อ๊ะ....อ๊ะ....อย่าแอบดูอย่างเดียวจิ เข้าไปทักทายกันที่ "หน้าเกริ่นนำ" หน่อยนะจ๊ะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
6 มกราคม 2552
 
All Blogs
 

ไตเติล ตอนที่99 จะโบไปมั้ย ถ้าผมจะเรียกมันว่า "ตะปูควง"

ตะปูเกลียว หรือ ที่คนเกิดมานาน เคยเรียกกันว่า ตะปูควง

เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์พิมพ์นิยม ที่นำมาใช้ในเฟอร์นิเจอร์ครับ





เคยอ่านพบ ในกระทู้ บางกระทู้ที่มีเพื่อนแนะนำให้ใช้ตะปูธรรมดา ตอกชิ้นงานต่างๆ ให้ติดกัน

ใจจริง ถ้าเป็นผม จะแนะนำให้ใช้ตะปูเกลียว จะดีกว่า

เหตุเพราะว่า ถ้าเห็นจากรูป, ฟังจากชื่อ เราก็รู้กันละ ว่ามันมีเกลียวอยู่ด้วย

ซึ่งเกลียวเหล่านั้นแหละ มันจะแทรกเข้าไปยึดเกาะ ฝังในเนื้อวัสดุ จะช่วยป้องกันแรงดึง ได้ดีกว่าตะปูธรรมดา



พล่ามมาซะเยอะ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า

คิดว่า เราคุ้นเคยกะตะปูเกลียว กันมาพอสมควรละ

เคยสังเกตุกันบ้างมั้ยครับ ตรงข้างกล่อง ที่มีตัวเลข และรหัสกำกับกันไว้อยู่ เช่น

P #4 x 1", P #8 x 2" หรือ F #6 x 1 1/2"

สัญญลักษณ์ และตัวเลขเหล่านี้ มีความหมายอย่างไร





คำภาษาปะกิต ขอข้ามไปก่อนนะคร้าบบบ อ่านไม่ออก เอ๊ยยยย........ ม่ายช่ายยยย

เดี๋ยว เรื่องนี้ ผมจะอธิบาย ตอนท้ายอีกที มาว่ากันเรื่องตัวเลขกันก่อน

ถ้าเป็นเลขเรียง 2,3,4 หรือเลขตอง 3,3,3 เกสู้หมดหน้าตักไปเลย

ยิ่งถ้าตองเอ นะ มีบ้านขายบ้าน มีรถขายรถ....


แหะ.......แหะ....... เข้าเรื่องจริงๆละจ้า

เครื่องหมาย # แล้วตามด้วยตัวเลข

อันนี้ จะเป็นสัญญลักษณ์ บอกถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวตะปู

มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร เช่น #4 จะหมายถึง หัวขนาด 4 มม.





สำหรับตัวเลขถัดไป จะเป็นตัวบอกความยาวของตะปูเกลียว

ซึ่งโดยส่วนใหญ่ เราจะใช้หน่วยนิ้วกันซะมากกว่า เช่น 2" ก็คือ ยาว 2 นิ้ว นั่นเอง





จะมีให้สังเกตุเพิ่มเติมเกี่ยวกะความยาวนิดหน่อยนะครับ ความยาวของตะปูเกลียว

จะวัดที่ความยาวที่ขันฝังเข้าไป ในเนื้อวัสดุ

เพราะฉนั้น ในกรณี เป็นหัวนูนกลม การวัดความยาว ก็จะเป็นอีกแบบนะครับ







อืมมมมม์......สัญญลักษณ์ ก็ฝอยไปละ ก็เหลือไอ้ภาษาปะกิตแล้วสิเนี่ย

อ่ะ........เอาก้อเอา เริ่มแล้วน้า




สัญญลักษณ์ P

เป็นสัญญลักษณ์ บอกลักษณะของหัวตะปูเกลียว ซึ่งสัญญลักษณ์ P นั้นหมายถึง ลักษณะตะปูเกลียวหัวนูนกลม









สัญญลักษณ์ F

เช่นเดียวกันครับ ความหมายเดียวกัน นั่นคือ เป็นสัญญลักษณ์ ของลักษณะตะปูเกลียวหัวแบน











เอากันแค่หอมตรงปาก ไซร้ซอ เอ๊ยยยยยย......... หอมปากหอมคอกันก่อนแล้วกันคร้าบบ...

จริงๆ มันยังมีชิพบอร์ด และตะปูเกลียว อีกหลายประเภท ที่มีการใช้งานกันอยู่ ในหลายอาชีพ

หรือว่า เฉพาะใช้ในงานเฟอร์ ก็ยังมีแยกย่อยอีก เช่น เกลียวหุน, เกลียวมิล แต่มันจะไกลตัวกันเกิน

เด๋ว.... จะปวดหัวซะปล่าวๆ นะสิบอกให้




เช่นเคยครับ เข้ามาแล้ว อย่าลืมแวะทักทายกันบ้างนะครับ





 

Create Date : 06 มกราคม 2552
0 comments
Last Update : 20 สิงหาคม 2558 0:57:58 น.
Counter : 4472 Pageviews.


ko7vasan
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




มี 2-3 เรื่อง ที่อยากจะขอบอกเล่าเก้าสิบกันไว้ก่อน


1.ภูมิปัญญาที่เห็นในนี้ มาจากประสบการณ์การทำงานส่วนตัว

ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับทฤษฎี ที่มีอยู่เป็นแนวทางในการศึกษาเท่านั้น


2.เพื่อป้องกันปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้นขอสงวนสิทธิ ในบทความ และภาพถ่ายทั้งหมด ที่มี

ถ้าผู้ใด จะนำไปเผยแผ่ขอให้ได้รับการอนุญาติ จากผมก่อน


3.การตอบปัญหา ทั้งหมด ที่มีขอให้เข้าใจนิดส์ส์ส์ส์ส์นึงว่า

ทางผม ไม่ได้เห็น,จับต้อง ชิ้นงาน หรือเฟอร์นิเจอร์

เพราะฉนั้น คำตอบที่ได้ไปพอใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้

แต่........ ต้องอาศัยการสังเกตุ การศึกษาของตนเองด้วยนะครับ

Google
Friends' blogs
[Add ko7vasan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.