มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
15 มกราคม 2552
 

พัฒนาการสิ่งก่อสร้าง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

สถาปนาเมื่อ ปีเถาะ เบญจศก พ.ศ. ๒๓๒๕ พร้อมกับการสถาปนาพระราชมณเฑียร รูปแบบสถาปัตยกรรมยังคงถ่ายแบบมาจากสมัยอยุธยาพร้อมกันกับพัฒนาแนวคิดพุทธปรัชญาและคติสมมติเทวราช เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ พระอารามสร้างเสร็จในปีมะโรง ฉศก จุลศักราช ๑๑๔๖ (พ.ศ. ๒๓๒๗)
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างอาคารภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีมาทุกรัชกาล แต่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ส่วนรัชกาลอื่นๆ เน้นการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้มีความงดงาม

สมัยรัชกาลที่ ๑



๑.๑ ก่อสร้างพระอุโบสถ ขนาด ๑๕ ห้องเพื่อ ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปรฏิมากร ประดิษฐานเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะโรง ฉศก จุลศักราช ๑๑๔๖ (๗ มีนาคม ๒๓๒๗)
สถาปัตยกรรมเด่น คือ หลังคาชั้นลด ๓ ชั้น ดาดด้วยดีบุก มุขไม้แกะสลักพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ถือแก้ววิเชียร หลังคานาคสะดุ้ง ช่อฟ้า บราลี ปิดทอง ผนังอุโบสถด้านนอกเขียนลายรดน้ำ ปิดทอง พื้นชาดแดง ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ บานประตูประดับมุก ฝีมือช่างรัชกาลที่ ๑
(ปฏิมากรรมรูปครุฑจับนาคหล่อโลหะปิดทอง มาใส่ภายหลังรัชกาลที่ ๑)
๑.๒ หอไตร (หอพระมณเฑียร) ก่อสร้างกลางสระน้ำ ต่อมาถูกเพิลงไหม้ และสร้างหอพระมณเฑียรธรรม แทนที่
๑.๓ หอพระนาก ๒ หลัง หลักฐานไม่ชัดเจนว่าสร้างสองหลัง แต่สันนิฐานจากบันทึการบรรจุอัฐิเจ้านายชั้นสูง และไว้ประดิษฐานพระพุทธรูปพระนาก
๑.๔ หอพระเชษฐบิดร (วิหารขาว) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง) ซึ่งเป็นปฐมวงศ์สร้างกรุงเก่า ที่อัญเชิญจากวัดพุทไธสวรรค์ มาแปลงเป็นพระพุทธรูปหุ้มเงิน(ทรงเครื่อง)ปิดทอง ซึ่งอาคารเป็นการก่ออิฐ ฉาบปูนขาว จึงเรียกตามว่า วิหารขาว
๑.๕ พระสุวรรณเจดีย์ ๒ องค์ โปรดให้สร้างไว้หน้าหอไตรกลางน้ำ เพื่ออุทิศถวายพระบรมราชชนก และสมเด็จพระชนนี
๑.๖ พระเจดีย์ ฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๘ องค์ โปรดเรียกว่า “พระเจดีย์อรหันต์” มีฐานกว้างกว่าในปัจจุบัน ย่อมุมไม้สิบสอง มียอดปรางค์ ขนาดไม่ใหญ่เท่าปัจจุบัน ก่ออิฐถือปูน ฉาบปูนขาวทั้งองค์ปรางค์
๑.๗ ศาลาราย ก่อสร้าง ๑๒ หลัง นอกกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ ขนาด ๒ ห้อง ทำด้วยเครื่องไม้ทั้งหลัง หลังคากระเบื้องดินเผา
๑.๘ ก่อสร้างพระระเบียงล้อมรอบสิ่งก่อสร้าง โดยผนังเขียนเรื่องรามเกียรติ์
ช่วงพ.ศ. ๒๓๓๑ – ๒๓๒๕ ทรงก่อสร้างสถาปัตยกรรมเพิ่มเติมดังนี้
ก.๑ พระมณฑป
ก.๒ หอพระมณเฑียรธรรม (สร้างใหม่ แทนที่ถูกไฟไหม้)
ก.๓ หอพระนาก
ก.๔ หอระฆัง
ก.๕ สิงห์สำริด
ก.๖ เครื่องทรงพระแก้วมรกต สำรับฤดูร้อน และ ฤดูฝน


สมัยรัชกาลที่ ๒

ในรัชกาลนี้ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในสถาปัตยกรรมเดิม เนื่องจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพิ่งก่อสร้างเสร็จไม่นาน

สมัยรัชกาลที่ ๓

ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ่งก่อสร้างที่เคยสถาปนาไว้ในรัชกาลที่ ๑ ได้ทรุดโทรมลง จึงทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม พ.ศ. ๒๓๗๔ ในการนี้โปรดเกล้าฯให้กรมหมื่นศรีสุเทพ และ กรมหมื่นไกรสรวิชิต เป็นผู้อำนวยการปฏิสังขรณ์ กรมหมื่นอินทร์อมเรศร์ (กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ) พระองค์เจ้ากลาง (กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์) พระองค์เจ้ามรกฏ (กรมขุนสถิตย์สถาพร) ทรงตรวจตราการช่าง และ พระยาศรีพิพัฒน์ (สมเด็จพระยาบรมมหาพิไชยญาติ) และพระยาเพ็ชร์พิไชย เป็นนายงาน
สิ่งที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ มีดังนี้

๓.๑ พระอุโบสถ โดยเปลี่ยนหลังคาเป็นกระเบื้องเคลือบ เปลี่ยนผนัง เสาหาน และเสานางเรียงโดยประดับกระจกสี ส่วนหน้าบันเปลี่ยนรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ
โปรดให้หนุนบุษบกโดยสร้างเบญจ ๓ ชั้นหนุนให้สูงขึ้นเพื่อยกระดับพระแก้วมรกต
โปรดให้หล่อครุฑจับนาคจำนวน ๑๑๒ ตัวประดับที่ฐานปัทม์พระอุโบสถ
๓.๒ พระมณฑป ซ่อมแซมโดยคงรูปแบบเดิมและโปรดให้สร้างพระเจดีย์แก้ว พระเจดีย์แบบจีนเก๋ง ศาลารูปปราสาทห้าชั้นและกระถางเคลือบไว้รอบพระมณฑป
๓.๓ พระวิหารยอด เดิมคือหอพระเชษฐบิดร โปรดเกล้าให้รื้อทิ้งเพราะโทรมมาก และก่อสร้างใหม่แบบวิหารหลังคายอดทรงมงกุฎ พระราชทานนามว่า "พระบวรมหาเสวตกุฎาคาร วิหารยอด" แต่ยังคงประดิษฐานพระเชษฐบิดรตามเดิม และพระนาก
๓.๔ หอพระนาก ของเดิมมีขนาดเล็ก จึงขยายให้กว้างใหญ่ขึ้น และเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิ ตามอย่างเก่า
๓.๕ พระอัษฎามหาเจดีย์ ได้ทำการก่อสร้าง ปิดกระเบื้องเคลือบใหม่

พระสัมมาสัมพุทธมหาเจดีย์ (กระเบื้องสีขาว)
พระสัทะรรมปริยัติวะรามหาเจดีย์ (กระเบื้องสีขาบ)
พระอะริยะสงฆสาวกมหาเจดีย์ (กระเบื้องสีชมพู)
พระอริยะสาวิกภิกษุณีสังฆะมหาเจดีย์ (กระเบื้องสีเขียว)
พระปจเจกโพธิสัมพุทธามหาเจดีย์ (กระเบื้องสีม่วง)
พระบรมจักรวัดิราชมหาเจดีย์ (กระเบื้องสีน้ำเงิน)
พระโพธิสัตวกฤษฎามหาเจดีย์ (กระเบื้องสีแดง)
พระสีอริยเมตยมหาเจดีย์ (กระเบื้องสีเหลือง)
และโปรดเกล้าฯให้สร้างเก๋ง ๔ หลังระหว่างมหาเจดีย์ สำหรับราชบัณฑิตไว้บอกพระปริยัติรรมแก่ภิกษุสามเณร
๓.๖ พระระเบียง ด้านในเขียนเรื่องรามเกียรติ์โดยลบของเดิมออก เขียนใหม่ทั้งหมด โดยมีพระอาจารย์แดง (พระภิกษุ)เป็นผู้ร่างต้นแบบภาพถวาย
๓.๗ โปรดให้ทำรูปสลักหินทราย ๔ คู่ ๔ เรื่องคือ ไกรทอง สังข์ทอง รามเกียรติ์ และอุณรุท มาประดับไว้รอบกำแพงแก้วริมพระอุโบสถ (ไกรทอง-วิมาลา, พระสุน-มโนราห์, หนุมาน-สุวรรณมัจฉา, เจ้าเงาะ-รจนา)


๓.๘ ศาลาราย โปรดให้ดาดปูน ปูลาดด้วยแผ่นศิลา แขวนกรงใส่นกจำลอง ๑๒ ชนิดไม่ซ้ำกัน ระหว่างศาลาตั้งกระถางเคลือบปลูกบัว ไม้ดอก และไม้ดัด
๓.๙ ก่อสร้างรูปปั้นยักษ์ ๑๒ ตน ประจำซุ้มพระระเบียง
ซุ้มประตูพระระเบียง ทิศตะวันออก (ตรงมณฑป) ชื่อ สุริยาภพ กับ อินทรชิต
ซุ้มประตูพระระเบียง ทิศตะวันออก (ตรงหน้าอุโบสถ) ชื่อ วิรุฬหก กับ มังกรกัณฑ์
ซุ้มประตูพระระเบียง ทิศตะวันตก (เยื้องมณฑป) ชื่อ มัยราพณ์ กับ วิรุฬจำมัง และ ทศกัณฑ์ กับ สหัสสเดชะ
ซุ้มประตูพระระเบียง ทิศตะวันตก (หลังอุโบสถ) ชื่อ ท้าวจักรวรรดิ กับ อัฐกรรณมารา
ซุ้มประตูพระระเบียง ทิศใต้ (ตรงซุ้มประตูศรีรัตนศาสดาราม) ชื่อ ทศคิรีธร กับ ทศริรีวัน
ถือคติตำนานว่า กุมภัณฑ์ผู้เฝ้าแก้วมณี ณ ภูเขาบุลบรรพต ยินยอมให้พระดอินทร์และพระวิษณุกรรม นำแก้วมรกตอันมีสีเขียวประภัสสรไปให้พระนาคเสนเถระ เมืองปาตาลีบุตร เพื่อสร้างพระแก้วมรกตขึ้น จึงให้ยักษ์ยืนหันหน้าเข้าภายในพระอาราม เพื่อเฝ้าแก้วมรกตและพระไตรปิฏก
๓.๑๐ พระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒
สืบเนื่องด้วยทรงมีพระปรารภถึงพระราชพงศาวดารซึ่งมีปรากฏว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดให้หล่อพระศรีสรรเพชญ หุ้มด้วยทองคำสูง ๘ วา ทองคำหนัก ๒๘๖ ชั่ง และพระเจ้าแผ่นดินภายหลังได้หล่อพระพระรูปสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ไว้นมัสการ จึงอาศัยเหตุสองประการนี้ ทรงมีพระราชศรัทธาจะสร้างพระพุทธรูปใหญ่หุ้มด้วยทองคำเป็นพระราชกุศลใหญ่ จึงปรึกษากับเจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่ ๔)ให้คิดกะส่วนความสูงได้ราวหกศอกช่างไม้ ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช และหุ้มด้วยทองคำองค์ละ ๖๓ ชั่ง ๔ ตำลึงเศษ ถวายพระนามว่า “พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” และ “พระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย”
๓.๑๑ โปรดเกล้าฯให้สร้างเครื่องทรงฤดูหนาว สำหรับพระแก้วมรกต ประกอบด้วย พระศกฝังเพชร ผ้าคลุมประดับพลอย จึงเป็นโอกาศที่เครื่องทรงครบ ๓ ฤดู จึงเป็นต้นแห่งพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงตามฤดูกาล คือ
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ (มีนาคม) เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาว เป็น เครื่องทรงฤดูร้อน
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (กรกฎาคม) เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูร้อน เป็น เครื่องทรงฤดูฝน
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ (พฤศจิกายน) เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝน เป็น เครื่องทรงฤดูหนาว


สมัยรัชกาลที่ ๔

ทรงบูรณะและปฏิสังขรณ์สืบต่อจากรัชกาลที่ผ่านมาดังนี้
๔.๑ พระอุโบสถ ซ่อมเครื่องบน เขียนภาพจิตรกรรมใหม่ เปลี่ยนบานประตูจากรูปเขียน เป็นลายปูนปั้นปิดทอง บริเวณกำแพงแก้ว ก่อหอพระราชกรมานุสร, หอพระราชพงศานุสร และพระโพธิธาตุพิมาน
๔.๒ พระมณฑป ซ่อมเครื่องบนใหม่ ส่วนพื้นภายในเดิมปูลาดด้วยแผ่นเงิน ให้เปลี่ยนเป็นสานเสื่อเงิน
๔.๓ พระสุวรรณเจดีย์ ๒ องค์ โปรดให้ชะลอมาไว้ที่รักแร้พระพุทธปรางค์ปราสาท
๔.๔ หอระฆัง โปรดเกล้าฯให้รื้อ แล้วสร้างใหม่โดยก่อสร้างให้เป็นหอทรงบุษบกอยู่บนฐานทักษิณแบบปรางค์ย่อมุมไม้สิบสอง ประดับกระเบื้องเคลือบสี
๔.๕ พระระเบียง ทรงขยายพื้นที่ระเบียงออกไปทางทิศตะวันออก และ ตะวันตก เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับไพที ทำให้พระอะริยะสงฆสาวกมหาเจดีย์ และ พระอริยะสาวิกภิกษุณีสังฆะมหาเจดีย์ ถูกเข้ามาอยู่ในวงล้อมของพระระเบียง พร้อมกับสร้างซุ้มประตูทรงมงกุฎ พลับพลาเปลื้องเครื่อง ส่วนภาพจิตรกรรมก็โปรดให้เขียนในส่วนที่ต่อขยายใหม่ แล้วเสร็จในรัชกาลที่ ๕

โปรดเกล้าให้สถาปนาสิ่งก่อสร้างใหม่ดังนี้
ก.๑ พระศรีรัตนเจดีย์ โปรดเกล้าฯก่อฤกษ์ วันศุกร์แรม ๑๑ ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๑๗ (๑ กุมภาพันธ์ ๒๓๙๘) สูง ๑ เส้น (๔๐ เมตร) เท่ากับพระมณฑป ภายนอกทาสีขาว
ก.๒ พระพุทธปรางค์ปราสาท โปรดเกล้าฯให้สร้างปรางค์สูง ๑ เส้นเช่นเดียวกัน เพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกต ก่อฤกษ์เมื่อวันพุธ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๑๗ (๙ พฤษภาคม ๒๓๙๘)
ก.๓ ไพทีและซุ้มทางขึ้นไพที
ก.๔ หอพระคันธารราษฎร์ สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระคันธารราษฎร์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปใช้ในพระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ ถูกสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีเถาะ เบญจศก จุลศักราช ๑๑๔๕ (พ.ศ. ๒๓๒๖) เดิมลงรักปิดทอง รัชกาลที่ ๔ โปรดแก้เป็นกะไหล่ทองและประดับเพชรเม็ดใหญ่ถวาย
ก.๕ มณฑปยอดปรางค์ เป็นอาคารเชื่อมกับหอพระคันธารราษฎร์ เดิมทำแท่นปูแผ่นมนังคศิลา ที่ทรงนำมาจากสุโขทัย และเจดีย์ที่รัชกาลที่ ๔ นำลงมาจากทางเหนือ
ก.๖ หอพระราชกรมานุสร โปรดเกล้าฯให้สร้างเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ๓๔ ปาง ที่ทรงพระราชอุทิศถวายพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาและกรุงธนบุรี
ก.๗ หอพระราชพงศานุสร โปรดเกล้าฯให้สร้างเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ที่ทรงพระราชอุทิศถวายรัชกาลที่ ๑,รัชกาลที่ ๒ และ รัชกาลที่ ๓
ก.๘ พระโพธิธาตุพิมาน เป็นเจดีย์ทรงปรางค์ปิดทองมาจากเมืองเหนือ ภายในบรรจุพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา กระหนาบด้วยพระราชกรมานุสรและหอพระราชพงศานุสร
ก.๙ พระเจดีย์บนพนักกันตกของไพที สร้างเสิรมให้สมมาตรกับสุวรรณเจดีย์ ๒ องค์
ก.๑๐ นครวัดจำลอง “เมื่อเดือน ๓ แรม ๑๓ ค่ำ ปีขาล อัฐศก (ศุกร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๙) โปรดเกล้าฯให้พระยาสามภพพ่ายออกไปถ่ายแบบปราสาทที่นครวัด และจำลองไว้เพื่อให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นของอัศจรรย์ทำด้วยศิลาทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งไรปน..พระยาสามภพพ่ายยกกลับมาถึงกรุงเทพ ณ วันเดือน ๗ ขึ้น ๙ ค่ำ (อังคารที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๐๙) กราบทูลว่าได้ถ่ายรูปปราสาทและพระระเบียงเข้ามา..”
ก.๑๑ พนมหมาก เป็นเครื่องประดับตกแต่งไพที เพื่อพุทธบูชา
ก.๑๒ พระที่นั่งไชยชุมพล
ก.๑๓ เปลี่ยนซุ้มประตูพระบรมมหาราชวังทำเป็นซุ้มยอดปรางค์



สมัยรัชกาลที่ ๕



การบูรณะปฏิสังขรณ์จากรัชกาลก่อนได้ดำเนินการและก่อสร้างยังคงสร้างต่อมา จนถึง พ.ศ. ๒๔๒๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงตั้งสัตยธิษฐานเฉพาะพระพักตร์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ว่าถ้าจะได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติยืนยาวสืบไป ขอให้ได้ปฏิสังขรณ์พระอารามนี้ สำเร็จบริบูรณ์ทันกำหนดสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปีในพุทธศักราช ๒๔๒๕ และโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ ต่างทำการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เพื่อเป็นพระราชกุศลและพระเกียรติยศอยู่ในแผ่นดินสืบไป
พระเจ้าน้องยาเธอและเจ้านายต่างๆ ได้ลงมือปลูกนั่งร้านเมื่อเดือนสาม ปีเถาะ เอกศก จนถึง วันจันทร์ เดือนห้า แรม ๑๔ ค่ำปีมะเมีย เป็นเวลา ๒ ปี ๓ เดือน ๒๑ วัน การพระอารามก็สำเร็จบริบูรณ์
โปรดเกล้าให้สถาปนาสิ่งก่อสร้างใหม่ดังนี้
๕.๑ พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๑-๕
๕.๒ พอกปูนเสริมพระศรีรัตนเจดีย์ ประดับกระเบื้องโมเสกทอง
๕.๓ จารึกแผ่นศิลาโคลงรามเกียรติ์ ทั่วพระอาราม
๕.๔ หุ้มทองแดงลงรัก ปิดทอง ทำมารแบกพระสุวรรณเจดีย์ทั้ง ๒
๕.๕ ฐานพระมณฑป ประดิษฐานพระพุทธรูป ๔ ทิศ ได้มาจากประเทศอินโดนิเซีย มีนามว่า
พระพุทธรูป วรมุทรา ชินะ รัตนสมภาวะ
พระพุทธรูป ชยานิมุทรา ชิน อมิตาภะ
พระพุทธรูป โพชัยงคีมุทรา ชินะไวโรจนะ
พระพุทธรูป ภูมิสปรศมุทรา ชิน อักโษภยะ
๕.๖ นครวัดจำลอง ปฏิสังขรณ์ใหม่ ด้วยการสร้างใหม่ โดยมีพระยาเพชรพิไชย (หนู หงสกุล) ออกแบบจำลอง และให้หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย เป็นผู้สร้างหล่อปูนตามแบบของพระยาเพชรพิไชย
๕.๗ โปรดให้หล่อประติมากรรมเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ ประดับบนฐานไพที
๕.๘ สั่งเครื่องประดับศิลา มาประดับไว้รอบบริเวณเป็นจำนวนมาก

สมัยรัชกาลที่ ๖




โปรดเกล้าฯบูรณะปฏิสังขรณ์หลายอย่าง
๖.๑ พระพุทธปรางค์ปราสาท การบูรณะสืบเนื่องจากต้องการให้ประชาชนได้เคารพสักการะพระบรมรูป ๔ รัชกาลที่หล่อไว้ในรัชกาลก่อน จึงทำการบูรณะและนำพระบรมรูปมาประดิษฐานไว้ โปรดให้เรียกว่า “ปราสาทพระเทพบิดร” เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๖๑ จึงเป็นธรรมเนียมสืบมาในการถวายบังคมพระบรมรูป
๖.๒ พระอุโบสถ ซ่อมแซมเครื่องทองในพระอุโบสถ เช่น บุษบก พระพุทธรูปฉลองพระองค์ ภาพจิตรกรรม แก้บันไดทางขึ้นทั้ง ๖ บันได ปูหินอ่อนและให้เตี้ยขึ้นได้ง่าย
๖.๓ พระมณฑป
๖.๔ พระสุวรรณเจดีย์ โปรดให้เลื่อนออกไปจากรักแร้พระพุทธปรางค์ปราสาท ออกไปทางมุมทักษิณ ทิศตะวันออกทั้งสองข้าง และเปลี่ยนพญามารที่อยู่ตรงกลาง เป็นพญาวานร
๖.๕ ทางขึ้นไพที
๖.๖ ขยายบันไดหินอ่อนหน้าปราสาทพระเทพบิดร พร้อมทำพนมหมากเพิ่ม ๖ พาน

สมัยรัชกาลที่ ๗




ทรงปฏิสังขรณ์เนื่องในวโรกาสที่พระนครครบ ๑๕๐ ปีใน พ.ศ. ๒๔๗๕ การบูรณะทั่วทั้งพระอาราม โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นคณะกรรมการ ค่าใช้จ่ายประมาณ หกแสน บาท โดยรัชกาลที่ ๗ ทรงพระราชอุทิศถวายส่วนพระองค์ ๒๐๐,๐๐๐ บาท และรัฐบาลออก ๒๐๐,๐๐๐ บาท ที่เหลือเป็นการบริจากโดยประชาชนร่วมกัน
๗.๑ สิ่งที่ถือว่าเกือบสร้างใหม่คือ ศาลาราย ๑๒ หลัง โปรดให้ทุบทิ้งและใช้คอนกรีตเสริมเหล็กเข้าแทนที่
๗.๒ โปรดให้รื้อเก๋งบอกพระปริยธรรม เนื่องจากโทรมเกิน เมื่อนำออกแล้วทำให้เพิ่มความสง่างามให้กับพระเจดีย์ทั้ง ๘ องค์
๗.๓ ทำการบูรณะสิ่งก่อสร้างทั้งหมดภายในพระอาราม ส่วนมากพบกับปัญหาปูนแตกร้าว และทำการฉีดน้ำปูนใหม่และใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก (วัสดุใหม่) เข้าแทนที่เพื่อความแข็งแรง

สมัยรัชกาลที่ ๘

ยังคงบูรณะสิ่งที่ค้างจากรัชกาลก่อน เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระระเบียง และบางสิ่งที่ยังทรุดโทรมอยู่ แต่ระยะเวลารัชกาลช่วงสั้น จึงไม่ได้สถาปนาสิ่งก่อสร้างใดๆไว้

สมัยรัชกาลปัจจุบัน

การบูรณะปฏิสังขรณ์ยังคงมีมาตลอด จวบจนพ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นวาระที่พระนครครบรอบ ๒๐๐ ปี เป็นงานบูรณะพระอารามที่ใหญ่โตมาก โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นแม่กอง





Create Date : 15 มกราคม 2552
Last Update : 17 มกราคม 2552 22:21:20 น. 2 comments
Counter : 9037 Pageviews.  
 
 
 
 
whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

GOD always forgive your mistake
the one that you cant even forget,
he always does it and always being with us
to help and blesss us for us whose heart is full of him
 
 

โดย: da IP: 124.122.247.144 วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:23:02:24 น.  

 
 
 
เมื่อยังเป็นเด็กวัยรุ่น เวลาไปเที่ยววังหลวง บางครั้งก็รู้สึกว่า...ทำไมพวกเจ้าจึงอยู่กันหรูหร เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติล้ำค่าแบบนี้
ต่อมาอีสิบกว่าปี..งเรียนจบทำงานแล้ว...รู้มากขึ้น ถึงเข้าใจว่า...บรรดาสมบัติล้ำค่าทั้งหลาย ไม่ใช่ของกษัตริย์เลย..งและท่านก็ไม่เคยเอาไว้ใช้คนเดียว...อันที่จริงเป็นสมบัติของคนไทยทั้งชาติ.....เพราะคนที่ได้ประโยชน์จริงๆ อย่างนับเป็นมูลค่าไม่ได้...ทั้งในแง่เงินตรา ความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมมีประวัติศาสตร์ เกียรติศักดิ์ศรีความเป็นคนไทย...ที่ไม่เคยก้มหัวยอมเป็นคนด้อยค่าต่ำต้อยในสายตาฝรั่งทั้งหลาย...ก็เพราะเรามีสิ่งนี้....แต่สถาบันพระมหากษัตริย์คือคนที่ทำหน้าที่ดำรงรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ให้พวกเราใช้ประโยชน์นานัปการอย่างที่จาระไนไม่ครบนั่นเอง
 
 

โดย: DK1 IP: 124.120.53.179 วันที่: 14 มิถุนายน 2553 เวลา:11:13:52 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนุ่มรัตนะ
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add หนุ่มรัตนะ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com