space
space
space
<<
ธันวาคม 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
23 ธันวาคม 2564
space
space
space

คอมเพรสเซอร์ Compressor คืออะไร มีการทำงานอย่างไรในระบบทำความเย็น

คอมเพรสเซอร์ Compressor คืออะไร มีการทำงานอย่างไรในระบบทำความเย็น

เชื่อว่าทุกคนที่ใช้ เครื่องปรับอากาศ หรือ ระบบทำความเย็น ภายในบ้าน หรือ ภายในอุตสาหกรรม จะต้องเคยได้ยินคำว่า คอมเพรสเซอร์ (Compressor) อย่างแน่นอน ซึ่งหลายคนคงจะเรียกว่า ตู้แอร์ แต่หารู้ไหมว่า ความจริงแล้ว ตู้แอร์ไม่ใช่ คอมเพรสเซอร์ แต่คือ Condnesing unit ซึ่งเป็นตู้ที่เก็บอุปกรณ์ของระบบทำความเย็นไว้รวมถึงคอนเพรสเซอร์ อีกด้วย เพราะฉะนั้น เราจะมานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกัยคอมเพรสเซอร์ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ และรู้จัก คอมเพรสเซอร์ มากขึ้น

คอมเพรสเซอร์ (Compressor) คือ? มีหน้าที่อะไร?

คอมเพรสเซอร์คือ ชิ้นส่วนในระบบทำความเย็น ที่ทำหน้าที่ ในการลำเลียงสารทำความเย็นให้คงอยู่ภายในระบบ โดยอาศัยหลักการ การดูดและอัดฉีดเพื่อให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะ เพื่อให้เหมาะกับการที่จะส่งต่อไปที่คอนเดนเซอร์

 

การทํางานของคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำงานอย่างไร

การทำงานของคอมเพรสเซอร์ จะอยู่ระหว่าง Evaporator และ Condenser โดยทำหน้าที่ ดูดและอัดฉีด สารทำความเย็นในระบบทำไห้เกิดการหมุนเวียนในระบบ เปรียบเสมือนหัวใจในร่างกายของเรานั่นเอง โดยการทำงานจะเริ่มจาก ดูดสารทำความเย็นในสถานะของก๊าซ จาก Evaporatorหรือคอยล์เย็น มาทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นโดยการอัดเพื่อเพิ่มแรงดัน เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนสถานะโดยการกลั่นตัว จากสถานะก๊าซ กลายเปนของเหลว เพื่อทำให้าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในระบบ


 

คอมเพรสเซอร์ (Compressor) มีกี่แบบ

คอมเพรสเซอร์ยังสามารถจำแนกได หลากหลายแบบมากเพราะว่า ระบบทำความเย็นนั้นไม่ได้ถูกใช้แค่ในเครื่องปรับอากาศ แต่ยังต้องใช้กับอุปกรณ์อื่นที่มีระบบทำความเย็นด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ คอมเพรสเซอร์ถูกแบบมาให้ตรงกับการนำไปใส่ในระบบทำความเย็นชนิดนั้นๆ โดยในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ ประเภทของคอมเพรสเซอร์ชนิดต่างๆ

 

1. คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ (Reciprocation Type)

เป็นคอมเพรสเซอร์ ทำให้เกิดการดูดอัดจาก การขยับของเพลาข้อเหวี่ยง โดยลูกสูบนั้นจะอยู่ในกระบอกลูกสูบ จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงแบบ ลูกสูบในเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ของรถ (หลักการทำงานคล้ายกัน) โดย การเคลื่อนที่ของลูกสูบนั้น จะสัมพันธ์กับการทำงานของคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้ โดยเมื่อกระบอกสูบเคลื่อนที่ลงจะเป็นการดูดไอสารทำความเย็น และเมื่อกระบอกสูบเคลื่อนที่ขึ้นจะเกิดจากการที่ความดันสูงขึ้นดันให้ลิ้นเปิด และ สารทำความเย็นจะไหลออกมา

นิยมใช้กับ : ระบบทำความเย็น ในซุปเปอร์เมาร์เก็ต เครื่องทำน้ำเย็น

 

2. คอมเพรสเซอร์โรตารี่ (Rotary Type)

คอมเพรสเซอร์โรตารี่ ทำงานได้โดย ใช้ลูกปืนเป็นตัวอัดสารทำความเย็น เป็นคอมเพรสเซอร์ที่มีความเงียบและมีความเย็นน้อย แบ่งเป็นสองชนิด

เครื่องอัดโรตารี่ลูกสูบหมุน

ประกอบไปด้วยลูกสูบชนิดหมุนเป็น Roller หมุนรอบเพลาลูกเบี้ยวโดยจะถูกใส่ไว้ในเสื้อสูบ สารทำความเย็นที่ถูกดูดเข้ามาในเสื้อสูบ จะแทนที่ช่องว่างระหว่าง Roller และจะถูกส่องต่อไปยังระบบต่อไป

เครื่องอัดโรตารี่ใบพัดหมุน

ประกอบด้วยใบพัดหมุนในช่องของเพลาลูกเบี้ยว โดยการทำงานคือ ใบพัดจะเริ่มหมุนเพื่อพัดสารทำความเย็นให้อัดอยู่ในระหว่างใบพัด โดยมีวาล์วกั้นไม่ให้สารทำความเย็นไหลย้อนกลับ เพื่อไม่ให้เสียระบบ

นิยมใช้กับ : เครื่องปรับอากาสขนาดเล็ก

 

3. คอมเพรสเซอร์สโครล์หรือแบบก้นหอย (Scroll Type)

เป็นคอมเพรสเซอร์ ที่มีความสามารถในการขับเคลื่่อนสารทำความเย็นได้ในปริมาณที่มาก โดยอาศัยการทำงานของใบพัด สองชุด โดยใช้หลักการหมุนของใบพัดที่มีความเร็วมากจนเกิดแรงดันภายในคอมเพรสเซอร์

นิยมใช้กับ : เครื่องทำน้ำเย็นขนาดใหญ่

 

4. คอมเพรสเซอร์สกรู (Screw Type)

เป็นคอมเพรสเซอร์ ที่มี สกรูตัวผู้ และ สกรูตัวเมีย ซึ่งการทำงานของสองส่วนนี้จะต่างกัน โดยสกรูตัวเมีย จะมีช่องเกลียวไว้เป็นตัวเก็บสารทำความเย็น ส่วนสกรูตัวผู้จะมีสันเกลี่ยวไว้รีดสารทำความเย็นออกตามแกนของสกรูทั้งสอง โดยสารทำความเย็นจะถูกลำเลียงไปช่องว่างระหว่างเกลียว เมื่อเฟืองเริ่มหมุน และพอเฟืองหมุนไปเรื่อยๆ ช่องทางจะถูกปิดโดยตัวเกลียว ซึ่งทำให้สารทำความเย็นถูกอัดจนถึงสุดร่องเกลียว แล้วจะถูกปล่อยออกผ่านทางช่องจ่ายสารต่อไป

นิยมใช้กับ : อุตสาหกรรมความเย็น ห้องเย็นขนาดใหญ่ ศูนย์กระจายสินค้า เครื่องทำน้ำเย็นขนาดใหญ่

 

5. คอมเพรสเซอร์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal Type)

เป็นคอมเพรสเซอร์ที่ทำงานด้วยระบบแรงเหวี่ยง ซึ่งใช้ใบพัดและการดูดในการทำงาน โดยการทำงานจะเริ่มจากการดูดอุดสารทำความเย็นโดยใช้แรงเหวี่ยงของใบพัด ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศุนย์กลาง

นิยมใช้กับ : เครื่องปรับอากาศ ระบบทำความเย็นขนาดใหญ่


 

ความสำคัญของ คอมเพรสเซอร์ (Compressor)

หน้าที่หลักของคอมเพรสเซอร์ คือการดูดและอัดสารทำความเย็นให้ไปทั่วระบบทำความเย็น เปรียบเสมือนหัวใจหลักของระบบทำความเย็นเลยทีเดียว หากระบบทำความเย็นไม่มีคอมเพรสเซอร์เท่ากับว่าจะสามารถสร้างความเย็นได้ เพราะระบบทำความเย็นต้องอาศัยการลำเลียงสารทำความเย็นจากคอมเพรสเซอร์ เพื่อจากชิ้นส่วนหนึ่งไปอีกชิ้นส่วนหนึ่งในระบบทำความเย็น

 

2pt3q คือผู้เชี่ยวชาญด้านคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ตัวจริง

2pt3q คือผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทำความเย็นในด้านอุตสาหกรรม พวกเราเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ทำความเย็นที่ได้มาตรฐานระดับอุตสาหกรรม ด้วยความที่เราเป็นผู้ผลิตมีโรงงานเพื่อผลิตชิ้นส่วนของระบบทำความเย็นด้วยตัวเองนั้น ทำให้เรามีความเชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ทำความเย็นเป็นอย่างมาก รวมถึง คอมเพรสเซอร์อีกด้วย พวกเรา พร้อมให้คำปรึกษา หรือ จำหน่ายคอมเพรสเซอร์ ให้กับลูกค้าทีสนใจ ทุกท่าน มั่นใจได้ว่าจะได้รับการบริการที่ดีอย่างแน่นอน




Create Date : 23 ธันวาคม 2564
Last Update : 23 ธันวาคม 2564 15:00:53 น. 0 comments
Counter : 733 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 2088455
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2088455's blog to your web]
space
space
space
space
space