ตุลาคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
24 ตุลาคม 2549
 
 
มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) หรือรู้จักกันในชื่อว่า ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ แบบกราฟิกส์ ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัทมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 36 ภาษา[1] ไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์เสรีในประเภทที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในปัจจุบันโปรแกรมหนึ่ง โดยนับจากจำนวนการดาวน์โหลดมากกว่า 25 ล้านครั้งใน 14 สัปดาห์แรก (ปัจจุบันมีการดาวน์โหลดไปมากกว่า 100 ล้านชุด [2] นับตั้งแต่ออกรุ่น 1.0 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547)

รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 1.5.0.7 และมีรุ่นทดลองล่าสุดคือ รุ่น 2.0RC3 ภายใต้ชื่อ บองเอโค (Bon Echo) ให้ดาวน์โหลด อีกทั้งได้มีกำหนดการสำหรับรุ่นสมบูรณ์แบบ 2.0 ในช่วงกลางวัน ของวันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ตามประกาศจากเวบไซต์ spreadfirefox


ภาพหน้าจอของ ไฟร์ฟอกซ์ 1.0 แสดงการใช้แถบสำหรับเปิดหลายหน้าจอ และ เสิร์ชเอนจินในตัว พร้อมทั้งแถบเครื่องมือ สำหรับแก้ไขวิกิพีเดีย

ประวัติ
โครงการไฟร์ฟอกซ์ริเริ่มโดย เดฟ ไฮแอตต์ และ เบลก รอสส์ (Blake Ross) โดยเป็นโครงการทดลองอันหนึ่งของโครงการมอซิลลา มีจุดมุ่งหมายให้เป็นเบราว์เซอร์เพียงอย่างเดียว (Stand-alone Web Browser) แทนที่จะเป็นชุดโปรแกรมสำหรับอินเทอร์เน็ต ดังเช่น มอซิลลา (Mozilla Suite หรือ Seamonkey) ผู้นำโครงการปัจจุบันคือ เบน กูดเจอร์ (Ben Goodger – ปัจจุบันเป็นพนักงานของกูเกิล แต่ยังคงทำหน้าที่นี้อยู่) ปัจจุบันมีผู้ดาวน์โหลดไปมากกว่า 100 ล้านชุด และปริมาณการใช้ในแถบยุโรปสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศฟินแลนด์



ที่มาของชื่อ
เดิมทีชื่อของไฟร์ฟอกซ์คือ ฟีนิกซ์ (Phoenix) โดยมีที่มาจากนกฟีนิกซ์หรือนกไฟ ที่คืนชีพจากเถ้าถ่าน (หมายถึงตัวชุดโปรแกรมมอซิลลา) แต่ภายหลังมีปัญหาชื่อซ้ำซ้อนกับบริษัท Phoenix Technologies ผู้ผลิตไบออสของเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น ไฟร์เบิร์ด (Firebird) คู่ไปกับโปรแกรมอีเมลที่แยกตัวออกมาเหมือนกันในชื่อ ทันเดอร์เบิร์ด (Thunderbird) แต่ก็ยังมีปัญหาชื่อซ้ำซ้อนกับโครงการฐานข้อมูลไฟร์เบิร์ด (Firebird database server) เช่นกัน ทางมูลนิธิมอซิลลาจึงหาชื่อที่ไม่มีปัญหา และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) ส่วนทันเดอร์เบิร์ดนั้นไม่มีปัญหาเรื่องชื่อแต่อย่างใด

สัญลักษณ์ของไฟร์ฟอกซ์ออกแบบโดย Hicks ถึงแม้ว่าตัวโปรแกรมจะเป็นซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์ส แต่สัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องหมายการค้าของมูลนิธิมอซิลลา ดังนั้นผู้อื่นที่เผยแพร่ซอฟต์แวร์นี้จึงไม่สามารถใช้สัญลักษณ์นี้ได้ (เช่น ไฟร์ฟอกซ์ของโครงการเดเบียน เป็นต้น)



ไฟร์ฟอกซ์กับภาษาไทย
สำหรับภาษาไทย สามารถใช้งานได้ดี ทั้งการเข้ารหัสแบบยูนิโคดและรหัสแบบธรรมดาคือ TIS-620 และ ISO-8859-11 แต่ไฟร์ฟอกซ์ไม่ได้รองรับการตัดคำท้ายประโยคของภาษาไทยโดยตรง (เนื่องจากอาสาสมัครในทีมงานมอซิลลา มีกลุ่มคนไทยไม่เพียงพอ และการตัดคำนั้นทำให้ขนาดโปรแกรมใหญ่ขึ้น) กลุ่มลีนุกซ์ไทยและอาสาสมัครอิสระ ได้พัฒนาไฟร์ฟอกซ์แยกออกมา ที่รับรองการตัดคำภาษาไทย (ไม่ได้รับรองโดย มูลนิธิมอซิลลา)

ความสามารถของไฟร์ฟอกซ์
ไฟร์ฟอกซ์ มีความสามารถที่แตกต่างจากเบราว์เซอร์ตัวอื่น ในขณะเดียวกันก็ขาดคุณสมบัติบางประการที่มีในเบราว์เซอร์ตัวอื่น ๆ เช่นกัน เพื่อให้ขนาดไฟล์มีขนาดเล็ก นอกจากความสามารถหลัก ไฟร์ฟอกซ์สนับสนุนความสามารถเสริมอื่น ๆ ด้วยกัน 3 ส่วนที่พัฒนาแยกออกมาจากตัวโปรแกรมไฟร์ฟอกซ์ ได้แก่ เอ็กซ์เทนชัน (extension), ธีม (theme), ปลั๊กอินส์ (plugin) โดยความสามารถเสริมนี้ ผู้ใช้แต่ละคนสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ หรือสามารถพัฒนาของตัวเองได้

ไลฟ์บุกมาร์ก (Live Bookmarks) เป็นบุกมาร์กที่มีการอัพเดตตลอดเวลา ใช้สำหรับในการอ่านข้อมูลจาก RSS หรือ อะตอม ได้โดยตรง โดยข้อมูลดังกล่าวจะมีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ต้องเข้าไปอ่านในเว็บนั้น ๆ ข้อมูลต่อไปนี้ได้แก่ ข้อมูลข่าวจากเว็บต่างๆ ข้อมูลพยากรณ์อากาศ ข้อมูลจากบล็อก หรือข้อมูลจาก เว็บบอร์ด โดยในแต่ละเว็บที่มีการให้บริการจะมีสัญลักษณ์ RSS หรือ Atom ปรากฏไว้ในเว็บนั้น

ตัวอย่างการใช้งานเช่นการฟีดข้อมูลจากเว็บข่าว เว็บบอร์ด หรือเว็บใดก็ตามที่สนับสนุนระบบ RSS หรือ อะตอม โดยเมื่อใส่ข้อมูลเข้าไปในบุกมาร์กแล้ว เวลาเรียกใช้เพียงกดเข้าไปที่บุกมาร์กนั้น และหัวข้อของเว็บปลายทางจะปรากฏ
เสิร์ชเอนจินในตัว
สามารถใช้ความสามารถของเสิร์ชเอนจิน ได้โดยผ่านทางไฟร์ฟอกซ์โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปในเว็บนั้นๆ เอนจินหลักที่เห็นได้แก่ กูเกิล, ยาฮู! วิกิพีเดีย, IMDB นอกจากนี้เสิร์ชเอนจินในไฟร์ฟอกซ์สามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้
แท็บด์เบราว์ซิง
ด้วยความสามารถของแท็บด์เบราว์ซิง (tabbed browsing) ผู้ใช้สามารถเปิดหน้าเว็บเพจได้หลาย ๆ หน้า ภายในหน้าจอเดียวกัน (โดยใช้เมาส์ปุ่มกลาง) ในแต่ละหน้าจะแบ่งแยกเป็นแท็บ โดยความสามารถนี้ ผู้ใช้สามารถเปิดเว็บเพจหลายหน้าพร้อมกันจากบุคมาร์ก ในทีเดียวนอกจากในไฟร์ฟอกซ์ แท็บด์เบราว์ซิงยังมีใน ซาฟารี เนตสเคป นาวิเกเตอร์ รุ่น 8.0, และในอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์โพลเรอร์ รุ่น 7.0 ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการพัฒนา

กันป๊อปอัพ
ความสามารถในการบล็อกป๊อปอัพ (การป้องกันไม่ให้เว็บเพจเปิดหน้าต่างใหม่เองโดยไม่ได้รับอนุญาต) โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมเสริม เริ่มมีในไฟร์ฟ็อกซ์รุ่นเบต้า ความสามารถนี้สามารถเลือกที่จะใช้กับทุกเว็บไซต์ หรือแค่บางเว็บไซต์ได้

ต่อมาในภายหลัง โปรแกรมอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์โพลเรอร์ ของไมโครซอฟท์ ในวินโดวส์ เอ็กซ์พี (Windows XP) เซอร์วิสแพ็ค 2 ได้เพิ่มความสามารถนี้เข้าไปด้วย

ระบบปฏิบัติการ
ไฟร์ฟอกซ์สามารถทำงานได้กับหลายระบบปฏิบัติการ ได้แก่

ไมโครซอฟท์วินโดวส์ ตั้งแต่วินโดวส์ 98 เป็นต้นไป สำหรับ วินโดวส์ 95 สามารถใช้งานได้แต่ต้องมีโปรแกรมเสริมช่วย
แมคโอเอสเท็น (Mac OS X)
ลินุกซ์ สำหรับระบบปฏิบัติการที่ใช้ X.Org Server หรือ XFree86
เนื่องจากไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ส ทำให้ผู้ใช้และนักพัฒนาสามารถปรับแต่งให้ไฟร์ฟอกซ์ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ได้แก่ โซลาริส (ทั้ง x86 และ SPARC), OS/2, AIX, FreeBSD



Create Date : 24 ตุลาคม 2549
Last Update : 24 ตุลาคม 2549 10:03:14 น. 0 comments
Counter : 1131 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

อะไรกันซะยังงั้น
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add อะไรกันซะยังงั้น's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com