space
space
space
 
ตุลาคม 2560
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
22 ตุลาคม 2560
space
space
space

บันทึกการเดินทางของการลดน้ำหนัก โดย MrTaam EP1


ขอย้อนความเดิมสักเล็กน้อย เมื่อประมาณหกปีที่แล้ว ผมรู้จัก Atkins diet จากหัวหน้าฝรั่งคนนึงที่แนะนำ ถึงเรื่องนี้ เพราะเรามีการคุยกันเรื่องกินอาหาร เพราะว่าตอนนี้น้ำหนักเริ่มลงยากจากการแค่อดอาหาร สิ่งที่เค้าบอกคือ ให้เน้นการกินโปรตีน เป็นหลักและไม่กินแป้งเลย โดยจะกินสักประมาณสองเดือนต่อปี เพื่อลดน้ำหนักในแต่ละปี ส่ิงที่กินเป็นหลักก็เป็นไข่ เนื้อสัตว์ ชีสต่าง ประมาณนี้ครับ ผมก็เลยเริ่มลองบ้างจากคำแนะนำ แต่ในตอนนั้นไม่ได้ ศึกษารายละเอียดอะไรนัก ก็ทำตามอย่างเดียว ผลลัพท์ก็ใช่ได้ครับ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วในอาทิตย์แรก โดยปรกติแล้วผม เป็นคนที่ไม่ได้มีปัญหาในเรื่องของการขับถ่าย แต่ปัญหาที่ตามมาคือท้องผูกมากพอสมควร แต่ก็ทน เอาไป พยายามเอา Bran flake มากินบ้างในอาทิตย์ที่สองเพื่อให้การขับถ่ายดีขึ้น เพราะอยากลดน้ำหนักลง อาหารที่กินก็เป็นไข่ต้ม แฟนก็จะไปซึ้อเนื้อสัตว์มาติดบ้าน เป็นหลัก ตามโปรแกรมจะต้องควบคุมประมาณคาร์โบไฮเดรต ไม่ให้เกิน 20 กรัม โดยแนะนำให้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มาจากผักใบเขียว เพื่อให้มีในส่วนของสารอาหาร และไฟเบอร์ ด้วย แต่ด้วยความที่กังวลกลัวเกิน เลยทำให้เน้นที่โปรตีนเป็นหลัก จึงส่งผลต่อระบบขับถ่ายพอสมควรครับ พอน้ำหนักพอจะได้ตามเป้าหรือเบื่อเนื้อสัตว์ จนไม่ไหวก็เริ่มกลับมากินตามปรกติ และก็วนเวียนเช่นนี้เรื่อยมาครับ


ในรอบนี้จากที่เริ่มกลับมากินแนว Atkins อีกครั้งในช่วงต้นปี 2017 และลดลง 10 - 11 kg ในห้าเดือน และน้ำหนักก็คงแกว่งอยู่ที่ประมาณ 77 -75.5 กก ขึ้นลงไปมา แต่จากเป้าที่ตั้งไว้รอบนี้ว่าจะต้องเอาลงให้ต่ำกว่า BMI 23 เลยเริ่มศึกษารายละเอียดเพิ่มขึ้น ก็เริ่มเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มขึ้นจากหนังสือที่กล่าวข้างต้น รวมถึง Research บางส่วน และทำความเข้าใจเพิ่มขึ้นว่าในส่วนของหลักการนี้ช่วยเรื่องของน้ำหนักได้อย่างไรบ้าง


วิธีการลดน้ำหนักนั้น เพื่อน แต่ละคน คงได้ยินมาหลากหลายรูปแบบครับ ซึ่งการเลือกแต่ละประเภทนั้นก็คงอยู่ตามจริตของแต่ละคน ในส่วนตัวของผมเองเป็นมนุษย์ที่ชอบกินเนื้อและไขมัน เช่นหมูติดมัน เนื้อติดมันนี้ละโปรดมากที่เดียว พูดถึงก็น้ำลายไหล จากข้อมูลการวิจัยในบางที่ก็จะมีการเปรียบเทียบการลดน้ำหนักประเภทต่าง เช่น


ตัวอย่างแรก






อ้างอิงจาก https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/205916


การศึกษาเปรียบเทียบของกลุ่มตัวอย่างที่ใกล้เคียงกันประมาณ 311 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่จัดว่าเป็นคนอ้วน ให้ทดลองโปรแกรมการลดน้ำหนักประเภทต่าง อันได้แก่ Zone, Learn, Ornish และ Atkins ในช่วง 12 เดือน ซึ่งจากกราฟ จะเห็นว่า Atkins จะให้อัตราการลดน้ำหนักที่มากที่สุดและเริ่มมีการดีดคืนหลังจาก เดือนที่ 6 โดยปริมาณแคลอรีที่ผู้ทดลองทานกันก็จะลดลงจาก 1850 - 1975 kCal ก่อนการทดลองมาอยู่ที่ประมาณ 1381 - 1654 kCal


ตัวอย่างที่สอง








เป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างคนอ้วน 322 คน ที่มีค่า BMI ประมาณ 31 คน โดยที่แบ่งเทคนิคการลดน้ำหนักผ่านปรับอาหารเป็น 3 ประเภทคือ Low fat diet, Mediterranean diet และ Low-carb diet ในช่วง 24 เดือน โดยจากผลการทดลองจากกราฟก็จะพบว่าอัตราการลดของ Low carb ก็จะลงเร็วที่สุด และเริ่มมีการดีดตัวคืนมาเช่นเดียวกันในระยะยาว จนเข้ามาใกล้เคียงกับแบบ Mediterranean diet. โดยที่เริ่มต้นนั้นประเภทอาหารที่แต่ละกลุ่มตัวอย่างทานนั้นใกล้เคียงกัน แต่หลังเร่ิมการทดลอง ปริมาณแคลอรี่ก็จะเปลี่ยนแปลงลดลงในทั้ง 3 รูปแบบ


ตัวอย่างที่สาม




อ้างอิงจาก  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23651522


ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบ Meta-analysis ซึ่งคือการเข้าไปศึกษางานวิจัยหลาย งานวิจัยที่เข้าตามเงื่อนไขและสรุปผลรวมผลในเชิงสถิติ ว่ามีทิศทางเช่นไร ซึ่งในงานวิจัยนี้ศึกษาในเรื่องของการลดน้ำหนักในระยะยาวระหว่าง VLCKD (very low carb ketoginic diet) กับ LFD (Low Fat Diet) ซึ่งจากผลการศึกษาก็พบว่าน้ำหนักที่ลดลงจากการควบคุมแบบ VLCKD นั้น จะให้ค่าเฉลี่ยที่ดีกว่าแบบ LFD


จากงานวิจัยด้านบน ประกอบกับข้อมูลที่อ่านเพิ่มเติมรวมถึง จริตในการกินอาหารแล้วทำให้ผมเลือกที่จะดำเนินชีวิตต่อกับการกินอาหารแบบ Low carb และนอกจากน้ำหนักที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังคงมีการพูดถึงการส่งผลต่อสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งจะไว้มาแชร์เพิ่มเติมต่อไปนะครับ แต่ยังไงก็ตามอาจจะมีงานวิจัยในบางส่วนให้ความเห็นที่ขัดแย้งบางก็มีเหมือนกัน



ในสภาวะปรกติเมื่อคนเราทานอาหารเข้าไป สารอาหารหลักอันได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ผ่านกระบวนการย่อยของร่างกาย และได้ออกมาเป็นน้ำตาลกลูโคส กรดอะมิโน และกรดไขมัน ตามตัวอย่างของรูปด้านล่าง




ภาพจาก https://www.tes.com/lessons/tItCD2moaAGLsw/organisational-hierarchy-digestion-and-enzymes


โดยร่างกายสามารถใช้ กลูโคส กรดอะมิโน และกรดไขมัน มาแปลงเป็นพลังงานได้ ผ่านกระบวนเผาผลาญของร่างกาย





ภาพจาก  https://higheredbcs.wiley.com/legacy/college/smolin/047052474X/practice_quiz/ch07.html


แต่พลังงานโดยปรกติที่เราจะใช้เป็นหลัก โดยเฉพาะตามประเภทของอาหารไทยที่เราทานโดยทั่วไป จะใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานหลัก เนื่องจากคนไทยจะทานข้าวเป็นหลัก และในอาหารที่เราซื้อกันโดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบของแป้งค่อนข้างสูง ซึ่งก็เป็นไปคำแนะนำของธงโภชนาการของกรมอนามัย เพราะคาร์โบไฮเดรตนั้นจะมีอยู่ในข้าว ผัก ผลไม้






อ้างอิงจาก ไขข้อข้องใจด้านอาหารและโภชนาการ โดยกรมอนามัย


โดยหากมีปริมาณการกินที่มากเกินไป กลูโคสส่วนเกินก็จะถูกแปลงเป็นไกลโคเจนเก็บสะสมไว้ที่ตับ และส่วนที่เกินเพิ่มเติมก็จะมีการสะสมเข้ามาในรูปของไขมันตามใต้ผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อบางส่วน ในทางตรงกันข้ามถ้าปริมาณกลูโคสไม่มากพอ จะเริ่มมีการแปลงไกลโคเจนมาเป็นกลูโคสเพื่อนำมาเป็นพลังงานต่อไป และหลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มมีการนำไขมันมาใช้ทดแทน



ในกรณีที่มีการกินอาหารแบบ Low carb ทำให้ ทำให้ร่างกายคนเราสามารถที่จะเริ่มปรับแหล่งพลังงานที่ใช้ มาจากกรดไขมัน หรือดึงเอาส่วนของไขมันออกมาใช้เป็นพลังงาน และอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า Ketosis ในสภาวะนี้ร่างกายจะมีการปรับใช้ไขมันมาเป็นแหล่งพลังงานหลัก


สำหรับผมปรกติจะใช้เวลาประมาณ 4 วันที่ร่างกายเริ่มมีการปรับตัวครับ ซึ่งทราบจากการวัดค่า Ketone จากปัสสาวะ โดยใช้ Ketone strip ซึ่งลองหาซื้อได้ใน Website นะครับ แต่เท่าที่ลองดูไม่ค่อยมีขายในร้านข้างนอกเท่าไร ถ้าใครหาไม่เจอก็คุยหลังไมค์ได้นะครับ จากภาพด้านล่างก็จะดูจากสีแถบวัดที่จะเปลี่ยนแปลงไป






Create Date : 22 ตุลาคม 2560
Last Update : 29 ตุลาคม 2560 20:33:38 น. 0 comments
Counter : 2262 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

mrtaam
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add mrtaam's blog to your web]
space
space
space
space
space