สายลมแผ่วเบา เราเฝ้ามองหา ความรักผ่านมา ผ่านมาพร้อมสายลม สายลมผัดผ่าน ไม่นานเลือนหาย ความรักกลับกลาย จากไปพร้อมสายลม

 
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
15 กันยายน 2553
 

Leadership in Energy and Environmental Design

LEED (Leadership in Energy in Environmental Design )
- ความหมายความเป็นมา
- LEED สำหรับอาคารประเภทต่างๆ
- กระบวนการการรับรอง LEED
- บทสรุป


1.ความหมายความเป็นมา

ในปัจจุบันมีความตื่นตัวในด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นทั่วโลก LEED:(Leadership in Energy in Environmental Design ) หรือแปลเป็นไทยว่า ความเป็นผู้นำในการออกแบบทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

จากอาคารเขียวสู่การประเมิน LEED
สถาปนิกไทยคุ้นเคยกับการออกแบบเพื่อการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมมาเป็นเวลานนานในลักษณะของอาคารเขียว ซึ่งเกิดขึ้นจากองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ทรัพยากร มลภาวะ และสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ทั้งสามองค์ประกอบนี้เกิดขึ้นจากธรรมชาติของการใช้งานอาคาร การที่อาคารบริโภคทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อาคาร ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ ขยะน้ำเสีย และมลภาวะ หากพิจารณาวงตรของการใช้อาคารนี้ธรรมชาติของอาคารเขียว โดยสามัญสำนึกนั้นควรประหยัดทรัพยากรลดมลภาวะ ในขณะที่ส่งเสริมคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ซึ่งคุณลักษณะของอาคารเขียวดังกล่าวควรดำรงอยู่ในตลอดช่วงชีวิตของอาคารตั้งแต่การออกแบ การก่อสร้าง และการใช้งานอาคาร

Photobucket



หลังจากที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา USGBC ได้ดึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากกกว่า 2000 แห่งเพื่อพัฒนา LEED ขึ้น ซึ่งวัตถุประสงค์ ของการจัดทำ LEED เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ที่สามารถชี้วัดสถานะความเป็นอาคารเขียวของอาคารต่างๆได้LEED รุ่นแรก ถูกพัฒนาขึ้นใในปี ค.ศ.2000 โดยมีองค์ประกอบที่ถูกพัฒนามาจากกรอบนิยามอาคารเขียวโดยได้แบ่งหมวดหมู่คะแนนเป็น 6 ด้าน อันได้แก่
ความยั่งยืนของที่ตั้ง (SUSTAINABLE SITE)
ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (WATER EFFICENCY)
พลังงานและบรรยากาศ (ENERGY AND ATMOSPHERE)
ทรัพยากรและวัสดุ (MATERIAL AND RESOURCES)
สภาพแวดล้อมภายในอาคาร (INDOOR ENVIRONMENTAL OUALITY)
และนวัตกรรมและกระบวนการออกแบบ (INNOVATION AND DESIGN PROCESS)

Photobucket


Photobucket



ในแต่ละองค์ประกอบ จะมีหัวข้อคะแนนต่างๆที่มีความเป็นรูปธรรมในการกำหนดคุณลักษณะของอาคารเขียว หัวข้อคะแนนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่หัวข้อคะแนนภาคบังคับ และหัวข้อคะแนนปกติในการผ่านเกณฑ์การประเมินต้องผ่านเกณฑ์การประเมินต้องผ่านเกณฑ์คะแนนภาคบังคับทั้งหมด และผ่านเกณฑ์คะแนนปกติจนมีคะแนนผ่านระดับการรับรอง ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด(CERTIFILED) หากอาคารสามารถทำคะแนนเพิ่มขึ้นได้ถึงระดับที่กำหนดก็จะได้รับการรับรองในระดับเงิน(SILVER) ทอง(GOLD)และเพลตตินั่ม(PLATINUM) ตามลำดับ


Photobucket


2.LEED สำหรับอาคารประเภทต่างๆ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้LEEDประสบความสำเร็จอย่างมาก คือการมีเกณฑ์สำหรับอาคารหลากหลายประเภท ทั้งยังเปิดโอกาสให้อาคารที่มีการใช้งานแล้วเข้าร่วมการประเมิน LEED ได้การที่จะได้เข้าร่วมการประเมิน LEED นั้นผู้ที่เกี่ยวข้องควรรู้จักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อพิจารณาถึงเกณฑ์ที่เหมาะสมกับโครงการมากที่สุด
ในภาพรวมแล้ว LEED สามารถแบ่งได้เป็นสองทางเลือกหลักๆคือ LEEDสำหรับอาคารใหม่ (ซึ่งมีการแบ่งประเภทอาคาร) และ LEED เกณฑ์ทางเลือก LEED ที่มีอยุ่ในปัจจุบันได้ถูกแสดงไว้โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


Photobucket


LEED-NC (NEW CONSTRUCTION )
เป็นเกณฑ์แรกที่ถูกพัฒนาขึ้น โดย USGBC นับเป็นเกณฑ์สำหรับอาคารทั่วไปโดยมุ่งเน้นไปทีอาคารขนาดกลาง-ใหญ่ โดยเฉพาะอาคารธุรกิจและอาคารสาธารณะต่างๆ ซึ่งครอบคลุมอาคารสำนักงาน อาคารชุดพักอาศัย อาคารราชการ โรงงาน อาคารปฎิบัติการ เป็นต้น แต่เนื่องจากมีอาคารบางประเภทที่ต้องมีเกณฑ์เฉพาะ อาทิเช่น LEED สำหรับโรงเรียน หรือ LEED FOR SCHOOL ที่ใช้ LEED - NC เป็นเกณฑ์ แต่จะมีการเพิ่มหัวข้อคะแนนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนโดยตรงเช่น คุณภาพของสียงในอาคาร การป้องกันเชื้อรา การจัดทำผังแม่บท

LEED FOR NEIGHBORHOOD DEVELOPMENT
เป็นเกณฑ์สำหรับโครงการจัดสรรหรือพัฒนาชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่ยั้งยืน โดยเกณฑ์จะมุ่งเน้นไปยังการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัย ส่งเสริมให้เกิดการผสมผสานประเภทอาคารเพื่อให้สามารถ เข้าถึงได้ด้วยการเดิน ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ลดการพัฒนาที่ไร้การควบคุมทั้งโดยการเลือกที่ตั้งโครงการที่เหมาะสม เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อเป็นแหล่งสันทนาการและระบบนิเวศที่สมบูรณ์

LEED FOR HOMES
เป็นเกณฑ์การออกแบบและก่อสร้างบ้านพักอาศัยให้เป็นอาคารเขียว เกณฑ์หัวข้อคะแนนจะมีลักษณะเฉพาะเหมาะกับอาคารบ้านพักอาศัย โดยจะทำการประเมินเป็นรายหลังผ่าน LEED HOME PROVIDER ซึ่งเป็นที่ปรึกษาตัวแทนของ USGBC ในรัฐต่างๆด้วยข้อจำกัดที่ LEED HOME PROVIDER ไม่ได้ประจำการอยู่นอกประเทศเกณฑ์ดังกล่าวจึงยังไม่สามารถใช้ได้นอกจากสหรัฐอเมริกาและแคนนาดา

LEED-CI (COMMERCIAL INTERIOR )
เป็นเกณฑ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการตกแต่งภายในโดยเฉพาะ เกณฑ์จะเน้นหนักไปที่คุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้อาคารโดยเกณฑ์จะลดความสำคัญ ด้านความยั่งยืนด้านที่ตั้ง และการใช้พลังงาน LEED -CI เป็นทางเลือก สำหรับผู้ใช้อาคาร และผู้ออกแบบที่ไม่สามรถออกแบบและก่อสร้างทั้งอาคารให้เป็นอาคารเขียวทั้งหลังได้

LEED-CS (CORE & SHELL)
เป็นเกณฑ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในการรับรองเปลือกอาคารและโครงสร้างอาคาร หัวข้อคะแนนจะคล้ายคลึงกับ LEED -NC ค่อนข้างมาก หากแต่เกณฑ์ LEED -CS นี้เน้นไปที่โครงการเชิงพานิชย์โดยต้องการให้มีการรับรองLEED ก่อนการขาย โดยมีการรับรอง โครงการเบื้องต้น (PERCERTIFICATION)เพื่อประโยชน์ในกาเพิ่มมยอดขายแต่อยแ่างไรก็ตามทุกโครงการต้องผ่านขั้นตอนการประเมินจริงจึงจะถือว่าได้รับการรับรองที่สมบูรณ์

LEED-EB:OM (EXISTING BUILDING : OPERATION&MAINTENANCEL)
เป็นเกณฑ์เดียวที่ USBGC รับรองอาคารที่ได้ใช้งานแล้วการให้คะแนนจะเน้นไปทางการปฏิบัติการงาน การตรวจวัดและการใช้ค่าต่างๆจากการเก็บข้อมูลมาใช้ในการประเมิน เช่นการใช้ค่าใช้จ่ายทางพลังงานมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานเพื่อเทียบวัดคะแนน การตรวจวัดปริมาณขยะต่างๆที่ออกจากอาคาร รวมถึงการบริหารจัดการขยะเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ เป็นต้น การเก็บข้อมูลจะอยู่ช่วงวัดประสิทธิภาพ (PERFORMANCE PERIOD )ซึ่งโดยทั่วไปจะมีระยะเวลาสามเดือนแต่ในบางหัวข้ออาจจะมีช่วงการวัดประสิทธิภาพถึง 12 เดือน เช่นการใช้พลังงานเป็นต้น


3.กระบวนการรับรองLEED

Photobucket

Photobucket

4.บทสรุป

LEED นับเป็นการประเมินที่ประกอบขึ้นจากหัวข้อคะแนนในหลากหลายมิติที่สามารถชี้วัดความเป็นอาคารเขียวได้อย่างเป็นรูปธรรมและด้วยความง่ายชัดเจนและการตัดสินที่ป็นธรรม LEED จึงเป็นเกณฑ์ประเมินที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง อย่างไรก็ดี LEED นับเป็นระบบใหม่มากสำหรับประเทศไทย แต่หากเข้าใจและนำไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ย่อมทำให้เกิดผลสำเร็จและรักษาสิ่งแวดล้อมต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
1. วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์ บทความ ดร.จตุวัฒน์ วโรดมพันธุ์
2.USGBC .LEED .2008
3.คู่มือแบบประเมินอาคารประหยัดพลังงาน







 

Create Date : 15 กันยายน 2553
5 comments
Last Update : 15 กันยายน 2553 22:57:57 น.
Counter : 2019 Pageviews.

 
 
 
 
ขอบคุณครับ
 
 

โดย: nordcapp (nordcapp ) วันที่: 15 กันยายน 2553 เวลา:18:48:44 น.  

 
 
 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
 
 

โดย: TREE AND LOVE วันที่: 15 กันยายน 2553 เวลา:19:10:33 น.  

 
 
 
อรุณสวัสดิ์เช่นกันครับ
ขอให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสทุกๆวันนะครับ
สวัสดีครับ
 
 

โดย: nordcapp (nordcapp ) วันที่: 22 กันยายน 2553 เวลา:8:38:13 น.  

 
 
 
มาแวะชวนไปดูเด็ก ถา'ปัด เรียนนอกห้องครับ



 
 

โดย: Sleeping_prince วันที่: 25 กันยายน 2553 เวลา:2:24:42 น.  

 
 
 
สวัสดียามเช้ายายน้องสาวตัวแสบ ตื่นมาให้สดใส พร้อมสู้กับอีกวันของวันทำงาน

รู้จักอัพบล๊อกบ้างเด้ๆ

 
 

โดย: Sleeping_prince วันที่: 30 กันยายน 2553 เวลา:6:41:25 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Akitnak
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ถึงนักเดินทางที่ยิ่งใหญ่ ก็ยังรู้จักเพียงเส้นทางที่ตนเคยเดินผ่านเท่านั้น
[Add Akitnak's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com