ปีมะโรง ขอจงมีความสุข - Ole24Hour
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
8 ธันวาคม 2552

คำวัดอธิบายในแผนภูมิวิปัสสนา

 



1.  กสิณ - วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่   เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้ วัตถุสำหรับเพ่ง เพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ
2.  กามตัณหา - ความทะยานอยากในกามหรือทางโลกๆ คือใน รูป,รส,กลิ่น,เสียง,สัมผัส ทั้ง 5
3.  กิเลสกาม - กิเลสเป็นเหตุใคร่, ที่ทำให้อยาก
4.  อกุศลมูล , ต้นเหตุของความชั่ว มี 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
      โลภะ –อยากได้ของเขา
      โทสะ- คิดประทุษร้ายเขา
      โมหะ - ความหลง ความไม่รู้ตามเป็นจริง,
5. กำหนัด - ความใคร่,ความอยากในกามคุณ
6. ขันธ์๕ - องค์ประกอบทั้ง๕ที่ทางพุทธศาสน์ถือว่า เป็นปัจจัยของมีชีวิต อันมี รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ
7. ตัณหา - ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน,ความปรารถนา, ความเสน่หา มี 3
    กามตัณหา ตัณหาความทะยานอยากและไม่อยากใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
    ภวตัณหา อยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรืออยากเกิด อยากมีอยู่คงทนตลอดไปตามใจ  ปรารถนา
    วิภวตัณหา ปรารถนาในความไม่มีไม่เป็น
8.  ไตรลักษณ์ - ลักษณะสาม อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ,  3 ประการ ได้แก่
       อนิจจตา (อนิจจัง) ความเป็นของไม่เที่ยง
       ทุกขตา (ทุกขัง) ความเป็นทุกข์ หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้
       อนัตตตา (อนัตตา) ความไม่มีตัวตน อย่างแท้จริง
9.  นิวรณ์, นิวรณธรรม - ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรมมี
10. ปฏิกูล - น่าเกลียด, น่ารังเกียจ
11. ปฏิฆะ – ความขุ่น , แค้นเคือง, ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ
12. ปฏิปทา - ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ
13. ปริวาส - การอยู่ชดใช้ เรียกสามัญว่าอยู่กรรม
14. ปรมัตถ์ - ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง
15. ปุถุชน - คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส,  คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆ ไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคล
16. ปัจจัตตัง – รู้ได้เฉพาะตน
17. ปัญญาวิมุตติ – ความหลุดพ้นด้วยปัญญา
18. ผัสสะ – การประจวบกันของอายตนะภายใน 1 และอายตนะภายนอก 1 และวิญญาณ 1 เรียกการประจวบกันของธรรมทั้ง 3 ว่าผัสสะ
ดังเช่น ตา + รูป + วิญญาณ;   ผัสสะ การถูกต้อง, การกระทบ;   ผัสสะ 6 ผัสสะอันเนื่องมาจากอายตนะต่างๆทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
19. มรณสติ - ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา
20. มรรค - ทาง, หนทาง, ทางปฏิบัติ
21. มหาภูตรูป - รูปใหญ่, รูปต้นเดิม คือ ธาตุ 4 ได้แก่ ปฐวี(ดิน) อาโป(นํ้า) เตโช(ไฟ) และวาโย(ลม)  ดู ธาตุ 4
22. มหาสติ - สติที่รู้เท่าทันในกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรมเป็นอย่างยิ่ง
23. มิจฉาทิฏฐิ - เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี  มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น
24. ราคะ - ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์
25. โลกุตรธรรม - ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลกๆ,สภาวะพ้นโลกหรือเหนือโลก  
26. วิมุตติ - ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส
27. เวทนา - ความรู้สึกรับรู้  เมื่อมีการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)กับอารมณ์ต่างๆ
28. สังสารวัฏ - การเวียนว่ายตายเกิดในโลกหรือภพ
29. สังโยชน์ - กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรม(สิ่ง)ที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์
30. โสมนัส - ความดีใจ, ความสุขใจ, ความปลาบปลื้ม
31. อกาลิโก - ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่จำกัดด้วยกาล ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา  ทุกโอกาส
32. อนุสัย - กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน
33. อสุภะ - สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม
34. อริยสัจ- ความจริงอย่างประเสริฐ,  คือ  ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค
35. อนิฎฐารมณ์ - อารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนา
36. อริยบุคคล - บุคคลซึ่งเป็นผู้บรรลุธรรมวิเศษ
37. อภิชฌา - โลภอยากได้ของเขา, ความคิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของของคนอื่น
38. อภิสังขาร - สภาพที่ปรุงแต่งผลแห่งการกระทำของบุคคล, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม  ได้แก่ บุญ บาป ฌาน
39. อวิชชา - ความไม่รู้จริง, ความหลง (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์),
40. อายตนะภายใน -อวัยวะที่ใช้ติดต่อสื่อสารอันมี ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ
41. อายตนะภายนอก - สิ่งที่ถูกรู้โดยมี รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส,ธรรมารมณ์(สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยใจหรือความคิด)
42. อามิสบูชา - การบูชาด้วยสิ่งของมีดอกไม้ ของหอม อาหาร และวัตถุอื่นๆ
43. อานาปานสติ  กัมมัฏฐานที่ใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
44. อาสวะ - คือสัญญาหรือความจําที่สั่งสมอันมีกิเลสสิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัวแฝงอยู่อันเนื่องจากทุกข์และสุขในอดีต
45. อิทัปปัจจยตา – หลักธรรมที่เป็นไปตามกฎของธรรม   
         เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี     เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น
         เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี  เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ
46. อุเบกขา - การเป็นกลาง โดยการวางทีเฉยมีสติรู้เท่าทันสภาวธรรมที่เกิดขึ้นนั้นๆตามเป็นจริง
47. อุปาทาน - ความยึดมั่น, ถือมั่นด้วยอำนาจของกิเลสตน ก็เพื่อสนองความพึงพอใจของตนเป็นเอก






Free TextEditor


Create Date : 08 ธันวาคม 2552
Last Update : 8 ธันวาคม 2552 22:19:32 น. 0 comments
Counter : 411 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เซียนเซิงสิบสามจุดห้า
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add เซียนเซิงสิบสามจุดห้า's blog to your web]