ตุลาคม 2562

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ผลการลงมติข้อตกลง Brexit ผลการประชุมนโยบายการเงินยุโรป และตัวเลขการส่งออกไทย

 


 



             คอลัมน์ มีนนี่วีก (Money week) โดย...พีรพรรณ สุวรรณรัตน์, มนัสวิน ฐิติสมบูรณ์ สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย
             สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทยมองว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ 30.20-30.50 ผลของการพิจารณาข้อตกลง Brexit ของรัฐสภาของสหราชอาณาจักรในช่วงสุดสัปดาห์คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลกในช่วงต้นสัปดาห์ หากรัฐสภารับรองข้อตกลงฉบับแก้ไขของนายบอริส จอห์นส้น คาดว่าจะทำให้เงินปอนด์และเงินยูโรแข็งค่าขึ้น แต่หากตัวเลขเศรษฐกิจของยุโรปออกมาอ่อนแอรวมถึงผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรปออกมาสนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่อง อาจกดดันเงินยูโรให้อ่อนค่าลงได้เช่นกัน ด้านสหรัฐฯ ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่จะประกาศในสัปดาห์นี้จะส่งผลต่อการคาดการณ์โอกาสการลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 3 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงสิ้นเดือนนี้ด้วย ส่วนไทย กระทรวงพาณิชย์จะประกาศตัวเลขการส่งออกตามระบบศุลกากร หากพิจารณาจากฐานที่ต่ำในปีก่อน มีโอกาสที่จะเห็นตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนกันยายนกลับมาขยายตัวได้

             ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทผันผวนสูง โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้น โดยในช่วงต้นสัปดาห์ เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 30.36 และเคลื่อนไหวในกรอบ 30.36 – 30.45 โดยนักลงทุนติดตามพัฒนาการการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอย่างใกล้ชิดหลังทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงทางการค้าเบื้องต้น โดยจีนตกลงที่จะนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ มูลค่ารวม 4-5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมทั้งตกลงที่จะหาทางจัดการปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและยินยอมที่จะเปิดเสรีด้านบริการทางการเงินมากขึ้น ขณะที่สหรัฐฯ จะชะลอการขึ้นภาษีกับสินค้านำเข้าจากจีนจาก 25% เป็น 30% ที่ก่อนหน้านี้กำหนดไว้วันที่ 15 ตุลาคม อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังกังวลต่อโอกาสที่ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายจะกลับมาปะทุขึ้นหลังจากสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายสนับสนุนการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในฮ่องกง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศของจีน ประกาศว่ากฎหมายจากสหรัฐฯ จะกระทบต่อความสัมพันธ์สหรัฐฯ จีน และจีนจะต้องตอบโต้ ด้วยมาตรการต่างๆ ทั้งนี้ เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์ตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอลง โดยเฉพาะยอดค้าปลีกเดือนกันยายนที่หดตัวครั้งแรกในรอบ 7 เดือนและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ส่งผลให้ตลาดเพิ่มการคาดการณ์ว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมปลายเดือนนี้ โดยเงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 30.30 ณ วันที่ 18 ตุลาคม (เวลา 17.15 น.)

            ภาพรวมตลาดตราสารหนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดตราสารหนี้ได้รับแรงกดดันจากปัจจัยบวกทั้งเรื่องที่สหรัฐฯ และจีนสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าเบื้องต้น โดยจีนตกลงที่จะนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ มูลค่ารวม 4-5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมทั้งตกลงที่จะหาทางจัดการปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและยินยอมที่จะเปิดเสรีด้านบริการทางการเงินมากขึ้น ขณะที่สหรัฐฯ ได้ชะลอการขึ้นภาษีกับสินค้านำเข้าจากจีนที่จะปรับขึ้นจาก 25% เป็น 30% ในวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมาออกไปก่อน อย่างไรก็ตามทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีการเซ็นสัญญาลงนามในข้อตกลงดังกล่าว โดยจีนต้องการที่จะพูดคุยในรายละเอียดเพิ่มเติมและตลาดคาดว่าประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงอาจลงนามในสัญญาทางการค้าร่วมกันในการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องข้อตกลง Brexit ได้รับการอนุมัติจากยุโรป ซึ่งข้อตกลงที่ได้รับการรับรองนี้ช่วยบรรเทาความกังวลของตลาดต่อการออกจากยุโรปโดยไร้ข้อตกลงลงไปได้บ้าง แต่ทั้งนี้ต้องติดตามดูผลการประชุมรัฐสภาของสหราชอาณาจักรในวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 62 ว่าจะสามารถลงคะแนนอนุมัติแผนข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่ โดยทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้นนี้ได้กดดันตลาดมาเป็นเวลานาน ดังนั้นเมื่อมีสัญญาณที่ชี้ไปในทิศทางที่ดีขึ้นย่อมส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นในระยะสั้นและมีแรงขายสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ทำให้อัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ต่างปรับตัวขึ้นตามกันไปด้วย แต่หากจะมองให้ไกลกว่านี้ต้องบอกว่าภาพรวมของเศรษฐกิจโลกยังดูน่าเป็นห่วง โดยล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลงเป็นครั้งที่ 4 ในปีนี้ ในรายงานเศรษฐกิจเดือนตุลาคม IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2019 จะขยายตัว 3.0% ลดลงจาก 3.2% ในประมาณการเดือนกรกฎาคม รวมไปถึงหากพิจารณาดูโอกาสที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 25 bps ในการประชุมเดือนตุลาคมได้ปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 82% (ณ วันที่ 18 ตุลาคม 62 เวลา 16.00 น.) จากระดับ 78% ในช่วงปิดสัปดาห์ก่อนหน้า สะท้อนมุมมองที่นักลงทุนยังคงคาดหวังให้เฟดปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้งในปีนี้

          ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดโลก และเป็นการปรับโดยที่เส้นอัตราผลตอบแทนมีความชันสูงขึ้น ปิดสัปดาห์ วันที่ 18 ตุลาคม 2562 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยรุ่นอายุ 1, 2, 3, 5, 7 และ 10ปี อยู่ที่ 1.41% 1.39% 1.40% 1.41% 1.51% และ 1.56% ตามลำดับ

 

 

กระแสเงินทุนต่างชาติในสัปดาห์ที่ผ่านมาไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิประมาณ 5,148 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 3,759 ล้านบาท ขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 1,389 ล้านบาท และไม่มีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ

 




Create Date : 21 ตุลาคม 2562
Last Update : 22 มกราคม 2563 10:11:36 น.
Counter : 1345 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 5324099
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]