อันไหน Verb ไม่แท้ ส่วนสำคัญอยู่ตรงไหน ส่วนขยายก็ข้ามๆไป นอกจากจะอ่านได้เร็วขึ้น ยังไม่โดนคำถามประเภทใจความหลอกเอาอีกด้วย
2. Vocab คำศัพท์ คือ ของสะสม ที่สำคัญไม่แพ้ Structure แม้ข้อสอบระดับสูงๆ ไม่วัดคำศัพท์ตรงๆ แต่อยากให้เราเดาจาก Contextแต่ถ้าศัพท์น้อย ของสะสมน้อย อุตส่าห์โครงสร้างแข็ง รู้ว่าต้องเดาจากตัวไหน แต่ตัวนั้นไม่รู้ความหมายอีกก็จบ ดังนั้น มองข้ามไม่ได้ ซึ่งวิธีการท่องคำศัพท์ก็มีผลเช่นกัน(ศึกษาเพิ่มเติมได้ใน WORD ME UP Online Interactive Software …Software ท่องศัพท์แนวใหม่บนทฤษฎีการจดจำของสมอง พัฒนาคำศัพท์พร้อมโครงสร้างการใช้งาน)
3. Luck ดวงนี่แหละครับ ไม่ผิด แต่ไม่ได้หมายถึงใครเดาเก่งนะ แต่หมายถึงเข้าไปแล้วเจอ Passage เรื่องอะไรต่างหาก ดังนั้น ต้องเก็ง และเตรียมเช่นกัน ฝึก Passage ประเภทต่างๆ และคุ้นเคยกับคำศัพท์สาขาวิชานั้นๆ ช่วยเราได้มาก ศัพท์ตัวนึงอยู่คนละที่คนละสาขาวิชาก็อาจแตกต่างกันนะครับ เช่น appendix นักเรียนผมทั่วไป บอกภาคผนวก ส่วนเสริม นักเรียนที่เป็นพยาบาล หมอ บอกผม ไส้ติ่ง
Create Date :11 ธันวาคม 2559 Last Update :11 ธันวาคม 2559 12:09:38 น. Counter : 791 Pageviews. Comments :0