Group Blog
 
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
7 กันยายน 2554
 
All Blogs
 

เชียร์ลีดเดอร์ (cheerleader) หรือ ผู้นำเชียร์

เชียร์ลีดเดอร์ (cheerleader) หรือ ผู้นำเชียร์
คือผู้ที่ทำหน้าที่ในการนำฝูงชนให้มีความฮึกเหิม โห่ร้อง ตะโกน ร้องเพลง
ให้กำลังใจ เชียร์นักกีฬาที่กำลังทำการแข่งขัน
เพื่อให้นักกีฬามีกำลังใจสู้ในการแข่งขัน ในประเทศไทยเน้นการให้จังหวะ รหัส
สัญญาณ ให้กองเชียร์ร้องเพลง พร้อมเพรียง เสียงดัง และ
เกิดความสนุกนานในการชมการแข่งขัน


ส่วนเชียร์ลีดเดอร์ในบางประเทศถือเป็นนักกีฬาเช่นกัน เรียกว่ากีฬา เชียร์ลีดดิง (cheerleading)
ซึ่งประกอบไปด้วยหลายแขนง ประกอบไปด้วย การต่อตัว
การเชียร์ประกอบท่าท่างหรือที่เรียกว่าเชียร์และแชนท์ ยิมนาสติก
การทำงานร่วมกันเป็นทีม การเต้น เป็นกีฬาที่ให้ทั้งความสนุกสนาน
ความตื่นเต้น เนื่องจากทั้งหมดนี้มีการใช้ดนตรีเข้ามาประกอบจังหวะ
ซึ่งประวัติศาสตร์ของกีฬาประเภทนี้มีมายาวนานแล้ว
และปัจจุบันทุกประเทศเริ่มให้ความสนใจกีฬาประเภทนี้กันมากขึ้น


ประวัติของเชียร์ลีดเดอร์


กีฬาเชียร์ลีดเดอร์เริ่มแรกเมื่อ พ.ศ. 2441 ที่ มหาวิทยาลัยมินนิโซตา
เริ่มจากการนั่งดูเกมส์การแข่งขันอเมริกันฟุตบอล
และจากนั้นก็เริ่มมีผู้คนออกมาตะโกนร้องเชียร์ไปเรื่อย ๆ
แล้วแต่ละโรงเรียนก็เริ่มออกมาเชียร์กันมากมาย


จากนั้นก็มีผู้ชายคนหนึ่งออกไปที่ข้างหน้าสนาม ยืนต่อหน้าฝูงชนแล้วก็เริ่มตะโกนร้องว่า "Rah, Rah, Rah! Sku-u-mar, Hoo-Rah! Hoo-Rah! Varsity! Varsity! Varsity, Minn-e-So-Tah!" การกระทำของเป็นที่สนใจของคนดูเป็นอย่างมาก และทุกคนก็ตะโกนร้องเชียร์อย่างเต็มที่ไปกับเขาด้วย ผู้ชายคนนี้คือ Johnny Campbell และเขาก็กลายเป็นหนึ่งในเชียร์ลีดเดอร์คนแรกของโลก


ชมรม Pep Club ถือกำเนิดขึ้นมาครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2423 ที่ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เมื่อ Thomas Peebler
ได้นำชายหกคนไปนำเชียร์ข้างสนาม การเชียร์ของเขาคือ "Ray, Ray, Ray!
TIGER, TIGER, TIGER, SIS, SIS, SIS! BOOM, BOOM, BOOM! Aaaaah! PRINCETON,
PRINCETON, PRINCETON!" และก็ได้ยินเรื่อยมาตลอดการแข่งขันฟุตบอล


การตะโกนของ Peebler ได้ย้ายมาที่มหาิวิทยาลัยแห่งมินเนโซตา ตามเจ้าตัวในปี พ.ศ. 2441 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ Johny Campbell ได้กระโดดออกไปยืนหน้าผู้คนและเริ่มการเชียร์ของเขาเอง ซึ่งมันก็คือที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เองที่เป็นที่เริ่มต้นกีฬาเชียร์ลีดดิ้ง (Cheerleading) ให้เป็นรูปเป็นร่าง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเชียร์ลีดเดอร์ก็ทำการเชียร์สนับสนุนทีมกีฬาอื่น ๆ เรื่อยมา


จะด้วยเหตุผลเดียวอันนี้หรือว่าอย่างอื่นด้วยไม่ทราบ
บางโรงเรียนหรือว่าบางองค์กรขาดสปิริต อย่างเช่นงานชุมนุมบางงาน
ครูจากฝ่ายพละชอบทำเสียงต่ำๆ พึมพัมๆ
น่าเบื่ออยู่ในลำคอชวนพาท่านให้ผู้ชมง่วงนอน
รวมไปถึงทีมกีฬาที่ดูน่าเบื่อตั้งแต่ถูกแนะนำตัวก่อนที่ลงเล่นแล้ว
ไม่มีวงดนตรี ไม่มีการเอนเตอร์เทน
ไม่มีการเชียร์...ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเกิดขึ้นมาเลย เชียร์ลีดดิ้ง (Cheerleading)
สามารถที่จะเพิ่มสปิริตเข้าไปในงานนั้นๆได้อย่างมากมาย
การจัดการทีมอาจจะใช้เวลาแค่เพียงนิดเดียวแต่ว่าจะก็ต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก
และยาวนาน
แต่ว่าเพียงแค่การแสดงเพียงครั้งเดียวของเชียร์ลีดเดอร์นั้นก็สามารถที่จะ
เพิ่มความน่าสนใจเข้าไปในงานชุมนุมและเกมส์กีฬาได้อย่างดี
และเป็นความจริงที่ว่าทีมเชียร์มักจะทำอะไรที่แตกต่างขึ้นในโรงเรียน
อย่างเช่นว่า ลายพิมพ์เท่ห์ๆ บนเสื้อที่เขียนว่า "ขาดเชียร์ลีดเดอร์ มันก็เป็นแค่เกมส์ธรรมดา"
คนส่วนใหญ่ที่มางานกีฬาก็เพื่อที่จะชมเกมส์
บางคนก็จะมาเพื่อเอนเตอร์เทนและสร้างความน่าตื่นเต้นน่าสนใจให้กับงาน
เมื่อคุณทราบอย่างนี้แล้ว
งานที่ปราศจากการเอนเตอร์เทนเมนท์และไม่รวมเอาคนดูเข้าไปด้วย
งานแข่งกีฬาก็มักอาจจะออกมาแบบจืดชืดเสมอ


ในญี่ปุ่นมีกลุ่มที่ทำหน้าที่นำกองเชียร์อยู่สองกลุ่ม คือ โอเอ็นดัน หรือ กลุ่มนำเชียร์ กับกลุ่มเชียร์ลีดเดอร์แบบในอเมริกา
แรกเริ่มเป็นการรับอิทธิพลเข้ามาพร้อมกับกีฬาจากประเทศทางตะวันตก
ในช่วงสมัยเมจิ (ค.ศ. 1868-1921) และหลังจากนั้นจากช่วงปี ค.ศ. 1890
เริ่มเกิดมีกลุ่มนำเชียร์ แต่งตัวเครื่องแบบนักเรียน
นำเชียร์ด้วยการร้องตะโกนเพลง เชียร์ประกอบกับการตีกลอง โบกธงประจำสถาบัน
ทำหน้าที่กระตุ้นให้กำลังใจในการแข่งขันกีฬา


อีกด้านหนึ่ง กล่าวกันว่าเริ่มจากสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

ได้มีการจัดตั้งกลุ่มคนขึ้นเพื่อร้องเพลงปลุกขวัญให้กำลังใจสำหรับนักบินกา
มิกาเซ ซึ่งจะต้องนำเครื่องบินบรรทุกระเบิดบินพุ่งชนศัตรูแล้วเสียชีวิต
จากนั้นได้กลายมาเป็นลักษณะการนำเชียร์ปลุกใจนักกีฬา
โดยจะนำให้กองเชียร์เคาะจังหวะ สัญญาณ ตะโกนเชียร์พร้อม ๆ กัน
โดยลักษณะท่าทางการนำเชียร์จะนำมาจากการแสดงคาบุกิอันเป็นศิลปะการแสดงดั้ง
เดิมของญี่ปุ่น ประกอบกับท่าทางของกีฬาซูโม่. กีฬาที่นิยมใช้ทีมโอเอ็นดัน
ได้แก่ เบสบอล และแข่งพายเรือ
ส่วนเชียร์ลีดเดอร์เป็นการรับเข้ามาจากอเมริกาประมาณ ค.ศ. 1987
โดยยึดรูปแบบตามอเมริกา และมีการจัดการแข่งขันขึ้นมาเป็นประจำทุกปี
ปัจจุบันการเชียร์ในญี่ปุ่นจะเป็นการร่วมกัน ระหว่างสองชมรม คือ โอเอ็นดัน
และ เชียร์ลีดเดอร์แบบอเมริกา



เข้าใจแล้วค่ะ




 

Create Date : 07 กันยายน 2554
3 comments
Last Update : 7 กันยายน 2554 12:14:26 น.
Counter : 6214 Pageviews.

 

 

โดย: bawkronbannon 7 กันยายน 2554 12:51:35 น.  

 


ได้ความรู้ใหม่ๆ ค่ะ


ขอบคุณที่แวะทักทายกันค่ะ




 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 9 กันยายน 2554 17:08:36 น.  

 

เพิ่งรู้ว่า มีลีดดิ้ง ด้วย ปกติเรียกแต่ลีดเดอร์ๆ อย่างเดียว บร๊ะ แต่เราชอบเชียร์ของญี่ปุ่นอะ อ่านในการ์ตูนมันเท่ห์ดีอะ ไอ้คนตีกลอง

 

โดย: gutswallow 10 กันยายน 2554 1:49:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


sawbanphon
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add sawbanphon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.