[ Home] [ Tech] [ จิปาถะ] [ Cactus] Manager Online News
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
31 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
ฝึกงานอย่างไรให้ส้มหล่น โดนใจนายจ้าง

ช่วงนี้ เพื่อนๆคน หาที่ฝึกงานกันให้วุ่น ก็น้องข้าพเจ้า ส่งบทความนี้มาให้
เห็นว่าดี เลยนำมาลงหน่อยละกัน จาก Post Today จามีใครอ่านมั้ยเนี่ย


Post Today - นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีราวกับถูกลอตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งก็ไม่ปาน หากนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ฝึกงานอยู่กับองค์กรใหญ่แห่งหนึ่ง ผลปรากฏว่าบอร์ดผู้บริหารกดปุ่มไฟเขียวเชิญนักศึกษาส้มหล่นคนนั้นเข้าทำงานทันที เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่ากระบวนการฝึกงานเป็นขั้นตอนหนึ่งของการได้งานในอนาคต เนื่องจากหัวหน้าได้เห็นการทำงานของเรา รับรู้นิสัยใจคอ ตัวตน และความคิดมาระยะเวลาหนึ่ง มาดูกันว่านักศึกษาฝึกงานสไตล์ไหนบ้างเตะตานายจ้าง แค่ฝึกงานไปสักพักเขาก็เชิญให้เป็นพนักงานประจำในองค์กรนั้นเลย


สร้างผลงานเล็กๆ น้อยๆ ให้องค์กรเห็น

ดร.พิษณุ คนองชัยยศ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกริ่นเรื่องการฝึกงานโดยทั่วไปให้ฟังว่า แต่ละองค์กรที่ประสงค์จะรับนักศึกษาฝึกงาน จะแจ้งมายังภาควิชาว่าต้องการนักศึกษาฝึกงานที่มีคุณสมบัติแบบไหน ทางองค์กรนั้นๆ จะบอกว่าต้องมีความสามารถอย่างไรบ้าง และต้องสามารถทำงานได้วันละกี่ชั่วโมง

จากนั้นทางคณะก็จะติดประกาศ นิสิต/นักศึกษาก็จะมาดู ถ้าสนใจก็ยื่นความจำนงผ่านทางคณะ โดยคณะจะทำหน้าที่ประสานงานให้ และแจ้งกลับไปยังนิสิต/นักศึกษาว่าตกลงได้ฝึกงานกับบริษัทที่ปรารถนาไว้หรือเปล่า

การฝึกงานอีกแบบหนึ่งคือ นิสิต/นักศึกษาอาจจะไปหาสถานที่ฝึกงานข้างนอกด้วยตัวเอง อาจจะผ่านทางคนรู้จัก หรือจากญาติของเขาเอง ซึ่งทางคณะก็จะกำหนดเงื่อนไขการฝึกงานเอาไว้เช่นเดียวกัน

ข้อดีของการฝึกงาน

นิสิต/นักศึกษาได้ลองเข้าไปทำงานจริงๆ และได้ลองแก้โจทย์ แก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมายจากองค์กร ตรงนี้จะเป็นการพิสูจน์ความสามารถของเขาว่ามีโอกาสไปได้ดีขนาดไหน อีกอย่างหนึ่งคือ การที่นิสิต/นักศึกษาลงแข่งขันหรือประกวดผลงานอะไรเล็กๆ น้อยๆ ขององค์กรแห่งนั้น ก็จะเป็นผลดีกับตัวนิสิต/นักศึกษาเอง แน่นอนที่ผู้ประกอบการจะจดจำผลงานและฝีมือของพวกเขาได้ เช่น จำได้ว่าคนนี้เคยประกวดงานการสร้างหุ่นยนต์ โอกาสได้งานก็มีมากขึ้นเป็นลำดับ

“ขั้นตอนการคัดเลือกเข้าทำงาน ก็จะมีการดูเกรด มีการสัมภาษณ์ ดูหน่วยก้าน ประกอบกันไป ส่วนใหญ่ที่ผ่านๆ มานิสิต/นักศึกษาหลายคนก็จะได้งานจากองค์กรที่เขาไปฝึกงานเลย คำชมเชยที่องค์กรเคยพูดถึงนิสิต/นักศึกษาที่ไปฝึกงานคือ เป็นเด็กที่มีความสามารถในการทำงาน สามารถปรับตัวได้ดี เรียนรู้งานไว ทำงานเรียบร้อย มีระเบียบวินัยดี บางหน่วยงานก็รับนิสิต/นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายไปแล้ว ทางหน่วยงานนำไปเทรนใหม่ก็มีเหมือนกัน” ดร.พิษณุ กล่าว

ขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคลเป็นหลัก

คำกล่าวที่ว่า Put the right man in the right job ยังคงเป็นจริงเสมอในตลาดแรงงานปัจจุบัน เพราะถ้าได้คนที่เหมาะสมกับงาน แน่นอนที่กลไกภายในองค์กรจะเดินหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพมากทีเดียว รุจี สุทธิรัตน์ กรรมการเจ้าหน้าที่บริหารสำนักประชาสัมพันธ์ บริษัท พิมพลัส บอกว่า ขั้นตอนการเลือกเด็กฝึกงานนั้น ส่วนใหญ่จะเลือกให้ตรงกับสาขาที่นักศึกษาคนนั้นร่ำเรียนมาก่อน ไม่จำเป็นต้องจบเมืองนอก หรือจบจากสถาบันดังๆ คิดว่าดีซะอีกที่จบมาหลายสถาบัน เพราะจะทำให้ได้นักศึกษาฝึกงานที่มีมุมมองหลากหลาย

รุจี บอกว่า การรับนักศึกษาเข้าทำงานเลยหรือเปล่านั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน บางทีพอเห็นความสามารถแล้ว อยากรับเลยก็มีเหมือนกัน แต่ติดอยู่ตรงที่ว่านักศึกษาคนนั้นเพิ่งเรียนอยู่แค่ชั้นปี 3 เท่านั้นเอง คิดว่าการฝึกงานในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะทำให้รู้ว่าโลกแห่งการทำงานจริงๆ เป็นอย่างไรบ้าง สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งฝึกงานเสร็จ และจะได้งานในองค์กรหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่า นายจ้างชอบคนที่มีความรอบรู้ มีความสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัว เป็นคนสังเกตสังการณ์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องของสถาบันเลยว่าต้องจบจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมาเท่านั้น

รุจี คิดว่า นักศึกษาที่เตรียมเข้าสู่ตลาดแรงงานสมัยนี้ค่อนข้างเก่งในเรื่องการทำงาน เช่น มอบหมายให้เขียนรายงานก็ทำได้รายละเอียดดี ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความใส่ใจในการทำงาน อีกอย่างหนึ่งก็คือ นักศึกษาสมัยนี้มีสื่ออินเทอร์เน็ตที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็วฉับไว อินเทอร์เน็ตช่วยให้ตัวเองเกิดการรับรู้สิ่งต่างๆ มากมาย ตรงนี้เป็นข้อดีของนักศึกษายุคนี้

รู้รอบด้าน
คนรู้เรื่องงานรอบด้าน โอกาสได้งานก็จะเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าผู้อื่น ดนัย เกษมกุลศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท do.did.done เป็นบริษัทออร์แกไนเซอร์ เล่าจากประสบการณ์ส่วนตัวในฐานะที่เป็นเจ้าของบริษัทว่า ชอบนักศึกษาฝึกงานที่เป็นคนใฝ่รู้ พร้อมที่จะเรียนรู้งาน ไม่เกี่ยงว่าต้องทำเฉพาะในสิ่งที่ตนเองร่ำเรียนมาอย่างเดียว ในการทำงานจริงๆ บุคคลนั้นต้องรู้รอบด้าน มีบุคลิกภาพที่ดี เปิดใจกว้างพร้อมเรียนรู้งานใหม่ๆ เพราะการทำงานสามารถสอนกันได้อยู่แล้ว

อดทน – อย่าเลือกงาน
กรรมการผู้จัดการ บริษัท do.did.done บอกด้วยว่า จุดอ่อนของนักศึกษาสมัยนี้ที่ทำให้ได้งานยากคือ ไม่ค่อยอดทน ค่อนข้างเลือกงาน แต่พวกหนักเอาเบาสู้ที่ตัวเองเจอมาก็มีหลายคน “ส่วนตัวแล้ว ผมก็เคยรับเด็กฝึกงานเข้าทำงานเลยเหมือนกัน ดูจากความสามารถเขา และเขารักในการเรียนรู้ มีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง ไม่ปิดกั้นตัวเอง ยุคนี้โชคดีที่สามารถหางานผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ตได้ โดยคลิกจากเว็บไซต์หางานประเภทต่างๆ อีกอย่างหนึ่งคือ การไปฝึกงานจะช่วยได้มากในเรื่องของเปอร์เซ็นต์การได้งาน ส่วนคนที่ยังไม่ได้งาน ไม่ควรปล่อยเวลาว่างให้ผ่านไปเฉยๆ ควรหาอะไรเรียนเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นภาษา คอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างคุณสมบัติใหม่ๆ ให้กับตัวเราเอง

สถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้ คิดหางานยากมากพอสมควร ต้องดูว่าตัวเราเหมาะสมกับงานประเภทไหน งานบางประเภทต้องใช้ความสามารถเฉพาะทาง โอกาสได้งานจึงไม่ยากเกินไป เช่น เรามีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์บางประเภท ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวตามที่ได้ร่ำเรียนมาอยู่แล้ว ส่วนตัวแล้วชอบคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง เพราะสำคัญต่อการทำงานมาก ที่สำคัญคือ เป็นคนกล้าคิด กล้าทำ”

เข้ากับองค์กรได้หรือเปล่า

สาวที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ปีกว่าๆ ณัฐณิชา เฉลิมช่วง จบเกียรตินิยมอันดับ 2 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ม.ธรรมศาสตร์ เลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง เป็นโปรแกรมเมอร์ บริษัท ซีเอสไอ เอเชีย ออฟฟิศอยู่ย่านสีลม เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า เธอได้งานเพราะบริษัทเข้าไปรับสมัครที่มหาวิทยาลัยเลย แต่ก็ต้องมีการสอบข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์เป็นด่านๆ ไป

“อย่างการสอบข้อเขียนเข้าทำงาน เขาจะมีโจทย์ให้ แต่จะไม่บอกว่าคำตอบจริงๆ คืออะไร เพราะเขาอยากดูลำดับความคิดของเราในการเขียนตอบมากกว่า ดูว่าเราจะมีวิธีการรับมือกับโจทย์ได้อย่างไรบ้าง ส่วนการสอบสัมภาษณ์กับฝ่ายบุคคลก็มีความสำคัญ เพราะเขาจะถามเรื่องทั่วๆ ไป ออกแนวจิตวิทยาเล็กน้อย เพื่อประเมินดูว่าเราเป็นคนอย่างไร เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรเขาได้ไหม เช่น ถามเราว่า เวลาที่องค์กรจัดกิจกรรมเราสามารถไปร่วมได้ไหม เพราะบางทีอาจจัดการแข่งขันกีฬาภายในบริษัท สำหรับการสัมภาษณ์กับระดับผู้จัดการนั้น ผู้จัดการจะถามเราว่า เรามองชีวิตในอนาคตอย่างไรบ้าง ถ้าเราไม่ทำงานที่นี่เราจะทำอะไรต่อไป และให้บอกข้อดีข้อเสียของเรา” โปรแกรมเมอร์สาวกล่าว

ลดอีโก้ลงบ้าง

การทำงานในยุคนี้ต้องเปิดใจให้กว้าง สมัยก่อน ณัฐณิชา บอกว่า ในฐานะคนทำงานในองค์กรแล้ว เราต้องปรับปรุงตัวเราให้มากที่สุด ตอนแรกๆ เราอาจโดนว่าบ้าง ตำหนิบ้าง ก็ให้มองว่าเป็นบทเรียน อย่างคนที่ทำงานในสาขาคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ จะเน้นการทำงานเป็นทีมเวิร์ก เพราะฉะนั้นเราก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับทีมให้ได้ด้วย ไม่อยากให้มีอีโก้สูงเกินไป อย่าคิดว่าเราจบจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง จบมาเกรดสูง ก็เลยมีอีโก้มาก เพราะในโลกในแห่งการทำงานแล้ว เราต้องมาเริ่มต้นเรียนรู้อะไรใหม่ๆ อีกหลายอย่างด้วยกัน เช่น อาจใช้ความรู้ที่เรียนมาแค่ 40% ทีเหลือก็เรียนรู้กันใหม่หมดเลย คติในการทำงานที่อยากฝากไว้สำหรับคนที่เตรียมเข้าสู่โลกแห่งการทำงานคือ อย่าเพิ่งท้อแท้ อย่าคิดว่าการถามคนอื่นเป็นเรื่องน่าอาย เพราะการถามเป็นเรื่องดี ทำให้เราได้ความรู้มาอยู่กับตัวเอง

ที่มา : //www.jobjob.co.th




Create Date : 31 ตุลาคม 2551
Last Update : 31 ตุลาคม 2551 0:15:12 น. 1 comments
Counter : 1765 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ Thank you for nice post

blackfridaylc40le830u
Canon T3i blackfriday
Sharp LC40
Samsungd8000
Nikond7000
Canont3i
Nikonblackfriday
Toshiba Portege laptop
Breast pumping
Hp touchpad


โดย: aomzon (aomzon ) วันที่: 24 กันยายน 2554 เวลา:18:41:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แมวอุณหภูมิห้อง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




loading...

free counters

New Comments
Friends' blogs
[Add แมวอุณหภูมิห้อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.