ศาลหลักเมือง...สิ่งที่เคารพของชาวเมืองคนดี

ศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมือง ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานีกับสถาปัตยกรรมศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยมีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน และ มีแนวโน้มว่าในอนาคตดินแดนแห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจในบริเวณภาคใต้ตอนบน
การก่อสร้างศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชสักการะและเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และเพื่อความเป็นศิริมงคล เป็นหลักชัยละมิ่งขวัญรวมทั้งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี คณะช่างจากกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง ตามศิลปกรรมศรีวิชัยด้วยการเน้นรูปลักษณ์ที่เป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเดิมที่ได้รับอิทธิพลมาจาก ลังกา ชวา และ เขมรสมกลมกลืนกัน เพื่อแสดงถึงความแข็งแรงมั่นคงและเป็นปึกแผ่น
องค์หลักเมืองประกอบด้วยยอดเสาหลักเมืองบรรจงแกะสลักจากไม้ราชพฤกษ์ เป็นพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่หน้า หันพระพักตร์ไปทั้งสี่ทิศเหมือนการแกะสลักพระพรหมสี่หน้าไว้ตามยอดหลักเมืองทั่วๆไป และตรงมวยมวยพระเกศาสลักเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ พร้อมกับลงรักปิดทองอย่างวิจิตรสวยงาม ส่วนตัวเสาหลักเมืองเกาะสลักจากไม้ราชพฤกษ์เช่นเดียวกัน มีลักษณะเป็นเสากลมโตมีลักษณะสูง 108 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้ว สำหรับรูปทรงของศาลนั้นได้สร้างเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขย่อมุม มณฑปสร้างเป็นเจดีย์องค์ประธาน มียอดฉัตร 5 ชั้น ถัดลงมาเป็นหลังคาซ้อนเป็นชั้นมณฑปลดหลั่นลงมาจำนวน 4 ชั้น แต่ละชั้นมีเจดีย์องค์บริวาร หลังคามีฐานสี่เหลี่ยมขนาดสูง 5.10 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นแบบศรีวิชัย ทาสีทอง ปั้นก่อบัวลวดลายบนกลีบขนุนทั้ง 4 ด้าน และได้อัญเชิญเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ฉลองราชสมบัติครบ 50 พรรษา ประดับไว้ทั้ง 4 ด้าน

1. ร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์ศรีวิชัย
ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี ซึ่งได้ทรงศึกษาเรื่องทิศทางของลมในจดหมายเหตุจีนและสภาพภูมิศาสตร์ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วนำไปเปรียบเทียบกับบันทึกการเดินทางไปสืบพุทธศาสนาตามบันทึกการเดินทางของภิกษุ อี้จิง แล้วทรงสรุปว่า ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยควรจะอยู่ที่เมืองโบราณไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
2. สถาปัตยกรรมศรีวิชัย
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร พระบรมธาตุเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองชาวสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเวียง ห่างจากอำเภอไชยา 1 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยทวารวดี ระหว่าง พ.ศ. 1000-1200 ยอดบริวารสี่มุมคือสัญลักษณ์อริยสัจสี่ ยอดบริวารมีสามรอบ รอบละแปดยอด คือ สัญลักษณ์มรรคมีองค์แปด ยอดพระบรมธาตุหุ้มทองคำ คือ สัญลักษณ์ “นิพานธรรม”
3. นิพพานธรรมในศิลปากรรมศรีวิชัย
นายชัยวัฒน์ วรรณานนท์ อาจารย์พิเศษภาควิชาศิลปศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฎสุราษฎร์ธานี กล่าวถึง สถาปัตยกรรมศรีวิชัยว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ก่อให้เกิดจากคติธรรมความเชื่อทางพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ที่เคยเจริญรุ่งเรืองในดินแดนอาณาจักรแห่งนี้มาก่อน การก่อสร้างองค์เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และ พระสารีริกธาตุ อย่างเช่น พระบรมธาตุไชยา จะประกอบด้วยองค์เจดีย์ประธาน และแวดล้อมด้วยองค์เจดีย์บริวารน้อยใหญ่ ลดหลั่งลงมา อันหมายถึงการแสดงความเครารพบูชาต่อองค์พระพุทธเจ้าหลายพระองค์ รวมทั้งองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่กำลังรอการปรินิพพานเป็นองค์สุดท้ายหลังจากที่ได้ใช้ความเพียรพยายามและความเมตตาโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ให้หลุดพ้นความทุกข์ทั้งปวงจนหมดสิ้นแล้ว
ภายในยอดเจดีย์ แต่ละองค์จะออกแบบก่อสร้างให้โปร่ง สูง เรียง จากฐานจนถึงยอดสุดที่จะต่อเชื่อเป็นฉัตร 5 ชั้น จะไม่ใช้วัตถุใดๆ มาปิดทับเป็นเพดานตรงบริเวณภายในยอดเจดีย์ อันหมายถึงความเพียรพยายามที่จะปฎิบัติธรรม เพื่อบรรลุถึงซึ่งนิพพานธรรม
4. พรหมวิหาร 4 ธรรมแห่งการครองเมือง
เจดีย์บริวาร 4 องค์ ที่ก่อสร้างจากฐานสุดจะหมายถึงพรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา ในความหมายทางลัทธิศาสนาพราหมณ์ จะหมายถึงพระพรหม ที่นำมาออกแบบเป็นประติมากรรมสลักไว้บริเวณยอดเสาหลักเมืองทั้ง 4 ทิศ
ประวัติความเป็นมาไม้มงคลหลักเมือง ความเป็นมา
เมืองประมาณปี พ.ศ. 2400 นายแสง พิมลศรี ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นปู่ทวดของนางชม รำเพย ได้มาบุกเบิกป่าใหญ่ชายคลองพุมดวง บริเวณบ้านหาดหอยคล้า ปัจจุบันตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ทำกินพร้อมทั้งนำต้นราชพฤษ์มาปลูกในพื้นที่ดังกล่าวด้วย
ต่อมานายแสง พิมลศรี ซึ่งมีบุตรจำนวน 6 คน ได้มอบที่ดินแปลงนี้อยู่ในความรู้แลของนายช้วย พิมลศรี บุตรชาย ซึ่งต่อมาย้ายครอบครัวไปอยู่ที่อื่นและนายเอม ( ไม่ทราบนามสกุล ) ซึ่งเป็นหลานของนายแสง พิมลศรี ได้เข้ามาจับจองที่ดินแปลงนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2450 ต่อมานายเอมได้ขายที่ดินแปลงนี้ แก่นายหวาน – นางเหมือน รำเพย บ้านเดิมอยู่ บ้านพรุสยาม ( ปัจจุบันอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลพรุไทย อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นเงินจำนวน 10 บาท
นายหวาน – นางเหมือน รำเพย มีบุตร 3 คน คือ นายเคว็ด รำเพย นายเพิง รำเพย และ นางเมื้อง รำเพย และต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2469 ได้แงที่ดินให้อยู่ในการดูแลของนายเพิง – นางชม รำเพย บุตรชาย ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถด้านยาสมุนไพรได้ดูแลต้นราชพฤษ์นี้ไว้เพื่ออนำฝักราชพฤษ์ มาสกัดเป็นยาสมุนไพรขนานต่างๆ ตลอดมา
ปี พ.ศ. 2537 ผู้ใหญ่พูนศรี รำเพย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งป็นบุตรนายเพิง รำเพย ได้มีโอกาสต้อนรับคณะผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ออกตรวจราชการ โดยมีนายประยูร พรหมพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายธีระ โรจนพรพันธุ์ ปลัดจังหวัด และนายธนพล อันติมานนท์ จ่าจังหวัด ณ ศาลาประชาคม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายธนพล อันติมานนท์ ได้สอบถามผู้ใหญ่พูนศรี รำเพย เกี่ยวกับต้นราชพฤษ์ที่ลักษณะถูกต้องสำหรับนำไปทำเสาหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ซึ่งนายพูนศรี รำเพย ได้แนะนำต้นราชพฤษ์ของนายเพิง รำเพย บ้านหาดหอยคล้า บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายประยูร พรหมพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรการฝ่ายจัดหาเสาหลักเมืองฯ โดยมี นายโสภณ สวัสดิโภชา รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ และ นายณรงค์ ขำหิรัญ ป่าไม้จังหวัดแล้ว นายประยูร พรหมพันธุ์ นายธีระ โรจนพรพันธุ์ นายธนพล อันติมานนท์ และคณะได้ไปตรวจดูความ สมบูรณ์ ของต้นราชพฤษ์ดังกล่าวเห็นว่าเป็นต้นไม้ที่มีคุณลักษณะถูกต้องตามธรรมเนียมนิยมที่จะนำไม้มาทำเสาหลักเมืองสุราษฎร์ธานี
วันที่ 30 มกราคม 2539 ทางจังหวัดได้ทำพิธีบวงสรวงต้น และราชพฤษ์ และทำพิธีตัดโค่นในวันดังกล่าวและนำไปแกะสลักที่จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยนายพรชัย วัฒนวิกย์กิจ ช่างผู้เชี่ยวชาญการแกะสลักของท้องถิ่น
การดำเนินการจัดทำเสาหลักเมืองครั้งนี้สร้างความปิติยินดีแก่ครอบครัวและญาติพี่น้องของ นายเพิง – นางชม รำเพย ตลอดจนข้าราชการและประชาชนอำเภอบ้านตาขุนเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการจัดตั้งศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี


ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
ตัวองค์ศาลฯ เป็นสถาปัตยกรรมศรีวิชัย โดยนำเค้าโครงของเจดีย์วัดพระบรมธาตุไชยา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางศิลปกรรมมาเป็นแม่แบบขององค์ศาลฯ โดยประกอบด้วยเจดีย์ประธาน เป็นรูปทรงระฆังคว่ำ และ เจดีย์บริวารทรงระฆังคว่ำขนาดเล็ก 4 มุมลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ อีก 2 ชั้น มุมฐานเจดีย์ทั้ง 4 มุม ตกแต่งด้วนลวดลายปูนปั้นพญานาค ถัดลงมาเป็นตัวองค์ศาลฯ มีขนาดภายใน กว้าง 6.00 x 6.00เมตร ทางเข้าองค์ศาลฯ ทำเป็นซุ้มจตุรมุข หลังคาซุ้มจตุรมุข ลวดลายปูนปั้นเป็นรูปราหูอมจันทร์ประดับพื้นกระจกเล็กๆ ทำให้เกิดความระยิบระยับขึ้นกับตัวองค์ศาลฯ เมื่อกระทบกับแสงส่วนหน้าบันย่อยที่อยู่บนชั้นถัดขึ้นไปและใบระกาตกแต่งด้วนลวดลายปูนปั้นทั้งหมดโดยบรรจุตราเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 72 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้เพื่อเป็นศิริมงคลกับองค์ศาลหลักเมือง โดยรวมแล้วตัวองค์ศาลฯ ตกแต่งด้วยปูนปั้นฉาบปูนเรียบทั้งองค์ฯ ฐานปัทม์ล่างทาด้วยสีน้ำตาล
รายละเอียดการตกแต่งภายในองค์ศาลหลักเมือง
ภายในองค์ศาล ตกแต่งผนัง และ พื้นด้วยหินอ่อนสีครีม ฝ้าเพดานภายในเป็นไม้สักประกอบ คิ้วบัว ลงรักปิดทองออกแบบเป็น 2 ชั้น ส่วนฝ้าเพดานซุ้มประตูทางเข้าก็เป็นไม้สักประกอบดด้วยคิ้วบัวลงรักปิดทอง เช่นกัน ภายในประดับด้วยโคมไฟระย้าตรงกลาง และ โครงไฟเพดารโดยรอบ เสาหลักเมือง แกะสลักด้วยไม้ราชพฤกษ์ ซึ้งเป็นไม้มงคล ส่วนยอดเป็นรูปสลักพรหมสี่หน้า ลงรักปิดทองล้อมรอบด้วยเสาหลักเมืองจำลอง 4 เสา ตั้งอยู่บนฐานแกรนิตสีดำ รับเสาหลักเมืองโดยปั้นลวดลายชั้นแรกบนฐาน 8 เหลี่ยม เป็นรูปช้างอยู่ในซุ้ม ขนาด 8 ตัว ลงรักปิดทอง ชั้นที่ 2 ปั้นลวดลายเป็นรูปบัวเล็บช้างลงรักปิดทองประตูทางเข้าภายในองค์ศาลฯ เป็นบานคู่ทำด้วยกระจกสลักเป็นลวดลายรูปยักษี กับยักษา ยืนเฝ้าหน้าประตู เข้า – ออก ด้วยสีสันที่สดใสทีเดียว อีกทั้งช่องแสงรอบองค์ศาลฯ กระจกสลักลวดลาย และ สีสันที่ดูสดใสเช่นกัน
สภาพภูมิทัศน์โดยรอบศาลหลักเมือง
องค์ศาลหลักเมืองจะมีความโดดเด่นมาก เพราะตั้งอยู่ใจกลางของสนามหญ้าที่เขียวขจี และ หมู่ไม้ประดับตกแต่งโดยรอบ เหมือนวางอยู่บนพื้นพรม บนเนื้อที่ 7 ไร่ มีถนนรอบบริเวณถึง 4 ด้านสามารถมองเห็นองค์ศาลฯ ได้สวยงามทุกด้าน พื้นที่โดยรอบขององค์ศาลฯ ทำเป็นพื้นลาน 2 ระดับ ก่อนที่จะเข้าสู่องค์ศาลหลักเมืองจากระดับพื้นทางเดินชั้นล่างโดยรอบ ( ระดับ 0.45 ) ทำเป็นกำแพงกันดินลาดเอียงผิวบุด้วยหินแกรนิตสีเทา ขึ้นสู่พื้นลาน ชั้นแรก ( ระดับ +1.45 ) ถูกจัดตกแต่งให้เป็นสนามหญ้าทั้งหมด เหลือเป็นทางเดินขึ้นสู่พื้นลาน ชั้นที่ 2 ( ระดับ+2.45 ) ซึ่งปูพื้นลานด้วยกระเบื้องแกรมนิตสีขาวครีม ล้อมรอบพื้นลานด้วยกะบะปลูกต้นไม้ ขอบแต่งด้วยบัว โคมไฟสนามรูปหงส์สีทอง



บันทึก ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี
จากบันทึกความทรงจำของ นายประยูร พรหมพันธุ์
อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

1.แรงบันดาลใจ
ข้าพเจ้าเคยรับราชการที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนานถึงสองครั้งโดยครั้งแรกรับราชการในตำแหน่งปลัดจังหวั ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526-2529 และได้กลับมารับราชการในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอีกครั้งในระหว่างปี พ.ศ.2537-2539 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีข้อสังเกตว่า จังหวัดนี้ได้รับภัยพิบัติ ทั้งจากภ้ยธรรมชาตที่ค่อนข้างรุนแรงและบ่อยครั้ง เช่น ภัยจากพายุ ภัยจากน้ำท่วม ไฟไหม้ และอุบัติภัยที่มีความรุนแรง และกว้างขวาง เช่น กรณีรถชนเด็กนักเรียนทีเดียว เสียชีวิตพร้อมกันถึง 13 รายและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนนำความห่วงใจให้กับประชาชนโดยทั่วไป และเป็นที่น่าเวทนาสงสารสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และญาติพี่น้องเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเรียนที่เสียชีวิตล้วนเป็นนักเรียนจากโรงเรียนที่อยู่ในพระราชูปถัมภ์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ทรงมีเมตตาห่วงใยผู้ที่บาดเจ็บเสียชีวิต เป็นอย่างมากได้เสด็จมาทรงเยี่ยมผู้ประสบภัยและญาติพี่น้องถึง 2 ครั้ง นอกากนี้ยังเกิดปัญหาเดือนร้อนในเรื่องอื่น ๆ อยู่บ่อยครั้ง จนข้าพเจ้ามองเห็นว่าประชาชนมีขวัญและกำลังใจตกต่ำ หรือเสียขวัญ ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับทหารที่อยู่ในสนามรบเกิดการเสียขวัญก็จะยังความอ่อนแอให้กับกำลังทัพได้ แต่สำหรับประชาชนพลเมืองเกิดการเสียขวัญและกำลังใจ ก็จะยังให้เกิดความหวั่นไหวอ่อนแอ ให้กับสังคมและประชาชนได้เช่นเดียวกันประชาชนจะต้องมีที่พึ่งทางจินใจ เช่น ทางพระพุทธศาสนา และอื่นๆ ข้าพเจ้าเห็นว่าจิตใจของประชาชนจะต้องมีที่พึ่งทางจิตใจ เช่นทางพระพุทธศาสนาและอื่น ๆ ข้าพเจ้าเห็นว่าจิตใตของประชาชนจะต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยว เสมือนกับทหารที่มีธงชัยเฉลิมพลเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของกำลังพลของหน่วยประชาชนพลเมืองก็สมควรที่จะยึดเหนี่ยว นอกจากพระศาสนาแล้ว สิ่งอื่นๆ ที่เป็นที่นิยม ยึดถือกันมาแต่โบราณก็คือ “ศาลหลักเมือง” โดยเชื่อถือกันว่าหลักเมืองก็คือจิตวิญญาฯของเมือง (THE SPIRIT OF THE CITY) มนุษย์ เมื่อไปปักหลักสร้างบ้านสร้างเมืองที่ใด ก็มักจะนิยมปักหลักบอกที่ตั้งอันเป็นสัฐลักษณ์ของการอยู่ร่วมกันของชุมชนชาวเมืองเหล่านั้น และจัดทำพิธีการที่เป็นว่าเหมาะสมเพท่อเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองและการอยู่ร่วมกันอยางมีสันติสุข จึงเกิดแรงบันดาลใจแก่ข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าสมควรริเริ่มสร้างศาลหลักเมืองให้กัลชาวเมือง เพื่อเป็นเสมือนธงชัยเฉลิมพลของประชาชนชาวเมืองสุราษณร์ธานี ประกิบกับได้สำรวจตรวจสิบอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว โดยประสาานงานกับกรมศิลปากร ก็ไม่เคยปรากฏว่ได้มีการสร้างศาลหลักเมืองขึ้นในจังหวัดนี้มาก่อนแต่อย่างใด และตามประวัติการตั้งและสร้างเมืองของสุราษฎร์ธานีก็มีการเปลี่ยนที่ตั้งเมืองกัานมาหลายครั้งตั้งแต่ในอดีตกาลจนครั้งสุดท้าายได้ย้ายเมืองมาตั้งที่พื้นที่ ที่เรียกว่า “บ้านดอน” ก็ไมปรากฏว่ามีการสร้างหลักเมืองไว้แต่อย่างใด จึงได้นำความคิดอันนี้ ร่วมปรีกษาหารือกับบุคคลสำคัญของพื้นที่ เช่น ส.ส.สุราษฎร์ธานี, พ่อค้า คหบดี,ข้าราชการทุกฝ่าย ทั้งพลเรือน,ตำราจ,ทหารและพระสงฆ์ ตลอดจนพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่แล้วเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรที่จะสร้างศาลหลักเมืองขึ้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ โดยให้ถือว่าเป็นความเห็นร่วมกันของประชาชนชาวสุราษฎร์ทั้งปวง และจะร่วมกันบริจาคทรัพย์สิ่งของกันเอง และเงินทองส่วนใหญ่ของประชาชนผู้มีจิตศรัทธาให้มากที่สุด และจะใช้เงินงบประมาณให้น้อยที่สุด และเท่าที่ตำเป็นจริง ๆ เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อแสดงความพร้อมเพรียง ความเสียสละและความสานฉันท์ของประชาชนอย่างแท้จริง และโดยประชาชนเป้ฯเจ้าของสิ่งที่ริเริ่มนี้ร่วมกัน

๒. ขั้นตอนการดำเนินการ

จากที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นข้าพเจ้าจึงได้มีการเตรียมการและกำหนดขั้นตอนในการทำงานในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้.-

1.การเลือกสถานที่ก่อสร้าง
ได้พิจารณาเห็นว่าสถานที่ก่อสร้างศาาลหลักเมืองเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง สถานทีจะต้องมี่ความเหมาะสมที่สุด หลักเมืองจะต้องอยู่ใจกลางเมือง หรือใกล้กับชุมชนเมืองให้มากที่สุด และจะต้องเป็นที่ตั้งสง่างามเป็นราศรีของเมือง และจะต้องมีความสะดวกแก่ประชาชนชาวเมือง และกับผู้คนที่เข้ามาสู่เมืองสุราษฎร์ฯ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากต่างแดนที่จะมาเที่ยวชมเมือง ก็จะได้แวะกราบไหว้หรือเยี่ยมเยือนได้ง่าย และข้อพิจารณาที่สำคัญที่สุดก็คือจะต้องเป็นสถานที่ ที่เชื่อมโยงกับอดีตในทางประวิติศาสตร์ของเมือง สถานที่ ที่เป็นว่าเหมาะสมที่สุดภายใต้ข้อพิจารณาดังกล่าวแล้ว ไม่มีที่ใดจะเหมาะสมเท่ากับที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ที่ถูกผู้ก่อการร้ายในอดีตได้ว่งระเบิดและหสียหายเป็นอย่งมากเมื่อปี พ.ศ. 2525 และต้องหาสถานที่ตั้งใหม่ (คือศาลากลางหลังปัจจุบัน)สถานที่ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นที่หลวง ที่อยู่ในความดูแลของราชพัสดุจังหวัดและกรมธนารักษ์เป็นเจ้าของ กรมฯจะให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ ก็จะตองพิจารณาถึงความเหมาะสมป็นประโยชน์แก่ทางราาาาชการและประโยชน์ของสาธารนเป็นลำดับแรก ที่ดินแปลงนี้ก็คือ ที่ดินราชพัสดุแปลง หมายเลขทะเบียนที่ สฏ. 33 ตำบล ตลาด อำเภอ เมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีเนื้อที่ประมาฯ 7-0-7.58 ไร่ แต่เป็นที่รู้จักกันทั่ว ๆ ไปกฌคือ บริเวณ”สนามศรีสุราษฎร์” นั่นเอง ข้าพเจ้าในฐานะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีหนังสือเสนอ อธิบดีกรมธนารักษ์ ขออนุญาตใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่สร้างศาลหลักเมือง ซึ่งกรมธนารักษ์เห็นชอบ และอนุญาตให้ใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ขอไป

2.รูปแบบของศาลหลักเมือง

โดยที่ได้พิจารณาเห็นว่าดินแดนอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดสะราษฎร์ธานี และจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดนครศรธรรมราช, จังหวัดชุมพร ในอดีต เท่าที่เล่าสืบือดกันมาเป็นดินแดนแห่งอาณาาจักรศรีวิชัยมีร่องรอบทางประวัติศาสตร์ที่สามารถยืนยันได้คือศิลปกรรมแบบศรีวิชัย เช่น ที่วัดพระธาตุไชยาโบราณสถานและโบราณวัตถุหลายอย่าง มีอยู่ที่ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ่งบอกถึงอารยธรรมของอาณาจักรศรีวิชัย จึงได้ตกลงปลงใจที่จะสร้างศาลหลักเมืองโดยใช้รูปลักษณ์แบบศรีวิชัย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ที่ได้กำหนดรูปแบบศาลหลักเมืองเป็นรูปแบบศรีวิชัย และทางจังหวัดจึงได้มอบหมาย นายพรชัย วัฒนวิกย์กิจ สถาปนิกผู้ชำนาญด้านศิลปศรีวิชัยเป็นผู่ออกแบบอาคารศาลหลักเมืองและแบบเสาหลักเมือง ตามแนวทางที่กรมศิลปากรได้กำหนดให้

สำหรับตัวเสาหลักเมืองนั้นข้าพเจ้ามีแนวคิดว่าเสาหลักเมือง มิใช่เป็นแต่เพี่ยงหลักเสาไม้ธรรมดาอย่างที่เข้าใจกัน แต่จะต้องเป็นเสาหลักที่บรรจุความเชื่อถือเกี่ยวกับความเป็ยศิริมงคลและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนทั้งปวง เคารพบูชา นั่นก็คือ พระรัตนตรับ อันประกิบด้วย พระพุทธ, พระธรรม และพระสงฆ์ จึงได้ขอให้นายช่างผู้ออกแบบได้กำหนดแบบให้มีพระพุทธรปใว้ที่ส่วนบนของเสาหลักเมืองทั้ง 4 ด้านด้วยถัดลงมาได้กำหนดขอให้แกะสลักรูปแบบของพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวรพระโพธิ์สัตว์ ไว้ทั้ง 4 ทิศ ด้วยโดยให้ใช้ต้วแบบรูปพระโพธิสัตว์ที่จำลองไว้ อยู่ที่พระอุโบสถ วัดพระธาตุไชยา อำเภอไชยา จัดหวัดสุราษฎร์ธานี โดยข้าพเจ้าได้เข้าไปปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิขอพร และขออนุญาตจากพระประธานในพระอุโบสถแห่งวัดนี้ และยังได้กำหนดจิดเป็นสมาธิ ขออนุญาตและขอพรจากท่านพุทธทาสภิกขุ อริยสงฆ์ อันเป็นที่เคารพยิ่งของชาวจังหวัดสุราษฎร์ และของชาวไทย รวมทั้งชาวโลกด้วยข้าพเจ้ามีความศรัทธาและมั่นใจอย่างปราศจากความสงสัยว่า ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตและได้รับพรตามความปรารถนาแล้วประการสุดท้ายส่วนบนของเสาหลักเมืองได้ขอให้นายช่างจัดทำเป็นที่บรรจุพระธาตุไว้ด้วย ดดยพระธาตุที่ได้มานั้นได้รับมอบมาจากเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราาชและวัดทองหลาง จังหวัดชุมพร และบางส่วนจากชาวพุทธผู้ปฏิบัติธรรม ได้ มอบไว้บรรจุรวมกันไว้ด้วยกันในผอบ บนยอดเสาหลักเมืองนี้

3. ไม้เสาหลักเมือง

ได้ทำการเสาะแสวงหาไม้มงคลจากท้องที่อำเภอต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการแกะสลักเป็นเสาหลักเมือง มีผู้แสดงความจำนงจะบริจาคไม้มงคล ให้ไว้หลายแห่ง แต่ในที่สุดก็ได้ตกลงใาจรับบริจาดไม้ที่เป็นมงคลนาม คือ ไม้ราชพฤกษ์ จากราษฎร อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชื่อ นายเพิง รำเพย ขนาดไม้โต 230 เซนติเมตร สูงวัดถึงกิ่งแรก 4.00 เมตร มีอายุประมาณ 100 ปีเศษ และจังหวัดได้ทำการขออนุญาตัดไม้ตามระเบี่ยบของทางราชการทุกประการ

4.สารขอพระราชทานอนุญาตสร้างศาลหลักเมือง

เมื่อได้มีการวางแผนและเตรียมการเพื่อความพร้ามไปส่วนใหญ่แล้ว จึงได้มีการดำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็าจพระเจ้าอยู่ห้ว ให้การสร้าศาลหลักเมืองประจำ จังหวัดสุราษฎ์ธานีขึ้น โดยจังหวัดฯ ได้มีหนังสือขอพระาชทางาร้างศาลตามนัยหนังสือที่ สฎ 0016/6512 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2538 และหนังสือที่ สฏ 0016/20027 ลงวันที่ 14 กรกฏาคม 2538 และต่อมาสำนักราชเลขาธิการพระบรมมหาราชวังได้มีหนังสือถึง จังหวัดสุราษฎร์ธาานี แจ้งให้ทราาบ ว่า “ตามที่จังหวัดได้ขอให้นำความกราบบังคมทูล ขอพระราชทางพระบรมราชานุญาตสร้างศาลหลักเมืองประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี แจ้งให้ทราบว่า “ตามที่จังหวัดได้ขอให้นำความกราบบังคมทูล ขอพระราชทางพระบรมราชานุญาตสร้างศาลหลักเมืองประจำจังหวัดสุราษฏร์ธานี ณ ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฏร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ความแจ้งอยู่แล้วนั้น .. ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราาบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระราชทานพระบรมราชานถญาตให้สร้างศาลหลักเมือง ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามที่ขอพระมหากระณา” ปรกฎตามนัยหนังสือ สำนักราชเลขาธิการ ด่วนมา ที่ รล 0003-19481 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2538

5. การขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างเหรียญวัตถุมงคล

 เพี่อเป็นศิริมงคลแก่เหล่าพสกนิกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี และปวงประชาชนชาวไทย ผู้ภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพี่อเป็นการเฉลิมฉลองพระบาทสมเด็ษาจพระเจ้าอยู่ห้วที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี จังหวัดจึงได้ขอพระราาชทานพระบรมราชานุญาตสร้างเหรียญวัตถุมงคลเพื่อนำรายได้ส่วนนี้ทั้งหมดสมทบทุนจัดสร้างศาลหลักเมือง โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประดิษฐานบนเหรียญที่ระลัก อยู่ด้านห่นึ่ง และอีกด้านหนึ่งเป็นรูปศาลหลักเมือง ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี อยู่บนยอดเสาอาคารศาลหลักเมืองซึ่งออกแบบโดย กลุ่มศิลปกรรม กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ตามนัยหนังสือ ขอกพระราชทาน ที่ สฎ 0016/10873 ลงวันที่ 18 เมษายน 2539 และต่อมาได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างได้ตามนัยหนังสือตอบรับของสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล 0003/7203 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2539

6.ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม และทรงบรรจุธาติ

เมื่อได้มีการแกะสลัก ลงรักปิดทอง เสาหลักเมืองเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จังหวัดจึงได้ของพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายยอดเสาหลักเมือง เพื่อทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม และทรงบรรจุพระธาตุ ตามนัยหนังสือที่ สฎ 0016/4708 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 และต่อมาเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 สำนักราชเลขาธิการแจ้งให้ทราบว่าได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2539 เวลา 17.30 น. ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานข้าพเจ้าพร้อมด้วยคณะซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนเหล่าข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น พ่อค้า ประชาชน ในนามของประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมจำนวน 15 คนได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2539

7.พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันพระราชทานให้เข้าเฝ้า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสในวโรกาสที่ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีและคณะเข้าเฝ้าน้อมเกล้าฯ ถวายยอดเสาหลักเมืองเพื่อทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม และทรงบรรจุพระธาตุ เมื่อว้น พฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2539 มีความตอนหนึ่งว่า

ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานีมีรูปลักษณ์แบบศรีวิชัย เป็นศูนย์รวมใจของประชาชน ก่อให้เกิดความสามัคคี และจะเป็นเครื่องนำพาไปสู่การพัฒนาบ้านเมืองให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองสืบไป

เสี้ยวหนึ่งแห่งความทรงจำ
นายยงยุทธ วงศ์เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองสุราษฎร์ธานี

ก่อนจะถึงวันนี้อันเป็นศุภวาระมงคลฤกษ์ เนื่องในโอกาส พระราชพิธีเปิดศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี กระผมขอทบทวนเล่าเรื่องความเป็นมาและที่มาจากความคิดริเริ่มของข้าราชการผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลผู้หนึ่งคือ ท่านประยูร พรหมพันธุ์ ได้เชิญกระผม แบะนายกิมจั้ว แซ่โง้ว ไปปรารถให้ฟังว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่สำค้ญมากทั้งด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ การพัฒนาที่จะเป็นผลดีที่สุดก็คือการพัฒนาด้านจิตใจให้ชาวเมืองมีความปรองดองสาานฉันท์ ประโยชน์สุขจะเกิดขึ้นจากการประกายจุดนี้เป็นการเริ่มต้นในการก่อสร้างศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ตามลำดับขั้นตอนก่อมากระผมเองได้รับเกียรติจากคณะกรรมการฯ ให้รับหน้าที่เป็นประธานหาทุนภาคเอกชน ซึ่งก็ได้น้อมรับไว้ด้วยความยินดีและด้วยความรับผิดชอบ ทุกประการ

ไมว่าจะการใด กว่าจะสำเร็จลุล่วงได้สมบูรณ์นั้น ย่อมมีซึ่งอุปสรรคนานา ที่หนักหนา ก็คือการขัดแย้งทางความคิดจากมุมมองที่ต่างกัน ให้ถือว่าเป็นเรื่องปกติวัสัยของสังคมผ่านวาระของท่านประยูรฯ ก็ถึงวาระของท่านนิเวศน์ สมสกุล ซึ่งได้ดำเนินการตามขั้นตอนจนหมดวาระเช่นกัน การก่อสร้างช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงที่สำค้ญมาก เพราะล้วนเป็นส่วนที่เป็ฯโครงสร้างที่สมบูรณ์ ในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้างก็เป็นวาระของท่านภุชงค์ รุ่งโรจน์ ซึ่งได้ดำเนินการจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายทุกประการสำหรับท่านชาญชัย สุนทรมัฏฐ์ ก็คงจะได้ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อความรุ่งเรืองวัฒนาถาวรของชาวสุราษฎร์ธานีต่อไป ชั่วกาลนาน

เหรียญที่ระลึกและวัตถุมงคลศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี

จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการจัดทำเหรียญเพื่อเป็นที่ระลึกและวัตถุมงคลเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครงอสิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50 และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างหลักเมืองทั้งนี้ลักษณะของเหรียญด้านหนึ่งได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานบนเหรียญที่ระลึก และอีกด้านหนึ่งได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติ เป็นปีที่ 50 ไว้บนยอดสุดของเจดีย์ประธานอาคารศาลหลักเมือง ซึ่งราได้จากการสร้างเหรียญครั้งนี้ได้นำสมทบทุนสร้างศาลหลักเมืองและสนับสนุนกิจการสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สำหรับการออกแบบเหรียญที่ระลึกศาลหลักเมืองนั้น กลุ่มศิลปกรรมกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ได้ดำเนินการออกแบบและผิลิตเป็นเหรียญ 3 ชนิดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร หนัก 15 กรัม ประกอบด้วย

1.เหรียญทองคำขัดเงา 999 เหรียญ เหรียญ 13,999 บาท

2.เหรียญเงินขัดเงา 5,999 เหรียญ เหรียญ 799 บาท

3.เหรียญทองแดงขัดเงา 29,999 เหรียญ เหรียญ 299 บาท

การจัดทำเหรียญที่ระลึกครั้งนี้ ทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ประกอบพิธีมังคลาภิเษก ณ บริเวณสถานที่ก่อสร้างศาลหลักเมือง สนามศรีสุราษฎร์ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 เวลา 13.39 น.โดยมีเกจิอาจารย์จาก 4 ภูมิภาคของประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้จัดทำหลักเมืองจำลอง โดยใช้เศษไม้มงคล ราชพฤกษ์ ที่ใช้ในการแกะสลักเสาหลักเมืองสุราษฎร์ธานี พร้อมกับได้จัดทำผ้ายัต์ามหามงคลศาลหลักเมืองด้วย

เหรียญที่ระลึกและวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่ได้จัดทำขึ้นในวาระสำคัญแห่งการสร้างศาลหลักเมือง จึงเป็นวัตถุที่มีค่ายิ่ง ควรเก็บรักษาไว้ตลอดไป


ลำดับเหตุการณ์ก่อสร้างศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี
23 กุมภาพันธ์ 2538 จังหวัดฯได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

13 มีนาคม 2538 จังหวัดฯได้มีหนังสือถึงสำนักราชเลขาธิการพิจารณานำความกราบบังคมทูลของพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

13 ตุลาคม 2538 สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือแจังให้ทราบว่า ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

30 มกราคม 2539 ทำพิธีบวรสรวงเทพารักษ์และตัดตันไม้มงคล นาม “ราชพฤกษ์” ที่หมู่ที่ 1 ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แลัวนำไปแกะสลักที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันเดียวกันโดนนายพรชัย วัฒนวิกย์กิจ เป็นผู้แกะสลัก

12 กันยายน 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายประยูร พรหมพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และคณะเข้าเฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายยอดเสาหลักเมืองเพื่อทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม และทรงบรรจุพระธาตุ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

4 มิถุนายน 2540 นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มาหนังสือถึงกรมธนารักษ์ขออณุญาตใช้ที่ราชพัสดุแปลง สฎ 33 (สนามศรีสุราษฎร์) เป็นสถานที่ก่อสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

4 สิงหาคม 2540 กรมธนารักษ์ได้มีหนังสือแจ้งให้จังหวัดทราบว่าไม่ขัดข้องที่จะให้ใช้ที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าว

19 สิงหาคม 2540 นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้อัญเชิญองค์ศาลหลักเมืองฯ ขนาด 108 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้ว แกะสลักเป็นพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวร สี่พักตร์ ลงรักปิดทอง จากจังหวัดนครศรีธรรมราช มาประดิษฐาน ณ ศาลาชั่วคราว สนามศรีสุราษฎร์ และเริ่มสมโภชน์องค์หลักเมืองเป็นวันแรก

12 กันยายน 2540 นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดทำพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารหลักเมือง โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒจารย์ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์


19 พฤศจิกายน 2540 นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้จัดพิธีมงคลาภิเษกเหรียญที่ระลึกและผ้ายันต์มหามงคลชัยโดยเกจิอาจารย์ 12 รูป จาก 4 ภูมิภาค ณ มณฑลพิธีสนามศรีสุราษฎร์

14 มีนาคม 2541 การก่อสร้างอาคารศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการแล้วเสร็จ

13 เมษายน 2541 นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีทำพิธีปิดการสมโภชองค์หลักเมืองเป็นวันสุดท้าย รวมเวลาสมโภชทั้งสิ้น 239 วัน

13 เมษายน 2541 นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ทำพิธีอัญเชิญองค์หลักเมืองประดิษฐานบนศาลหลักเมืองเป็นการถาวรโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี

1 ตุลาคม 2541-30 กันยายน 2543 นายภุชงค์ รุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาลหลักเมืองดังนี้

-ก่อสร้างและตกแต่งศาลหลักเมืองด้านสถาปัตยกรรมและวิจิตรศิลป์ โดยมอบหมายให้ นายถนอมจิตร์ ชุ่มวงศ์ อาจารย์ภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปกร เป็นผู้ออกแบบ และสำนักงานโยธาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ประยุกต์แบบนำไปใช้ในการก่อสร้าง สำหรับการดำเนินการก่อสร้างและตกแต่งอาคารศาลหลักเมือง แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2543

-ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ศาลหลักเมือง เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์รอบนอกศาลหลักเมืองให้สวยงามประกอบด้วย การปรับผิวจราจร ทางเท้า การจัดระบบไฟฟ้า และประปาแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2543

-จัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 มีวัตถุประสงค์สำคัญประกอบด้วย ส่งเสริมสนับสนุนการบูรณะตกแต่งอาคารศาลหลักเมือง สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคารหลักเมือง และงานพิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาลหลักเมือง สนับสนุนการปรับปรุงและก่อสร้างสภาพภูมิทัศน์รอบศาลหลักเมืองให้สวยงามและสะอาดเรียบร้อย ทรัพย์สินของมูลนิธิ มีทุนเริ่มแรกเป็นเงินสด 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน)
การพิธีสร้างศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี

มีผู้สันนิษฐานว่า การสร้างเสาหลักเมืองเป็นวัฒนธรรมของอินเดียแบบลัทธิพราหมณ์ ซึ่งได้เข้ามามีอิทธิพลต่อคนไทยตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ (6-12) โดยผ่านมาทางชนชาติขอมซึ่งในช่วงสมัยนั้นได้เข้ามาครอบครองดินแดนบางส่วนของของและไทย

เมื่อเวลาผ่านไป ก็ได้มีการผสมผสานกลมกลืนทางวัฒนธรรมทำให้ธรรมเนียมปฏิบัติมีทั้งแบบพุทธและแบบพราหมณ์ผสมกัน เช่น โบราณพิธีกล่าวไว้ว่า เมื่อทางจังหวัดพบไม้ที่ต้องการแล้ว จะต้องขอฤกษ์ยามทำพิธีตัดไม้ คือในวันตัดไม้มีพิธีพราหมณ์หรือให้บัณฑิตผู้มีคุณธรรมไปตั้งบัตรพลีบวงสรวงเทพารักษ์ พระสงฆ์สวดมนต์ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่โคนต้นไม้นั้นแล้วจึงลงมือโค่น จากนั้นเมื่อกำหนดพื้นที่ที่จะตั้งศาลหลักเมืองแล้วจะมีการทำพิธีพราหมณ์เพื่อล้างอาถรรพณ์ แล้วจัดการทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เช่น ตางราชวัตรฉัตรธง มีต้นกล้วย ต้นอ้อย วงสายสิญจน์ล้อมรอบ เป็นพิธีมณฑล ตรงกลางเป็นที่ที่จะวางศาลาฤกษ์มีเครื่องสังเวยบวงสรวง หัวหมู บายศรี อิฐ ทอง เงิน นาค ศิลาดวงฤกษ์ จะใช้โหรหรือพราหมณ์เป็นผู้ดำเนินการทำพิธี

ในการนี้จะมีพิธีสงฆ์ด้วยก็ได้ คือ เจริญพระพุทธมนต์เวลาประธานวางศิลาฤกษ์ ถ้าเป็นเวลาเช้าก็มีเลี้ยงพระ 5-10 รูป ถ้าเป็นเวลาบ่ายก็ไม่เลี้ยงพระ แล้วแต่ฤกษ์ที่จะวาง พิธีบวงสรวงวางศิลาฤกษ์ มีหัวหมูบายศรี ดอกไม้ธูปเทียน อิฐ ทอง เงิน นาค ศาลาจารึกดวงฤกษ์

จังหวัดสุราษำร์ธานีได้ดำเนินการจัดการพิธีที่เกี่ยวข้องตามโบราณประเพณีที่สำคัญ ๆ ตามลำดับ ดังนี้

30 มกราคม 2539 จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ทำพิธีบวงสวรงเทพารักษ์และตัดต้นไม้มงคล นาม “ราชพฤกษ์” จากที่ดินของนายเพิง รำเพย ราษฎรหมู่ที่ 1 ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนำไปสลักเป็นเสาหลักเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันเดียวกัน โดยนายพรชัย วัฒนวิทย์กิจ และนายธีรชัย สุทธิจิต ช่างฝีมือชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการแกะสลักองค์หลักเมืองนครศรีธรรมราชและประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้แกะสลักองค์หลักเมือง

12 กันยายน 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายประยุร พรหมพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และคณะเข้าเฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายยอดเสาหลักเมืองเพื่อทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม และทรงบรรจะพระธาตุ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

16 สิงหาคม 2540 ในสมัยนายนิเวศน์ สมสกุล เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้อัญเชิญองค์หลักเมืองประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีขนาดสูง 108 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้ว แกะสลักเป็นพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวร 4 ด้าน ซึ่งมีความหมายถึง อิทธิบาท 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ส่วนบนยอดสุดขององค์เสาหลักเมืองได้บรรจุพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงบรรจุด้วยพระองค์เอง มาประดิษฐาน ณ ศาลาชั่วคราวสนามศรีสุราษฎร์ธ และได้เริ่มสมโภชองค์หลักเมืองเป็นวันแรก

8 กันยายน 2540 พระศรีธรรมนาถมุนี รองเจ้าคณะภาค 16 พระราชพิพัฒนาภรน์ เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี และพระครูชัยวงศ์ วุฒิคุณ เจ้าคณะอำเภอพุนพิน พระครูวีรกิจโกวิท เจ้าอาวาสวัดปากคู อำเภอกาญจนดิษฐ์ พร้อมด้วย นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายธีระ โรจนพรพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิโหราศาสตร์ ได้ร่วมประชุมและกำหนดจุดสถานที่ก่อสร้างอาคารศาลหลักเมือง

9 กันยายน 2540 มีพิธีสวดถอนพลิกแผนดิน ตามประเพณีความเชื่อของชาวบ้านในภาคใต้ว่าพื้นที่ใดเคยมีการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน เมื่อมีการรื้อถอนอาคารเก่าแล้วปลูกสร้างอาคารใหม่ จะต้องกระทำพิธีสวดถอนพลิกแผ่นดิน โดยนิมนต์เกจิอาจารย์จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาประกอบพิธี

12 กันยายน 2540 ประกอบพิธีพราหมณ์ เพื่อสักการะบูชาหมู่ เทพยดา ในพิธีวางศิลากษ์ โดย พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช เจ้าพิธีกรรมทางโหราศาสตร์ของภาคใต้ และนายพูนสวัสดิ์ ชุมทอง อุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี วางกำหนดฤกษ์และทำการผูกดวงเมืองในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์

นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีในขณะนั้น ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารศาลหลักเมือง ณ สนามศรีสุราษฎร์ ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์

19 พฤศจิกายน 2540 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดพิธีมังคลาภิเษกเหรียญที่ระลึกและผ้ายันต์มหามงคลชัย โดยเกจิอาจารย์ 12 รูป จาก 4 ภาค ณ มณฑลพิธีสนามศรีสุราษฎร์

13 เมษายน 2541 จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดพิธีสมโภชองค์หลักเมืองเป็นวันสุดท้าย รวมเวลาสมโภชทั้งสิ้น 239 วัน

26 สิงหาคม 2541 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดพิธีอัญเชิญองค์หลักเมืองเข้าประดิษฐานบนศาลหลักเมืองเป็นการถาวร


 




Create Date : 13 กันยายน 2558
Last Update : 21 กันยายน 2558 19:30:36 น.
Counter : 4359 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขนมว่าวกรุ๊บกรอบ
Location :
สุราษฏร์ธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กันยายน 2558

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30