อักษรภาพ ประดิษฐ์เอง ตำนานกำเนิดสรรพสิ่งแต่งเอง และอะไรๆ ที่ไม่น่าเชื่อแต่ก็ทำได้เองนะคร้าบ
<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
6 มกราคม 2554

ทฤษฎีกฎหมายการแต่งงานยุคโลกาภิวัฒน์

ทฤษฎีกฎหมายการแต่งงานยุคโลกาภิวัฒน์

การแต่งงานสามลักษณะ

๑) ฝ่ายหญิงย้ายเข้าบ้านฝ่ายชาย
กรณีนี้ ฝ่ายชายต้องเป็นผู้สู่ขอ และให้สินสอดทองหมั้นแก่พ่อแม่ของฝ่ายหญิงๆ เปลี่ยนนามสกุลตามฝ่ายชาย, บุตรมีนามสกุลตามบิดา (แบบจีน) จึงจัดว่ายุติธรรมตามกฎหมาย กรณีนี้ ถือว่า “ฝ่ายชายเป็นผู้นำครอบครัวใหม่” นี้ และฝ่ายหญิงต้องทำหน้าที่เป็นผู้ตาม (ต้องปรับตัวเข้ากับครอบครัวใหม่ เมื่อขัดแย้งกับฝ่ายชายๆ จะมีพ่อแม่เข้าข้างอยู่เนืองๆ)

๒) ฝ่ายชายย้ายเข้าบ้านฝ่ายหญิง
กรณีนี้ ฝ่ายหญิงต้องเป็นผู้สู่ขอ และให้สินสอดทองหมั้นแก่พ่อแม่ของฝ่ายชายๆ เปลี่ยนนามสกุลตามฝ่ายหญิงบุตรมีนามสกุลตามมารดา (แบบอินเดีย) จึงยุติธรรมตามกฎหมาย กรณีนี้ ถือว่า “ฝ่ายหญิงเป็นผู้นำครอบครัวใหม่” นี้ และฝ่ายชายต้องทำหน้าที่เป็นผู้ตาม (ต้องปรับตัวเข้ากับครอบครัวใหม่เมื่อขัดแย้งกับฝ่ายหญิงๆ จะมีพ่อแม่เข้าข้างอยู่เนืองๆ)

๓) แยกไปตั้งบ้านอยู่กันเองใหม่
กรณี คู่สมรสย้ายไปตั้งบ้านเองใหม่ หากทรัพย์สินก่อนสมรสเกิดจากฝ่ายใดแล้ว ให้ฝ่ายนั้นเป็นหลัก เช่น บ้านใหม่ที่ตั้งขึ้นเป็นทรัพย์สินของฝ่ายหญิง ต้องให้ฝ่ายหญิงเป็นหลัก คือ ฝ่ายชายต้องเปลี่ยนนามสกุลเข้าบ้านของฝ่ายหญิง, บุตรก็ใช้นามสกุลของฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงต้องทำการสู่ขอ และให้สินสอดทองหมั้นแก่พ่อแม่ของฝ่ายชาย (แบบอินเดีย) แต่ถ้าบ้านที่ตั้งขึ้นใหม่เป็นของฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงเป็นผู้ย้ายเข้าบ้านของฝ่ายชายต้องให้ฝ่ายหญิงเปลี่ยนนามสกุลตามฝ่ายชาย, บุตรมีนามสกุลตามบิดา และฝ่ายชายก็ต้องสู่ขอ ให้สินสอดทองหมั้นแก่พ่อแม่ของฝ่ายหญิง (แบบจีน) จึงจัดว่ายุติธรรมตามกฎหมาย แต่หากกรณี ทั้งคู่ร่วมเงินกันสร้างเรือนหอขึ้นมาเอง หรือทั้งสองฝ่ายคือทั้งญาติในฝ่ายชายและฝ่ายหญิงต่างออกเงินสร้างเรือนหอให้ เรือนหอนับเป็น “สมบัติส่วนกลาง” ของทั้งคู่ หากฝ่ายชายตกลงสู่ขอฝ่ายหญิง จะต้องทำตามประเพณีจีน แต่หากฝ่ายหญิงสู่ขอฝ่ายชาย จะต้องทำตามประเพณีอินเดีย อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ตกลงกันเองระหว่างสองฝ่าย หากตกลงกันไม่ได้ จะต้องทำตามประเพณีไทย คือ ชายสู่ขอฝ่ายหญิง เป็นหลักสำคัญ

สัญญาที่กระทำกันเองระหว่างฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ที่นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากนี้ นับเป็น “สัญญาที่ไม่เป็นธรรม” สามารถฟ้องร้องขอให้เป็น “โมฆียะ” ได้ จากนั้นต้องให้คู่สัญญาทำสัญญากันใหม่ เจรจากันใหม่ว่าจะยอมรับสัญญาตามเดิมหรือไม่ หรือเปลี่ยนสัญญาในส่วนใด เพื่อให้โอกาสผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ได้รอดพ้นจากการถูกเอาเปรียบ

ที่มาของกฎหมายการแต่งงานสามลักษณะ

๑) เพื่อคุ้มครองสิทธิสตรี ให้ทัดเทียมกับสิทธิบุรุษ โดยหญิงชายเท่าเทียมกัน แต่บทบาทต่างกัน จะต้องตกลงกันให้ชัดเจนก่อนว่าจะให้หญิงหรือชายเป็นผู้นำ
๒) เพื่อคุ้มครองสิทธิบิดามารดา ผู้เลี้ยงดูบุตรมาแต่เยาว์วัย เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ สามารถทำกิจการงานได้ จะต้องได้รับ “สินสอด” หากต้องเสียบุตรให้บ้านอื่นไป
๓) เพื่อคุ้มครองสิทธิตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ให้สามารถสืบเชื้อสายตระกูลของตนได้ แม้ว่าจะเหลือเพียงบุตรสาวคนเดียว (โดยการสู่ขอฝ่ายชายเข้ามาเพื่อสืบตระกูล)
๔) เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุตร ให้ได้รับสกุลที่สืบต่อมาจากตระกูลที่เข้มแข็งกว่า ที่สามารถดูแลบุตรหลานของตนสืบต่อไปได้ (โดยพิจารณาที่บ้านและสินสอด)
๕) เพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าของบ้าน ให้ได้เป็น “ผู้นำ” ครอบครัว หลังจากสามารถสร้างบ้านของตนขึ้นมา แม้ว่าจะเป็นฝ่ายหญิง ก็สมควรจะเป็นผู้นำครอบครัวได้




 

Create Date : 06 มกราคม 2554
0 comments
Last Update : 6 มกราคม 2554 11:59:43 น.
Counter : 1018 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ฉันนะ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add ฉันนะ's blog to your web]