
กล่าวโดยสรุปผู้เขียน (แคทเธอรีน เบลซีย์) ใช้คำว่าหลังโครงสร้างนิยม "
เพื่อสื่อถึงงานกลุ่มที่พัฒนาความคิดมาจากความพยายามของโซซูร์ที่พรากรูปสัญญะออกจากการอ้างอิงโดยตรงกับโลกภายนอกและทำให้ภาษามีจังหวะชีวิตของตนเอง" หนังสือเล่มนี้แปลจาก
Poststructuralism: A Very Short Introduction มัน short (ย่อ) จริง ๆ ครับ การไล่ตามศึกษาความคิดที่ผู้เขียนร้อยเรียงไว้เป็นประเด็น ค่อนข้างเหนื่อย และคิดตามไม่ทัน ผู้แปล (อ.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล) ถ่ายทอดออกมาดี อ่านแล้วไม่ติดขัด ประโยชน์ที่เราได้จากหนังสือเล็ก ๆ เล่มนี้คือมองเห็นภาพรวมค่อนข้างชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ที่แนะนำตัวละครหลักของหลังโครงสร้างนิยมเข้ามาสู่ฉาก
แก่นหนังสือคือความคิดของโซซูร์, คริสเตวา, บาร์ตส์, อัลตูแชร์, เลวี-สโทรส, ฟูโกต์, ลาก็อง, แดร์ริดา, ซิเซ็ค กับเลียวตาร์ บางคนบางความคิดก็จำแนกได้ชัดเจนว่าเป็นหลังโครงสร้างนิยม บางคนบางความคิดก็ไม่ใช่อย่างชัดเจน ในขณะที่บางคนบางความคิดก็ยังไม่มีข้อสรุป เถียงกันไปได้เรื่อย ๆ ทั้งฝ่ายที่ว่าใช่และฝ่ายที่ว่าไม่ใช่ แต่ความคิดของคนเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กันแน่นอนครับ อาจเป็นความสัมพันธ์เชิงสืบทอด ต่อยอด โต้แย้ง หรือใช้เป็นกรอบประยุกต์ รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือหลาย ๆ แบบรวมกัน
โดยรวมแล้วเป็นบทสรุป (และแบบฝึกหัด) ความคิดที่คนชอบคิดไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
ผมให้ 



