โลกจะหมุนไปกับคุณ (Established on 7 January 2006) ........

thelegendary
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




web page counters
Group Blog
 
 
มกราคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
10 มกราคม 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add thelegendary's blog to your web]
Links
 

 

คำวินิจฉัยมัดตัว ชินวัตรอ่วม-พิรุธโอนหุ้น บี้ทักษิณ-พจมานแจงภาษี



หลักฐานคำวินิจฉัยมัดตัว ชินวัตรอ่วม-พิรุธโอนหุ้น พบมี "เงินได้พึงประเมิน" บี้ทักษิณ-พจมานแจงภาษี

กรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 20/2544 เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2544 เกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 กรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ปรากฏว่า มีข้อน่าสงสัยหลายประการ โดย thaiinsider.com ได้รับการร้องขอให้ศึกษาถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญโดยละเอียด ทำให้พบข้อน่าสังเกตหลายอย่าง

ทั้งนี้ในคำวินิจฉัย พบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ที่้ชี้แจงต่อศาลฯนั้น ระบุว่า ก่อนดำเนินกิจกรรมทางการเมือง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้โอนหุ้นส่วนใหญ่ให้คุณหญิงพจมานถือแทน โดยใช้วิธีการโอนลอยหุ้น เป็นผลให้สิทธิของหุ้นนั้น ตกมาเป็นของคุณหญิงพจมาน

ทั้งนี้คุณหญิงพจมานได้มีการโอนหุ้นบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ฯ ไปให้น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี ถือแทน จำนวน 5 ล้านหุ้น ต่อมาพอน.ส.ดวงตาจะแต่งงาน จึงมีการโอนหุ้น 4.5 ล้านหุ้นเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2540 ให้กับนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายถือแทน โดยอ้างว่า เป็นการให้ตามสิทธิและธรรมจรรยา เพราะเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทและบริหารบริษัทมาด้วยกัน ขณะที่อีก 5 แสนหุ้นนั้นมีการโอนไปให้น.ส.บุญชู เหรียญประดับ เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2540

โดยในคำให้การต่อศาลฯนั้น คุณหญิงพจมาน ระบุว่า ได้มีการโอนหุ้นจากน.ส.ดวงตาไปให้นายบรรณพจน์ ถือแทน โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ไม่ได้มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้ ซึ่งสำนักงานตรวจสอบภาษี กรมสรรพากร ได้มีหนังสือตอบข้อหารือ ตามหนังสือที่ กค 0811/4576 ลงวันที่ 15 พ.ค. 2544 สรุปได้ว่า การที่คุณหญิงพจมานให้ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ขัดต่อประมวลรัษฎากร และคุณหญิงพจมานหรือตัวแทนมีสิทธิได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี

นอกจากนี้คุณหญิงพจมานยังระบุด้วยว่า ไม่มีเจตนาหรือจงใจปกปิดรายการหุ้นที่ใช้ชื่อบุคคลอื่นถือแทน ซึ่งสามารถตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีเงินฝากได้ว่า เงินที่ใช้ในการซื้อ-ขายหุ้น รวมทั้งเงินปันผล จะนำเข้าในบัญชีเงินฝากที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานสาขารัชโยธิน (ตามข้อ 6.5 ของคำวินิจฉัย)

ในคำวินิจฉัยของศาลฯ ยังระบุอีกว่า “จากพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันที่ 7 พ.ย. 2540 ซึ่งเป็นวันที่พ.ต.ท.ทักษิณยื่นบัญชีทรัพย์สินฯ เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี นายบรรณพจน์ได้สั่งซื้อหุ้นบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ฯ ผ่านโบรกเกอร์บริษัทหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน) 4.5 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 164 บาท เป็นเงิน 738 ล้านบาท โดยซื้อผ่านน.ส.ดวงตา ที่ถือหุ้นแทนคุณหญิงพจมาน ซึ่งนายบรรณพจน์ให้การว่า ไม่ได้ซื้อหุ้นดังกล่าว แต่คุณหญิงพจมานแบ่งหุ้นให้ เมื่อพิจารณาประกอบคำให้การของนางกาญจนาภา หงส์เหิน ซึ่งให้การว่า การซื้อขายหุ้นในวันดังกล่าว คุณหญิงพจมานเป็นผู้ชำระเงินค่าซื้อแทนนายบรรณพจน์ เมื่อบริษัทโบรกเกอร์ได้รับค่าซื้อหุ้นแล้ว ได้ออกเช็คชำระราคาค่าหุ้นให้แก่น.ส.ดวงตา ผู้มีชื่อถือหุ้น เป็นเช็คขีดคร่อมระบุชื่อ น.ส.ดวงตา และตนได้นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีคุณหญิงพจมานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) การดำเนินการดังกล่าวต้องเสียค่าธรรมเนียมนายหน้าร้อยละ 1

เมื่อพิจารณาดูภาพรวมทั้งหมดแล้ว พบว่า การที่คุณหญิงพจมานอ้างว่า ให้หุ้นดังกล่าวแก่นายบรรณพจน์โดยให้ตามสิทธิและธรรมจรรยา แต่กลับไปซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อยอมเสียค่าธรรมเนียมให้โบรกเกอร์ เพียง 7.38 ล้านบาท โดยไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ที่ตามกฎหมายระบุไว้ว่า เงินได้ส่วนที่เกินสี่ล้านบาท ต้องเสียร้อยละ 37 ที่ในกรณีนี้ต้องเสียภาษีคิดเป็น 273 ล้านบาท

ซึ่งในกรณีนี้ เมื่อน.ส.ดวงตา นำเช็คค่าหุ้นมาคืนให้คุณหญิงพจมาน ตามหลักการแล้ว ถือว่า คุณหญิงพจมานได้รับเงินจากการขายหุ้นนอกตลาดฯ โดยมีกำไรจากเงินลงทุน (Capital Gain) เท่ากับว่า “มีเงินได้” ซึ่งตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรและมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร จึงถือว่าเป็นรายได้

ขณะที่นายบรรณพจน์เอง ตามหลักการแล้ว ถือว่า เมื่อมีการไปซื้อหุ้นในตลาดฯจากน.ส.ดวงตา เท่ากับว่า ไม่ได้เป็นการให้โดยเสน่หาจริง นายบรรณพจน์จึงมีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรและมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับกรณีของน.ส.ดวงตา ทำให้ทราบว่า เงินปันผลมีการจ่ายในนามของน.ส.ดวงตา จึงมีประเด็นที่น่าสนใจคือ มีการการยื่นขอคืนภาษีโดยเครดิตในนามน.ส.ดวงตาหรือไม่ เพราะน.ส.ดวงตามีเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) เมื่อน.ส.ดวงตานำเงินปันผลไปเข้าบัญชีคุณหญิงพจมานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ก็เท่ากับว่า คุณหญิงพจมานได้รับเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรและมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

ทั้งนี้มีกรณีตัวอย่างที่สามารถเทียบเคียงได้คือ …..

หนังสือ กค 0706/5429 วันที่ 4 ก.ค. 2548 เรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีบริษัท ก. จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2546 ประกอบธุรกิจส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน ขอหารือกรณีเงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้

1. เมื่อปี 2546 บริษัทฯ ได้ลงทุนซื้อหุ้นของบริษัท บ. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยบริษัทฯ ซื้อหุ้นดังกล่าวผ่านตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ซึ่งอยู่ในต่างประเทศ 2 แห่ง ได้แก่ UOB

2. ในปี 2547 บริษัทฯ ได้รับเงินปันผลจากบริษัท บ. โดยบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในนามของตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ทั้ง 2 แห่ง และตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) จะนำเงินปันผลจากหลักทรัพย์มาจ่ายคืนให้แก่บริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินปันผล เรียกว่า “Subsidiary Tax Certificate” และหลักฐานประกอบ ได้แก่ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ออกให้แก่ UOB

บริษัทฯ หารือว่า บริษัทฯ สามารถใช้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ซึ่งอยู่ในต่างประเทศมาเป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีของบริษัทฯ ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ได้หรือไม่

แนววินิจฉัย

กรณีบริษัทฯ ซื้อหุ้นของบริษัท บ. ผ่านตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ซึ่งอยู่ในต่างประเทศ และตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ดังกล่าวได้สั่งซื้อและถือหุ้นในบริษัท บ. ในนามของตนเอง เมื่อบริษัท บ. จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ดังกล่าวก็จะจ่ายเงินปันผลที่ได้รับให้แก่บริษัทฯ อีกทอดหนึ่งและออกหลักฐานหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (Subsidiary Tax Certificate) พร้อมทั้งส่งมอบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ระบุชื่อตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ซึ่งอยู่ในประเทศคืนให้แก่บริษัทฯด้วย กรณีดังกล่าวบริษัทผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่บริษัทที่มีชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ออกหุ้น

ดังนั้น กรณีบริษัท บ. จ่ายเงินปันผลให้แก่ตัวแทน ซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ในฐานะผู้ถือหุ้นที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) จึงมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพฯ บริษัทฯ ซึ่งไม่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงไม่มีสิทธินำหลักฐานหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ระบุชื่อตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ดังกล่าว มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากร
…………………

นอกจากนี้ ตามหลักฐานข้างต้นพบว่า คุณหญิงพจมานมีรายได้พึงประเมินจากกรณีดังกล่าว ก็ต้องถือว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีรายได้พึงประเมินร่วมเช่นกัน ในฐานะคู่สมรส จึงเป็นคำถามว่า มีการเสียภาษี ตามมาตรา 57 ตรี หรือไม่

ทั้งนี้เพราะผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 50(2) มีหน้าที่ต้องหักและนำส่งภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 52 และถ้าไม่ได้มีการหักนำส่ง ถือว่า ต้องรับผิดในการเสียภาษีร่วมกับผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 54

นับเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายว่า…

พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน มีการเสียภาษีในกรณีนี้หรือไม่



ที่มา ThaiInsider.Com - 09 January 2006




 

Create Date : 10 มกราคม 2549
2 comments
Last Update : 10 มกราคม 2549 1:54:55 น.
Counter : 1007 Pageviews.

 

แปลกแต่จริง คนโกงลอยนวล

 

โดย: <เซ็นเซอร์> 10 มกราคม 2549 2:22:26 น.  

 

เก่งจริงนะ

 

โดย: Tante Ta IP: 82.83.226.58 10 มกราคม 2549 2:44:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.