bloggang.com mainmenu search

ผลของการรักษาโรค

เมื่อเกิดความเจ็บป่วยขึ้น สิ่งหนึ่งที่ทุกคนอยากทราบก็คือ เจ็บป่วยด้วยโรคอะไร และผลการรักษาจะเป็นอย่างไร ซึ่งบางครั้งแพทย์เองก็ไม่สามารถให้คำตอบที่ชี้ชัดได้ว่าจะเป็นอย่างไร หรือ อาจให้คำตอบที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติ ทำให้เกิดปัญหาความไม่เข้าใจกันขึ้นระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและญาติ

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผลของการรักษาโรคว่าจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งอาจพอสรุปได้ว่าขึ้นอยู่กับ

1. ชนิดของโรค

ซึ่งอาจพอจำแนกชนิดของโรคได้เป็น 4 ประเภทคือ

1. โรคที่เป็นแล้ว รักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย (หายได้เอง) ซึ่งโรคโดยส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในกลุ่มนี้

2. โรคที่เป็นแล้ว รักษาจึงหาย ถ้าไม่รักษาก็หายแต่หายช้า

3. โรคที่เป็นแล้ว รักษาจึงหาย ถ้าไม่รักษาก็ตาย หรือมีความพิการ

4. โรคที่เป็นแล้ว ถึงรักษาก็ไม่หาย


2. ความสามารถของแพทย์ ที่ให้การรักษาพยาบาล นอกจากแพทย์แล้วก็ยังมีเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ นักกายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่เอ๊กซเรย์ เจ้าหน้าที่ห้องตรวจปฏิบัติการ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการรักษาความเจ็บป่วยของผู้ป่วยแต่ละคนนั้น ต้องใช้เจ้าหน้าที่หลายฝ่ายมาร่วมมือกันเพื่อให้ผลการรักษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


ถ้าเป็นโรคในกลุ่มที่ 1 ซึ่งรักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย ประชาชนทั่วไปก็สามารถหาความรู้เพื่อรักษาตัวเองได้

โรคที่อยู่ในกลุ่มนี้เช่น หวัด ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อหลังจากการทำงานหนักหรือจากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง

โรคกลุ่มที่ 2 และ 3 ซึ่งต้องได้รับการรักษาจึงจะหาย เป็นกลุ่มที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถของแพทย์ในการรักษาโรคให้หายโดยเร็วที่สุด มีภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการน้อยที่สุด ความรู้ของแพทย์จึงมีความสำคัญในการรักษาโรคในกลุ่มนี้

โรคที่อยู่ในกลุ่มนี้เช่น กระดูกหัก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ไส้ติ่งอักเสบ

โรคกลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มที่แพทย์ยังต้องให้การรักษาอยู่ ถึงแม้ว่าจะรักษาแล้วไม่หาย มีความพิการ หรือ มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น แพทย์ก็ต้องพยายามให้เกิดความพิการหรือภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด

ถ้าผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตก็ต้องพยายามให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวมากที่สุดและทรมานน้อยที่สุด

โรคในกลุ่มนี้เองที่มักจะเป็นปัญหาระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและญาติ ซึ่งผู้ป่วยและญาติก็มีความหวังที่จะให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติ แต่ในความรู้ความสามารถของแพทย์ในปัจจุบันไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจกันระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและญาติ เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

โรคที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น



3. ผู้ป่วยและญาติ

ในการรักษาโรคส่วนประกอบที่สำคัญอย่างมากก็คือ ผู้ป่วยและญาติ

ถึงแม้ว่าแพทย์จะเก่งหรือใช้ยาดีขนาดไหน ถ้าผู้ป่วยและญาติไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา ดูแลตนเอง ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ โรคก็ไม่มีทางหายได้

ความร่วมมือในการรักษาทั้งจากผู้ป่วยเอง และจากญาติ ก็จะทำให้การรักษาได้ผลดีตามที่ ทุกคนต้องการ ถึงแม้ว่าโรคบางอย่างอาจรักษาไม่หายแต่ถ้าญาติและผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษา ก็ทำให้ผลการรักษาดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้



::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 

Create Date :05 มกราคม 2551 Last Update :10 กรกฎาคม 2563 21:34:27 น. Counter : Pageviews. Comments :0