<<
ตุลาคม 2566
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
16 ตุลาคม 2566

"หัวเว่ย" เปิดตัวสถาปัตยกรรมเครือข่าย F5.5G แบบออปติคัลล้วน โดยแบ่งเป็น 3 เฟส

ในระหว่างการประชุมอัลตราบรอดแบนด์ (UBBF) ประจำปี 2566 คุณริชาร์ด จิน (Richard Jin) ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจออปติคัลของหัวเว่ย (Huawei) ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "นำ F5.5G สู่ความเป็นจริง: เหตุการณ์สำคัญบนเส้นทางสู่โลกอัจฉริยะ" (Bring F5.5G to Reality: Milestones on Our Way to Intelligent World) คุณริชาร์ดได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครือข่าย ซึ่งแบ่งเป็น 3 เฟส โดยมีแรงผลักดันในการพัฒนาเครือข่ายอยู่ 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ วิดีโอ (เครือข่าย 100Mbps) ประสบการณ์ (เครือข่าย 1Gbps) และความชาญฉลาด (เครือข่าย 10Gbps) ด้วยเหตุนี้ หัวเว่ยจึงได้เปิดตัวสถาปัตยกรรมเครือข่าย F5.5G ออปติคัลเป้าหมายแบบ 3 เฟส ประกอบด้วยเครือข่ายออปติคัลล้วนสำหรับบรอดแบนด์ในบ้าน 100Mbps การเชื่อมต่อแบบออปติคัลล้วนระดับ 1Gbps ในแต่ละห้อง และการประมวลผลแบบออปติคัลล้วน 10Gbps ทุกที่ การสร้างเครือข่ายเป้าหมายออปติคัลทั้งหมดแบบ 3 เฟสนี้ ตอบสนองความต้องการการเชื่อมต่อเครือข่ายของบริการยอดนิยมในแต่ละเฟสได้ ทำให้ F5.5G ปรากฏให้เห็นจริงและก้าวไปสู่โลกอัจฉริยะ

เฟส 1: ความครอบคลุมแบบออปติคัลล้วน ขับเคลื่อนด้วยวิดีโอ สำหรับบรอดแบนด์ภายในบ้านความเร็ว 100Mbps

เมื่อวิดีโอมีการปรับปรุงความละเอียดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การโต้ตอบผ่านวิดีโอและ XR ที่สมจริงกลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว แบนด์วิดท์จึงได้รับการอัปเกรดจาก 10 Mbps เป็น 100 Mbps และ 1,000 Mbps โดยในเฟสนี้ วิดีโอ HD และการโต้ตอบผ่านวิดีโอกลายเป็นแรงผลักดันหลัก ในการบรรลุเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายออปติคัลล้วน ด้วยอัตราบรอดแบนด์ภายในบ้าน 100 Mbps ผู้ให้บริการเครือข่ายจำเป็นต้องมุ่งหน้าสู่ FMC อย่างเต็มที่ และเปลี่ยนสายคูเปอร์และสายเคเบิลเป็นเครือข่ายออปติกล้วนแบบ FTTH โดยใช้ AirPON แบบมีหมายเลขลำดับ (serialized) เร่งการสร้าง FTTH และรองรับการทำงานร่วมกับ GPON และ 10G PON ได้ ช่วยให้สามารถให้บริการระดับกิกะบิตในพื้นที่ฮอตสปอตได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการเครือข่ายจำเป็นต้องนำ OTN มาใช้กับเลเยอร์เมโทร และสร้างเครือข่ายแกนหลักที่พร้อมรองรับ 3D-mesh 400G ซึ่งรองรับแบนด์วิดท์แบบ non-blocking และความล่าช้าของวิดีโอเป็นศูนย์ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีในเฟสนี้ ได้แก่ FlexPON, DQ ODN และ 400G สมรรถนะสูง

เฟส 2: การเชื่อมต่อแบบออปติคัลที่ขับเคลื่อนด้วยประสบการณ์ ให้ความเร็ว 1Gbps ในห้องต่าง ๆ

เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลมีการนำไปใช้ในรูปแบบหลากหลายมากขึ้น เครือข่ายไฟเบอร์จึงขยายจากห้องนั่งเล่นไปยังห้องนอน ห้องอ่านหนังสือ และห้องครัว รองรับการคลิกเพื่อเริ่มใช้งาน และมอบประสบการณ์เครือข่ายที่ดื่มด่ำ ความก้าวหน้าทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดข้อกำหนดที่สูงขึ้นในด้านความครอบคลุมของเครือข่าย แบนด์วิดท์ เวลาแฝง และการโรมมิง ในเฟสนี้ ผู้ใช้ยินดีจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้ได้ประสบการณ์เครือข่ายภายในบ้านระดับพรีเมียมมากขึ้น ดังนั้นการรับประกันประสบการณ์การบริการแบบครบวงจร (E2E) จึงกลายเป็นกุญแจสำคัญ ในการบรรลุเป้าหมายการเชื่อมต่อแบบออปติคัลล้วน และขยายความเร็วระดับ 1 Gbps ไปยังแต่ละห้อง ผู้ให้บริการเครือข่ายจำเป็นต้องอัปเกรด 10G PON เพื่อให้บริการระดับกิกะบิตได้อย่างเต็มที่ พร้อมให้บริการไฟเบอร์ถึงห้อง (FTTR) เครือข่ายเมโทรแบบ 100G OTN สู่ CO ไปจนถึงอัลตราบรอดแบนด์แบบ non-blocking ในระดับ 400G โดยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในเฟสนี้มีทั้ง FTTR, WDM รวมเครือข่ายเมโทร ตลอดจนระบบจัดการและควบคุมเครือข่ายอัจฉริยะ

เฟส 3: การประมวลผลแบบออปติคัลล้วน ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ มอบ 10Gbps ทุกที่

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เร่งการผลิตเนื้อหาและส่งเสริมการผลักดันอุตสาหกรรมสู่ความชาญฉลาด เพื่อรับมือกับปริมาณการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้นและการโยกย้ายข้อมูลขนาดใหญ่ไปยังระบบคลาวด์นั้น เครือข่ายที่เน้นการประมวลผลจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้มีความสามารถในการเชื่อมต่อระดับบัส โดยพลังการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลของศูนย์ข้อมูล (DC) จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ใช้ปลายทางแบบเรียลไทม์ ในลักษณะที่คล้ายกับ CPU, บัส และอุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ ผ่านเครือข่ายประสิทธิภาพสูงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายออปติคัลล้วน เพื่อให้ได้ 10Gbps ทุกที่

ในเฟสนี้ โฮมบัส (home bus) ออปติคัลล้วนที่ใช้ FTTR รองรับการเชื่อมต่อและใช้อุปกรณ์ IoT และผสานรวมความสามารถในการเชื่อมต่อ การตรวจจับ การประมวลผล และการจัดเก็บข้อมูลให้เกิด 10Gbps ได้ทั่วทั้งบ้าน นอกจากนี้ คลาวด์บัสออปติคัลล้วนที่ใช้ 50G PON และ 800G OTN ใช้การเชื่อมต่อแบบ user-DC หรือ DC-DC ออปติคัลล้วน ซึ่งนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในเฟสนี้มีทั้ง 50G PON, เครือข่ายเมโทร OTN ไป CO โดยสมบูรณ์ และแกนหลัก 800G นอกจากนี้ OTN ยังจำเป็นต้องได้รับการออกแบบสำหรับสถานการณ์ DC โดยหัวเว่ยได้เปิดตัวเคปเลอร์ (Kepler) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม OTN แบบใหม่ มาพร้อมความสามารถในการสวิตช์แบบซับแร็คเดี่ยวได้มากกว่า 100T เคปเลอร์ใช้ประโยชน์จากวัสดุและโครงสร้างใหม่ ทำให้ลดการใช้พลังงานต่อ Gbit ลงได้ถึง 65% และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (PUE) เหลือ 1.2 นอกจากนี้ยังมีหน่วยประมวลผลอัจฉริยะเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการเชื่อมต่ออย่างครอบคลุมด้วย

เครือข่ายเป้าหมายแบบออปติคัลล้วน 3 เฟสนี้ ช่วยยกระดับจาก F5G เป็น F5.5G ได้อย่างราบรื่น โดยคุณริชาร์ด กล่าวว่า "ผู้ให้บริการต้องการโซลูชันสร้างเครือข่ายเป้าหมายแบบออปติคัลที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาเฟสต่าง ๆ จนถึงขณะนี้ 100Mbps ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงเนื้อหาไปแล้ว ส่วน 1Gbps กำลังเปลี่ยนแปลงประสบการณ์บรอดแบนด์ และ 10Gbps จะเปลี่ยนสังคม เราขอเชิญชวนให้ทุกท่านมาทำงานร่วมกัน เพื่อนำ F5.5G สู่ความเป็นจริงและก้าวสู่โลกอัจฉริยะ"

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2246690/image_1.jpg




Create Date : 16 ตุลาคม 2566
Last Update : 16 ตุลาคม 2566 10:45:30 น. 0 comments
Counter : 1659 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

The Imaginary Girl*
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add The Imaginary Girl*'s blog to your web]