พฤษภาคม 2554

1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
- DSI คือใคร ทำอะไรบ้าง -

เครดิต DD จาก




DSI  หรือ  กรมสอบสวนคดีพิเศษ  (Department of Special Investigation)


วิสัยทัศน์


" เป็น องค์กรสหวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเชิงรุก เพื่อป้องกันปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมุ่งมั่นอำนวยความยุติธรรม ด้วยความเชี่ยวชาญพิเศษ สุจริต โปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน "


ความเป็นมา

                สืบ เนื่องจากสถานการณ์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาด้านเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ไปตลอดถึงการก่ออาชญากรรม ซึ่งพัฒนาจากการใช้ความรุนแรงเป็นอาชญากรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายทาง เศรษฐกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก การใช้เทคโนโลยีคุณภาพสูงและช่องว่างของกฎหมายปิดบังความผิดของตน มีอิทธิพลและเครือข่ายองค์กรโยงใยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ยากต่อการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดี จึงต้องมีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษขึ้น โดยอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม  ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า  DEPARTMENT OF SPECIAL INVESTIGATION  มีชื่อย่อว่า DSI ซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในด้านต่างๆ พัฒนารูปแบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นองค์กรหนึ่งซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในการปฏิรูประบบราชการ ทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุด



อำนาจหน้าที่


1.     ป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

2.     พัฒนา กฎหมาย กฎระเบียบ รูปแบบ วิธีการ และมาตรการในการป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

3.       พัฒนาโครงการและการบริหารจัดการองค์กร

4.       พัฒนาบุคลากรโดยเสริมสร้างศักยภาพในด้าน  ความรู้  ความสามารถ  คุณธรรม จริยธรรม และขวัญกำลังใจ

5.     ประสานส่งเสริมเครือข่าย ความร่วมมือในการป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมกับทุกภาคส่วนทั้งภายในและต่างประเทศ



คดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ


                คดี พิเศษหรือคดีอาชญากรรมพิเศษ หมายถึงคดีที่ผู้กระทำผิดมีโครงข่ายโยงใยระหว่างประเทศ ลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรมที่มีอิทธิพลหนุนหลังและมีความรู้ความเชี่ยวชาญใน เทคโนโลยีระดับสูง การกระทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่งต่อประเทศชาติและประชาชน อันได้แก่

1.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

2.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า

3.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์

4.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

5.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเล่นแชร์

6.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

7.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ

8.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม

9.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค

10.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า

11.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

12.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร

13.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน

14.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย

15.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด

16.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

17.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

18.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์

19.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

20.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

21.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร

22.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์


        คดี ความผิดอาญาตามกฏหมายที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่ม เติม  ตามกฏหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547  บัญชีท้ายประกาศ  กคพ. ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2547)  ดังนี้


1.   คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร

        2.   คดีความผิดตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากร

        3.   คดีความผิดตามกฏหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต

        4.   คดีความผิดตามกฏหมายว่าด้วยสุรา

        5.   คดีความผิดตามกฏหมายว่าด้วยยาสูบ


การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน


                สามารถ แจ้งเบาะแส ข้อมูลการกระทำความผิด ความคิดเห็น และเรื่องราวร้องทุกข์มายังกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทางจดหมาย ไปรษณียบัตร โทรศัพท์ โทรสาร หรือผ่านทางเว็บไซต์ www.dsi.go.th


ความหมายของเครื่องหมายราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ


                1. ธงชาติไทย  แสดงความเป็นไทยอย่างชัดเจน  เพื่อให้อารยประเทศได้ทราบว่าหน่วยงานนั้นเป็นหน่วยงานที่สังกัดรัฐบาลไทย

                2. ดาว 10 ดวง  ใต้ ธงชาติไทย  ดาวแต่ละดวงแสดงถึงสำนักต่างๆ ทั้ง 10 สำนัก ที่มีขอบเขตอำนาจหน้าที่  ปฏิบัติอยู่ในราชอาณาจักรทไย  อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม              

                3. ตราชู  เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์กระทรวงยุติธรรม  ล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์   หมายถึงความเชิดชู และดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมอย่างมีเกียรติศักดิ์

                4. DSI   เป็นคำย่อของหน่วยงานกรมสอบสวนคดีพิเศษ    เป็นภาษาอังกฤษว่า   DEPARTMENT OF SPECIAL INVESTIGATION

                5. สีน้ำเงิน สีเงิน และสีทอง  หมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย และโครงสร้างอันมั่นคง แข็งแรงและความรุ่งโรจน์ของสถาบัน



ที่ตั้ง


                กรมสอบสวนคดีพิเศษ  เลขที่ 128   หมู่ 3  ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง  เขตหลักสี่  กรุงเทพมหานคร 10210

                โทร. 0-2913-6789 , 0-2831-9888  โทรสาร 0-2913-7777 

www.dsi.go.th


 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


By Por







Free TextEditor



Create Date : 06 พฤษภาคม 2554
Last Update : 6 พฤษภาคม 2554 16:03:43 น.
Counter : 1025 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Khunporkul
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]