Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
12 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 

[New Update] เกาะติด รายงานสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด 12 พ.ย. 54 หลายจุดน้ำลดแล้ว

บทความที่น่าสนใจ

แบบบ้านลอยน้ำได้

ดูแลบ้าน หลังน้ำท่วม

สร้างรั้วกั้นน้ำเข้าบ้าน

ดูแลเฟอร์นิเจอร์ น้ำท่วม

ตรวจเช็คระบบไฟ ก่อนและหลังน้ำท่วม

โครงการ ปลดหนี้ ลดหนี้ ช่วยน้ำท่วม



กทม.เผยระดับน้ำคลองมหาสวัสดิ์ยังคงสูงอยู่-คลองบางซื่อเริ่มลดลง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรุงเทพมหานครสรุปสถานการณ์น้ำประจำวัน โดยปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา วัดได้ 2,655 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวาน 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ขณะที่ภาพรวมสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระดับน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ อยู่ในระดับสูง และน้ำจากศาลายา จ.นครปฐม ยังคงหลากเข้าพื้นที่กรุงเทพมหานคร เข้าท่วมพื้นที่ฝั่งธนบุรีอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำในคลองหกวาสายล่าง ลดลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่วนคลองลาดพร้าว ที่รับน้ำจากคลองหกวาสายล่าง ยังทรงตัวระดับสูง ระดับน้ำในคลองเปรมประชากร บริเวณดอนเมืองยังล้นตลิ่ง ส่วนตอนล่างเขตบางซื่อ ระดับน้ำปริ่มตลิ่ง แต่สถานีสูบน้ำยังสูบน้ำได้ทัน ขณะที่ระดับน้ำคลองบางซื่อ ช่วงถนนรัชดาภิเษก เริ่มลดลง

นายกฯ รับตอบยากน้ำท่วมกทม.ชั้นในถึงจุดใด ต้องรอดูวันที่ 13 พ.ย.
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กทม. ที่ขณะนี้หลายพื้นที่ปริมาณน้ำเริ่มลดลงว่า ถ้าวิกฤตที่จะรุนแรงขึ้นถือว่าโอกาสน้อย แต่จะยังมีน้ำทะเลหนุนอีกช่วงหนึ่งในกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหารุนแรงเหมือนที่ผ่านมา และเหลือเพียงการระบายน้ำในฝั่งตะวันตกของ กทม.ที่ยังต้องแก้ไขอยู่

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากน้ำทะลักเข้ามาในพื้นที่ชั้นในของกทม.จะไม่รุนแรงใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า "ใช่ค่ะ จะไม่ใช่เป็นการท่วมรุนแรงเหมือนกับต่างจังหวัด" เมื่อถามว่า ประเมินว่าน้ำที่เข้ามาในกทม.จะทะลักเข้าไปถึงจุดใดของกทม. น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า รู้สึกตอบยาก เพราะว่าคงต้องขอไปดูในวันที่ 13 พฤศจิกายนก่อน เพราะมีบางอย่างที่เราพยายามป้องกันอยู่ ต้องดูว่าได้ผลมากน้อยแค่ไหน บางทีพูดเร็วไปอาจไม่เห็นผล ดังนั้นขอรอดูในวันอาทิตย์นี้ก่อน

ต่อข้อถามว่า แสดงว่ายังมีจุดที่นายกฯ ยังมีความเป็นห่วงอยู่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ใช่ โดยตามจุดที่เราได้มีการสั่งให้กั้นแนวต่างๆ ในส่วนของบริเวณถนนพระราม 2 ก็หลายๆ จุด และต้องดูถ้าน้ำมาลงในส่วนของคลองแสนแสบ และประตูระบายน้ำทำงานได้เต็มที่ก็น่าจะปลอดภัย เมื่อถามว่า พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางชันถือว่าน่าเป็นห่วงหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวนี้กำลังช่วยกันป้องกันอยู่

‘ยิ่งลักษณ์’ เผยสถานการณ์น้ำท่วมดีขึ้น สั่งมท.สำรวจความเสียหาย-จ่ายเงินเยียวยาเสร็จใน45วัน
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านรายการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชนว่า สถานการณ์น้ำในสัปดาห์ที่ผ่านมาดีขึ้น หลายจังหวัดน้ำลดแล้ว อาทิ นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง และได้มีการเริ่มฟื้นฟูแล้ว ส่วนใน กทม. หลังจาก ศปภ. วางบิ๊กแบ็กเสร็จก็สามารถชะลอน้ำด้านเหนือและตะวันออกได้ในระดับหนึ่ง ทำให้ กทม. สามารถบริหารจัดการน้ำได้ดีขึ้น บิ๊กแบ็กไม่สามารถหยุดน้ำทั้งหมดได้แต่ก็เป็นวิธีการที่ดีในการชะลอน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากคลอง โดยให้กรมชลประทาน รับผิดชอบระบายน้ำออกจากคลองรังสิต และให้กระทรวงมหาดไทยดูแล สำรวจเรื่องความเสียหาย และมอบเงินเยียวยาให้เสร็จสิ้น ภายใน 45 วัน ตลอดจนมอบเครื่องสูบน้ำ 70 เครื่อง ให้ กทม. ใช้บริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ กทม. ชั้นใน

ขณะที่ ฝั่งตะวันตก ได้มีการเร่งมือซ่อมแนวกั้นน้ำต่างๆ ไปเกือบหมดแล้ว และคาดว่า จะเสร็จสิ้นทั้งหมด ในวันที่ 13 พ.ย.นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ น้ำใน จ.ปทุมธานี และ นนทบุรี ไหลเข้าท่วมพื้นที่ กทม. น้อยลง รวมถึงการพยายามขุดคลอง

เพื่อระบายน้ำลงสู่ทะเลควบคู่กันไปกับการพยายามกู้ถนน 340 เพื่อเป็นเส้นทางในการสัญจรสู่ภาคใต้

นายกรัฐมนตรียอมรับว่าเป็นห่วงพื้นที่แนวคันกั้นน้ำและถนนพระราม 2 ซึ่งถ้าน้ำระบายลงคลองแสนแสบ และประตูระบายน้ำทำงานเต็มที่ก็น่าจะปลอดภัย ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมบางชันยังคงป้องกันได้

ดอนเมืองลด-เริ่มเห็น "เก๋ง"โผล่ หลัง18พย.กรุงฟื้น


พ้นทะเลหนุน-เปิดประตูน้ำเพิ่ม แต่ฝั่งธนฯยังหนักท่วมอีกเดือน น้ำล้อมนิคมบางชัน-ลาดกระบัง

พ้นน้ำ - ชายคนหนึ่งฝ่าน้ำท่วมขังระดับอกเข้ามาดูรถ ยนต์ซึ่งเคลื่อนย้ายออกจากสนามบินดอนเมืองไม่ทัน ต้องปล่อยจมน้ำจนมิดคันนานเกือบครึ่งเดือนกระทั่งน้ำลดระดับลง

น้ำยังลดต่อเนื่อง ผลบิ๊กแบ๊ก-ระดม สูบ "ธีระชน" ชี้ 2 สัปดาห์ถนนกรุงฟื้นเป็นปกติแน่ ยันไม่มีน้ำซ้ำเติมแล้ว เพราะบิ๊กแบ๊กได้ผล "วีระ"ย้ำกทม.ดีขึ้นหลัง 18 พ.ย. แต่ฝั่งธนฯต้องใช้อีก 1 เดือนถึงคลี่คลาย เผยน้ำทะเลหนุนสูงถึง 16 พ.ย. จากนั้นลงต่ำมาก แนะกทม.ปรับวิธีระบายน้ำหลังน้ำทะเลลง ให้เปิดประตูระบายตามธรรมชาติ เชื่อได้ผลดีกว่าสูบ กู้ 340 เสร็จ 12 พ.ย. เชื่อมทางลงใต้หากพระราม 2 ถูกตัด ขาด นิคมฯบางชัน-ลาดกระบังระทึก น้ำล้อมรอบ แต่ยังเชื่อหากน้ำเหนือไม่เพิ่ม น่าจะรอด กทม.เร่งเก็บขยะหน้าสถานีสูบน้ำ หวั่นเครื่อง-ระบายช้า

น้ำเขื่อนใหญ่ยังเยอะ

นายภานุ แย้มศรี ผอ.ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย ปภ. ในฐานะประธานการประชุมศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) เผยว่า ปัจจุบันยังมีสถานการณ์อุทกภัย 23 จังหวัด มีผู้เสียชีวิต 533 ราย สูญหาย 2 ราย สำหรับสถานการณ์น้ำในเขื่อนเก็บน้ำขนาดใหญ่ เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำ ร้อยละ 99.3 เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำ ร้อยละ 99.6 เขื่อนแควน้อย มีปริมาณน้ำ ร้อยละ 100 เขื่อนป่าสัก มีปริมาณน้ำ ร้อยละ 129

ทะเลหนุนถึง 16 พ.ย.

นายวีระ วงศ์แสงนาค ประธานคณะทำงานบริหารจัดการระบายน้ำในพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรง เผยว่า ตามข้อมูลของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ รายงานว่าน้ำทะเลจะหนุนสูงอีกครั้งไปจนถึงวันที่ 16 พ.ย.นี้ จากนั้นจะเป็นช่วงขาลง ซึ่งตนแนะนำนายสัญญา ชีนิมิตร ผอ.สำนักระบายน้ำ กทม. แล้วว่าตั้งแต่วันที่ 18 พ.ย. เป็นต้นไป เมื่อน้ำเจ้าพระยาลดต่ำแล้ว กทม. ควรเปิดประตูระบายน้ำของคลองต่างๆ ในเขตบางกอก น้อย และจรัญสนิทวงศ์ ทันที เพราะเมื่อระดับน้ำเจ้าพระยาลดต่ำ น้ำในคลองจะไหลลงสู่แม่น้ำโดยอัตโนมัติ และจะไหลลงเร็วกว่าการระบายน้ำโดยการใช้เครื่องสูบน้ำมาก

หลัง 18 พ.ย.-กรุงฟื้น

นายวีระกล่าวว่า สำหรับน้ำที่ท่วมขังอยู่ทั้งพื้นที่ฝั่งตะวันออก 2 สัปดาห์ หลังจากวันที่ 18 พ.ย.จะลดลงและเข้าสู่ภาวะปกติ และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจะเข้าสู่ภาวะปกติเช่นกัน นอกจากนี้กำลังจัดทำแผนการระบายน้ำในพื้นที่ที่กรมชลประทานรับผิดชอบ ตามที่ศปภ.มอบหมาย คือ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นมา และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตพื้นที่รังสิตเหนือ โดยแผนการเบื้องต้นจะเสนอให้กรมชลฯ จับตาคลองต่างๆ ในเขตจ.นนทบุรีและปทุมธานี เพื่อเปิดประตูระบายน้ำทันที เมื่อน้ำเจ้าพระยาลดระดับวันที่ 18 พ.ย.54 รวมทั้งประตูน้ำที่สำคัญอย่างประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ ในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ด้วย

นายวีระกล่าวว่า พื้นดินจ.นนทบุรีและปทุม ธานี สูงกว่าแม่ น้ำเจ้าพระยาประมาณ 2 ม. โดยเฉลี่ย การเปิดประตูระบายน้ำให้น้ำทิ้งตัวลงสู่แม่น้ำจะเป็นการระบายน้ำในคลองออกได้เร็วที่สุด ซึ่งหลังจากนั้นน้ำบนผิวดินที่ท่วมก็จะไหลลงสู่ลำคลองโดยอัตโนมัติ เหลือเพียงน้ำขังในพื้นที่เท่านั้น ซึ่งมีไม่มากแล้ว ก็ปล่อยให้เป็นหน้า ที่ของจังหวัดและเทศบาล จัดการสูบออกกันเองเหมือนที่ทำกันทุกปี ตอนนี้ต้องทำรายละเอียดอีกครั้ง เพื่อเสนอต่ออธิบดีกรมชลพิจารณา เนื่องจากปี 2538 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ กรมชลฯ ก็ใช้แผน การนี้ระบายน้ำ




 

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2554
0 comments
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2554 14:38:24 น.
Counter : 778 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


yungbin
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add yungbin's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.