We_b_log( ถ้าคิดอะไรไม่ออก ก็อย่าคิดมันต่อเลย ไปนอนซะ )
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
15 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 
ทหารเดินดิน

มุมทหารเดินดิน (Ground Troop Corner)
บทความจาก นิตยสาร Top gun
ฉบับที่ 123 JUN 2008
ผู้เขียน พันโท ณัฏฐ์ กาญจนโหติ


//www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X6752792/X6752792.html

กระทู้นี้เป็นการคัดย่อตัดตอนเฉพาะบางส่วน บทความเต็มๆสามารถหาอ่านได้จาก นิตยสารที่อ้างอิงมา




การทำการรบสิ่งที่ขาดไม่ได้คือกำลังพลเดินเท้า ในบทความทางทหารส่วนมากมักล่าวถึง ยุทธโธปกรณ์ทางยุทธการ เช่นเครื่องบิน เรือรบ และรถรบแบบต่างๆ ส่วนอุปกรณ์สำหรับช่วยให้กำลังรบเดินดินทำงานได้อย่างคล่องแคล่วปลอดภัยมักไม่ค่อยมีกล่าวถึงมากนัก

โดยทั่วไปเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ มักไม่ค่อยมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นมากนัก ได้แต่บ่นไปวันๆในวงสังสรรค์ บ้างก็จัดซื้อกันมาเองตามกำลังทัพย์ของแต่ละคน หรือดัดแปลงเอาตามมีตามเกิด เพื่อสวัสดิภาพในการทำงานและภาระกิจที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใดแม้นชีวิตตัวเองและครอบครัว



อุปกรณ์เสริมสำหรับทหารเดินดิน
เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือ ที่ช่วยให้การรบประสบความสำเร็จโดยมีการสูญเสียน้อยที่สุด โดยจะมีองค์ประกอบหลัก 2 ประการคือ ความคล่องแคล่วในการเครื่อนที่ Mobility , ความอยู่รอดในสนามรบ Survival ability อุปกร์หลักที่จะช่วยเสริมศักยภาพของทั้ง 2 ข้อ แบ่งได้ดังนี้

1.เครื่องป้องกันส่วนบุคคล เช่น หมวก แว่นตา เสื้อเกราะ แผ่นรองเข่า แผ่นรองศอก ถุงมือ ฯลฯ
2.อุปกรณ์ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการใช้อาวุธ เช่นสายสะพายปืน เสื้อกระสุน ไฟฉายทางยุทธวิธี ฯลฯ
3.อุปกรณ์เพิ่มความคล่องแคล่ว ในการเครื่อนที่ และการเคลื่อนย้าย เช่นถุงเท้า ร้องเท้าปฏิบัติการ เป้ขนาดเล็กสำหรับปฏิบัติการ 3 วัน Head set ฯลฯ
4.อุปกรณ์พยาบาลประจำบุคคล เช่น ผงห้ามเลือด ผ้าก๊อส ฯลฯ



1.เครื่องป้องกันส่วนบุคคล
สิ่งที่สำคัญที่สุดในสนามรบ คือ การรักษาชีวิตของตนเอง เพื่อให้รอดไปปฏิบัติภาระกิจให้สำเร็จ ดังนั้น อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล จึงเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุด แต่ในกองทัพไทยยังคงไม่มีความเคลื่อนไหวนอกจากการจัดหากันเอง หรือจัดหาพิเศษ

เครื่องป้องกันส่วนบุคคล ดั้งเดิมในสังคมไทยหนีไม่พ้นเครื่องรางของขลัง การให้วัตถุมงคลกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเป็นเรื่องดีครับ แต่หากต้องนำเงินไปเช่าด้วยราคาแพง ผมไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการทำธุรกิจหรือการหาชื่อเสียงมากกว่าการช่วยเหลือที่บริสุทธิ์ใจ



เครื่องป้องกันที่จะแนะนำเริ่มจากอุปกรณ์ป้องกันอวัยวะที่สำคัญที่สุดคือ ศีรษะ
1.1 หมวกนิรภัยป้องกันกระสุน Helmet
ทหารไทยเรียกว่า หมวกเหล็ก ใช้ป้องกันศีรษะของทหาร มีเข้าประจำการในประเทศไทย ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 หมวกที่คุ้นเคยกันคือ หมวกแบบ M1 คิดค้นตั้งแต่ปี 1942 ประกอบด้วยหมวก 2 ใบ คือหมวกรองใน และหมวกเหล็ก ที่สวมทับหมวกรองในอีกชั้น



ต่อมาได้พัฒนาให้เหลือเพียงใบเดียว และเปลี่ยนวัสดุจากเหล็กเป็นวัสดุสังเคราะห์ Kevlar นอกจากนั้นยังมีการคำนึงถึงหลักการของ Ergonomics ซึ่งเป็นการออกแบบเครื่องใช้โดยคำนึงถึงสรีระการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ทำให้หมวก Kevlar มีคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติการของผู้ใช้มากหมวกเหล็กที่ทหารไทยส่วนมากกำลังใช้อยู่



ข้อพิจารณาในการเลือกหมวกนิรภัย
1.ความแข็งแรงทนทาน
2.ความกระชับในการสวมใส่
3.ความสามารถประกอบกับอุปกรณ์เสริมต่างๆ

ผลของหมวกเหล็กยุคสงครามเวียดนาม ของกองทัพไทยต่อผู้ใส่
1.ทนทานกระสุนน้อย น้ำหนักมาก
2.ต้องใช้ถึง2ชิ้น
3.มุมมองในการตรวจการลดลง
4.สายรัดคางไม่กระชับและมักจะชำรุด
5.ไม่สามารถใช้ร่วมกับ Head set ได้ *

*บทเรียนจากการรบของทหารสหรัฐในโซมาเลีย การปะทะหลายครั้งหน่วยรองไม่สามารถรับคำสั่งได้ เป็นชั่วโมง เนื่องจากไม่สามารถละมือมาจับถือวิทยุสือสารได้ ทำให้หลังจากครั้งนั้น Head set จึงกลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐานของหน่วยจู่โจมสหรัฐ



บทเรียนจากภาคใต้

ในการลาดตะเวนด้วยยานพาหนะ ในพื้นที่ที่มีระดับภัยคุกคามสูง ทหารไทยรอดจากการซุ่มโจมตีด้วยการใช้หมวก แต่หลายนายเสียชีวิตจากการที่ศีรษะไปชนกับโครงรถ โดยไม่ได้รับอันตรายจากกระสุนหรือสะเก็ดระเบิด แต่เกิดจากการกระแทกที่ศีรษะอย่างแรง

หลายครั้งมีการตำหนิกำลังพล ในเรื่องที่ไม่ใส่หมวกในการปฏิบัติการ ซึ่งในความเป็นจริงบางหน่วยไม่มีหมวกในอัตรา หรือมีอยู่แต่ไม่ได้รับการแจกจ่าย บางหน่วยหมวกอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนัก โดยเฉพาะส่วนรองใน ความไม่พอดีของหมวกกับศีรษะ ถึงแม้ทหารจะไม่ได้ใส่เพื่อสวยงามหรือไปเดินแบบ ความพอดีของหมวกกับผู้ใช้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการตรวจการณ์ การใช้อาวุธ ถ้าใครลองใส่หมวกเหล็กที่ไม่พอดีกับศีรษะ และต้องไปนอนยิงคงทราบดีว่า หมวกจะลงมาปิดหน้าและไม่สามารถตรวจการได้

1.2 แว่นตากันสะเก็ด goggle
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันและถนอมดวงตาของผู้ปฏิบัติการ เพราะเศษโลหะชิ้นเล็กๆที่เกิดจากการระเบิดสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตทหารที่รุ่งโรจน์ มีประสบการณ์การรบ ไปเป็นผู้พิการทางสายตาตลอดชีวิต รอให้ท่านทั้งหลายไปเยี่ยม แว่นตากันสะเก็ดจึงเมีความจำเป็นในการปฏิบัติการทางทหาร ซึ่งมีหลักฐานชัดเจน คือผู้พิการทางสายตาจากการปฏิบัติงานในภาคใต้



ในพื้นที่ภาคใต้ของไทย แว่นยอดนิยมของทหาร คือแว่นยี่ห้อ King ซึ่งทำจากโพลีคาร์บอเนต ราคาอยู่ประมาณ 300 – 500 บาท

แต่เมื่อเทียบกับยี่ห้อ Okley ,Wiley ทั้งสองยี่ห้อนี้ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำของกองทัพสหรัฐ ราคาอย่างต่ำอยู่ที่ประมาณ 2500 บาทขึ้นไป ถ้าคิดว่าจะลองเสียงดูและไม่อยากเสียเงินมาก แว่น King ยังดีกว่าไม่มีอะไรปกป้องดวงตาที่บอบบางเลย แต่ถ้าเห็นความสำคัญ และต้องการลดความเสี่ยงลง แว่นทั้งสองยี่ห้อนี้สามารถให้การป้องกัน ได้มากกว่าแน่นอน

แต่ที่ดูน่าอนาถมากกว่านั้น ในสมรภูมิภาคใต้คือการใช้แว่นพลาสติกโค้งๆ ราคาอันละประมาณ 35 บาท ถ้าใส่ไปจ่ายตลาดกันแมลงเข้าก็พอได้ แต่ถ้าใช้ในการรบคงไม่ได้ แต่ทำอย่างไรได้ ทหารของเราไม่ได้มีรายได้มาก หลายคนต้องเจียดเงินที่มีน้อยอยู่แล้วซื้อเอง หรือไม่ก็เอางบบริหาร หน่วยนั้นมาซื้อ น่าสงสารมาก

มาตรฐานแว่นตานิรภัย

มาตรฐานตามที่ ANSI กำหนด มี2 ระดับคือระดับต่ำ และระดับสูง
- ระดับต่ำ ต้องผ่านการทดสอบด้วยการใช้ลูกเหล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้วจากความสูง 50 นิ้ว ทิ้งลงตรงๆบนเลนส์ที่จะทดสอบ
- ระดับสูง ANSI Z87.1-2003 ต้องใช้การยิงลูกเหล็กด้วยความเร็วต่างๆกันดังนี้ สำหรับแว่นทั่วไปต้องทนลูกเหล็กขนาด 6.35 มม.ที่ยิงด้วยความเร็ว 150 ฟุต ต่อวินาที แว่นมีสายรัด goggle ต้องทนลูกเหล็กที่ยิงด้วยความเร็ว 250 ฟุตต่อวินาที


มาตรฐานแว่นตาทางทหาร ซึ่งกำหนดโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา
MIL-STD-43511C ต้องทนกระสุนขนาด caliber .22 นิ้ว น้ำหนัก 17 เกรน ที่ความเร็ว 560 ฟุตต่อวินาที
MIL-PRF-31013 ต้องทนกระสุนขนาด caliber .15 นิ้ว ที่ความเร็ว 250เมตรต่อวินาที



แต่กองทัพไทยให้ความสำคัญกับแว่นนิรภัยน้อยมาก อุปกรณ์ที่มีความใกล้เคียงแว่นนิรภัยคือ “แว่นตากันฝุ่นลมและกันแดด” จัดหาสำหรับหน่วยทหารของกองทัพบกในภาคใต้ โดยกำหนดคุณลักษณะเฉพาะไว้โดยสรุปดังนี้


“ตัวกรอบแว่นทำด้วย ยางแท้หรือยางสังเคราะห์นุ่มสีดำแนบกับใบหน้าเมื่อสวม ตัวเลนส์ทำด้วยพลาสติกสีโปร่งใส มี 3 แผ่นสับเปลี่ยนกันได้ ,สีเหลืองออน,สีเทาอ่อน สายยืดทำด้วยยางยืดสีกากีแกมเขียว ปรับสั้นยาวได้ การประกอบประณีต เรียบร้อย ทุกชิ้นต้องแน่นพอเหมาะ ”


สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของกองทัพไทยคือ การใช้ราคาเป็นเครื่องตัดสินการซื้อของ ตามมาตรฐานของประเทศไทยกำหนดค่อนข้าวต่ำ กรรมเลยตกกับผู้ใช้เสมอมา

1.3 ถุงมือปฏิบัติการ

ความจำเป็นของถุงมือปฏิบัติการ มีดังนี้
1.การให้การป้องกันผิวหนังจากเศษวัสดุมีคมละความร้อน
2.การเพิ่มความกระชับในการจับอาวุธยุทโธปกรณ์
3.การใช้ในการกระโดดล่มแบบกระตุกเอง
4.การลดการเพิ่มรอยนิ้วมือแฝงบนสถานที่เกิดเหตุ หรือวัตถุพยาน
5.การลดโอกาสในการติดเชื้อจากเลือดของผู้บาดเจ็บ
6 การลดการบาดเจ็บจากการต่อสู้ระยะประชิด



1.4 สนับเข่า และ ศอก

สนับเข่ามีความจำเป็นมากโดยเฉพาะการรบในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง การใช้จักรยานยนต์ทางยุทธวิธี การที่รถต้องล้มด้วยความจงใจหรือจากการโจมตีของฝ่ายตรงข้าม ถ้ายังไม่ตายการลดการบาดเจ็บจากการกระแทกของเข่าและศอก อันเป็นอวัยวะสำคัญในการเคลื่อนที่ และการใช้อาวุธในการตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม เป็นสิ่งสำคัญต่อการอยู่รอด หลังการโจมตีระลอกแรกในการซุ่มโจมตี





สนับศอก




2.อุปกรณ์ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการใช้อาวุธ

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ทหาร สามารถใช้อาวุธได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพราะเวลาเพยียงเสี้ยววินาทีของการทำให้ปืนพร้อมใช้งานหมายถึงชีวิต ดังนั้นผู้ที่เป็นทหารตำรวจอาชีพ จะให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มากที่สุด

2.1 ชุดนำพากระสุนและอุปกรณ์ประจำกาย







2.2 สายสะพายปืน



2.3 ห่วงช่วยจับซองกระสุน เป็นอุปกรณ์เพื่อ ให้สามารถจับดึงซองกระสุนสำรองที่มี ออกมาจากกระเป่ากระสุนได้อย่างรวดเร็ว มีลักษณะเป็นห่วงพลาสติกที่สวมทับซองกระสุน เอ็ม 16

2.4 ไฟฉายทางยุทธวิธี ส่วนมากจะใช้ในการรบประชิด ในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง และจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โดยเฉพาะเมื่อต้องการตรวจค้นเวลากลางคืน



ปัจจุบันกองทัพไทยไม่ได้มีการจัดหาไฟฉายที่จะใช้งานร่วมกับปืนยาว จะมีก็แต่หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงในพื้นที่ภาคใต้ ทหารจะต้องใช้ไฟฉายราคาถูก (บางครั้งซื้อด้วยเงินตัวเอง) มาพันด้วยเทป เพื่อใช้ในการตรวจค้น ถ้าปะทะแล้วต้องยิงกัน หลอดราคาไม่กี่สิบบาทคงไม่มีใครรับประกันได้ว่าจะไม่ขาด เมื่อต้องรับแรงสะทองจากปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มม.

3.อุปกรณ์เพิ่มความคล่องแคล่ว

ในการเคลื่อนที่ และการเคลื่อนย้าย มีความสำคัญมากเพื่อให้กำลังพลเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว ในการปราบปรามการก่อความไม่สงบ ข้าศึกมีความคุ้นเคยกับภูมิประเทศมากกว่า ไม่ต้องขนของติดตัวมาก เพราะใช้การซ่อนตามจุดต่างๆไว้ล่วงหน้า และที่สำคัญข้าศึกอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ดังนั้นการช่วยให้ทหารของเราเคลื่อนที่ได้เร็ว แค่การฝึกอย่างเดียวยังไม่พอ อุปกรณ์ต่างๆก็เป็นส่วนช่วยเสริมให้พวกเขาเคลื่อนที่ได้คล่องแคล่วมากขึ้น จะได้เข้าไปอยู่ในสถานที่และเวลาที่ได้เปรียบข้าศึกได้เร็วขึ้น


3.1 กระเป๋าหรือกล่องใส่อุปกรณ์ทางยุทธวิธีประจำบุคคล
กระเป๋านี้จะใช้สำหรับหน่วยเตรียมพร้อมหรือ หน่วยเคลื่อนที่เร็วที่ต้องเคลื่อนย้ายกำลังจากหน่วยปกติเข้าพื้นที่เตรียมพร้อมก่อนเข้าปฏิบัติการ โดยทั่วไปข้าวของของทหารต่างจะกระจายอยู่ในคลังต่าง ๆ กัน จนกว่าจะมีการสั่งให้เตรียมพร้อม กระเป๋าของทหารไทยที่มีอยู่ในการนำกำลังเข้าที่เป็นทางการก็จะมี เป้สนาม ALICE PACK AII – purpose Lightweight Individual Carrying Equipment กองทัพสหรัฐออกแบบมาใช้ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1974 เพื่อทดแทน MLBE Modernized Load – carrying Equipment ที่ผลิตมาใช้ห้วงปี ค.ศ. 1968 (ปัจจุบัน ล่าสดได้มีการออกแบบระบบเครื่องสนามใหม่โดยใช้ชื่อว่า MOLLE : Modernized Load – carrying Equipment จะเขียนถึงรายละเอียดของระบบเครื่องสนามนี้ภายหลัง) เป้ที่ทหารไทยมีใช้อยู่เป็นเป้ขนาดกลาง ไม่เพียงพอกับการนำสัมภาระทั้งหมดในการเคลื่อนย้ายกำลังเข้าปฏิบัติการ ซึ่งผลออกมาคือการใช้กระเป๋าเสริมกันตามสภาพของหน่วย บางหน่วยก็ใช้ถุงทะเล บางส่วนก็ใช้ถุงใส่ร่ม เป็นถุงที่เปิดทางด้านหน้า ไม่ทุลักทุเลเหมือนเวลาต้องการของที่อยู่ก้นถุง บางหน่วยจะเรียกถุงนี้ว่า KIT Bag ต่อมาเมื่อมีอุปกรณ์มากขึ้นจึงมีการออกแบบกระเป๋าในใส่อุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนย้ายเข้าที่รวมพลหรือพื้นที่เตรียมพร้อมขั้นต้น โดยมีความยามกระเป๋าที่มากขึ้นกว่าถุงที่ใช้ใส่ร่มเดิม มีช่องแบ่งสำหรับใส่ของให้เป็นสัดส่วน ซิปมีสองหัว ขนาดใหญ่มีความทนทานสูง ผ้ามีความหนามากขึ้น มีล้อเลื่อนและคันจับที่ยืดหดได้ ผลิตภัณฑ์ของ Blackhawk ได้ตั้งชื่อกระเป๋าดังกล่าวว่า ALERT Bag : Assault Load – out Emergency Response Transport or trunk อีกบริษัทหนึ่งที่ทำมาแข่งคือ บริษัท 5.11 Tactical series ได้ผลิตกระเป๋าลักษณะเดียวกัน มีชื่อเรียกทางการค้าว่า “CAMS 40 OUT BOUND”



กระเป๋านี้จะช่วยลดเวลาในการที่จะเตรียมของส่วนบุคคลให้พร้อมอย่างเป็นระเบียบสามารถใส่ของที่เป็นอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น หน้ากากป้องกันไอพิษ, หมวกเหล็ก, ถุงมือ, สายรัดตัว, เสื้อเกราะ, สนับเข่า, ศอก, ชุดนอกเครื่องแบบ รองเท้าผ้าใบ ฯลฯ



3.2 เป้ขนาดเล็กสำหรับการปฏิบัติการ 3 วัน



ในปัจจุบันการปฏิบัติการที่เป็นระยะเวลานานมักจะมีไม่มากและเป้หลักมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะแบกไปปฏิบัติภารกิจสั้น ๆ ที่อาจจะจำเป็นต้องค้างคืนตั้งฐานลาดตระเวนอกฐานปฏิบัติการ เป้สำหรับ 3 วัน จึงได้ถูกออกแบบขึ้นมา ปัญหาเรื่องการหาของจากเป้ ALICE Pack แบบเดิมที่มีขนาดใหญ่ ของที่อยู่ก้นเป้ หยิบขึ้นมาใช้ได้ลำบาก, กระเป๋าที่อยู่นอกเป้บางครั้งใส่ถุงมือการติดกระดุมเป้ทำได้ลำบาก จึงได้เปลี่ยนมาเป็นการใช้ซิปขนาดใหญ่ที่มีความทนทานสูง, ผ้าจากเดิมเป็นไนล่อนธรรมดาเป็นไนล่อนคุณภาพสูงเช่น Cordura ที่มีจุดหลอมตัวสูงขึ้น อึกนัยหนึ่งคืนทนขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการเคลือบสารเคมีป้องกันน้ำ ทำให้กันน้ำได้ดีกว่าไนล่อนที่ทำขึ้นมาในยุคปี 70 มีช่องสำหรับใส่ถุงน้ำสำหรับดื่มหรือไม่ให้ทหารต้องใส่กระติกน้ำที่เกะกะเอว การประยุกต์ใช้ คือ เมื่อต้องเดินทางเข้าพื้นที่ กำลังพลจะต้องนำอุปกรณ์ทั้งหมดติดตัวลงไปปฏิบัติการทั้งของส่วนตัว และเครื่องมือสิ่งอุปกรณ์ทางทหารประจำกาย โดยเจ้าเป้สามวันนี้อาจจะใส่เฉพาะของที่ต้องทำงานได้ทันทีเช่น อาหารสำเร็จรูป ไฟฉาย วิทยุสื่อสาร ถุงน้ำพร้อมน้ำดื่ม แผนที่ เข็มทิศ เครื่องหาพิกัดด้วยดาวเทียม อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ถ่านสำรองสำหรับอุปกรณ์ กระสุนสำรอง เป็นต้น ส่วนที่เหลือใส่กระเป๋าหรือกล่องใส่อุปกรณ์ทางยุทธวิธีประจำบุคคล

ลักษณะที่พึงประสงค์ของเป้ขนาดเล็กคือ ความทนทานของที่หิ้วและสายสะพายเป้ทั้งสองข้าง ความนุ่มและการกระจายน้ำหนักของสายสะพายเป้ที่กดทับบ่า คุณภาพซิป การแบ่งพื้นที่ของกระเป๋า คุณภาพของวัสดุที่ต้องทนกับการเสียดสี การป้องกันน้ำ แห้งเร็ว ความเหมาะสมกับสรีระ ไม่เป็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหวในการดำเนินกลยุทธ์ การเคลื่อนที่ การใช้อาวุธ


3.3 ร้องเท้าปฏิบัติการ รองเท้าที่ดีจะต้องออกแบบ ตามหลัก Ergonomics ซึ่งเป็นการออกแบบเครื่องใช้โดยคำนึงถึงสรีระการเคลื่อนไหวของมนุษย์ เช่นการออกแบบสายรัดหลังเพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการยกของหนัก



3.4 ชุดปากพูดหูฟังประกอบศีรษะ



4.อุปกรณ์ปฐมพยาบาลประจำบุคคล

อุปกรณ์นี้เป็นสิ่งที่จะรักษาชีวิตของทหารหลังจากที่มีการปะทะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะรบเก่งแค่ไหน กระสุน สะเก็ดระเบิดไม่เคยสนใจ ทุกคนมีสิทธิเท่ากันที่จะโดน ตั้งแต่พันเอก จนถึงพลทหาร แต่น่าแปลกว่า กองทัพไทยให้ความสนใจกับอุปกรณ์เหล่านี้น้อยกว่าการสร้างวัตถุมงคล และการสร้างความหรูหราอลังการของโรงพยาบาลในส่วนกลาง

อุปกรณ์ปฐมพยาบาลประจำตัวทหารไทยที่มีใช้อยู่มี 2 ชิ้นได้แก่ ผ้าแต่งแผลสนาม และสายรัดห้ามเลือด (ตำรวจตระเวนชายแดนไม่มีแจก) แต่ในสหรัฐมีการปรับปรุงอุปกรณ์นี้อย่างต่อเนื่อง โดยได้กำหนดอุปกรณ์ปฐมพยาบาลประจำตัวทหารขึ้นใหม่ชื่อเรียกว่า IFAK (Individual First Aid Kit)



IFAK (Individual First Aid Kit) ซึ่งภายในประกอบไปด้วย ผ้าก๊อซ, เทปผ้ากาวเหนียวมากๆ ,ท่อสอดจมูกสำหรับช่วยเปิดทางเดินหายใจ ผงห้ามเลือด ,ทูนิเก้ CAT รวมของแล้วสามารถ รองรับอาการต่างๆที่จะเกิดกับทหารได้มากกว่าอุปกรณ์ที่ของไทยมีอยู่ ราคาแพงกว่าสายรัดห้ามเลือดที่ใช้งานอยู่มนกองทัพไทย แต่คงไม่แพงไปกว่าชีวิตของพลทหารของไทย



ข้อมูลทางวิชาการของสหรัฐระบุว่า สายรัดห้ามเลือดจะต้องเป็นแถบที่กว้างมากกว่า 1 นิ้ว จึงจะสามารถห้ามเลือดได้ ซึ่งของทหารไทยเป็นสายยาง นอกจากนี้การใช้ผ้าอนามัยห้ามเลือดนั้น เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะผ้าอนามัยเป็นผ้าที่ออกแบบมาให้ดูดของเหลว เพื่อมาเก็บไว้ในตัวมันเอง แต่การห้ามเลือดต้องการที่จะให้เลือดหยุด ไม่ไหลออกจากร่างกาย


นอกจากสายยางที่มีอยู่จะมีผลการวิจัยที่ชี้ชัดว่าไม่สามารถห้ามเลือดได้แล้ว ปัญหาในพื้นที่ที่เกิดขึ้นคือ หน่วยทหารจะต้องจัดซื้อจัดหาเอง บางหน่วยซื้อมาเส้นสั้นๆ เวลาผ่านไปการเสื่อมสภาพของยางเกิดขึ้นและเมื่อต้องใช่แล้วเกิดขาดขณะกำลังปะทะ


ทหารไทยจะต้องทนกับสภาพแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน จนกว่าหน่วยงานที่อนุรักษ์กำลังรบ จะสนใจกับสิ่งเหล่านี้อย่างจริงจังเสียที หรือชีวิตพลทหารเดินเท้า ไม่มีค่าพอที่จะลงทุน



Create Date : 15 กรกฎาคม 2551
Last Update : 15 กรกฎาคม 2551 15:59:02 น. 0 comments
Counter : 655 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

-=นามไร้ชื่อ=-
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add -=นามไร้ชื่อ=-'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.