กฝภ.1
ยินดีต้อนรับ
ประวัติ กฝภ.1
แนะนำบุคลากร
ข่าว/กิจกรรม
ภาพฝึกอบรม
ข้อแนะนำต่างๆ
มุมความรู้

การใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย

lozocatlozocat
การใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย
โดย วิทยากรภายนอก


ในระบบประปามีกระบวนการบำบัดน้ำด้วยการเติมสารเคมีลงไปเพื่อจุดประสงค์หลายๆอย่าง เช่น ใช้สารส้มเพื่อตกตะกอนหรือปรับสภาพความเป็นกรดด่าง หรือคลอรีนที่ถูกนำมาฆ่าเชื้อโรคก่อนนำน้ำนั้นไปอุปโภค บริโภค นอกจากนั้นในชีวิตประจำวันของทุกคนก็มีโอกาสที่จะสัมผัสกับสารเคมีตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเวลาเข้านอน โดยที่ไม่รู้สึกตัวว่าสารเคมีเหล่านั้นเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันได้อย่างไร เพราะบางเรื่องเป็นกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ตัวอย่างเช่น การแปรงฟันเมื่อตื่นจากการนอนหรือก่อนนอนโดยใช้ยาสีฟันที่ทุกยี่ห้อก็มีส่วนประกอบของสารเคมีรวมอยู่ด้วย เมื่อรับประทานอาหารมีการปรุงอาหารหรือปรุงรสด้วยการเติมเครื่องปรุงที่ล้วนแล้วแต่มีส่วนประกอบของสารเคมีผสมอยู่ด้วย จึงกล่าวได้ว่าชีวิตประจำวันของทุกคนล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวพันกับสารเคมีตลอดเวลาอยู่แล้ว

กระบวนการบำบัดน้ำ
วิธีการผลิตน้ำประปามีขั้นตอนของการนำเอาน้ำดิบ(น้ำจากธรรมชาติ)มาผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อปรับสภาพของน้ำให้เหมาะแก่การนำไปอุปโภค บริโภค ในบางกระบวนการก็ได้นำเอาสารเคมีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการบำบัดคุณภาพน้ำ หรือปรับสภาพของน้ำให้เหมาะสม เช่น
1.สารส้ม(Alum) เป็นสารทำให้หดตัว(Astringent)หรือเรียกว่าเกลือเชิงซ้อน(ผลึกเกลือ) ของสารประกอบทีมีธาตุอะลูมิเนียมและซัลเฟตเป็นสารประกอบหลัก หากเติมแอมโมเนียอะลัมและโพแทสเซียมลงไปจะทำให้ก้อนผลึกใสและบริสุทธิยิ่งขึ้น

คุณสมบัติ
-ไม่มีสีและกลิ่น
-ไม่เสื่อมสภาพ คงทนต่อสภาพแวดล้อม
-ปลอดภัยต่อการสัมผัสทางกาย คือไม่ซึมเข้าร่างกาย ไม่อุดตันรูขุมขนเพราะสารส้มทำให้เกิดประจุลบจึงไม่สามารถซึมผ่านหนังเซลล์ได้

ประโยชน์
-ใช้ทำให้สิ่งสกปรกหรือตะกอนเกาะตัวรวมกันมีน้ำหนักมากขึ้นจนตกตะกอน
-ใช้กำจัดกลิ่นตัวได้
-ทำให้อาหารกรอบ นิยมใช้กับการดอง

โทษ
-มีพิษต่อการเข้าสู่ร่างกายด้วยการรับประทาน แต่ต้องรับเข้าไปในปริมาณสูงจึงจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ซึม
-พิษที่พบได้บ่อยๆคือการสูดดมฝุ่นของสารส้มโดยพบมากในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดอาการหอบหืดได้

พิษของสารส้มที่มีมากที่สุดคือการสูดดมฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย จะมีผลต่อระบบหายใจหรือเกิดอาการหอบ หายใจไม่ออกได้ ผู้ปฏิบัติงานกับสารส้มจึงต้องระมัดระวังเรื่องการสูดดมโดยตรง หรือการนำมือหรือนิ้วมือที่สัมผัสกับสารส้มเข้าปากหรือจมูก อาจทำให้เป็นอันตรายได้ จึงควรปฏิบัติดังนี้
1).สวมใส่ผ้าปิดจมูกทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
2).ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากปฏิบัติงานเสร็จสิ้น
3).ไม่นำมือหรือนิ้วมือที่เปื้อนสารส้มอยู่มาสัมผัสกับปาก จมูก ตา
2.คลอรีน(Chlorine) เป็นธาตุที่อยู่ในกลุ่มฮาโลเจน(กลุ่มO)ในตารางธาตุ ในสภาวะอุณหภูมิและความดันปกติจะอยู่ในรูปก๊าซสีเขียวตองอ่อนแต่ในสภาวะภายใต้ความดันจะเปลี่ยนเป็นของเหลวสีอำพัน เมื่อมีสภาพแห้งจะไม่กัดกร่อนโลหะแต่ถ้ามีความชื้นจะมีการกัดกร่อนที่รุนแรง ไม่ระเบิดและติดไฟแต่มีคุณสมบัติคล้ายออกซิเจนคือช่วยให้ไฟติด

คุณสมบัติ
-กลิ่นฉุนแสบจมูก
-หนักกว่าอากาศ 2.5 เท่า

ประโยชน์
-ใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้ดีหาซื้อง่ายราคาถูกมีให้เลือกใช้หลายรูปแบบเช่น ก๊าซ น้ำ ผง
-ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติก ยาฆ่าแมลง ฟอกสีเยื่อกระดาษ

โทษ
-กัดกร่อนโลหะเกือบทุกชนิดเมื่อมีความชื้น
-เป็นอันตรายต่อร่างกายเมื่อสัมผัสกับอวัยวะต่างๆ เช่น
•ผิวหนัง ตา จะอักเสบและบวมพอง
•จมูก เมื่อสูดดมเข้าไปจะหายใจไม่ออก อึดอัด เจ็บคอ แน่นหน้าอก อาจเสียชีวิตได้

คลอรีนจึงเป็นสารที่อันตรายต่อร่างกายและชีวิตของผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่ได้รับสัมผัส จึงต้องมีการระวังป้องกันโดยต้องปฏิบัติดังนี้
1).สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(Personal protective equipment)ทุกครั้งเมื่อปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงต่อการสัมผัส แม้ว่าจะไม่ได้ปฏิบัติงานต่อสารนั้นโดยตรงก็ตาม อุปกรณ์ป้องกันเบื้องต้นประกอบด้วย
•ถุงมือ ควรเป็นถุงมือที่ทำจากพีวีเอ[Polyvinyl alcohol(PVA)]เพื่อป้องกันการอักเสบหรือบวมพองจากการสัมผัสคลอรีน หากได้รับสัมผัสต้องล้างด้วยน้ำและฟอกสบู่หลายๆครั้ง ห้ามใช้ครีมหรือขี้ผึ้งใดๆ
•รองเท้า ที่ปกปิดผิวหนังมิดชิด หรือ อาจเป็นรองเท้ายางในกรณีที่มีคลอรีนเปื้อนอยู่ที่พื้น
•แว่นตา ควรเป็นแว่นครอบตานิรภัยที่ปกปิดไม่ไห้สัมผัสกับดวงตาได้ กรณีที่คลอรีนเข้าตา ให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมากทันทีเป็นเวลาอย่าน้อย 15 นาที ห้ามใช้ยาทาหรือยาหยอดตาแล้วรีบไปพบแพทย์ การป้องกันไม่ให้คลอรีนสัมผัสกับดวงตาเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเพราะคลอรีนอาจทำให้เป็นแผลที่ตาดำ ซึ่งอาจทะลุจนตาบอดได้หรือเกิดอักเสบเรือรังจนกลายเป็นต้อเนื้อ
•หน้ากากป้องกันแก็สและไอระเหย แบบมีตัวกรองป้องกันไอระเหยที่สามารถป้องกันคลอรีนได้

2).เมื่อได้รับการสัมผัสต้องได้รับการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่เกิดจากคลอรีนอย่างถูกต้องและรวดเร็วก่อนนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนที่สุด
ส่วนโพลีอะลูมินั่มคลอไรด์และปูนขาวแม้ว่าจะไม่เกิดพิษจากการสัมผัสโดยตรงแต่ก็ยังมีโทษอยู่บ้างเช่น โรคปอดและทางเดินหายใจจากการใช้ผงปูนขาวเพื่อฟอกขาวสินค้าบริโภคหลายชนิดเช่น แป้ง น้ำตาล เส้นบะหมี่ ขนมจีบ ซาลาเปา เป็นต้น
ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ใช้งานสารเคมีจึงต้องมีความระมัดระวัง โดยต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจในคุณสมบัติ ประโยชน์และโทษของสารเคมีนั้นๆแล้วจึงศึกษาวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดการรับสัมผัสและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับการสัมผัสเพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงจากพิษของสารเคมี แม้ว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีได้แต่ก็สามารถป้องกันอันตรายหรือลดความรุนแรงของอันตรายจากการสัมผัสลงได้ อันเป็นเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตให้มากขึ้น
lozocatlozocat





 

Create Date : 15 พฤศจิกายน 2553
0 comments
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2553 9:24:55 น.
Counter : 1667 Pageviews.


rtd1cm
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Welcome to RTD1

Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
15 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add rtd1cm's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.