space
space
space
<<
เมษายน 2567
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
16 เมษายน 2567
space
space
space

บันทึกกรรมฐาน ประมาณวันที่ 20-23 มีนาคม 2567 ..เราได้กำหนดเข้าสมาธิแบบสบายๆ กำหนดในใจว่าไม่คล้อยตา
บันทึกกรรมฐาน ประมาณวันที่ 20-23 มีนาคม 2567
 
..เราได้กำหนดเข้าสมาธิแบบสบายๆ กำหนดในใจว่าไม่คล้อยตามความคิด จะรู้พุทโธไป เมือ่พุทโธไปเรื่อยก็เกิดความคิดขึ้น โดยเกิดความรู้สิ่งใดในความคิดนั้น นิมิตนั้น ก็มีชอบบ้าง ชังบ้าง ใคร่บ้าง เกลียดบ้าง กลัวบ้าง พะวงบ้าง ผลักไสบ้าง วนเวียนไป สิ่งที่ชังก็อยากให้เป็นดั่งใจก็คิดเพลินไป สิ่งที่ชอบก้อเพลินไหวไป จึงมากำหนดรู้ว่าทำไมหนอจิตคนเราถึงเป็นอย่างนั้น จักแก้อย่างไร

..จึงปักลงที่ลมหายใจทำพุทโธไป เกิดความคิดใดขึ้นก็พุทโธรู้ลมไปดูความคิดไปพร้อมๆกัน

..สักพักความคิดเริ่มแยกกันกับส่วนที่ใจทำพุทโธ ทั้งๆที่เป็นขณิกสมาธิ

..เมื่อเกิดความรู้ตั้งมั่นในพุทโธแยกกันกับความคิดต่างๆ จึงทำพุทโธไปพร้อมรู้ความคิดต่างๆไปเรื่อยอย่างนั้น เหมือนเรานั่งพุทโธไปดูทีวีไป ฟังเสียงคิดเหมือนทำกรรมฐานพุทโธไปฟังวิทยุไปฉะนั้น (ถ้าคนที่เคยเข้าฟังธรรมครูบาอาจารย์แล้วกรรมฐานไปฟังไปจะเข้าใจสภาพวะนี้ว่า เรากำหนดพุทโธทำสมาธิไป ฟังครูบาอาจารย์ไป จะไหลเข้าสมาธิก็ปล่อยมันไป มันจะฟังก็ปลอยมันไป แต่ใจตั้งมั่นปักอยู่ที่พุทโธ คือ พุทโธไปฟังไป พุทโธไปรู้ไป)

..แล้วจิตเริ่มเข้าสภาวะพุทโธ คือ ผู้รู้ รู้ว่าความคิดนั้นเป็นอกุศลมีผลเป็นทุกข์ รู้ว่าความคิดนี้เป็นกุศลมีผลเป็นสุข จิตเป็นผู้ตื่น ตื่นจากสมมติความคิดกิเลสของปลอม ใจจึงหน่ายความคิด เข้ามาตั้งนิ่งไม่กระทำเจตนาอื่นใดนอกจากดูรู้อยู่เฉยๆ ไม่เสพย์ไม่ข้อง ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งใด เมื่อใจมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเองไม่มีกิเลสเข้ามาห่อหุ้ม ใจก็เริ่มเบา ว่าง ผ่องใส สบาย

..สืบต่อมาเมื่อใจไม่ติดใจข้องแวะสิ่งใด ก็ไม่เกิดความชอบชังต่อสิ่งใดเลย ไม่มีความสำคัญใจอะไรต่อสิ่งใด ไม่หมายรู้อารมณ์ใดด้วย รัก ชัง กลัว หลง แม้จะเกิดความคิดถึงเรื่องราวที่ชอบที่พอใจหรือเรื่องราวที่แย่ๆเกิดขึ้นอยู่ ณ ตอนนั้น ใจก็นิ่งรู้อยู่แค่นั้น ไม่เอนเอียงไหวตามไป เมื่อเห็นกิริยาอาการของใจจึงรู้ว่า จิตที่เป็นพุทโธนี้มันช่างมีความเบาใจ สบายใจ อิ่มเอมใจดีเหลือเกิน แม้จะเป็นเพียงขณิกสมาธิ จะทรงอารมณ์ได้เพียงชั่วคราว(วันนั้นที่ทรงไว้ได้ 2 ชั่วโมง 24 นาทีโดยประมาณ ถ้าอุปจาระสมาธิครูบาอาจารย์ท่านว่าอย่างต่ำครึ่งวัน หรือ 1 วันก็ได้) แม้ใจรับรู้ทุกอย่างรอบตัวหมด..แต่ใจมันก็นิ่ง เบา สบาย เย็นใจดีเหลือเกิน เมื่อพิจารณาสภาวะอาการความรู้สึกในตอนนั้นก็ให้เห็นว่า..ใจเรานี้ไม่ให้ความสำคัญต่อสิ่งใดเลย ไม่สำคัญว่าชอบ ไม่สำคัญว่าชัง ใจไม่ให้ความคัญว่ายินดียินร้าย ไม่รับรู้สิ่งใดด้วยหมายรู้ในสิ่งนั้นโดยความชอบหรือชังเลย กล่าวคือ..ไม่หมายรู้อารมณ์ด้วยรัก โลภ โหรธ หลง หรือ ไม่หมายรู้อารมณ์ด้วยราคะ-ความกระหายใคร่เสพย์, ไม่หมายรู้อารมณ์ด้วยโทสะ-ความโกรธ เกลียด ชัง กลัว, ไม่หมายรู้อารมณ์ด้วยโมหะ-ความอ่อนไหวไหลตาม
- ทำให้เข้าใจได้ว่า..เมื่อเรารู้ เราได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัสกาย ได้สัมผัสใจ แล้วเกิดความชอบ ชัง รัก ใคร่ เกลียด กลัว ผลักไส นั่นเพราะชอบชังเกิดมาจาก..ความสำคํญมั่นหมายของใจ หรือ ความสำคัญหมายรู้อารมณ์นี่เอง ..ความยินดี, ยินร้าย, เฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย, โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ฉันทะ อรดี ปฏิฆะ นี่เอง..ที่เป็น..สมุทัย..ของความชอบชังทั้งปวง

- เมื่อใจปักหลักอยู่ไม่สัดส่าย อ่อนไหวไหลตามความยินดียินร้าย ใจก็แจ่มใสขึ้น นิ่ง ว่าง เบา สบาย ผ่องใส รับรู้ทุกอย่าง เห็นความรู้สึกนึกคิดกิเลสรายล้อม แต่ไม่เข้าไปติดใจข้องแวะ แม้จะพยายามเอาใจเข้าไปกำหนดรู้สิ่งใด ใจก็ไม่เอาไม่ทำทั้งนั้น จะถอยกลับมานิ่งรู้อยู่ตลอดเวลา ปักหลักนิ่งทำแค่รู้เฉยๆอยู่อย่างนั้น ไม่ไหวเอน ไม่จับ ไม่ยึด ไม่น้อมใจไปในสิ่งใด นอกจากตรงที่ใจมันเลิกปักหลักอยู่ที่มีความรู้สึกที่ว่าง โล่ง เบา สบายๆ..ทำให้รู้ว่า ใจเรานี้มันเป็นตัวรับรู้-เป็นตัวเสพย์เสวยอารมณ์ มันเลือกที่จะเสพย์อารมณ์ความรู้สึกที่ใจมันรับรู้ได้ นั่นคือ..มันเลือกที่จะเสพย์ธัมมารมณ์ได้ (ธัมมารมณ์ คือ สิ่งที่ใจรู้, อารมณ์-ความรู้สึก-นึกคิด หรือ..สภาวะธรรมใดๆทั้งปวงที่ใจรู้หรือรับรู้) หากมันเลือกเสพย์สิ่งใดใจมันก็จะปักแนบแน่นในสิ่งนั้น ทำให้เข้าใจถึงคำที่..สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนแก่พระสารีบุตรมหาเถระว่า..รู้ธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ และ เลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ นั่นคือ..ใจเราสามารถเลือกเสพย์ธัมมารมณ์ได้  ใจสามารถเลือกเฟ้นเสพย์ธัมมารมณ์ได้

- จากสภาวะธรรมที่เจออยู่นี้นั้น..ทำให้เข้าใจอย่างหนึ่งได้ว่า..ที่ใจเราเลือกเสพย์ไม่ได้ แล้วมักอ่อนไหวไปตามธัมมารมณ์ไปทั่ว นั่นก็เพราะใจเราไม่มีกำลังมากพอจะตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเอง
 
เหมือนคนที่ป่วยหรืออดอาหารไม่มีเรี่ยวแรง ดังนั้นการเจริญ ทาน ศีล สมาธิ เป็นการสร้างกำลังให้ใจ เป็นการให้อาหารแก่ใจ มโน มนะ เมื่อมีอาหารใจ ใจก็มีกำลัง เมื่อมีกำลังใจก็สามารถตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเอง ทำความรู้ทั่วพร้อม รู้แจ้งแทงตลอดเข้าถึงปัญญาได้ ศีลทำให้เกิดสมาธิ สมาธิทำให้เกิดปัญญา สมดั่งใน..กิมัตถิยสูตร..ว่าด้วยอานิสงส์ ที่สมเด็จพระตถาคตเจ้านั้นแสดงไว้แก่พระอานนท์ดีแล้วนั้น

ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศล มี อวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสาร เป็นอานิสงส์
อวิปปฏิสาร มี ปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์ เป็นอานิสงส์
ความปราโมทย์ มี ปีติเป็นผล มีปีติ เป็นอานิสงส์
ปีติ มี ปัสสัทธิเป็นผล มี ปัสสัทธิ เป็นอานิสงส์
ปัสสัทธิ มี สุขเป็นผล มี สุข เป็นอานิสงส์
สุข มี สมาธิเป็นผล มี สมาธิ เป็นอานิสงส์
สมาธิ มี ยถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์
ยถาภูตญาณทัสสนะ มี นิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะ เป็นอานิสงส์
นิพพิทาวิราคะ มี วิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์

             ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัต โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล


- หลังที่ใจมันเลือกที่จะตั้งปักหลักอยู่ในความนิ่ง ไม่เข้าหาอารมณ์ ไม่ถอยหนีอารมณ์ ปักใจไว้อยู่ที่แค่รู้ รู้แนบแน่นสภาวะ รู้แนบแน่นไม่ไหวเอน อยู่ๆก็เหมือนใจมันย้อนกลับเข้ามาหาตัวเอง ส่งจิตใจมาภายในใจ ทำความรู้..ถอยตามกระแสความสำคัญมั่นหมายของใจมาที่เหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น ก็เห็นว่า..มีความรู้สึกที่อิมเอม สบายๆ ขณะนั้นจึงเข้าใจว่าเพราะใจไม่ข้องเสพย์ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งใด มันเบาใจไม่หน่วงตรึงจิต มันสบาย เมื่อใจมันสบายมันก็ยินดี เต็มใจเข้ามาอยู่นิ่งๆทำแค่รู้ นี่คือ.ความเพลินใจ ยินดีในอารมณ์ความรู้สึก ความเต็มใจของใจ ของมโน มนะ นี่เอง
 

- เมื่อเกิดความพอใจยินดีในสิ่งใด ใจก็จะเกิดความเต็มใจเสพย์ในสิ่งนั้นสืบต่อ นี่เองคือ..ความพอใจ..เพลิดเพลินใจ..ที่จะเสพย์ทำให้เกิดความสืบต่อ


- จึงเข้าใจตามที่..พระอาจารย์สนธยา ธัมมะวังโส ท่านกรุณาสอนเราไว้แล้วว่า ..ขณิกสมาธิอาศัยฉันทะ ความพอใจ ความเต็มใจ ความยินดี ความเพลินใจเป็นอารมณ์..มันเป็นอย่างนี้นี่เอง.. จึงดูความสบายที่เกิดขึ้นรายล้อมใจอยู่ แล้วก็เหมือนกับใจขยายเข้าไปดูในความสบายใจนั้น ก็เกิดเห็นความสุขอ่อนๆ มันคือโสมนัสเวทนา คือ ความสุข ..เวทนา นี้เป็น สมุทัย ของความสำตัญมั่นหมายของใจเรานี่เอง.. ความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจว่า..อย่างนี้ยินดี..อย่างนี้เยินร้าย เกิดขึ้นได้เพราะมีเวทนานี้เอง มีเวทนาเป็นสมุทัย ความโสมนัส-สบายใจ ยินดี, โทมนัส-ไม่สบายใจ ยินร้าย, อุเบกขา-ไม่ยินดียินร้าย ..ก็เป็นเวทนาในเวทนาใช่หรือไม่

- ทำให้รู้ชัดว่า..ที่ใจเลือกเสพย์ก็เพราะเวทนา เพราะความสุขนี่เอง ใจมันสุขอันไหนสิ่งใด..มันก็ยินดีในอันนั้นสิ่งนั้น พอใจในสิ่งนั้น เสพย์สิ่งนั้น เพลิดเพลินสิ่งนั้น แล้วแนบใจไว้ในสิ่งนั้น เสพย์สืบต่อความรู้สึกเสวยอารมณ์ในสิ่งนั้น ..แต่ด้วยเพราะปุถุชนโลกียะ..อาศัยสุขทางกายมาถึงใจ ทำให้ติดจมอยู่ในสมมติกิเลสเครื่องล่อใจทั้งปวง ..สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาเมื่อทรงตรัสรู้ เป็นผู้รู้แจ้งโลก จึงสอนให้รู้จักสุขที่เนื่องด้วยใจ ไม่อิงอามิสเครื่องล่อใจ ทำให้พบสุขที่แท้จริง นั่นคือโลกุตระธรรมนั่นเอง..เมื่อรู้ดังนี้..ก็ทำเรานี้ให้หมดความลังเลสงสัยในทันที

- เวทนา คือ คาามรู้สึก ความสบาย แช่มชื่นใจ รื่นรมย์ใจ ความอิ่มเอม ปราบปลื้ม ปิติ ฟูใจ ความสุข นี่คือเวทนา ความไม่สบายกายใจ เหี่ยวใจ อัดอั้น คับแค้นกายใจทั้งหลายก็เป็นเวทนา นี้คือเวทนาในเวทนานั่นเอง แม้ขณิกสมาธิเมื่อปฏิบัติตรงแล้ว ยังเห็นได้อย่างนี้ ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้สูงส่งจริงแท้ นี่เป็นเวทนาในเวทนาเหมือนดั่ง..หลวงตาศิริ อินทสิริ ท่านสอนไว้เป็นอย่างนี้นี่เอง เวทนาเกิดจากใจรู้ ก็เพราะใจรู้ๆนี้แหละ รู้สุขรู้ทุกข์ เพราะใจรู้นี้แหละคือเหตุเกิดของเวทนา สืบต่อไปเป็นความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจ 

- ใจ มโน มนะ คือ ธาตุรู้ ..ใจที่รู้ๆนี้ รู้สุข รู้ทุกข์ รู้เฉยๆ รู้เสพย์ รู้ๆทุกอย่างนี้..ใจปุถุชนอย่างเราๆนี้มันรู้สิ่งใด-มันก็เสพย์สิ่งนั้น สำคัญมั่้นหมายใจในสิ่งนั้น อุปาทานสิ่งนั้น ดังนี้..สิ่งใดที่ใจรู้สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้ อยู่เหนือการควบคุม จึงชื่อว่าสมมติ ชื่อว่าอนัตตา ใจรู้ได้ก็เพราะผัสสะ ความสัมผัสตา สัมผัสหู สัมผัสจมูก สัมผัสลิ้น สัมผัสกาย สัมผัสใจ ความกระทบจิตให้รู้ ความกระเพื่อมของจิต

- เพราะเราไม่อาจห้ามการกระทบสัมผัสได้ด้วยไม่ใช่ตัวตน หรือบังคับให้คงไว้ได้ ก็ด้วยใจนี้รู้ๆ รู้ไปหมดทุกอย่าง รู้สุข รู้ทุกข์ รู้เฉยๆ แต่ก็ไม่สามารถบังตับไม่ให้รู้เฉพาะสิ่งที่รักได้ และไม่รู้เฉพาะสิ่งที่เกลียดได้ ใจนี้มันรู้ๆไปหมด คือ รู้นั่น รู้โน่น รู้นี่ไปหมด แต่สิ่งที่รู้คือสมมติกิเลสของปลอมทั้งนั้น

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรพระปรีชาญาณ มีปัญญาญาณอันยิ่งแล้ว จึงสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายให้สำรวมระวังในผัสสะ ก็สัตว์ทั้งหลายเมื่อยังไม่รู้ เมื่อยังไม่เข้าใจ ก็มิอาจรู้การสำรวมระวังนั้นได้ ก็เมื่อมีโสมนัสก็ดี, โทมนัสก็ดี, อุบกขาก็ดี, สุขเวทนาก็ดี, ทุกขเวทนาก็ดี, อะขะมะสุขขะมะทุกข์ก็ดี ก็ยากยิ่งนักจะทำได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจคงทรงตรัสสอนว่า เรารู้อารมณ์ทางใดก็ให้มีสติทางนั้น เมื่อสฬายตนะเป็นที่รู้อารมณ์ ก็ทรงสั่งสอนสัตว์ให้ สำรวมระวังทางสฬายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือมี อินทรีย์สังวร นั่นเอง

- ก็อินทรีย์สังวรณ์นี้ การมีอินทรีย์สังวรนี้ทำไฉน สัตว์ทำได้ยาก เพราะมัวพะวง จำจดจำจ้อง หวาดกลัวระแวง ใคร่ได้อยู่ จึงเข้าใจได้ยากนัก ทำได้ยากนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดา จึงทรงตรัสสั่งสอนสัตว์ว่า ให้ถือใจอย่างเดียว

- ก็สัตว์ทั้งหลายจะถือใจอย่างไรได้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา จึงตรัสสอนว่า ให้มีสติทางตา มีสติทางหู มีสติทางจมูก มีสติทางลิ้น มีสติทางกาย มีสติทางใจ 
เมื่อรู้ทางตาก็มีสติทางตา เมื่อรู้ทางหูก็มีสติทางหู เมื่อรู้ทางจมูกก็มีสติทางจมูก เมื่อรู้ทางลิ้นก็มีสติทางลิ้น เมื่อรู้ทางกายก็มีสติทางกาย เมื่อรู้ทางใจก็มีสติทางใจ กล่าวโดยย่อรู้ทางใดก็มีสติทางนั้น

- ก็มีสติระลึกรู้ทางสฬายตนะนั้นทำอย่างใด สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนละเว้นเจตนาอกุศล เพราะเจตนาคือกรรม ส่วนการรู้ ก็รู้ได้ด้วยใจ ใจคือตัวรู้ ใจจึงรู้ๆไปหมด รู้คิด รู้ทำ ก็ใจที่อ่อนไหวนี้แล เป็นตัวกระทำเจตนาทั้งหมด ..โดยแท้จิตเดิมของเรานี้มีหน้าที่แค่รู้..ไม่ได้มีหน้าไว้สั่งหรือเสพย์ จึงทรงตรัสสอนไว้ว่า ขันธ์ ๕ มีไว้ให้ระลึกรู้ ไม่ได้มีไว้เสพย์ กล่าวคือ ให้ใจกลับคืนสู่หน้าที่เดิมที่เพียงทำสักแต่ว่ารู้นั่นเอง รู้ก็ทำสักแต่ว่ารู้ แล้วปล่อยมันผ่านไป ไม่ยินดียินร้ายกับมัน ..ตา หู จมูก ลิ้น กาย คือ รูปขันธ์ ความรู้นั้นคือวิญญาณ จักขุวิญญาณ วิญญาณตา หรือ ความรู้ทางตา เพราะมีรับรู้กระทบสัมผัสทางตา เราจึงเห็นทางตา เมื่อเห็นทางตาจึงเกิดเวทนา คือความรู้สึกจากสิ่งที่รู้เห็น เมื่อรู้สึกจึงให้ความสำคัญหมายรู้สิ่งนั้นด้วยความชอบ ชัง เฉย ยินดี ยินร้าย ไม่ยินดียินร้าย ..แล้วก็เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆนาๆต่อสิ่งนั้นตามราคะ โมทสะ โมหะ ก็ทั้งหมดทั้งมวลก็มีใจนี้แลที่รู้ๆอยู่นั้น รู้ๆไปหมดในสิ่งนั้น รู้สุข รู้ทุกข์ รู้ชอบ รู้ชัง รู้ติดใจข้องแวะ รู้คิด

- เพราะใจเป็นธาตุรู้..เราจะมีสติควบคุมธาตุรู้ได้ก็ด้วยการรู้ก็ทำสักแต่ว่ารู้ คือ ให้ใจมันทำแค่รู้เท่านั้น มีหน้าที่รู้ ไม่ได้มีหน้าที่เสพย์ ด้วยเมื่อรู้สิ่งใดแล้วเราบังคับผัสสะทางตาบังคับความรู้ทางตาให้รู้เฉพาะสิ่งที่ชอบและไม่รู้สิ่งที่ไม่ชอบย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะใจ..คือธาตุรู้ ใจเป็นตัวรู้ เมื่อเราห้ามใจมันไม่ให้รู้ก็ไม่ได้ บังคับใจมันให้รู้เฉพาะเจาะจงก็ไม่ได้ เราจึงต้องปล่อยให้มันรู้ไป เพียงแค่เมื่อมันรู้แล้ว ก็ให้ใจมันแค่รู้เท่านั้นโดยไม่ติดใจข้องแวะ รู้โดยคิดสืบต่อ ไม่ใส่ใจให้ความสำคัญ ไม่ให้ความสำคัญมั่นหมายของใจ ..ตัวรู้มันก็จะกลับเป็นคืนสภาพเดิม..คือ..ธาตุรู้ รู้โดยไม่ให้ความสำคัญมั่นหมายใดๆต่อใจ ไม่สั่ง ไม่ตราตรึง ไม่ติดตรึง ไม่ข้อง ไม่เสพย์ ทำสักแต่ว่ารู้ รู้ก็สักแต่ว่ารู้ นี้เป็นการกำหนดรู้โดยใจ รู้แล้วก็ปล่อยผ่านไป ไม่ติดใจข้องแวะ ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งที่รู้ ทำแต่รู้ ทำสักแต่ว่ารู้ นี่คือพระปรีชาญาณอังยิ่งของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

- ขันธ์ ๕ มีไว้รู้ ไม่ได้มีไว้เสพย์ คือ ทำสักแต่ว่ารู้ แต่ไม่ให้อ่อนไหวไหลตาม การทำสักแต่ว่ารู้นี้คือ การสำรวมระวังผัสะ สำรวมระวัง สฬายตนะนี่เอง

 


Create Date : 16 เมษายน 2567
Last Update : 16 เมษายน 2567 9:45:44 น. 0 comments
Counter : 28 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7881572
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7881572's blog to your web]
space
space
space
space
space