bloggang.com mainmenu search
ค่าเสียหายตามกฎหมายแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ใหญ่ กล่าวคือ ค่าเสียหายโดยตรง และค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ 

ค่าเสียหายโตยตรง เป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผลของการกระทำโดยนิติกรรมหรือนิติเหตุก็ได้ ซึ่งค่าเสียหายโดยตรงจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อถูกกระทำ โดยไม่ต้องคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่า ความเสียีหายนั้นจะเกิดขึ้น เช่น ค่าซ่อมแซมรถยนต์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นต้น 

ส่วน ค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้นั้น จะต้องปรากฎข้อเท็จจริงว่า คู่กรณีสามารถคาดหมายหรือดาดเห็นหรือเล็งเห็นได้ว่า หากกระทำผิดสัญญาหรือกระทำละเมิดต่ออีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ย่อมเกิดผลให้เกิดความเสียหายนั้นๆ ได้ เช่น นาย ก ขายที่ดินให้กับนาย ข โดยในขณะทำสัญญาจะซื้อขาย นาย ก ทราบว่า เมื่อนาย ข ได้ซื้อที่ดินจากนาย ก แล้ว นาย ข จะนำไปขายต่อให้นาย ค ในราคาที่ได้กำไร จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมานาย ก กลับปฏิเสธการขายที่ดินดังกล่าวให้แก่นาย ข ทำให้นาย ข ไม่ได้รับเงินในส่วนกำไร จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าเสียหายจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นค่าเสียหายที่นาย ก สามารถคาดหมายได้ว่า หากผิดสัญญาซื้อขายที่ดินกับนาย ข นาย ช จะเสียหายเงินได้กำไรดังกล่าว ดังนั้น เงินจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท จึงเป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ 

ท่านสามารถอ่านบทความตัวเต็มและคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องได้ที่
https://www.xn--42cgi4cjab1btnchd1exbza5gvad6dvnqc6f.com/%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%20%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9.html

บทความจาก
ทนายเชียงใหม่   
Create Date :18 เมษายน 2564 Last Update :18 เมษายน 2564 12:07:57 น. Counter : 727 Pageviews. Comments :0