bloggang.com mainmenu search
{afp}
การได้ภาระจำยอมมีหลายรูปแบบ เช่น ได้ภาระจำยอมโดยการตกลง หรือได้ภาระจำยอมโดยอายุความ ๑๐ ปี เป็นต้น เมื่อได้ภาระจำยอมแล้ว ส่งผลต่อกรรมสิทธิ์ที่ถูกภาระจำยอมต้องรับภาระให้ที่ดินแปลงข้างเคียงใช้ทางต่อไป อาจจะเป็นการใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นต้น ตามกฎหมายแล้ว การได้ภาระจำยอมโดยอาุยุความไม่ตกอยู่ภายใต้ มาตรา 1299 วรรคสอง ซึ่งผู้ซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมไม่ม่สิทธิยกข้อตกสู้ว่า ตนได้ซื้อที่ดินมาโดยมีค่าตอบแทน โดยสุจริต และจดทะเบียนโดยสุจริตแล้วไม่ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามคำพิพากษาดังนี้ 
 

ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินของ ส. และ ต. ภายหลังแบ่งแยก ต. ผู้ขายที่ดินให้แก่โจทก์ตกลงยินยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของ ต. เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ซึ่งโจทก์และบริวารก็ได้ใช้ทางพิพาทดังกล่าวตลอดมา การตกลงกันดังกล่าวถือเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ต. หรือโดยวิสาสะไม่ ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยนิติกรรมดังกล่าว อันเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้ทางภาระจำยอมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ก็อาจได้ภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความหากโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยเจตนาให้ได้ภาระจำยอมซึ่งต้องพิจารณาจากการใช้ว่า เป็นการใช้โดยอาการที่ถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อ ต. เจ้าของที่ดินที่ตั้งทางพิพาทคนเดิมและเจ้าของที่ดินคนต่อ ๆ มาหรือไม่

โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมตลอดมา เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทย่อมตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เมื่อเป็นการได้มาซึ่งภาระจำยอมแล้ว แม้จะเป็นการได้ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ก็ไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 1299 วรรคสอง ดังนั้น จำเลยทั้งสองจะยกเรื่องการรับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2562

บทความนี้ เขียนโดย ทนายเชียงใหม่

Create Date :30 กันยายน 2565 Last Update :30 กันยายน 2565 17:36:08 น. Counter : 545 Pageviews. Comments :0