Group Blog
 
 
มกราคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
19 มกราคม 2550
 
All Blogs
 
Ready to Take off

วันนี้ก็เป็นวันดีอีกวันเนื่องจากเป็นวันเปิดบลอกของ little pilot เองค่ะ บลอกของ little pilot ก็จะเป็นเรื่องราวประสบการณ์ต่างๆของ little pilot

สำหรับวันเปิดบลอก liitle pilot ได้มีโอกาสอ่านเรื่องราวของนักบินฝนหลวง อยากให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันค่ะ

----------------------------------------------------------
กัปตันผู้อุทิศชีวิตให้ ‘ฝนหลวง’ พ.ต.สิงห์คม มาฆะมงคล

เรื่อง : เสาวณีย์ เกษมวัฒนา / ภาพ : ณัฏฐ์ฐิติ อำไพวรรณ

หลายคนทำความดีโดยที่ไม่ได้ต้องการให้คนอื่นรับรู้ แต่หากความดีนั้นส่งผลให้เกิดแรงบันดาลใจ และอาจนำพาซึ่งประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ต่อสังคม บุคคลซึ่งกระทำความดีด้วยใจบริสุทธิ์ก็จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนและเรื่องราว เพื่อหวังว่าสิ่งที่ทำนั้นจะจุดประกายให้ทุกคนได้ตระหนักและร่วมกันทำความดี

กัปตันของฝนหลวง

พ.ต.สิงห์คม มาฆะมงคล อดีตนักบินผู้ปฏิบัติการโครงการฝนหลวง โครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 1 ใน 9 ของบุคคลต้นแบบจากหนังสือ “9 คน 9 ความดี เพื่อพ่อ” จัดทำโดย บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงานในฐานะนักบินของโครงการฝนหลวง โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่าง

“ก่อนที่จะเข้ามา ผมคิดว่าโครงการฝนหลวงเป็นไปได้ยาก เพราะท้องฟ้ากว้างใหญ่ไพศาล และสารเคมีที่เราไปปล่อยบนท้องฟ้ามันเล็กน้อยมาก ไม่น่าจะเป็นไปได้ จึงอยากจะรู้ว่าวิธีการของพระองค์ท่านทำอย่างไร หลังจากที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติด้วยตัวเอง เห็นผลด้วยตาแล้ว ขณะนี้เราเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ฝนหลวงของพระองค์ท่านนั้นทำได้จริงและเห็นผลจริง” พ.ต.สิงห์คม เปิดเผยถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาก้าวสู่การเป็นนักบินในโครงการฝนหลวงตลอดระยะเวลา 20 ปี

ปัจจุบัน แม้กัปตันสิงห์คมจะอยู่ในวัยเกษียณ แต่เรื่องราวที่ผ่านมาในชีวิตล้วนเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ โดยกัปตันวัย 60 ปี ย้อนความทรงจำเมื่อสมัยเริ่มต้นทำงานเป็นนักบินของโครงการฝนหลวงตั้งแต่ปี 2539 จนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยการบิน คือคุมทั้งเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบิน มีนักบินภายใต้การดูแลกว่า 85 คน และยังเป็นครูการบินจนถึงวัยเกษียณ



ในหลวงทรงสั่งการด้วยพระองค์เอง

นักบินของฝนหลวง ส่วนใหญ่จะมาจากนักบินของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ หรือจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะต้องผ่านการสอบและฝึกอย่างน้อย 60 ชั่วโมง จากนั้นจึงผ่านการฝึกฝนเรื่องการทำฝน ซึ่งช่วงปีแรกๆ ของการทำงาน กัปตันสิงห์คม เล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงสั่งการจากพระตำหนักสวนจิตรลดาด้วยพระองค์เองตลอดระยะเวลา 5 ปีแรก ตั้งแต่ปี 2514-2519 เนื่องจากขณะนั้นยังไม่ค่อยมีนักวิชาการที่มีความชำนาญในการทำฝนหลวง และการค้นคว้าวิจัยยังไม่กว้างขวางเท่าไหร่นัก จึงทรงรับเป็นหัวหน้าคณะปฏิบัติการทำฝนหลวง โดยทรงกำกับ ดูแล และพระราชทานคำแนะนำสูตรการทำฝนหลวง พร้อมกับทรงติดตามถึงผลที่ได้รับ และทรงประเมินงานอย่างละเอียด

“พระองค์ท่านจะเสด็จฯ มาทอดพระเนตรพวกเราที่ทำฝนหลวงอยู่บ่อยๆ เพื่อพระราชทานกำลังใจ เพราะท่านทรงเห็นใจคนทำงานฝนหลวงว่ามีความลำบากตรากตรำและอันตราย ถ้าพระองค์ท่านทรงมีเวลาก็จะมาดูแล และพระราชทานคำแนะนำเป็นครั้งคราว” อดีตหัวหน้านักบินฝนหลวง กล่าวถึงพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่คณะทำงาน

*ความเสี่ยงในก้อนเมฆ

อันตรายที่ว่าคือการต้องบินฝ่าเข้าไปในวงเมฆ ซึ่งหากเป็นเครื่องบินปกติทั่วไปจะต้องบินหลบเมฆ เนื่องจากข้างในจะมีสภาพอากาศแปรปรวน อาจทำให้เครื่องบินสะเทือนเหมือนที่เรียกว่าหลุมอากาศ แต่ขณะที่อากาศแปรปรวนในเมฆนั้น เครื่องบินฝนหลวงกลับต้องบินเข้าไป จึงอาจทำให้เกิดอันตรายหากเครื่องยนต์มีปัญหา หรือโครงสร้างเครื่องบินรับไม่ได้ ซึ่งมีหลายครั้งที่เขาต้องเสี่ยงและเกือบเอาชีวิตไม่รอด

“ผมเคยเครื่องบินตกครั้งหนึ่งที่ จ.เชียงใหม่ คือขณะนั้นเราเพิ่งเข้ามาได้ 2 ปี ประสบการณ์ก็ยังไม่ค่อยมี หวังแต่จะได้งานอย่างเดียวโดยลืมนึกถึงความปลอดภัย ขาหักไปข้างหนึ่ง แต่ความตั้งใจก็ไม่ลดลง เพราะเราก็ค่อยๆ ศึกษาหาความรู้ไปเรื่อยๆ ว่าสมควรต้องทำยังไง บินตรงไหน ตอนเข้ามาใหม่ๆ บางครั้งเราไม่ค่อยเข้าใจ การเข้าไปอยู่ในสภาพอากาศแบบนั้นมันยากมาก”



ต้องเชื่อว่าฝนหลวงทำได้จริง

นอกจากนี้ กัปตันสิงห์คมยังเล่าต่อว่า ในชีวิตนี้บินมาหมื่นกว่าเที่ยว เห็นฝนตกกับตามาหลายร้อยครั้ง วันไหนที่บินกลับมาแล้วรู้ว่าฝนตก ทุกคนจะดีใจกันมาก ถึงกับฉลองกันใหญ่ แต่หากวันไหนฝนไม่ตกใจคอก็ห่อเหี่ยว กลับมาพิจารณากันว่าเป็นเพราะอะไร ซึ่งต้องมาหาสาเหตุกัน และบางครั้งฝนก็ตกจนบินกลับยังสนามบินตัวเองไม่ได้

“หลังจากเราโปรยสารเคมี เราก็จะบินดูสักนิดหน่อย จะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างชัดเจน เมื่อเราเติบโตขึ้นเราก็สั่งสอนรุ่นน้องๆ พาเขาไปดู ทำให้เขาเห็นจนเกิดความเชื่อมั่นว่าฝนหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำได้จริง เพราะพระองค์ท่านเคยตรัสไว้ว่า ถ้านักบินและนักวิชาการไม่เชื่อว่าฝนหลวงทำได้จริงแล้วใครเขาจะเชื่อ เพราะฉะนั้น เราก็ทำให้เขาเห็นจะได้มีความตั้งใจในการทำงาน”



ต้องทำฝนหลวงต่อไป

ผ่านประสบการณ์เฉียดตายมาได้ และยังคงยืนหยัดทำงานมานานถึง 20 ปี เหตุผลของกัปตันสิงห์คมมีเพียง 3 ข้อ คือ ความชอบเรื่องการบิน คืออาชีพ และสิ่งสำคัญคือ ฝนหลวงเป็นโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ผลและเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง ยิ่งไปกว่านั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงพสกนิกรอยู่ตลอดเวลา จึงมีรับสั่งให้ทำฝนหลวงทั้งปี ตั้งแต่ฤดูแล้งจนถึงฤดูฝน นั่นหมายความว่าฤดูแล้งทำเพื่อให้ฤดูฝนมาเร็วขึ้น พอฤดูฝนก็ทำเพื่อให้ฝนหยุด เพราะฉะนั้น คณะทำงานจึงมีเวลาว่างแค่ 2-3 เดือนเท่านั้น

“ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ เพราะพระองค์รับสั่งว่า โครงการฝนหลวงจะต้องมีการวิเคราะห์ วิจารณ์ และวิจัยกันตลอดเวลา และไม่ต้องเกรงว่าคนอื่นจะวิจารณ์อย่างไร ให้ทำตามสติกำลัง เมื่อทำได้ผลแล้วให้บันทึกเก็บไว้เป็นตำราของคนรุ่นหลัง” นี่คือพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่กัปตันสิงห์คมจดเป็นบันทึกแห่งความทรงจำได้เป็นอย่างดี
เวลาที่เหนื่อยหรือเวลาที่ท้อแท้ สิ่งที่กัปตันสิงห์คมนึกถึงคือความดีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติแก่พสกนิกรชาวไทย ทุกครั้งที่เขามองเห็นสายพระเนตรของพระองค์ที่ทรงแสดงออกถึงความรักและพระเมตตาอย่างเต็มเปี่ยม บ่งบอกชัดเจนว่าไม่มีใครห่วงใยประชาชนคนไทยเท่าในหลวงอีกแล้ว
*ความเสี่ยงในก้อนเมฆ

อันตรายที่ว่าคือการต้องบินฝ่าเข้าไปในวงเมฆ ซึ่งหากเป็นเครื่องบินปกติทั่วไปจะต้องบินหลบเมฆ เนื่องจากข้างในจะมีสภาพอากาศแปรปรวน อาจทำให้เครื่องบินสะเทือนเหมือนที่เรียกว่าหลุมอากาศ แต่ขณะที่อากาศแปรปรวนในเมฆนั้น เครื่องบินฝนหลวงกลับต้องบินเข้าไป จึงอาจทำให้เกิดอันตรายหากเครื่องยนต์มีปัญหา หรือโครงสร้างเครื่องบินรับไม่ได้ ซึ่งมีหลายครั้งที่เขาต้องเสี่ยงและเกือบเอาชีวิตไม่รอด

“ผมเคยเครื่องบินตกครั้งหนึ่งที่ จ.เชียงใหม่ คือขณะนั้นเราเพิ่งเข้ามาได้ 2 ปี ประสบการณ์ก็ยังไม่ค่อยมี หวังแต่จะได้งานอย่างเดียวโดยลืมนึกถึงความปลอดภัย ขาหักไปข้างหนึ่ง แต่ความตั้งใจก็ไม่ลดลง เพราะเราก็ค่อยๆ ศึกษาหาความรู้ไปเรื่อยๆ ว่าสมควรต้องทำยังไง บินตรงไหน ตอนเข้ามาใหม่ๆ บางครั้งเราไม่ค่อยเข้าใจ การเข้าไปอยู่ในสภาพอากาศแบบนั้นมันยากมาก”



ต้องเชื่อว่าฝนหลวงทำได้จริง

นอกจากนี้ กัปตันสิงห์คมยังเล่าต่อว่า ในชีวิตนี้บินมาหมื่นกว่าเที่ยว เห็นฝนตกกับตามาหลายร้อยครั้ง วันไหนที่บินกลับมาแล้วรู้ว่าฝนตก ทุกคนจะดีใจกันมาก ถึงกับฉลองกันใหญ่ แต่หากวันไหนฝนไม่ตกใจคอก็ห่อเหี่ยว กลับมาพิจารณากันว่าเป็นเพราะอะไร ซึ่งต้องมาหาสาเหตุกัน และบางครั้งฝนก็ตกจนบินกลับยังสนามบินตัวเองไม่ได้

“หลังจากเราโปรยสารเคมี เราก็จะบินดูสักนิดหน่อย จะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างชัดเจน เมื่อเราเติบโตขึ้นเราก็สั่งสอนรุ่นน้องๆ พาเขาไปดู ทำให้เขาเห็นจนเกิดความเชื่อมั่นว่าฝนหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำได้จริง เพราะพระองค์ท่านเคยตรัสไว้ว่า ถ้านักบินและนักวิชาการไม่เชื่อว่าฝนหลวงทำได้จริงแล้วใครเขาจะเชื่อ เพราะฉะนั้น เราก็ทำให้เขาเห็นจะได้มีความตั้งใจในการทำงาน”



ต้องทำฝนหลวงต่อไป

ผ่านประสบการณ์เฉียดตายมาได้ และยังคงยืนหยัดทำงานมานานถึง 20 ปี เหตุผลของกัปตันสิงห์คมมีเพียง 3 ข้อ คือ ความชอบเรื่องการบิน คืออาชีพ และสิ่งสำคัญคือ ฝนหลวงเป็นโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ผลและเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง ยิ่งไปกว่านั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงพสกนิกรอยู่ตลอดเวลา จึงมีรับสั่งให้ทำฝนหลวงทั้งปี ตั้งแต่ฤดูแล้งจนถึงฤดูฝน นั่นหมายความว่าฤดูแล้งทำเพื่อให้ฤดูฝนมาเร็วขึ้น พอฤดูฝนก็ทำเพื่อให้ฝนหยุด เพราะฉะนั้น คณะทำงานจึงมีเวลาว่างแค่ 2-3 เดือนเท่านั้น

“ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ เพราะพระองค์รับสั่งว่า โครงการฝนหลวงจะต้องมีการวิเคราะห์ วิจารณ์ และวิจัยกันตลอดเวลา และไม่ต้องเกรงว่าคนอื่นจะวิจารณ์อย่างไร ให้ทำตามสติกำลัง เมื่อทำได้ผลแล้วให้บันทึกเก็บไว้เป็นตำราของคนรุ่นหลัง” นี่คือพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่กัปตันสิงห์คมจดเป็นบันทึกแห่งความทรงจำได้เป็นอย่างดี
เวลาที่เหนื่อยหรือเวลาที่ท้อแท้ สิ่งที่กัปตันสิงห์คมนึกถึงคือความดีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติแก่พสกนิกรชาวไทย ทุกครั้งที่เขามองเห็นสายพระเนตรของพระองค์ที่ทรงแสดงออกถึงความรักและพระเมตตาอย่างเต็มเปี่ยม บ่งบอกชัดเจนว่าไม่มีใครห่วงใยประชาชนคนไทยเท่าในหลวงอีกแล้ว
-------------------------------------------------
สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณ นสพ Post today สำหรับบทความดีๆค่ะ

little pilot


Create Date : 19 มกราคม 2550
Last Update : 22 มกราคม 2550 20:55:52 น. 5 comments
Counter : 952 Pageviews.

 
Welcome to the sky then!


โดย: namit วันที่: 20 มกราคม 2550 เวลา:0:07:31 น.  

 
ขอบคุณที่นำบทความดีๆมาให้อ่านครับ
รักในหลวงที่สุดครับ



โดย: Dr.Manta (Dr.Manta ) วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:23:40:04 น.  

 
ถึงคุณเสาวณีย์ เกษมวัฒนา จำผมได้หรือเปล่า ว่าเราเคยเรียนด้วยกัน ชั้นประถม ดีใจที่ได้เจอเพื่อนอีกครั้ง ไม่รู้หลอกนะว่าจะได้อ่านหรือเปล่าtannawat@windowslive.com


โดย: โอภาส เพ็ชร์ปุ่น IP: 125.26.6.149 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:10:40:00 น.  

 
อยากไ้ด้หมายเลขติดต่อ ของ พ.ต.สิงห์คมอ่ะค่ะ.
หากทราบ รบกวนส่งเมลล์
anntraveller@hotmail.com

ขอบคุณมากๆ นะคะ.ด่วยจริงๆ


โดย: Anne ทีวีไทย IP: 125.24.226.27 วันที่: 30 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:21:19 น.  

 
ถ้ามีPPLสามารถเป็นนักบินฝนหลวงได้รึเปล่าครับ


โดย: นกน้อย IP: 113.53.144.132 วันที่: 11 สิงหาคม 2553 เวลา:10:30:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

little_pilot
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add little_pilot's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.