Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
26 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 
LCD - โครงสร้าง และการทำงาน

Polarization
Polarization เป็นคุณสมบัติหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่นำมาใช้ในการผลิต LCD โดยทั่วไปแสงจะกระจายตัวในแกนต่าง ๆ (แต่ตั้งฉากกับแนวทางเดินของแสง) ดังรูป


รูปแสดงคลื่นแสงแบบ Unpolarized[1]


หรือแสดงให้เห็นง่าย ๆ เป็น


รูปแสดงคลื่นแสงแบบ Unpolarized[1]


เมื่อนำแสงนั้นผ่านไปยัง Filter บางชนิด มันจะยอมให้แสงในบางทิศทางเท่านั้นที่ผ่านไปได้ ผลที่ได้จะเป็นดังรูป


รูปแสดงคลื่นแสงแบบ Polarized[1]


เราสามารถนำความสามารถของการใช้ Polarize Filter มาเป็นส่วนประกอบในการสร้าง LCD ได้ดังนี้


รูปแสดงโครงสร้างของ LCD [2]


LCD ประกอบด้วยแผ่นแก้วประกอบกันคล้ายเป็นขวดแบน ๆ บรรจุไปด้วยสาร LC โดยที่พื้นผิวแก้วนั้น จะเคลือบด้วยสาร Polymer ซึ่งโดยทั่วไปคือ PolyImide(PI) ใช้สำหรับเรียงโมเลกุลตัว LC ซึ่งมีรูปร่างเป็นแท่ง ตัวแก้ว LCD จะมีตัวนำไฟฟ้าชนิดใส เคลือบอยู่สำหรับเป็น Electrodes ซึ่งทำจาก Indium-Tin Oxide (ITO) โดยปกติแล้ว LC จะอยู่ใน chiral nematic phase คือ โมเลกุลจะสร้างตัวเป็น Layer โดยที่ใน Layer บน โมเลกุลจะบิดตัวไปจาก Layer ล่างเพียงเล็กน้อย ทำให้โมเลกุลเรียงตัวเป็นเกลียว การบิดตัวเป็นเกลียวของ LC นี้ ใช้สำหรับควบคุมทิศทางของแสง เมื่อแสงผ่าน Polarizer ชั้นแรก จะเป็นแสงแบบ Polarize คือมีแกนเดียว เมื่อผ่านไปยังเกลียวของ LC ทิศทางของแสงจะบิดตัว 90 องศาไปยัง Polarizer อีกฝั่งซึ่งตัดกับ Polarizer ตัวแรก 90 องศาพอดี ทำให้แสงเรียงตัวแนวเดียวกับ Polarizer ตัวที่สองพอดี แสงจึงทะลุผ่านไปได้ ผู้สังเกตุจึงดูเหมือนมองผ่านกระจกใส
แต่เมื่อจ่ายสัญญาณไฟฟ้าตกคร่อมตัว Electrodes ตัว LC ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่ง จะเรียงตัวแนวยาวไปตามทิศทางของสนามไฟฟ้า สภาวะการเรียงตัวเป็นเกลียวถูกทำลาย แสงจะไม่ได้ถูกเรียงตัวตาม LC เมื่อไปเจอกับ Polarizer ตัวที่สองซึ่งตัดกัน 90 องศาทำให้แสงผ่านไปไม่ได้เกิดเป็น Active Segment สีดำ[2][3]


รูปแสดงการเรียงตัว LC เป็นเกลียวในสภาวะปกติ[3]



รูปแสดงการบิดตัวของแสงโดย เกลียว LC ทำให้แสงทะลุผ่าน Polarizer[3]



รูปแสดงการเรียงตัวของ LC หลังจากใส่สนามไฟฟ้าคร่อม Electrode ทำให้แสงถูกดักโดย Polarizer [3]



รูปแสดงการทำงานของ LCD ก่อน และหลังจ่ายไฟ[4]


** อ้างอิงมาจาก
[1] //www.colorado.edu/physics/2000/polarization/polarizationII.html
[2] //www.altadox.com/lcd/knowledge/lcd_basics.htm
[3] //www.liquidcrystaltechnologies.com/basop.htm
[4] //moebius.physik.tu-berlin.de/lc/lcd.html




Create Date : 26 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 18 ธันวาคม 2549 20:43:56 น. 2 comments
Counter : 3434 Pageviews.

 
เป็นอย่างนี้นี่เอง
มันตัวเดียวกะ Polarized Filter ใช่มั้ยเอ่ย
ถามแบบโง่ๆ อิอิ

มาตอบคำถามค่ะ ซากุระ ดอกฑญาเสือโคร่งถ่ายมาจากศูนบ์วิจัยการเกษตรขุนวาง เชี่ยงใหม่คะ



โดย: ทากลูกหมู วันที่: 26 มกราคม 2550 เวลา:22:27:41 น.  

 
ดูแล้วสนใจอยู่


โดย: Naparat IP: 125.26.213.67 วันที่: 18 กันยายน 2553 เวลา:9:27:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ECie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




หลังไมค์ของผมค๊าบ !!
Friends' blogs
[Add ECie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.